ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
Thailand Centre of Excellence for Life Sciences (Public Organisation) | |
ตราสัญลักษณ์ของศูนย์ | |
ภาพรวมศูนย์ | |
---|---|
ก่อตั้ง | 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
ประเภท | องค์การมหาชน |
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 252 ชั้น 9 อาคารเอสพีอี ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
งบประมาณต่อปี | 192,577,700 บาท (พ.ศ. 2568)[1] |
ฝ่ายบริหารศูนย์ |
|
ต้นสังกัดศูนย์ | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของศูนย์ |
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ย่อว่า ศลช.; อังกฤษ: Thailand Center of Excellence for Life Sciences, TCELS; ทีเซลส์) เป็นองค์การมหาชน มีหน้าที่ในการจัดทำและเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ ประสานความร่วมมือด้านชีววิทยาศาสตร์ ตลอดจนให้บริการทางวิชาการ เผยแพร่ความรู้ และพัฒนาบุคลากรด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
ประวัติ
[แก้]ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งได้มีการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 มีชื่อว่า "ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย" ต่อมาในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เห็นว่าชีววิทยาศาสตร์มีความสำคัญและจำเป็นแก่การแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของมนุษย์ เนื่องจากสามารถนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ด้านชีววิทยาศาสตร์ในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรม จึงได้มีการจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554[2] มีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
คณะกรรมการ
[แก้]ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์" ประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง กรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 3 คน (ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยมีผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ปัจจุบันมีคณะกรรมการ ดังนี้
- ประธานกรรมการ
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
- ศาสตราจารย์ ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
- ศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ วงศ์รัตนชีวิน
- นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข
- นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม
- ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์
- เภสัชกร ปรีชา พันธุ์ติเวช
- กรรมการโดยตำแหน่ง
- ผู้แทนปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล)
- ผู้แทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์ ณรงค์ สายวงศ์)
- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปจำนงค์)
- กรรมการและเลขานุการ
- ดร.จิตติ์พร ธรรมจินดา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๔๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 42 ก หน้า 37 วันที่ 27 พฤษภาคม 2554