มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด
นักพัฒนาMozilla Messaging (ดูแล) / มูลนิธิมอซิลลา (เริ่มต้นพัฒนา)
รุ่นเสถียร
รุ่นทดลอง
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนC++ , จาวาสคริป
ระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการ
ภาษา53 ภาษา
ประเภทโปรแกรมรับส่งอีเมล และ โปรแกรมรับข่าวสาร
สัญญาอนุญาตMPL /GPL/LGPL
เว็บไซต์www.mozilla.com/thunderbird www.mozillamessaging.com

มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด (Mozilla Thunderbird) เป็นโปรแกรมสำหรับรับและส่งอีเมล และรับข่าวสารแบบกราฟิกส์ สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ควบคู่ไปกับ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโปรแกรมค้นดูเว็บ ที่เล็กและเร็วกว่าโปรแกรมทั่วไป และธันเดอร์เบิร์ด ก็มีเป้าหมายเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักใช้ธันเดอร์เบิร์ดร่วมกับไฟร์ฟอกซ์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ธันเดอร์เบิร์ดได้เปิดตัวเวอร์ชัน 1.0 โดยมียอดผู้ดาวน์โหลดกว่า 500,000 เก็บถาวร 2012-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ครั้งใน 3 วันแรก (และ 1,000,000 เก็บถาวร 2013-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ครั้งใน 10 วัน)

ประวัติ[แก้]

มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด
มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด

แต่เดิมแล้ว ธันเดอร์เบิร์ดถูกตั้งชื่อว่า มิโนทอร์ ซึ่งออกมาตาม ฟีนิกซ์ (ชื่อเดิมของ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์)


ความสามารถ[แก้]

ธันเดอร์เบิร์ด ถูกตั้งเป้าหมายในการพัฒนา ให้เป็นโปรแกรมรับส่งอีเมลที่เรียบง่าย ซึ่งมันไม่ใช่โปรแกรมจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล (Personal information manager) แต่ถ้าต้องการความสามารถพิเศษอื่นๆ ก็ยังเพิ่มประสิทธิภาพของมันได้ โดยการติดตั้งส่วนขยาย นอกจากนี้ Thuderbird ยังสามารถใช้งานในส่วนของการตรวจสอบจดหมายจาก E-mail ยอดนิยมอย่าง Gmail ได้อย่างด้วย และสามารถใช้งานร่วมกับ Hotmail Yahool ฯลฯ โดยการใช้ Webmail เป็นปลั๊กอินในการช่วย

กรองอีเมลขยะ[แก้]

ธันเดอร์เบิร์ดได้ใช้ตัวกันอีเมลขยะแบบ Bayesian ซึ่งมีประสิทธิภาพในการขจัดอีเมลขยะที่ไม่พึงประสงค์ได้

ส่วนเสริม[แก้]

ส่วนเสริมสามารถเพิ่มความสามารถในการใช้งานได้ เช่น Lightning เป็นส่วนเสริมที่เพิ่มปฏิทินเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

รองรับมาตรฐานต่าง ๆ[แก้]

ธันเดอร์เบิร์ด รองรับมาตรฐานการรับส่งอีเมลอย่าง POP และ IMAP และยังรองรับที่อยู่แบบ LDAP อีกด้วย ทั้งยังสามารถอ่านและเขียนอีเมลแบบ HTML และยังมีการติดตั้งตัวอ่าน RSS/Atom

รับรองการใช้งาน[แก้]

มอซิลลา ธันเดอร์เบิร์ด สามารถทำงานได้หลายระบบ ซึ่งรองรับในระบบประฏิบัติการดังนี้ [1]

ปลอดภัย[แก้]

ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสด้วย เอสเอสแอล แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยมากกว่านี้ สามารถติดส่วนเสริมสำหรับเข้ารหัสและบีบอัดข้อมูลได้

การปรับแต่ง Thuderbird[แก้]

Thunderbird สามารถปรับแต่งความสามารถได้โดยการเข้าไปยัง เว็บไซต์ http://www.mozilla.org

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]