ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1973

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อมติ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
สหประชาชาติที่ 1973
วันที่: 17 มีนาคม 2011
การประชุมครั้งที่: 6,498
รหัส: S/RES/1973 (เอกสาร)

คะแนนเสียง: รับ: 10 

งดออกเสียง: 5  ไม่รับ: 0 

เรื่อง: สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554
ผล: ตกลงรับ

องคาพยพของคณะมนตรีความมั่นคงใน ค.ศ. 2011:
สมาชิกถาวร:

 จีน  ฝรั่งเศส  รัสเซีย  บริเตนใหญ่  สหรัฐ

สมาชิกไม่ถาวร:
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา  บราซิล  โคลอมเบีย  เยอรมนี  กาบอง
 อินเดีย  เลบานอน  ไนจีเรีย  โปรตุเกส  แอฟริกาใต้

กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านกัดดาฟีบนรถถังในเบงกาซี

ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 1973 เกี่ยวกับสถานการณ์ในลิเบีย ได้มีการตกลงรับเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554 ข้อมติดังกล่าวได้รับการเสนอโดยฝรั่งเศส เลบานอน และสหราชอาณาจักร[1][2]

สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสิบประเทศลงมติเห็นชอบ (บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา, โคลอมเบีย, ฝรั่งเศส, กาบอง, เลบานอน, ไนจีเรีย, โปรตุเกส, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา), ห้าประเทศ (บราซิล, เยอรมนี, อินเดีย, จีน และรัสเซีย) ไม่ลงคะแนนเสียง และไม่มีประเทศใดคัดค้าน[3]

ข้อมติดังกล่าวต้องการให้มีการ "หยุดยิงทันที" และให้อำนาจแก่ประชาคมนานาชาติในการสร้างเขตห้ามบินเหนือลิเบีย และใช้ทุกวิถีทางที่จำเป็นเว้นแต่การยึดครองจากต่างชาติเพื่อปกป้องพลเรือน[4]

ด้านทางการลิเบียออกมาประกาศเมื่อเวลาราว 12.45 น. GMT เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554 ว่าพวกเขากำลังริเริ่มการยุติกิจกรรมทางทหารทันทีตามข้อมติของสหประชาชาติ[5]

การบังคับใช้[แก้]

วันที่ 19 มีนาคม การแทรกแซงทางทหารในลิเบียเริ่มต้นขึ้น โดยฝรั่งเศสได้ส่งเครื่องบินขับไล่ไอพ่นบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย[6] มีการรายงานในวันเดียวกันว่าฝรั่งเศสเริ่มต้นโจมตียานพาหนะทหารของลิเบีย[7] ด้านกองทัพเรือสหรัฐเริ่มต้นยิงขีปนาวุธบีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก เข้าทำลายการป้องกันทางอากาศของลิเบีย[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. BBC News UN backs action against Gaddafi (17 March 2011)
  2. UN (17 March 2011). "Security Council authorizes 'all necessary measures' to protect civilians in Libya". UN News Centre. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  3. The Guardian Live Blog. Retrieved 17 March 2011.
  4. CNN report. Retrieved 17 March 2011.
  5. "Libya declares ceasefire". New Statesman.
  6. Kirkpatrick, David D.; Bumiller, Elisabeth (19 March 2011). "France Sends Military Flights Over Libya". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  7. "French military jets over Libya". BBC News. 19 March 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  8. "U.S. launches missile strikes against Libya". Msnbc.com. 19 March 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.
  9. "U.S. Launches Cruise Missiles Against Qaddafi's Air Defenses". Fox News. 19 March 2011. สืบค้นเมื่อ 19 March 2011.