วิเศษ ใจใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิเศษ ใจใหญ่
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มีนาคม พ.ศ. 2482
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เสียชีวิต20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 (80 ปี)
อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายวิเศษ ใจใหญ่ (7 มีนาคม พ.ศ. 2482 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562[1]) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 7 สมัย และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[2] อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4]

ประวัติ[แก้]

วิเศษ ใจใหญ่ เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2482 ณ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของนายสมศักดิ์ และ นางผึ้ง ใจใหญ่[5] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร[6]

งานการเมือง[แก้]

วิเศษ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 7 ครั้ง

วิเศษ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 38 สังกัดพรรคไทยรักไทย เมื่อ พ.ศ. 2544 และได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

วิเศษ ใจใหญ่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/D/017/208.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/074/88.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/070/6087.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/D/103/157.PDF
  5. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  6. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2540. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2540
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐