วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลอื่น
หน้าตา
หน้านี้เป็นแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปซึ่งผู้ใช้ควรถือปฏิบัติ แม้ควรปฏิบัติโดยสามัญสำนึก และอาจมีข้อยกเว้นในบางโอกาส การแก้ไขใจความสำคัญของหน้านี้ควรสะท้อนความเห็นพ้อง หากไม่มั่นใจให้อภิปรายก่อน |
บทความในวิกิพีเดียสามารถรวมลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่นนอกเหนือจากวิกิพีเดีย โดยข้อมูลที่ลิงก์ไปนั้นจะต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และเหมาะสมให้ผู้อ่าน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามลิงก์วิกิพีเดียไม่ใช่เว็บที่รวมเฉพาะลิงก์ (ดูเพิ่มอะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย)
สิ่งที่ควรจำ
[แก้]- จำนวนลิงก์ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นควรมีให้น้อยและตรงเนื้อหามากที่สุด ไม่ลิงก์ไปที่เว็บที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
- ลิงก์ควรเก็บไว้ที่ส่วนท้ายสุดของบทความภายใต้หัวข้อ "แหล่งข้อมูลอื่น"
- พยายามเลี่ยงการลิงก์ไปที่หลายหน้าในเว็บไซต์เดียวกัน โดยพยายามหาหน้าที่เป็นหน้าหลักและทำลิงก์ไปแทนที่
- เว็บที่ลิงก์ไป สามารถเข้าดูได้โดยทุกคนโดยไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิกก่อน
- วิกิพีเดียมีนโยบายห้ามสร้างลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่นลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เก็บภาพการ์ตูนที่สแกนมา หรือลิงก์ไปยังเว็บรวมเพลงหรือเกมที่ละเมิดลิขสิทธิ์ให้ดาวน์โหลด
- คุณไม่สามารถสร้างลิงก์ไปยังรายชื่อเว็บไซต์ที่อยู่ใน วิกิพีเดียแบล็กลิสต์ มิฉะนั้นจะไม่สามารถบันทึกการแก้ไขได้
- ถ้าเป็นไปได้ให้ลิงก์ไปยังเว็บภาษาไทยเป็นอันดับแรก แต่ถ้าเว็บภาษาไทยไม่มีเนื้อหาที่ต้องการ สามารถลิงก์ไปยังเว็บไซต์ภาษาอื่นตามความเหมาะสม
ควรระบุที่ส่วนท้ายของบรรทัดว่า เนื้อหาปลายทางเป็นภาษาใดด้วยรูปแบบ {{xx icon}} โดย xx คือรหัสภาษา เช่นภาษาญี่ปุ่นว่า {{en icon}} จะแสดงผลเป็น (อังกฤษ) - ลิงก์เว็บภายนอกในแหล่งข้อมูลอื่น ถ้าเกิดลิงก์เสียจะถูกลบออกทันที (ต่างกับการอ้างอิงที่สามารถนำข้อมูลจาก Archive.org มาลงแทนได้)
เว็บที่ควรลิงก์ไป
[แก้]- เว็บที่ลิงก์ไปที่เกี่ยวกับหน่วยงาน บุคคล เว็บไซต์ ควรลิงก์ไปที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการอันดับแรก
- เว็บที่มีเนื้อหาให้ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ เช่น ประวัติ ข้อมูลเฉพาะ ของตัวเนื้อหา
- ถ้าเป็นไปได้ควรใช้แหล่งข้อมูลที่เผยแพร่เนื้อหาหรือข่าวนั้นเป็นแหล่งแรก
เว็บที่ควรเลี่ยง
[แก้]- เว็บที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง หรือเว็บที่รวบรวมเนื้อหาจากเว็บอื่นเป็นเนื้อหาหลักของเว็บนั้น
- เว็บที่พยายามชักจูง โฆษณา หรือขายสินค้า หรือเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนจากการเข้าชม
- เว็บไซต์ที่พยายามติดตั้งไวรัสคอมพิวเตอร์ สปายแวร์ หรือสร้างความก่อกวนให้กับผู้เข้าชม
- เว็บไซต์ที่จำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกถึงจะเข้าชมได้ แม้ว่าจะสมัครฟรีก็ตาม
- ลิงก์ไปยังเสิร์ชเอนจินให้ทำการค้นหาอีกต่อหนึ่ง
- ลิงก์ไปยังบทวิจารณ์ หรือเว็บที่แสดงความเห็นส่วนตัว จากเว็บหรือบล็อกส่วนตัว
- ลิงก์ไปยังเว็บที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากวิกิพีเดียไทยเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้นิยมอันดับต้น การสร้างลิงก์ไปยังเว็บไซต์ใดจะทำให้มีผลเข้าชมเว็บไซต์นั้นมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าเว็บไซต์นั้นจะเป็นเว็บไซต์ในเชิงการค้าหรือเผยแพร่ข้อมูลในด้านความรู้ก็ตาม ให้พยายามหลีกเลี่ยงการทำลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่เป็นเจ้าของหรือดูแล หรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับเว็บไซต์นั้น อย่างไรก็ตามวิกิพีเดียได้ใช้แท็ก โนฟอลโลว์ ซึ่งจะไม่ทำให้อันดับการค้นหาของเว็บปลายทางเพิ่มขึ้น
- ลิงก์ไปยังเว็บไซต์รวบรวมวิดีโอ เช่น ยูทูบ พยายามพิจารณาว่าการลิงก์ไปยังเว็บนั้นว่าเหมาะสมหรือไม่เช่น สร้างลิงก์สิบลิงก์เพื่อให้ผู้อ่านได้ฟังเพลงครบทั้งอัลบั้ม เป็นต้น
- ลิงก์ไปยังเว็บบอร์ดหรือฟอรัมที่ไม่ได้มีการเก็บสำเนาลงกรุ เนื่องจากข้อมูลในเว็บบอร์ดอาจถูกลบเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ลิงก์ใช้งานไม่ได้และต้องนำออกในภายหลัง
ส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น"
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่นทั้งหมดให้เก็บรวบรวมไว้ที่ส่วนท้ายของบทความ โดยรวมไว้ในหัวข้อ "แหล่งข้อมูลอื่น" และให้จัดเรียงตามความสำคัญจากมากไปน้อย โดยเขียนเป็นหัวข้อ ดังตัวอย่าง เช่น
ลิงก์อย่างเป็นทางการ
[แก้]ลิงก์อย่างเป็นทางการคือลิงก์ไปยังเว็บไซต์หรือบริการอินเทอร์เน็ตอื่นที่ตรงตามเกณฑ์ทั้งสองข้อต่อไปนี้:
- เนื้อหาที่เชื่อมโยงถูกควบคุมโดยหัวเรื่อง (องค์การ หรือ บุคคล) ของบทความวิกิพีเดีย
- เนื้อหาที่ลิงก์โดยหลักแล้วจะครอบคลุมถึงหัวข้อของบทความที่มีความโดดเด่น
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]- วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา สำหรับการเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่นในการอ้างอิงเฉพาะส่วน