สไมล์เรดิโอ
สถานีวิทยุ เอฟเอ็ม "สไมล์ เรดิโอ" | |
---|---|
พื้นที่กระจายเสียง | กรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
ความถี่ | FM 88.0 MHz(2530-2534) FM 98.0 Mhz (2535-2538),(2565-ปัจจุบัน) |
สัญลักษณ์ | เชื่อมต่อทุกรอยยิ้ม |
แบบรายการ | |
ภาษา | ![]() |
รูปแบบ | ดนตรีไทยสากล และดนตรีสากล |
การเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (2530-2534) สถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (2535-2538),(2565-ปัจจุบัน) (บริษัท มีเดีย พลัส จำกัด) |
ประวัติ | |
เริ่มกระจายเสียง | พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
สไมล์ เรดิโอ (อังกฤษ: Smile Radio) เป็นรายการเพลงไทยสากลทางวิทยุในกรุงเทพมหานครที่โดดเด่นในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ดำเนินการผลิตโดย บริษัท มีเดีย พลัส จำกัด
ประวัติ[แก้]
รายการ สไมล์ เรดิโอ เริ่มกระจายเสียงครั้งแรกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เอฟเอ็ม 88.0 เมกะเฮิร์ตซ์ หรือที่เรียกกันว่า คลื่นสุดท้ายทางซ้ายสุด โดยจัดเปิดเพลงไทยสากลหลากหลายสไตล์ ทั้งที่กำลังได้รับความนิยม และเพลงหาฟังยากชนิดสถานีอื่นๆ ไม่กล้าเปิดได้ ซึ่งริเริ่มมาจากคลื่นนี้ เช่น เพลงบรรเลง เพลงประกอบ เพลงในเวอร์ชัน Remix โดยเป็นรายการเพลงรายแรกที่จัดตลอดทั้งวัน มีการทำ Jingle ด้วยตนเอง มีการพูดทับในตอนต้นเพลงและตบท้ายเพลง และเป็นรายการเพลงที่ "ไม่รับคิวเพลงจากใคร" จึงสามารถเปิดเพลงได้อย่างอิสระโดยไม่ยึดติดกับสังกัดค่ายเพลงใดๆ ทั้งสิ้น
ความนิยม[แก้]
รายการนี้ได้รับความนิยมจากผู้ฟังเป็นจำนวนมาก และเป็นที่เชื่อถือของคนในแวดวงสื่อสารมวลชนทุกๆ แขนง โดยสามารถแจ้งเกิดคนขายเสียงจนต้องเผยหน้าค่าตาออกสู่สาธารณชนได้หลายคน อาทิ วินิจ เลิศรัตนชัย, หัทยา เกษสังข์, สาลินี ปันยารชุน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมสำหรับแฟนรายการอยู่เป็นระยะๆ มีการจัดคอนเสิร์ตครั้งสำคัญ "Live Project" ที่ เอ็ม 88 ไลฟ์เฮ้าส์ รามคำแหง อีกทั้งยังได้ผลิตรายการโทรทัศน์และนิตยสารของตนเองด้วย
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ[แก้]
"สไมล์ เรดิโอ" ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในช่วงต้นปี พ.ศ. 2535 โดยต้องแพ้ประมูลคลื่นวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ และมีการลาออกของดีเจชื่อดังบางคน ทำให้รายการต้องย้ายไปกระจายเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกที่เอฟเอ็ม 98.0 เมกะเฮิร์ตซ์ในชื่อเดิม แต่ได้ขยายการจัดรายการออกเป็น 5 คลื่น โดยมีการส่งสัญญาณด้วยระบบดิจิตอลผ่านดาวเทียมไปทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น ด้วยการจัดรายการเพลงตามคอนเซ็ปท์ของแต่ละคลื่น ได้แก่ สไมล์ เรดิโอ I (98.0) สไมล์ เรดิโอ II (94.5) สไมล์ เรดิโอ III (99.5) สไมล์ เรดิโอ IV (107.5) และสไมล์ เรดิโอ V (102.5) [1] แต่ดำเนินรายการได้อีกไม่กี่ปีก็ต้องปิดตัวลงในราวปี พ.ศ. 2538 และในปัจจุบันนี้ สไมล์ เรดิโอ กลับมาออกอากาศอีกครั้งที่ FM98 MHz ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 65
นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง[แก้]
- วินิจ เลิศรัตนชัย
- หัทยา เกษสังข์
- สาลินี ปันยารชุน
- นิมิตร ลักษมีพงศ์
- วิทวัส ศุภเมธากร
- สุทธิธรรม สุจริตตานนท์
- ธเนศ แสงโชติกุล
- มณฑาณี ตันติสุข
- สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ (Remix)
- ฯลฯ
อ้างอิง[แก้]
เพจสไมล์ เรดิโอhttps://www.facebook.com/830136097103943/posts/pfbid02G7ewxtkYyVmo3aSDRBmADdusqWPq24tj2HZzyGkZfJn5QzGvsehQ66seyeLygbZYl/?d=n