ข้ามไปเนื้อหา

โรมันคาทอลิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศาสนจักรโรมันคาทอลิก)

พระศาสนจักรคาทอลิก (อังกฤษ: Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีศาสนิกชนกว่า 1.3 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2017[1] เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดที่ยังดำเนินกิจการอยู่[2] และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก[3] พระสันตะปาปาทรงเป็นประมุขและปกครองศาสนจักรนี้ผ่านสันตะสำนัก ในศาสนจักรโรมันคาทอลิกประกอบด้วยคริสตจักรละตินและคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก

ชาวคาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูมีพระมหาบัญชาตั้งศาสนจักรขึ้นให้เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต[4][5] โดยมีมุขนายกสืบทอดหน้าที่จากอัครทูต และพระสันตะปาปาสืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร ซึ่งพระเยซูทรงยกเป็นเอกในบรรดาอัครทูต[6]

ศาสนจักรคาทอลิกให้ความสำคัญกับศีลมหาสนิทที่สุดในบรรดาศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด และฉลองศีลนี้ในพิธีมิสซา[7] โดยเชื่อว่าแผ่นปังและเหล้าองุ่นที่บาทหลวงเสกในพิธีนี้จะเปลี่ยนสารเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู และมีหลักคำสอนให้เคารพพระนางมารีย์พรหมจารีในฐานะที่เป็นพระมารดาพระเจ้าและราชินีแห่งสวรรค์[8] และเคารพบรรดานักบุญต่างๆ ในฐานะที่เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตความเชื่อ นอกจากนี้ยังเชื่อในพระเมตตา การชำระให้บริสุทธิ์โดยความเชื่อ การประกาศพระวรสาร และทำงานเพื่อสังคม ศาสนจักรคาทอลิกจึงเป็นองค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดการศึกษาและบริการสุขภาพ[9]

ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า "คริสตัง" ซึ่งมีที่มาจากภาษาโปรตุเกส คำว่า Cristão โดยศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิคในไทยนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

แผนภาพ

[แก้]
(ไม่ได้แสดงนิกายที่มิใช่ไนซีน, ไม่ถือตรีเอกานุภาพ, และนิกายฟื้นฟูบางนิกาย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Presentation of the Pontifical Yearbook 2019 and the Annuarium Statisticum Ecclesiae 2017". Holy See Press Office. 6 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2019. สืบค้นเมื่อ 6 March 2019.
  2. Mark A. Noll. The New Shape of World Christianity (Downers Grove, IL: IVP Academic, 2009), 191.
  3. O'Collins, p. v (preface). Woods, T., How the Catholic Church Build Western Civilization.
  4. "Vatican congregation reaffirms truth, oneness of Catholic Church". Catholic News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2007. สืบค้นเมื่อ 17 March 2012.
  5. Bokenkotter, Thomas (2004). A Concise History of the Catholic Church. New York: Doubleday. p. 7. ISBN 978-0-307-42348-1.
  6. Holy Bible: Matthew 16:19
  7. CCC, 1322–1327, Vatican.va: "the Eucharist is the sum and summary of our faith"
  8. "The Four Marian Dogmas". Catholic News Agency. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
  9. Agnew, John (12 February 2010). "Deus Vult: The Geopolitics of Catholic Church". Geopolitics. 15 (1): 39–61. doi:10.1080/14650040903420388.

ดูเพิ่ม

[แก้]