พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ศีลมหาสนิท)

พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์[1] หรือพิธีมหาสนิท[2][3](อังกฤษ: Eucharist; Holy Communion) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิก, อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์บางคณะเรียกว่าศีลมหาสนิท[1][4] เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ เพื่อแสดงถึงการร่วมสนิทกับพระเยซู โดยการรับประทานขนมปัง (สัญลักษณ์แทนพระกายของพระองค์) และไวน์ (สัญลักษณ์แทนพระโลหิต)

ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกันกับพระกระยาหารมื้อสุดท้าย มีบันทึกอยู่ในพระวารสารทั้ง 4 เล่มในพันธสัญญาใหม่

เมื่อถึงเวลา พระองค์ประทับลงและเสวยพร้อมกับพวกอัครทูต พระองค์ตรัสกับเขาทั้งหลายว่า “เรามีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะรับประทานปัสกานี้กับท่านก่อนที่เราจะต้องทนทุกข์ เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่รับประทานปัสกานี้อีกจนกว่าจะสำเร็จความหมายของปัสกานั้นในแผ่นดินของพระเจ้า” พระองค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบพระคุณแล้วตรัสว่า “จงรับถ้วยนี้ไปแบ่งกันดื่ม เราบอกท่านทั้งหลายว่า เราจะไม่ดื่มจากผลของเถาองุ่นอีกต่อไปจนกว่าแผ่นดินของพระเจ้าจะมา” พระองค์ทรงหยิบขนมปัง เมื่อขอบพระคุณแล้วก็ทรงหักส่งให้พวกเขา ตรัสว่า “นี่เป็นกายของเรา [ซึ่งให้ไว้สำหรับท่านทั้งหลาย จงทำอย่างนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา” เมื่อรับประทานแล้ว จึงทรงหยิบถ้วยและทรงทำเหมือนกันตรัสว่า “ถ้วยนี้ที่เทออกเพื่อท่านทั้งหลาย เป็นพันธสัญญาใหม่โดยโลหิตของเรา] ลูกา 22:14-20 (THSV11)



การประกอบพิธีมหาสนิท เพื่อให้ชาวคริสต์ระลึกถึงคุณของพระเป็นเจ้า เพื่อการประกาศยอมรับว่าพระเจ้าได้สถิตอยู่ในกายตน เพื่อแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ และเพื่ออยู่ร่วมกันด้วยความรักในประชาคมเดียวกัน

ในนิกายโปรเตสแตนต์ กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทตามพระวรสารนักบุญลูกา ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก กล่าวคำที่ใช้ในพิธีมหาสนิทเฉพาะตามที่พระศาสนจักรคาทอลิกกำหนด

ที่มา[แก้]

พิธีมหาสนิทมีที่มาจากเหตุการณ์ในคืนวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ก่อนการตรึงพระเยซูที่กางเขน ขณะนั้นพระเยซูรับประทานอาหารร่วมกับอัครทูตอันเป็นอาหารค่ำมื้อสุดท้าย ในการรับประทานอาหารครั้งนั้นอยู่ในช่วงปัสคา มีเพียงขนมปังและเหล้าองุ่น ซึ่งพระองค์ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งพันธสัญญาใหม่ ในการไถ่บาปด้วยเนื้อและเลือดของพระองค์ดังที่ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว

พระวรสารนักบุญมัทธิว[แก้]

การ​ทรง​ตั้ง​พิธีมหา‍สนิท[5]

ระหว่าง​รับ‍ประ‌ทาน​อยู่​นั้น พระ‍เยซู​ทรง​หยิบ​ขนม‍ปัง​ขึ้น​มา และ​เมื่อ​ขอ​พระ‍พร​แล้ว ก็​ทรง​หัก​ส่ง​ให้​บรร‌ดา​สาวก​ตรัส​ว่า “จง​รับ​ไป​กิน​เถิด นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา” แล้ว​พระ‍องค์​ทรง​หยิบ​ถ้วย เมื่อ​ขอบ‍พระ‍คุณ​แล้ว ก็​ทรง​ส่ง​ให้​พวก‍เขา​ตรัส​ว่า “จง​รับ​ไป​ดื่ม​ทุก‍คน​เถิด เพราะ‍ว่า​นี่​เป็น​โลหิต​ของ​เรา​อัน​เป็น​โลหิต​แห่ง​พันธ‌สัญญา​ที่​หลั่ง​ออก​เพื่อ​ยก​บาป​โทษ​คน​จำ‌นวน​มาก เรา​บอก​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​ดื่ม​จาก​ผล​ของ​เถา‍องุ่น​นี้​อีก‍ต่อ‍ไป​จน‍กว่า​จะ​ถึง​วัน‍นั้น ที่​เรา​จะ​ดื่ม​กับ​พวก‍ท่าน​อีก​ใน​แผ่น‍ดิน​แห่ง​พระ‍บิดา​ของ​เรา” เมื่อ​ร้อง‍เพลง​สรร‌เสริญ​แล้ว เขา‍ทั้ง‍หลาย​ก็​พา​กัน​ไป​ที่​ภูเขา​มะกอก‍เทศ

— พระวรสารนักบุญมัทธิว 26:26-30

พระวรสารนักบุญมาระโก[แก้]

การ​ทรง​ตั้ง​พิธี‍มหา‍สนิท[6]

ระหว่าง​อาหาร​มื้อ​นั้น พระ‍เยซู​ทรง​หยิบ​ขนม‍ปัง​มา เมื่อ​ขอ​พระ‍พร​แล้ว ทรง​หัก​ส่ง​ให้​แก่​เหล่า​สาวก​ตรัส​ว่า “จง​รับ​เถิด นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา” แล้ว​พระ‍องค์​ทรง​หยิบ​ถ้วย เมื่อ​ขอบ‍พระ‍คุณ​แล้ว​จึง​ส่ง​ให้​พวก‍เขา พวก‍เขา​ก็​รับ​ไป​ดื่ม​ทุก​คน แล้ว​พระ‍องค์​ตรัส​กับ​พวก‍เขา​ว่า “นี่​เป็น​โลหิต​ของ​เรา​ซึ่ง​เป็น​โลหิต​แห่ง​พันธ‌สัญญา​ที่​จะ​ต้อง​หลั่ง​ออก​เพื่อ​คน​จำ‌นวน​มาก เรา​บอก​ความ​จริง​แก่​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​ดื่ม​น้ำ​จาก​ผล​ของ​เถา‍องุ่น​อีก‍ต่อ‍ไป​จน‍กว่า​จะ​ถึง​วัน‍นั้น คือ​วัน‍ที่​เรา​จะ​ดื่ม​ใหม่​ใน​แผ่น‍ดิน​ของ​พระ‍เจ้า”

— พระวรสารนักบุญมาระโก 14:22-25

พระวรสารนักบุญลูกา[แก้]

การ​ทรง​ตั้ง​พิธี‍มหา‍สนิท[7]

พระ‍องค์​ตรัส​กับ​เขา‍ทั้ง‍หลาย​ว่า “เรา​มี​ความ​ปรารถ‌นา​อย่าง‍ยิ่ง​ที่​จะ​รับ‍ประ‌ทาน​ปัส‌กา​นี้​กับ​ท่าน​ก่อน​ที่​เรา​จะ​ต้อง​ทน‍ทุกข์ เรา​บอก​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​รับ‍ประ‌ทาน​ปัส‌กา​นี้​อีก​จน‍กว่า​จะ​สำเร็จ​ความ‍หมาย​ของ​ปัส‌กา​นั้น​ใน​แผ่น‍ดิน​ของ​พระ‍เจ้า” พระ‍องค์​ทรง​หยิบ​ถ้วย เมื่อ​ขอบ‍พระ‍คุณ​แล้ว​ตรัส​ว่า “จง​รับ​ถ้วย​นี้​ไป​แบ่ง​กัน​ดื่ม เรา​บอก​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​ว่า เรา​จะ​ไม่​ดื่ม​จาก​ผล​ของ​เถา‍องุ่น​อีก‍ต่อ‍ไป​จน‍กว่า​แผ่น‍ดิน​ของ​พระ‍เจ้า​จะ​มา” พระ‍องค์​ทรง​หยิบ​ขนม‍ปัง เมื่อ​ขอบ‍พระ‍คุณ​แล้ว​ก็​ทรง​หัก​ส่ง​ให้​พวก‍เขา ตรัส​ว่า “นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา [ซึ่ง​ให้​ไว้​สำหรับ​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย จง​ทำ​อย่าง‍นี้​เพื่อ​เป็น​ที่​ระลึก‍ถึง​เรา” เมื่อ​รับ‍ประ‌ทาน​แล้ว จึง​ทรง​หยิบ​ถ้วย​และ​ทรง​ทำ​เหมือน‍กัน​ตรัส​ว่า “ถ้วย​นี้​ที่​เท​ออก​เพื่อ​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย เป็น​พันธ‌สัญญา​ใหม่​โดย​โลหิต​ของ​เรา]

— พระวรสารนักบุญลูกา 22:15-20

จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1[แก้]

การ​ตั้ง​พิธี‍มหา‍สนิท[8]

เพราะ‍ว่า​เรื่อง​ซึ่ง​ข้าพ‌เจ้า​มอบ​ไว้​กับ​พวก‍ท่าน​นั้น ข้าพ‌เจ้า​ได้​รับ​จาก​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า คือ​ใน​คืน​ที่​เขา​ทรยศ​พระ‍เยซู​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า พระ‍องค์​ทรง​หยิบ​ขนม‍ปัง เมื่อ​ขอบ‍พระ‍คุณ​แล้ว​จึง​ทรง​หัก และ​ตรัส​ว่า “นี่​เป็น​กาย​ของ​เรา ซึ่ง​ให้​แก่​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย จง​ทำ​อย่าง‍นี้​เพื่อ​ระลึก‍ถึง​เรา” หลัง‍จาก​รับ‍ประ‌ทาน​อาหาร​แล้ว พระ‍องค์​ทรง​หยิบ​ถ้วย​ด้วย​อา‌กัป‌กิริยา​เดียว‍กัน ตรัส​ว่า “ถ้วย​นี้​คือ​พันธ‌สัญญา​ใหม่ โดย​โลหิต​ของ​เรา จง​ทำ​อย่าง‍นี้ คือ​เมื่อ​ใด​ที่​พวก‍ท่าน​ดื่ม​จาก​ถ้วย​นี้ จง​ดื่ม​เพื่อ​ระลึก‍ถึง​เรา” เพราะ‍ว่า​เมื่อ​ใด​ที่​พวก‍ท่าน​กิน​ขนม‍ปัง​และ​ดื่ม​จาก​ถ้วย​นี้ ท่าน​ก็​ประ‌กาศ​การ​วาย‍พระ‍ชนม์​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า จน‍กว่า​พระ‍องค์​จะ​เสด็จ​มา

— จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 11:23-26

การ​ถือ​พิธี‍มหา‍สนิท​อย่าง​ไม่​เหมาะ‍สม[9]

ฉะนั้น​ถ้า​ใคร​กิน​ขนม‍ปัง หรือ​ดื่ม​จาก​ถ้วย​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​อย่าง​ไม่​เหมาะ‍สม เขา​ก็​ทำ​ผิด​ต่อ​พระ‍กาย​และ​พระ‍โลหิต​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า ทุก‍คน​จง​สำรวจ​ตัว​เอง แล้ว​จึง​กิน​ขนม‍ปัง​และ​ดื่ม​จาก​ถ้วย​นี้ เพราะ‍ว่า​คน​ที่​กิน​และ​ดื่ม​โดย​ไม่‍ได้​ตระ‌หนัก​ถึง​พระ‍กาย​ของ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า ก็​กิน​และ​ดื่ม​เป็น​เหตุ​ให้​ตน‍เอง​ถูก​ลง‍โทษ เพราะ‍เหตุ‍นี้​พวก‍ท่าน​หลาย​คน​จึง​อ่อน‌แอ​และ​เจ็บ‍ป่วย และ​บ้าง​ก็​ล่วง‍หลับ​ไป แต่​ถ้า​เรา​วินิจ‌ฉัย​ตัว​เอง เรา​คง​ไม่​ต้อง​ถูก​พิพาก‌ษา เมื่อ​องค์‍พระ‍ผู้‍เป็น‍เจ้า​ทรง​พิพาก‌ษา​เรา​นั้น พระ‍องค์​ทรง​ตี‍สอน​เรา เพื่อ​ไม่‍ให้​เรา​ถูก​พิพาก‌ษา​ด้วย‍กัน​กับ​โลก ฉะนั้น​พี่‍น้อง​ของ​ข้าพ‌เจ้า เมื่อ​ท่าน‍ทั้ง‍หลาย​มา​ชุม‌นุม​กัน​เพื่อ​รับ‍ประ‌ทาน​อาหาร​นั้น จง​รอ​กัน​และ​กัน ถ้า​มี​ใคร​หิว ก็​ให้​กิน​ที่​บ้าน​ก่อน เพื่อ​ว่า​เมื่อ​มา​ชุม‌นุม​กัน พวก‍ท่าน​จะ​ไม่​ถูก​ลง‍โทษ

— จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 11:27-34

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 248
  2. สมาคมพระคริสตธรรมไทย, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971, ลูกา, หน้า 133
  3. สมาคมพระคริสตธรรมไทย, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  4. สมาคมพระคริสตธรรมไทย, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971, มัทธิว, หน้า 46
  5. พระวรสารนักบุญมัทธิว 26:26-30, พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011
  6. พระวรสารนักบุญมาระโก 14:22-25, พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011
  7. พระวรสารนักบุญลูกา 22:15-20, พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011
  8. จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 11:23-26, พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011
  9. จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 11:27-34, พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011