สปริงเรดิโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สปริงเรดิโอ
สถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เอฟเอ็ม 98.5 เมกะเฮิร์ตซ์
พื้นที่กระจายเสียงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ความถี่เอฟเอ็ม 98.5 เมกะเฮิร์ตซ์
สัญลักษณ์สถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ
แบบรายการ
ภาษาไทย ไทย
รูปแบบข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน,สนทนา
การเป็นเจ้าของ
เจ้าของสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เอฟเอ็ม 98.5 เมกะเฮิร์ตซ์
(บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค มัลติมีเดีย จำกัด ในเครือบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด)
ผู้ประกอบธุรกิจอารักษ์ ราษฏร์บริหาร
ประวัติ
เริ่มกระจายเสียง1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ยุติกระจายเสียง31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ข้อมูลทางเทคนิค
พิกัดสถานีส่งอาคารเล้าเป้งง้วน ชั้น 11 ซอยวิภาวดีรังสิต 9 (เฉยพ่วง) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สปริงเรดิโอ (อังกฤษ: Spring Radio) เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม ผลิตโดย บริษัท นิวส์ เน็ตเวิร์ค มัลติมีเดีย จำกัด ในเครือบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ดำเนินรายการจากห้องส่งวิทยุบนอาคารเล้าเป้งง้วน ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร แล้วจึงถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 98.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (คลืนความถี่ดังกล่าวปัจจุบันโอนให้กับบริษัทมีเดีย สตูดิโอ จำกัด ดำเนินรายการบันเทิงในชื่อ

"กู๊ดไทม์ เรดิโอ" แต่ยังคงมีการถ่ายทอดคลื่นความถี่เสียงรายการข่าวจากสถานีโทรทัศน์เช่นเดิม เพียงแต่รับสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7) ทั้งนี้ สถานีออกอากาศทางออนไลน์ระยะหนึ่ง ก่อนจะกลับมาถ่ายทอดสดออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมการขนส่งทหารบก ขสทบ. ของกองทัพบก ระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 102.0 เมกะเฮิร์ตซ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน โดยรูปแบบการนำเสนอ ส่วนมากเป็นการรับสัญญาณถ่ายทอดเสียง จากรายการโทรทัศน์ประเภทข่าว และเหตุการณ์ปัจจุบัน ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ อีกส่วนหนึ่งเป็นรายการวิทยุ ที่มีกลุ่มผู้ประกาศข่าวและพิธีกรของสปริงนิวส์ รวมถึงจากผู้ผลิตที่ร่วมทุนกับสถานีฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ

ประวัติ[แก้]

สปริงเรดิโอเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสปริงนิวส์,สำนักข่าวทีนิวส์,เครือมติชน และ หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ ใช้ทีมงานของหมาแก่ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นสถานีวิทยุแต่เดิมอยู่แล้ว โดยได้เช่าสัญญาณเสียงจากกรมประชาสัมพันธ์ในนามบริษัทGG NEWS ก่อนจะสิ้นสุดสัญญาลง และควบรวมบริษัทเข้าด้วยกัน โดยการร่วมมือในครั้งนี้การต่อยอดยุทธศาสตร์หลอมรวมสื่อของกลุ่มสปริงนิวส์ เพื่อให้สามารถนำเสนอข่าวสารสู่กลุ่มผู้ฟังวิทยุ และเพื่อให้สามารถนำเสนอข่าวสารในทุกรูปแบบสื่อได้[1]

ทั้งนี้ เมื่อแรกก่อตั้ง มีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากผู้ใช้สังคมออนไลน์ที่มีการนำเสนอว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้เครือสปริงนิวส์เข้ามาเช่าเวลาโดยเครือสปริงนิวส์เสนอค่าตอบแทนเดือนละ 2,461,000 บาท รวมถึงนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งในคณะกรรมการของ กสทช. ได้ออกมาตำหนิการอนุญาตให้กลุ่มสปริงนิวส์เข้ามาเช่าเวลาโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการใน กสทช.[2]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

กสทช. สั่งระงับออกอากาศ 5 วัน[แก้]

เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560 สปริงเรดิโอถูกสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สั่งระงับการออกอากาศ 5 วัน เริ่มตั้งแต่เวลา 00:01 น. ของวันดังกล่าว เนื่องจากได้รับร้องเรียนว่ามีเนื้อหารายการไม่เหมาะสมกระทบต่อความมั่นคง [3] จนกระทั่งต่อมาในวันที่ 16 เมษายน ปีเดียวกัน สปริงเรดิโอชี้แจงว่าได้รับคำสั่งมาจากเลขาธิการ กสทช. และสปริงเรดิโอได้ดำเนินการสอบถามผู้เกี่ยวข้องรวมถึงตรวจสอบเทปรายการย้อนหลัง 5 วัน พบว่า ไม่มีรายการใดเข้าข่ายมีเนื้อหารายการไม่เหมาะสมกระทบต่อความมั่นคง[4] ต่อมาในวันที่ 17 เมษายน ปีเดียวกัน มีการหารือกับเลขาธิการ กสทช. และ กสทช. อนุญาตให้สปริงเรดิโอออกอากาศตามปกติอีกครั้งในเวลา 12:00 น. ของวันเดียวกัน รวมระยะเวลาระงับออกอากาศ 4 วัน 11 ชั่วโมง 59 นาที 0 วินาที

รายการ[แก้]

ผู้ประกาศข่าว ผู้รายงานข่าว และนักจัดรายการ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “สปริงนิวส์” แถลงวิสัยทัศน์’59 รุกเปิด FM 98.5 สปริงเรดิโอ เก็บถาวร 2015-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บ้านเมือง
  2. แฉ "สปริงนิวส์" จ่าย กสทช. เดือนละ 2.46 ล้านเช่าคลื่น 1 ปณ. - "สุภิญญา" โวย "ฐากร" อนุมัติข้ามหัวบอร์ด เก็บถาวร 2015-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เอ็มจีอาร์ออนไลน์
  3. กสทช. ปิดไมค์ “สปริงเรดิโอ” 5 วัน เนื้อหากระทบความมั่นคง เก็บถาวร 2017-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เอ็มจีอาร์ออนไลน์
  4. แถลงข้อเท็จจริงจาก สถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ (สถานีวิทยุ F.M.98.5 MHz.)[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูล[แก้]