ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอธัญบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อ.ธัญบุรี)
อำเภอธัญบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thanyaburi
ภาพถ่ายทางอากาศของคลองรังสิตในเขตอำเภอธัญบุรี
ภาพถ่ายทางอากาศของคลองรังสิตในเขตอำเภอธัญบุรี
คำขวัญ: 
ธัญบุรีแดนเศรษฐกิจ คลองรังสิตคู่เมืองมา ชื่อเสียงเป็นศรีสง่า รุ่งเรืองมานับร้อยปี
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอธัญบุรี
แผนที่จังหวัดปทุมธานี เน้นอำเภอธัญบุรี
พิกัด: 14°1′16″N 100°44′4″E / 14.02111°N 100.73444°E / 14.02111; 100.73444
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด112.124 ตร.กม. (43.291 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด217,355 คน
 • ความหนาแน่น1,938.52 คน/ตร.กม. (5,020.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 12110, 12130 (เฉพาะ
ตำบลประชาธิปัตย์และบึงยี่โถ)
รหัสภูมิศาสตร์1303
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอธัญบุรี หมู่ที่ 4 ถนนรังสิต-นครนายก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ธัญบุรี [ทัน-ยะ-บุ-รี][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี มีลักษณะเป็นแนวยาวขนานไปกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ไปจนสุดเขตจังหวัด เป็นพื้นที่ที่มีความเจริญมากกว่าอำเภอเมืองปทุมธานี เนื่องจากเป็นทางผ่านของการคมนาคมไปภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเขตเทศบาลนคร 1 แห่ง เขตเทศบาลเมือง 2 แห่ง และเขตเทศบาลตำบลอีก 1 แห่งในพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอธัญบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อำเภอธัญบุรีนั้น เดิมอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า "ทุ่งหลวง" ของมณฑลกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาที่ดินในทุ่งหลวงให้เกิดประโยชน์แก่ประชาราษฎรด้วยการที่จะให้มีคลองขึ้นในบริเวณทุ่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการขุดคลองตั้งแต่ พ.ศ. 2433 เป็นต้นมาและได้พระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์"[2][3] ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการให้สถาปนา "เมืองธัญญบูรี" ขึ้น ประกอบด้วย 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดที่ทำการเมืองด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2445[4] โดยคำว่า "ธัญญบูรี" หมายถึง "เมืองแห่งข้าว" เป็นพระนามพระราชทาน เพื่อให้สอดคล้องกับเมืองมีนบุรี (เขตมีนบุรี ในปัจจุบัน) ที่หมายถึง "เมืองแห่งปลา"[2]

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่า "เมือง" มาเป็น "จังหวัด" เมืองธัญญบุรีจึงถูกเรียกว่า "จังหวัดธัญญบุรี" รวมทั้งเปลี่ยนชื่ออำเภอเมืองของจังหวัดธัญญบุรีเป็น "อำเภอรังสิต" เมื่อ พ.ศ. 2460[5] จังหวัดธัญญบุรีมีมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. 2475 จึงถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดปทุมธานี อำเภอรังสิต (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอธัญญบุรี) อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา จึงกลายเป็นอำเภอในจังหวัดปทุมธานี ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ราชบัณฑิตยสถานได้เปลี่ยนการใช้ตัวสะกดใหม่ จึงเป็น "ธัญบุรี" มาจนถึงปัจจุบัน[6]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ถึงปัจจุบัน (เรียงตามปี) มีการจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเทศบาลในอำเภอธัญบุรี ดังนี้

  • วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ ในพื้นที่บางส่วนของตำบลประชาธิปัตย์ [7]
  • วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลธัญบุรี ในพื้นที่บางส่วนของตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูด[8]
  • วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2506 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ให้ครอบคลุมตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล[9]
  • วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2508 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลธัญบุรีให้ครอบคลุมตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูดทั้งตำบล[10]
  • วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2519 จัดตั้งสุขาภิบาลสนั่นรักษ์ ในพื้นที่ตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์ [11]
  • วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ยกฐานะสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลประชาธิปัตย์[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลธัญบุรี และ สุขาภิบาลสนั่นรักษ์ ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลธัญบุรี และ เทศบาลตำบลสนั่นรักษ์
  • วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ เป็น เทศบาลเมืองรังสิต [13]
  • วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลสนั่นรักษ์ เป็น เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ [14]
  • วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 ยกฐานะจากเทศบาลเมืองรังสิต เป็น เทศบาลนครรังสิต [15]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลบึงยี่โถ เป็น เทศบาลเมืองบึงยี่โถ [16]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

พื้นที่อำเภอธัญบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 6 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 12 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[17]
สี แผนที่
1. ประชาธิปัตย์ Prachathipat
84,543
 
2. บึงยี่โถ Bueng Yitho
4
33,713
 
3. รังสิต Rangsit
4
24,724
 
4. ลำผักกูด Lam Phak Kut
4
39,701
 
5. บึงสนั่น Bueng Sanan
14,221
 
6. บึงน้ำรักษ์ Bueng Nam Rak
18,557
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

อำเภอธัญบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครรังสิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประชาธิปัตย์ทั้งตำบล (ทางรถไฟสายเหนือ-คลองสาม)
  • เทศบาลเมืองบึงยี่โถ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงยี่โถทั้งตำบล (คลองสาม-คลองห้า)
  • เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์ทั้งตำบล (คลองเก้า-คลองสิบสี่)
  • เทศบาลตำบลธัญบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรังสิตและตำบลลำผักกูดทั้งตำบล (คลองห้า-คลองเก้า)

การคมนาคม

[แก้]

ถนนสายหลักของอำเภอธัญบุรี ได้แก่

ถนนสายรองของอำเภอธัญบุรี ได้แก่

ขนส่งทางราง

สถานที่สำคัญ

[แก้]
โรงพยาบาลธัญบุรี
ร้านกาแฟชายทุ่ง
  • ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต
  • โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
  • โรงพยาบาลบางปะกอก รังสิต 2
  • โรงเรียนโชคชัย (ครูเกียว)
  • สำนักงานเทศบาลเมืองบึงยี่โถ
  • โรงเรียนนานาชาติสยาม
  • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  • สวนสนุกดรีมเวิลด์
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอธัญบุรี
  • วัดเขียนเขต พระอารามหลวง
  • สนามฟุตบอลบีจีสเตเดียม ของสโมสรบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
  • ห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขารังสิต-นครนายก
  • มาร์เก็ตวิลเลจ สาขารังสิต คลอง4
  • ร้านกาแฟชายทุ่ง
  • สนามกอล์ฟกรุงกวี
  • วัดมูลจินดาราม
  • บ้านพักเด็กอ่อนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี
  • สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต (บ้านเด็กอ่อนรังสิต)
  • สถานสงเคราะห์เยาวชน มูลนิธิมหาราช
  • ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี
  • สถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพร
  • มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี
  • สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  • สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
  • ที่ว่าการอำเภอธัญบุรี
  • วิทยาลัยการปกครอง
  • ทางเข้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ศูนย์ฝึกกรมพลศึกษา สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬา สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา กรมพลศึกษา และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษารังสิต (ท้องฟ้าจำลองรังสิต)
  • สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีชาย
  • โรงพยาบาลธัญบุรี
  • ศาลจังหวัดธัญบุรี
  • สำนักงานอัยการจังหวัดธัญบุรี
  • สถานีตำรวจภูธรธัญบุรี
  • สวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่
  • โรงเรียนธัญรัตน์
  • โรงเรียนธัญสิทธิศิลป์
  • สนามกอล์ฟรอยัลเจมส์ซิตี้
  • ดูโฮม สาขารังสิต คลอง7
  • วัดนาบุญ
  • โรงเรียนธัญวิทยา (ตงมิ้น)
  • มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
  • สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1
  • สำนักงานเทศบาลตำบลธัญบุรี
  • ห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขารังสิต คลอง7
  • โรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิต
  • โรงเรียนปิยวัฒนศาสตร์
  • วัดอัยยิการาม
  • วัดขุมแก้ว
  • องค์การเภสัชกรรม
  • โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี (ศูนย์มะเร็งคลอง10)
  • โรงเรียนสารสาสน์วิเทศปทุมธานี
  • วัดสระบัว
  • สำนักงานเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์
  • มัสยิดเราะห์มัดรัศมี
  • มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ
  • วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี
  • วัดพิชิตปิตยาราม
  • สำนักชลประทานที่ 11
  • โรงเรียนธัญบุรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 54.
  2. 2.0 2.1 สิทธิพร ณ นครพนม. "ชื่อ "ธัญบุรี" เพราะมี "ข้าว"". ใน ศิลปวัฒนธรรม. 22:4 (กุมภาพันธ์ 2544), หน้า 62-64
  3. น้าชาติ ประชาชื่น (31 ตุลาคม 2556). "อำเภอธัญบุรี". ข่าวสด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ 2010-07-23.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 34–55. 29 เมษายน 2460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2013-11-05.
  6. คลองรังสิตประยูรศักดิ์ สายน้ำพระราชทานในรัชกาลที่ 5 เมืองข้าว เมืองนา แห่งราชอาณาจักรสยาม, พินิจนคร รายการ: วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทางไทยพีบีเอส
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 20-21. 17 กันยายน 2498.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลธัญญบุรี อำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 53-54. 15 ตุลาคม 2499.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (32 ง): 873–874. 2 เมษายน 2506.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลธัญญบุรี อำเภอธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (75 ง): 2328–2329. 15 กันยายน 2508.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสนั่นรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13 ง): 765–766. 22 กุมภาพันธ์ 2520.
  12. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (49 ก): 33–36. 2 พฤศจิกายน 2537.
  13. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองรังสิต พ.ศ. ๒๕๔๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 120 (36 ก): 18–20. 1 พฤษภาคม 2546. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 78 ง): 1–2. 19 กรกฎาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลนครรังสิต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (พิเศษ 61 ง): 42. 1 มิถุนายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นเทศบาลเมืองบึงยี่โถ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 129 (พิเศษ 13 ง): 44. 11 มกราคม 2555. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2013-08-22.
  17. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]