ข้ามไปเนื้อหา

วีแชต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
WeChat
ผู้ออกแบบเทนเซ็นต์
นักพัฒนาเทนเซ็นต์
วันที่เปิดตัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 (2012-11-26); 4389 วันก่อน
รุ่นเสถียร
แอนดรอยด์7.0.13 / 29 มิถุนายน 2020; 4 ปีก่อน (2020-06-29)[1]
ไอโอเอส7.0.13 / 16 มกราคม 2020; 4 ปีก่อน (2020-01-16)[2]
แมคโอเอส2.4.1 / 20 พฤษภาคม 2020; 4 ปีก่อน (2020-05-20)[3]
วินโดวส์โฟน 8.16.0.8 (ไม่พัฒนาต่อ) / 2016; 8 ปีที่แล้ว (2016)[4]
รุ่นทดลอง
แอนดรอยด์7.0 / 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 (2018-11-19); 2205 วันก่อน[5]
ระบบปฏิบัติการข้ามแพลตฟอร์ม
ภาษาหลายภาษา (20)
ประเภทเครือข่ายชุมชนออนไลน์
สัญญาอนุญาตฟรีแวร์
เว็บไซต์www.wechat.com (สากล)
weixin.qq.com (จีน)

วีแชต (อังกฤษ: WeChat) หรือในจีนเรียก Weixin เป็นระบบส่งข้อความทันทีที่สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการไอโอเอส, แอนดรอยด์ และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ด้วยความที่มีลูกเล่นมากมาย สามารถแชท ส่งรูป ส่งไอคอน ไฟล์เสียง ได้อย่างรวดเร็ว และการคุยแบบเห็นหน้า ทำให้มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

[แก้]

ทางบริษัทเทนเซ็นต์ ได้ปล่อย โปรแกรมออกมาในชื่อ Weixin ถูกเปิดให้ดาวน์โหลดครั้งแรกในเดือน มกราคม พ.ศ. 2554 พบว่ามีการดาวน์โหลดจำนวนมาก ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วีแชต แทน และบริษัท เทนเซ็นต์ ได้ร่วมกับ สนุก ออนไลน์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยมีจำนวนผู้ใช้ประมาณ 300 ล้านคนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน จึงถือได้ว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของบริษัทเทนเซ็นต์

การใช้งาน

[แก้]

วีแชตเป็นโปรแกรมสนทนาที่สามารถใช้งานได้ฟรี โดยใช้งานผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งผู้ใช้อาจต้องเสียค่าใช้บริการ

ปลั๊กอินเพิ่มเติม

[แก้]
  • สำรองข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อ เพื่อป้องกันการสูญหายของผู้ติดต่อเดิมด้วยบริการจัดเก็บรายชื่อผู้ติดต่อผ่านการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ระบบันทึกเสียง สามารถบันทึกเสียง ข้อความ และรูปถ่าย
  • ระบบค้นหาเพื่อนจากคนรอบข้าง
  • เขย่าค้นหาเพื่อน เขย่ามือถือเพื่อค้นหาเพื่อนใหม่
  • ส่งความคิดถึงผ่านขวด ส่งข้อความผ่านขวดลอยน้ำไปเผื่อจะพบใครสักคนเปิดมันขึ้นมาอ่าน
  • ส่งรายชื่อติดต่อผ่าน QR โค้ด
  • Push To Talk

อื่นๆ

[แก้]

ในเดือนมกราคมปี 2016 Tencent ได้เปิดตัว WeChat Out ซึ่งเป็นบริการ VOIP ที่อนุญาตให้ผู้ใช้โทรไปยังโทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์บ้านทั่วโลก[6] ฟีเจอร์นี้อนุญาตให้ซื้อเครดิตในแอปพลิเคชันด้วยบัตรเครดิต เริ่มแรก WeChat Out ใช้ได้เฉพาะในสหรัฐอเมริกา อินเดีย และฮ่องกง แต่ภายหลังการให้บริการขยายไปยังประเทศไทย มาเก๊า ลาว และอิตาลี[7]

ในเดือนมีนาคมปี 2017 Tencent ได้เปิดตัว WeChat Index[8][9] โดยการป้อนคำค้นหาในหน้าดัชนีของ WeChat ผู้ใช้สามารถตรวจสอบความนิยมของคำคำหนึ่งในช่วง 7, 30 หรือ 90 วันที่ผ่านมา ข้อมูลถูกดึงมาจากบัญชีทางการของ WeChat และการประเมินพิจารณาจากตัวชี้วัดเช่น การแชร์ในโซเชียลมีเดีย การถูกใจ และการอ่าน

ในปี 2017 มีรายงานว่า WeChat กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มเสริมความจริงเสมือน (AR) ในกรอบการให้บริการของตน ทีมปัญญาประดิษฐ์ของบริษัทกำลังทำงานกับเครื่องมือเรนเดอร์ 3D สำหรับการสร้างภาพสมจริงของวัตถุที่มีรายละเอียดในแอปพลิเคชัน AR สำหรับสมาร์ทโฟน พวกเขายังพัฒนาเทคโนโลยีการหาตำแหน่งและสร้างแผนที่พร้อมกัน ซึ่งช่วยให้สามารถคำนวณตำแหน่งของวัตถุเสมือนได้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม, ทำให้สามารถโต้ตอบกับ AR โดยไม่ต้องใช้เครื่องหมายเช่นโค้ดตอบสนองรวดเร็วหรือภาพเฉพาะ[10]

ผู้ใช้ที่ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารสามารถใช้แอปพลิเคชันในการชำระบิล การสั่งซื้อสินค้าและบริการ การโอนเงินให้กับผู้ใช้อื่นๆ และการชำระเงินในร้านค้าถ้าร้านค้ามีตัวเลือกการชำระเงิน Weixin[11][12] ฝ่ายที่เชื่อถือได้ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ "บัญชีทางการ" เสนอบริการเหล่านี้โดยการพัฒนา "แอปพลิเคชันภายในแอปพลิเคชัน" เบาที่ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงบัญชีของตนในธนาคารจีนและยังสามารถเชื่อมโยงกับ Visa, MasterCard และ JCB[13]

คุณสมบัติ

[แก้]
  • รองรับหลายระบบปฏิบัติการ
  • สามารถคุยแบบเห็นหน้า หรือ วีดีโอคอล
  • ซิงก์ข้อมูลจากสมุดรายชื่อในโทรศัพท์
  • ข้อความที่ถูกจะส่ง จะถูกส่งในทันที
  • แบ่งปันรูปภาพ, วิดีโอ, เพลง และอื่นๆ
  • ส่งพิกัดสถานที่ที่อยู่
  • ส่ง อีโมจิ,และ ใบหน้าระบุอารมณ์
  • สร้างและร่วมกลุ่มเมื่อต้องการพูดคุยหรือแบ่งปันสื่อ
  • สารพัดลูกเล่นและเกมสนุกๆ เป่า-ยิ้ง-ฉุบ ทอยลูกเต๋า ขวดลอยน้ำ เขย่าขวดหาเพื่อน
  • เพิ่มเพื่อนโดยใช้ คิวอาร์โคด
  • เพื่มเพื่อนโดยใช้ NFC ในการเขย่าโทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ๆกัน
  • ข้อความเตือนแบบกล่อง สะดวกต่อการอ่านและตอบสนทนา
  • หน้าเส้นเวลา (Timeline) และหน้าแรก (Home Page) สำหรับ ไอโอเอส และ แอนดรอยด์
  • สมาร์ตแท็บเล็ต ผ่านเบราว์เซอร์
  • รองรับหลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ, อินโดนีเซีย, โปรตุเกส, ไทย, จีน และเวียตนาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tencent Inc. (November 16, 2017). "WeChat". Google Play. Google. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Tencent Inc. (June 25, 2014). "WeChat". App Store. Apple. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Tencent Inc. (March 17, 2014). "WeChat". Mac App Store. Apple. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Mayank Parmar (September 22, 2017). "WeChat is not working on Windows Phone anymore". windowslatest.com. สืบค้นเมื่อ June 30, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. "WeChat APKs". APKMirror. Android Police. November 19, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2017. สืบค้นเมื่อ December 12, 2017.
  6. "WeChat tackles Skype with the addition of landline and mobile calling". www.androidauthority.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
  7. ""WeChat Out" VOIP Feature Now Rapidly Expanding Around the World". blog.wechat.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
  8. "Tencent launches trends search feature on WeChat". technode.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
  9. "One hundred thousand reasons for WeChat SEO, the difference between WeChat index and Baidu index". inf.news. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.[ลิงก์เสีย]
  10. "WeChat is quietly developing its own AR platform". www.techinasia.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
  11. "Paying by smartphone in China: The Guide for Wechat and Alipay". www.saporedicina.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
  12. "How to Use WeChat's Features". ltl-school.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
  13. "You Can Now Add a Foreign Credit Card on WeChat". mp.weixin.qq.com. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]