พาร์เธนอน

พิกัด: 37°58′17.39″N 23°43′35.69″E / 37.9714972°N 23.7265806°E / 37.9714972; 23.7265806
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิหารพาเธนอน)
พาร์เธนอน
Παρθενώνας
พาร์เธนอนใน ค.ศ. 1978
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทเทวสถาน
สถาปัตยกรรมคลาสสิก
ที่ตั้งเอเธนส์, กรีซ
เริ่มสร้าง447 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1][2]
แล้วเสร็จ432 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1][2]
ถูกทำลาย26 กันยายน ค.ศ. 1687 โดยเป็นที่บางส่วน
ความสูง13.72 เมตร (45.0 ฟุต)[3]
ขนาด
ด้านอื่น ๆอาคารภายใน: 29.8 โดย 19.2 เมตร (98 โดย 63 ฟุต)
ข้อมูลทางเทคนิค
วัสดุหินอ่อนแพนเทลลิคอน[4]
พื้นที่69.5 โดย 30.9 เมตร (228 โดย 101 ฟุต)
พื้นที่แต่ละชั้นกว้าง 111 ฟุต (34 เมตร) ยาว 238 ฟุต (73 เมตร)[5]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกอิคตินอส, คัลลิคัสล์
ผู้ออกแบบผู้อื่นพีเดียส (รูปปั้น)

พาร์เธนอน (กรีกโบราณ: Παρθενών, อักษรโรมัน: Parthenṓn ออกเสียง [par.tʰe.nɔ̌ːn]; กรีก: Παρθενώνας, อักษรโรมัน: Parthenónas ออกเสียง [parθeˈnonas]) เป็นวิหารโบราณ[6][7] บนอะโครโพลิสแห่งเอเธนส์ ประเทศกรีซ สร้างเพื่ออุทิศแด่เทพีอะธีนา ซึ่งชาวเอเธนส์นับถือเป็นองค์อุปถัมภ์ของพวกเขา การก่อสร้างเริ่มต้นใน 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อสันนิบาตดีเลียนเรืองอำนาจ ตัววิหารสร้างเสร็จใน 432 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการตกแต่งตัววิหารจะดำเนินต่อไปจนถึง 428 ปีก่อนคริสต์ศักราชก็ตาม พาร์เธนอนเป็นอาคารสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของกรีซสมัยคลาสสิกที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นจุดสูงสุด (Zenith) ของเสาแบบดอริก[5][8]

คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เมธีอันบริสุทธิ์ของธรรมชาติ

การก่อสร้าง[แก้]

วิหารพาร์เธนอนสร้างตามการริเริ่มของเพริเคิล ผู้นำกรุงเอเธนส์ในสมัยนั้น และสร้างโดยมีประติมากรฟีเดียสเป็นผู้ควบคุมงาน การก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ 447 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึงแม้ว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อ 438 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก 5 ปี บัญชีส่วนหนึ่งของการก่อสร้างครั้งนี้หลงเหลืออยู่ และแสดงให้เห็นว่างานที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ การขนย้ายหินจากเขาเพนเทลิกัส ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเอเธนส์ไปกว่า 16 กิโลเมตร

วิหารพาร์เธนอนมีขนาดกว้าง 30.9 เมตร ยาว 69.5 เมตร (101.4 × 228.0 ฟุต) เสาภายนอกแต่ละต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.9 เมตร (6.2 ฟุต) และสูง 10.4 เมตร (34.1 ฟุต) เสาที่หัวมุมของวิหารจะมีขนาดใหญ่กว่าเสาอื่น ๆ เล็กน้อย หลังคาปูด้วยหินอ่อนซ้อนกัน

เมื่อนำขนาดของวิหารนี้มาคำนวณเป็นอัตราส่วน จะพบว่าหลาย ๆ แห่งเป็นอัตราส่วนทองคำ เสาด้านหน้าจะมี 8 ต้น และด้านข้างจะมี 17 ต้น

การเปลี่ยนแปลง[แก้]

พาร์เธนอนยังคงเป็นวิหารมากว่าพันปีนับจากเสร็จสิ้นการก่อสร้าง ซึ่งถือว่ามีอายุเก่าแก่มาก หลังจากนั้นพาร์เธนอนจึงกลายเป็นโบสถ์คริสต์

ในปี ค.ศ. 1456 เอเธนส์ตกเป็นของจักรวรรดิออตโตมัน พาร์เธนอนจึงถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิด

ในระหว่างนี้ มีการครอบครองอาณาจักรกันมากมาย วิหารพาร์เธนอนแห่งนี้จึงเปลี่ยนเป็นสถานที่ทางศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ ของอาณาจักรที่เป็นใหญ่ในขณะนั้น และมีการบูรณะรักษาสถานที่แห่งนี้อยู่หลายครั้ง

ภายหลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2004 มีการบูรณะวิหารพาร์เธนอนครั้งใหญ่เนื่องจากประเทศกรีซได้รับเลือกให้จัดการแข่งขันโอลิมปิกซึ่งแน่นอนว่าจะมีพิธีเปิดที่วิหารพาร์เธนอน

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก[แก้]

อาโครโปลิสแห่งเอเธนส์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยมีเหตุผลตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือ

  • (i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Parthenon. Academic.reed.edu. Retrieved on 4 September 2013.
  2. 2.0 2.1 The Parthenon. Ancientgreece.com. Retrieved on 4 September 2013.
  3. Penprase, Bryan E. (2010). The Power of Stars: How Celestial Observations Have Shaped Civilization. Springer Science & Business Media. p. 221. ISBN 978-1-4419-6803-6. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
  4. Sakoulas, Thomas. "The Parthenon". Ancient-Greece.org. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  5. 5.0 5.1 Wilson, Benjamin Franklin (1920). The Parthenon at Athens, Greece and at Nashville, Tennessee. Nashville, Tennessee: Stephen Hutcheson and the Online Distributed. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-06. สืบค้นเมื่อ 2022-01-13.{{cite book}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. Barletta, Barbara A. (2005). "The Architecture and Architects of the Classical Parthenon". ใน Jenifer Neils (บ.ก.). The Parthenon: From Antiquity to the Present. Cambridge University Press. p. 67. ISBN 978-0-521-82093-6. The Parthenon (Plate 1, Fig. 17) is probably the most celebrated of all Greek temples.
  7. Hambidge, Jay; Yale University. Rutherford Trowbridge Memorial Publication Fund (1924). The Parthenon and other Greek temples: their dynamic symmetry. Yale university press.
  8. "Classical Greek Architecture". courses.lumenlearning.com. Boundless. สืบค้นเมื่อ 11 November 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

37°58′17.39″N 23°43′35.69″E / 37.9714972°N 23.7265806°E / 37.9714972; 23.7265806