วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ระงับการแก้ไขด้วยไอพีชั่วคราว
สรุปหน้านี้: (1) เห็นด้วย-คัดค้าน-เป็นกลาง อยู่ที่ 3-3-8 โดยผู้ใช้ลงทะเบียนที่มีประสบการณ์แก้ไขระยะหนึ่งแล้วรวม 14 ท่าน มีความคิดเห็นจากผู้ใช้ลงทะเบียนและผู้ใช้ไม่ลงทะเบียนอีกจำนวนหนึ่ง ประเด็นนี้จึงยังไม่มีข้อยุติและยังไม่ควรนำประเด็นนี้กลับมาอภิปรายใหม่อีกจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจ |
- การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่
สืบเนื่องจาก WP:AN ในหัวข้อ FYI สืบเนื่องจาก 44253 (Zendesk) ผู้ดูแลระบบไม่มีความเห็นเพิ่มเติมหรือขอให้ระงับการขอความเห็นต่อชุมชน ดังนั้นจึงผมจึงขอนำเสนอข้อมูลต่อชุมชนดังต่อไปนี้ (ในฐานะอาสาสมัครที่อยู่มานานและได้ติดต่อคุ้นเคยกับมูลนิธิวิกิมีเดียอยู่บ้าง ไม่ใช่ในฐานะที่มีบทบาทเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น -- ปัจจุบันผมไม่ได้ดูแล WMTH แต่ไปช่วยพิจารณาการให้ทุนของภูมิภาค ESEAP แทน)
- เคยมีการคุกคามและยังมีการคุกคามผู้ใช้ในชุมชนวิกิพีเดียจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน (ในรูปแบบองค์กร) และปัจเจกบุคคล เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว อ่านเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย:การถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย
- การก่อกวนจากไอพี (ทั้งที่เป็นการคุกคาม ไม่ใช่การคุกคาม เป็นการก่อความรำคาญ จงใจแสวงหาประโยชน์ โฆษณา ฯลฯ) มีอยู่ด้วยเช่นกัน มีความสำคัญเช่นกัน แต่เป็นเหตุผลรอง
- ตามคำตอบของอีเมลส่งถึงมูลนิธิวิกิมีเดีย ได้รับหมายเลข ticket 44253 ในระบบ Zendesk มูลนิธิวิกิมีเดียเสนอให้ชุมชนพิจารณาการดำเนินการที่เหมาะสมแก่ชุมชนของตัวเองได้ โดยมีตัวอย่างจาก en:Wikipedia:Wikipedia_Signpost/2020-11-01/News_and_notes ภายใต้หัวข้อ Portuguese Wikipedia bans IP editing
- ผมได้แสดงความคิดเห็นในเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการไปแล้ว ขอสรุปโดยย่อในที่นี้อีกครั้ง
- เนื้อหา: วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี เสรีในแบบที่ทุกคนแก้ไขได้ ทั้งนี้ รูปแบบวิธีการก็เปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป หากไม่ปรับปรุงก็คงรักษาส่วนแบ่งตลาดหรือความสำคัญในสังคมไว้ไม่ได้ การปรับปรุงก็ย่อมมีถูกผิด แก้ไขกันไป แต่อย่าลืมว่าทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของวิกิพีเดียควรจะเป็นอาสาสมัครที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่อาสาสมัครที่จากไปแล้ว รวมถึงอาจไม่ใช่เนื้อหาที่มีอยู่แล้ว การดูแลธำรงไว้ซึ่งอาสาสมัครในปัจจุบัน พัฒนาศักยภาพ สร้างเครือข่าย รวมถึงเพิ่มคนหน้าใหม่เข้ามาเป็นอาสาสมัครจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
- กระบวนการ: เสนอให้แสดงความเห็นและลงคะแนนได้ตลอดเดือนธันวาคม หากมีความเห็นให้มีการเปลี่ยนแปลงก็เริ่มดำเนินการตามผลของการลงความเห็นใน พ.ศ. 2566 โดยมติที่ควรจะขอจากชุมชนเป็นมติชั่วคราวมีผล 6 เดือน และต้องต่ออายุก่อนมาตรการเดิมสิ้นผล หากไม่ได้รับการต่ออายุหมายความว่าจะกลับไปเป็นเช่นเดิมทันที วิธีการนี้เป็นจุดกึ่งกลางที่แสดงว่าเราฟังและดำเนินการตามความเห็นของมูลนิธิในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งอุดมคติสารานุกรมเสรี
--Taweethaも (คุย) 12:03, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
เหลือเวลาเพียงสองสัปดาห์ก็จะปิดการอภิปรายแต่ยังมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเพียงส่วนน้อย ผมจึงสุ่มแจ้งไปยังผู้ใช้ลงทะเบียนที่มีการแก้ไขมาต่อเนื่องยาวนานจำนวน 12 ท่านที่ยังไม่เคยแสดงความคิดเห็นในนี้ จะดูว่ามีผู้สนใจตอบกลับมามากน้อยเพียงใด --Taweethaも (คุย) 20:04, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
- มีสองท่านได้แสดงความคิดเห็นไว้ แต่ยังไม่ได้ลงคะแนนนะครับ @Just Sayori และ Kaoavi: ผมจะปิดลงกรุวันที่ 31 ธันวาคมตามที่แจ้งไว้แต่ต้น แต่ตอนนี้จะเขียนหา WMF ให้เห็นผลล่วงหน้าไปก่อนเพราะคิดว่าคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในเวลาที่เหลือ --Taweethaも (คุย) 10:43, 30 ธันวาคม 2565 (+07)
ข้อเสนอ 1: ระงับการแก้ไขด้วยไอพีชั่วคราว 6 เดือน
[แก้]ระงับการแก้ไขด้วยไอพีชั่วคราว 6 เดือนบนวิกิพีเดียภาษาไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 (หากมีการดำเนินการจริง จะต้องลงความเห็นเพื่อต่ออายุในเดือนมิถุนายน 2566) เปิดให้แสดงความคิดเห็นและลงคะแนนจนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 --Taweethaも (คุย) 12:07, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
ลงคะแนนเห็นด้วย/ความคิดเห็นสั้น ๆ (โดยผู้ใช้ลงทะเบียน)
[แก้]- เห็นด้วย เนื่องจากปัญหาการถูกคุกคามจากการแก้ไขวิกิพีเดียในปัจจุบันเริ่มจะรุนแรงขึ้นแล้ว --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 12:57, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- เห็นด้วย หากอยากใช้งาน ร่วมกันแก้ไข ก็ลงทะเบียน การตั้งค่าล็อกอินในกูเกิลโครมในมือถือก็สามารถทำได้เช่นกัน Azoma | พูดคุย 11:51, 29 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ความเห็น "ทำได้" กับ "บังคับให้ทำ" มันต่างกันนะครับ --Horus (พูดคุย) 23:07, 30 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- เห็นด้วย อย่างมีเงื่อนไขครับ เพราะจะแก้ปัญหาที่ต้องการแก้บางส่วนได้ทันที เพราะมีภาษาที่ทำแล้วได้ผลดี ดูความเห็นด้านล่างนะครับ --Tikmok (คุย) 21:46, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
ลงคะแนนคัดค้าน/ความคิดเห็นสั้น ๆ (โดยผู้ใช้ลงทะเบียน)
[แก้]- ไม่เห็นด้วย ผมคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดครับ จริง ๆ ข้อความเตือนก็มีติดไว้แล้ว คิดว่าน่าจะช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรืออาจจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กรณีการคุกคามที่เกิดขึ้นในสื่อต่าง ๆ ของ Wikimedia Thailand น่าจะแก้ตรงจุดมากกว่า อีกอย่างตัวเลขระงับการแก้ไข 6 เดือนดูแปลก ๆ คือคาดหวังว่าจะมีมาตรการอย่างอื่นที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาวออกมาภายใน 6 เดือนหรือครับ --Horus (พูดคุย) 15:16, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ความเห็น แล้วจะมีมาตรการไหนที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้อีกหรือครับ คือป้ายเตือนก็ติดไว้แล้ว แต่ก็ช่วยได้บ้างเล็กน้อย ส่วนสื่อประชาสัมพันธ์ของ WMTH ก็อาจจะเล็กเกินไป ต่างจากการแก้ไขบนวิกิพีเดียภาษาไทยที่มีการแก้ไขโดยผู้ใช้และไอพีจำนวนมาก (เพราะเป็นวิกิพีเดียขนาดกลาง) --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 15:51, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ผมไม่คิดว่าการห้ามเป็นการแก้ปัญหาครับ อารมณ์เหมือนกับคนที่โดนหลอกให้โอนเงิน จะห้ามคน ๆ นั้นโอนเงินธนาคารเลยมั้ย ก็ไม่ใช่ไหมล่ะครับ --Horus (พูดคุย) 15:58, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- จะบอกว่าเหมือนกรณีที่วิกิพีเดียเคยปิดเว็บหนี SOPA ก็อาจจะตรงประเด็นกว่าครับ / สถานการณ์เปลี่ยนแปลงได้ หลัง 6 เดือนอาจจะมีความชัดเจนเพียงพอที่จะลงคะแนนตัดสินใจอย่างถาวรหรือกำหนดระยะเวลาที่ยาวกว่าเดิมเป็นหนึ่งปีก็ได้ --Taweethaも (คุย) 23:03, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ผมไม่คิดว่าการห้ามเป็นการแก้ปัญหาครับ อารมณ์เหมือนกับคนที่โดนหลอกให้โอนเงิน จะห้ามคน ๆ นั้นโอนเงินธนาคารเลยมั้ย ก็ไม่ใช่ไหมล่ะครับ --Horus (พูดคุย) 15:58, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ความเห็น แล้วจะมีมาตรการไหนที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้อีกหรือครับ คือป้ายเตือนก็ติดไว้แล้ว แต่ก็ช่วยได้บ้างเล็กน้อย ส่วนสื่อประชาสัมพันธ์ของ WMTH ก็อาจจะเล็กเกินไป ต่างจากการแก้ไขบนวิกิพีเดียภาษาไทยที่มีการแก้ไขโดยผู้ใช้และไอพีจำนวนมาก (เพราะเป็นวิกิพีเดียขนาดกลาง) --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 15:51, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลด้านล่าง --NP-chaonay (คุย) 01:25, 18 ธันวาคม 2565 (+07)
- หากต้องการให้ผู้ใช้ไอพีไม่โดนก่อกวน ผมว่าไม่เห็นด้วยหน่อย ๆ ครับ อย่างไรก็แล้วแต่ หากการปรับแก้ทางส่วนกลางให้มีการซ่อนเลขไอพีเกิดขึ้น ผมว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ครับ แต่การแค่มาบล็อกชั่วคราวเลยน่าจะไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่สำหรับความเห็นผมครับ เพราะหลังจากพ้นระยะเวลา ก็น่าจะมีโอกาสโดนคุกคามได้อีกครับ ระยะเวลาบล็อกไม่ใช่อะไรที่น่าคิดมากไปกว่ามาตรการอื่นครับ เช่น ซ่อนเลขไอพีบนความที่สุ่มเสี่ยง หรือซ่อนเลขไอพีทุกบทความ หรือซ่อนเลขไอพีของการแก้ไขที่พบว่าเป็นประเด็นทางสังคม (เพื่อป้องกันนำไปใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล อันนี้ผมคิดว่านะครับ)
- ส่วนเหตุผลรองที่บอกว่า กันการก่อกวน ก็ใช้วิธีใช้วิธีบล็อกไอพีแค่บางบทความไม่ได้หรือครับ (ที่บอกแบบนี้เพราะก่อนหน้านี้ไม่ได้คลุกคลีกับชุมชนครับ หากผมเข้าใจสภาวะการณ์ของโครงการคลาดเคลื่อน ยินดีรับฟังครับ) หรือแม้แต่บล็อคการแก้ไขของไอพีบางช่วง หรือบางเวลา (ไม่นาน เฉพาะเวลาที่สุ่มเสี่ยง) แต่ 6 เดือนนานไปมาก ๆ ครับ
- ทั้งสองข้อบนรวมกัน ผมมองว่านี่เป็นการจำกัดสิทธิ์ไอพีโดยไม่จำเป็นครับ แต่ผมยังมองไม่เห็นผลที่ยั่งยืนของการแก้ไขปัญหาการคุกคามและการป้องกันการก่อกวนด้วยวิธีนี้ครับ
- ไม่เห็นด้วย ด้วยเหตุผลด้านล่าง --Geonuch (คุย) 22:47, 23 ธันวาคม 2565 (+07)
- แม้การบล็อกไอพีจะเป็นการตัดปัญหาเรื่องการคุกคามไอพีและลดภาระชุมชน แต่ก็เป็นกระบวนการที่ไม่ยั่งยืน (ต้องมาอภิปรายเพื่อขอต่ออายุแต่ละครั้ง) และเป็นมิตรต่อผู้ใช้ (บังคับให้ไอพีสร้างบัญชีมากกว่าการเข้าร่วมสมัครใจ) ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวเห็นว่ายังมีวิธีอื่นที่เหมาะสมในการป้องกันการคุกคามมากกว่าการระงับการแก้ไขด้วยไอพีครับ
- เรื่องก่อกวนก็เช่นกัน ปัญหาจำกัดอยู่แต่ไอพี "บางคน" และ ""บางช่วง" เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็ถูกจัดการด้วยการบล็อกช่วงเรียบร้อย และจากที่เห็นก็ยังมีไอพีบางส่วนที่ยังแก้ไขโดยที่ไม่ได้ก่อกวน ถ้าคนอยากก่อกวนผู้ใช้ลงทะเบียนก็ทำได้เหมือนกัน เรื่องเล็ดลอดสายตาชุมชนเกิดขึ้นได้พอ ๆ กันเพราะคนตรวจตราน้อยมาก จึงเห็นว่าวิธีนี้ไม่คุ้มเสียครับ
- ระยะเวลา 6 เดือน เห็นว่านานเกินไปครับ (ปกติผมบล็อกไอพีเดียวสูงสุด 3 วัน ช่วงไอพี 1 เดือน ส่วน proxy เป็นข้อยกเว้นขอไม่นับครับ)
- รายละเอียดอื่น ๆ ดูความเห็นข้างล่างต่อนะครับ
ลงคะแนนเป็นกลาง/ความคิดเห็นสั้น ๆ (โดยผู้ใช้ลงทะเบียน)
[แก้]- เป็นกลาง ดูความเห็นด้านล่าง ผู้เสนอไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือคัดค้าน --Taweethaも (คุย) 12:03, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- เป็นกลาง ผมคิดว่าปัญหาการก่อกวนคงเบาบางลงในช่วงสั้น ๆ เท่านั้น แต่ผลในระยะยาวน่ากังวลว่ามาตรการจะเป็นตัวเร่งให้จำนวนผู้ใช้โดยรวมลดลงเร็วขึ้นครับ --Siam2019 (คุย) 20:50, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
- เป็นกลาง --Minarin (คุย) 22:15, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
- เป็นกลาง ไม่มีความเห็นครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 22:38, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
- เป็นกลาง ส่วนตัวมองว่า จะไอพีหรือไม่ไอพี ก็โดนคุกคามได้ครับ --𝒜𝓃𝒹𝑒𝓇𝓈𝑜𝓃 くコ:彡 (คุย) 23:12, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
- เป็นกลาง หลังจากอ่านความคิดเห็นหลาย ๆ ท่านแล้ว ขอลงคะแนนตรงส่วนนี้ครับ —131C191B (💬 | 📝) 03:59, 18 ธันวาคม 2565 (+07)
- เป็นกลาง ผมเห็นด้วยในหลักการ แต่ก็มีความกังวลว่าการกระทำนี้จะทำให้จำนวนผู้ใช้ลดลง และจะทำให้วิกิพีเดียไทยถูกโจมตีจากผู้วิพากษ์วิจารณ์วิกิพีเดียได้ว่าเป็น "สารานุกรมที่เสรีไม่จริง" อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วครับ --ชาวไทย (คุย) 15:29, 18 ธันวาคม 2565 (+07)
- เป็นกลาง --Just Sayori. OK🡼 (have a chat) 23:09, 31 ธันวาคม 2565 (+07)
อภิปราย/ความคิดเห็นเพิ่มเติม (โดยผู้ใช้ลงทะเบียน)
[แก้]- ที่ผมเสนอก็เพียงช่วยสนับสนุนให้เกิดการดำเนินการตามข้อคิดเห็นของมูลนิธิวิกิมีเดีย แสดงให้เห็นว่าชุมชนรับฟังและให้ความร่วมมือโดยเร็ว (และหวังว่าเมื่อชุมชนต้องการความช่วยเหลือจะได้รับความร่วมมือโดยเร็วเช่นกัน) ผมพยามเสนอข้อเสนอที่เป็นจุดกึ่งกลางที่ทุกฝ่ายพอยอมรับได้ เป็นจุดเริ่มต้นในการอภิปรายที่อาจจะแตกต่างแต่ไม่แตกแยก ไม่ได้ต้องการให้เกิดการแตกแยกทางความคิดเป็นฝักฝ่ายแต่อย่างใด ในชุมชนวิกิพีเดียความขัดแย้งเป็นเหตุให้สูญเสียอาสาสมัครจำนวนมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ --Taweethaも (คุย) 12:03, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ผมคิดว่าจำนวน case ในปัจจุบันน่าจะไม่มากพอถึงกับต้องบังคับห้ามไอพีเขียนชั่วคราว และมองว่าตอนนี้ผลดียังไม่คุ้มกับผลเสียครับ --Horus (พูดคุย) 23:10, 30 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ในมุมมองผม แทนที่จะมองว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ทำให้แตกแยก ถ้ามองว่ามันคือสิ่งที่จะนำไปสู่ข้อสรุป มันน่าจะดีกว่านะครับ เรื่องนี้ต้องปรับที่มุมมองของหลายผู้ใช้ด้วย ซึ่งสภาพของชุมชนก็ต้องเอื้อด้วยเช่นกัน คิดว่านะครับ NP-chaonay (คุย) 01:38, 18 ธันวาคม 2565 (+07)
- ถ้ามีการดำเนินการนี้จริง สิ่งที่จะตามมาคือจะมีผู้ใช้ลงทะเบียนที่วิกิพีเดียภาษาไทยมากขึ้น เพราะไม่สามารถแก้ไขด้วยไอพีได้ชั่วคราว อาจจะต้องรับมือกับการก่อกวนจากผู้ใช้ลงทะเบียนที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น การย้ายหน้าและการสร้างหน้าเพื่อก่อกวน โดยในอนาคตอาจจะต้องมีการรื้อฟื้นคณะอนุญาโตตุลาการขึ้นมาใหม่ เนื่องจากจำนวนอาสาสมัครที่เป็นผู้ใช้ลงทะเบียนมีมากขึ้นทำให้มีข้อขัดแย้งระหว่างผู้ใช้สองคนหรือมากกว่านั้น เนื่องจากมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 12:57, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ข้อนี้ลืมนึกถึงไปเลยครับ ได้ถามใน WP:AN ให้คัดค้านเสียก่อนเพราะว่าจะเป็นการเพิ่มงานแก่ Admin/SysOp/CU ผ่านไป 14 วันไม่มีการคัดค้าน จึงมาเสนอในส่วนนี้ต่อไปครับ --Taweethaも (คุย) 23:08, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- เห็นด้วยกับมาตรการรองรับครับ Azoma | พูดคุย 12:30, 29 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ข้อนี้ลืมนึกถึงไปเลยครับ ได้ถามใน WP:AN ให้คัดค้านเสียก่อนเพราะว่าจะเป็นการเพิ่มงานแก่ Admin/SysOp/CU ผ่านไป 14 วันไม่มีการคัดค้าน จึงมาเสนอในส่วนนี้ต่อไปครับ --Taweethaも (คุย) 23:08, 28 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ข้อคำนึงเรื่องความเป็นส่วนตัว เห็นว่า WMF ก็มีแนวนโยบายพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อนำระบบ IP masking มาใช้อยู่นะครับ แต่ไม่ทราบว่าความคืบหน้าเป็นยังไงบ้างแล้ว (Meta:IP Editing: Privacy Enhancement and Abuse Mitigation) มาตรการที่เสนอน่าจะมองได้ว่าเป็นมาตรการชั่วคราวจนกว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์จะแล้วเสร็จ
อีกเรื่องหนึ่ง ในแง่การคุกคามจากภาครัฐ ผมไม่แน่ใจว่ามีโอกาสเป็นปัญหาในโลกความเป็นจริงสักแค่ไหน แต่อาจจะต้องเก็บไว้เป็นข้อคำนึงในการแต่งตั้ง checkuser (และการรักษาความปลอดภัยบัญชีของตัว checkuser เอง) ในอนาคตด้วยครับ --Paul_012 (คุย) 21:22, 29 พฤศจิกายน 2565 (+07) - เห็นด้วยในหลักการครับ แต่อย่างไรการรักษาความเป็นส่วนตัวก็ขึ้นกับตัวผู้ใช้เอง เช่น ไม่ใช้ชื่อจริงเป็นชื่อผู้ใช้ ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไม่ว่าที่ใดในวิกิพีเดีย (อาจจะต้องขึ้นป้ายเตือนต่อไป?) และขอทราบวิธีการวัดผลการดำเนินงานครับ --Just Sayori. OK🡼 (have a chat) 16:35, 30 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- หากการดำเนินงานนี้เกิดขึ้นจริง ผมว่าต้องรอสักพักเพื่อให้มีผู้ใช้ลงทะเบียนมากขึ้น (เพราะเป็นการบังคับให้ไอพีต้องลงทะเบียนถ้าอยากเขียนวิกิพีเดีย) หลังจากนั้นให้คอยสังเกตว่าผู้ใช้เหล่านั้นมีเจตนาเข้ามาสร้างสรรค์หรือก่อกวนวิกิพีเดีย หากเข้ามาด้วยเจตนาดีก็จะต้อนรับอย่างเป็นมิตร หรือหากเข้ามาก่อกวนก็จะตักเตือนเผื่อกลับตัว ถ้ายังคงก่อกวนต่อไปก็จะพิจารณาบล็อก โดยการดำเนินการนี้จะเป็นผลดีหรือผลเสียกับวิกิพีเดียก็คงต้องสอบถามผู้ใช้ที่ถูกบังคับให้สมัครบัญชี เพื่อนำมาประกอบเป็นผลการดำเนินงานครับ --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 07:09, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- วิธีการวัดผล เข้าใจว่าวิกิพีเดียมีระบบเก็บสถิติที่ดีอยู่แล้ว อยากจะตรวจสอบดูสถิติการแก้ไขย้อนหลังอย่างไรในช่วงเวลาใดก็กดเรียกดูได้เลย ไม่จำเป็นต้องตั้งระบบให้เก็บข้อมูลล่วงหน้าก่อนถึงช่วงที่สนใจ ถ้าผมเข้าใจผิดอย่างไรก็แก้ไขตรงนี้ได้เลยครับ ดังนั้นการดูสถิติก็ดูพารามิเตอร์ทุกตัวที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ และหาคำอธิบายว่ามีเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากการปรับตั้งค่าทางเทคนิคและทางสังคมหรือไม่อย่างไร --Taweethaも (คุย) 18:59, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- คำแนะนำ/คำเตือนเพิ่มเติมสำหรับผู้ใช้ลงทะเบียน (หลังจากปิดกั้นการแก้ไขจากไอพีแล้ว) จากหน้า วิกิพีเดีย:แนวทางป้องกันการถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย สถิติการอ่านยังไม่มากนักแม้อยู่บน sitenotice สักระยะแล้ว เราอาจต้องวิเคราะห์วางแผน user experience ให้ดีเพื่อให้ข้อความเฉพาะส่วนที่สำคัญสื่อสารไปถึงผู้รับได้ อันนี้ผมอาจยังไม่ถนัดที่จะช่วยนะครับ เป็นโจทย์ที่ยากเหมือนกัน อาจลองดูหน้าพูดคุยตอนร่าง (คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย) ว่ามีไอเดียอะไรที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ท่านอื่นจะนำมาสานต่อให้เป็นรูปธรรมก็ได้ / ดูตรงนั้นก่อนก็จะไม่ต้องเหนื่อยสร้างทุกอย่างใหม่มาแต่ก็ยังใช้ไม่ได้หรือเกาไม่ถูกที่คัน --Taweethaも (คุย) 19:09, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
มีเห็นพ้องกับหลักการครับKaoavi はる (คุย) 21:19, 30 พฤศจิกายน 2565 (+07)- จริง ๆ คนที่มาแสดงความเห็นส่วนใหญ่ ณ ที่นี้เป็นผู้ใช้ลงทะเบียนกันแทบทั้งสิ้น ไม่ใช่ไอพีซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการตัดสินใจนี้ คิดว่าควรจะมีการสอบถามความเห็นในวงกว้างกว่านี้ไหมครับ (และใช้ช่องทางไหน อย่างไร) --Horus (พูดคุย) 23:23, 30 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ใช้ มีเดียวิกิ:Sitenotice เลยครับ จะได้เห็นกันทั้งไอพีและผู้ใช้ (ผมไม่แน่ใจว่าไอพีจะเห็นหรือเปล่า) --Lookruk | 💬 (พูดคุย) 07:09, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- เห็นด้วยว่าควรใช้ Sitenotice ด้วยครับ หากแอดมินท่านใดเห็นสมควรก็ช่วยแก้ไขปรับปรุงข้อความให้เป็นปัจจุบันด้วยครับ ของเดิมก็นานเกิน 14 วันไปมากแล้ว / อนึ่งการยืดเวลาให้อภิปรายกันถึง 1 เดือนเต็มก็เพื่อให้มีเวลาได้สื่อสารกันในทุกช่องทาง / ทางที่สำคัญอันหนึ่งก็คือปากต่อปากไปชักชวนกันมาครับ และไม่ใช่ชวนกันมาเพียงเพื่อลงคะแนนในประเด็นนี้อย่างเดียว ใครที่ไม่ค่อยได้แก้ไขหรือห่างหายไปนานก็จะได้มีผลงานการแก้ไขบทความกันเพิ่มขึ้นได้นะครับ --Taweethaも (คุย) 19:04, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- ในปัจจุบันการก่อกวนก็ค่อนข้างพบเห็นได้บ่อยนะครับ หากใช้ RTRC สอดส่อง ก็พบว่าการก่อกวนมีแทบจะทุกวัน บางวันหนักบางวันเบา แต่ผมก็คิดว่ายังไม่ควรที่จะ "ระงับการแก้ไขด้วยไอพี" เพราะผมเชื่อว่ายังมีคนบางกลุ่มที่มักใช้ไอพีในการแก้ไขอยู่เสนอ เนื่องจากอาจจะเข้ามาเขียนเพียงชั่วคราวในเรื่องที่สนใจโดยไม่คำนึงที่จะเขียนแบบถาวร คือเข้ามาเขียนเรื่องที่ตนเองสนใจสักพักก็ไปไม่อยู่นาน หรือแม้กระทั้งการ "สมัครบัญชีไม่เป็น" การบังคับให้สมัครบัญชีนั้นอาจลดการก่อกวนได้ แต่มันอาจไปเพิ่มความยุ่งยากในการเขียนของไอพีบางกลุ่มที่อยากเข้ามาเขียนเฉย ๆ ไม่ได้อยากสมัครถาวร ก็อาจทำให้เขาคิดว่ามันยุ่งยากแล้วก็ถอดใจไม่เขียนก็มีความเป็นไปได้ ถ้าเทียบกับการเล่นเกมก็เหมือนเกมที่ไม่มีโหมด "ผู้มาเยือน" มีแต่ให้ล็อกอินเข้าระบบ ซึ่งหากผู้เล่นเขาเพียงอยากมา ทดลองเล่น ถ้าไม่มีโหมดผู้มาเยือนก็ค่อนข้างสร้างความยุ่งยากให้ผู้เล่นครับ ในการอภิปรายนี้ผมก็ค่อนข้างสองใจยังไม่สามรถตัดสินใจเห็นพ้องกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ -- Kaoavi はる (คุย) 21:18, 1 ธันวาคม 2565 (+07)
- ความเห็นสืบเนื่องกับการเห็นด้วยข้างบนครับ
- อันนี้ดูเหมือนเป็นการแก้ปัญหาเรื่องการถูกคุกคามวิธีหนึ่ง เพราะถ้าเตือนผู้ใช้ IP เรื่องปัญหาการคุกคาม อาจทำได้ครั้งเดียว (ไม่ทราบนะครับ) สมัยนี้ข้อความยาว ๆ เป็นเรื่องซับซ้อน มีคนอ่านอย่างละเอียดไหมครับ คือ ถ้าข้อความที่แสดง ไม่ตรงจุดที่เขาใส่ใจในตอนนั้น (หรือยาวเกินไป) อาจจะไม่สะกิดใจให้ทำการเพื่อปกป้องตนเอง แต่ถ้าใช้เป็นบัญชี อาจมีการติดตามเตือนกันได้ถ้าเป็นผู้แก้ไขข้อความที่อาจสร้างปัญหาแก่คนนั้นได้ว่า จะรักษาสภาพนิรนามได้ ต้องทำอย่างนี้ ๆ ไม่ควรทำอย่างนี้
- ส่วนเรื่องการลดการก่อนกวน และผลลบที่อาจจะได้ ดูเหมือนจะมีการศึกษาของ WMFอยู่นะครับ ไม่ได้ผลดีทุกภาษา ถ้าร่วมงานศึกษากับเขาได้ น่าจะได้ผลที่ชัดเจน แต่ผมเองไม่ได้อาสาว่าจะช่วยทำนะครับ เลยไม่บอกว่า ต้องทำอย่างนี้ --Tikmok (คุย) 21:49, 17 ธันวาคม 2565 (+07)
- ความเห็นของ Geonuch ต่อจากที่ลงคัดค้านไว้ครับ
- ผมคิดว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต่อให้ต้องการมากแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถกระทำได้จริง เช่น การก่อกวนนี้เพราะเราไม่รู้จักและไม่สามารถห้ามความคิดคนที่ตั้งใจมาก่อกวนอย่างแน่วแน่ได้ ที่ผ่านมาไม่มีโครงการไหนของวิกิมีเดียที่ไม่มีการก่อกวนตั้งแต่แรกเลย เว้นแต่โครงการจะไม่มีการแก้ไขเลยหรือเป็นโครงการที่ตายแล้วเท่านั้นครับ หรือการฟ้องคดีแม้จะบล็อกด้วยเหตุผลขู่ดำเนินคดีก็ไม่ได้ห้ามการดำเนินคดีในชีวิตจริง นโยบายวิกิพีเดียไม่ได้ใหญ่กว่ากฎหมายไทยหรือที่ไหนในโลก ทุกคนมีสิทธิที่จะทำได้ครับ อย่างไรก็ตาม แม้จะห้ามไม่ได้แต่เชื่อว่าก็ยังมีหนทางที่ชุมชนสามารถที่จะรับมือเมื่อมีการคุกคามเกิดขึ้นได้ การจัดการจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการห้ามไม่ให้แก้ไขครับ ผมลองหาวิธีที่เห็นว่าจะสามารถกระทำได้นอกเหนือจากการแจ้งเตือนด้วยป้ายจนกว่าจะมีการใช้ IP Masking ซึ่งยังไม่ทราบแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรนะครับ เช่น
- ผู้ใช้ที่ช่วยตรวจตราควรที่จะรู้จักสังเกตุ/เฝ้าระวังช่วงไอพีที่เป็นปัญหา รู้จักข้อมูลไอพีผ่าน WHOIS รวมถึงสามารถคำนวณช่วงไอพีเป็นเพื่อแจ้งผู้ดูแลระบบให้จัดการ
- ผู้ดูแลระบบจำเป็นต้องบล็อกช่วงไอพีเป็น อีกทั้งให้ความสำคัญและใช้เครื่องมือ revision delete ในการซ่อนเลขที่อยู่ไอพี/ชื่อผู้ใช้และเนื้อหาที่เป็นปัญหาในการปกป้องผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นไอพีหรือลงทะเบียน
- แน่นอนว่าชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยยังคงต้องการผู้ดูแลระบบอยู่ค่อนข้างมาก ถ้าใครเห็นว่าเหมาะสม อยากให้ลองพิจารณาเข้าร่วมการเสนอชื่อดูนะครับ
- ผู้ใช้ลงทะเบียนควรตระหนักในเรื่องของ digital footprint ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตนเองลงในวิกิพีเดียแล้วสามารถโยงไปยังชีวิตจริงหรือตัวตนในอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเปิดเผยหรือถ้าต้องการความช่วยเหลือในการซ่อนข้อมูล ทางผู้ดูแลระบบหรือผู้ใช้ที่มีสิทธิขั้นสูงก็สามารถช่วยรับดำเนินการได้ครับ
- ผมขอแจ้งให้ทราบว่าที่ผ่านมาวิกิพีเดียภาษาไทยเองก็มีการบล็อกช่วงไอพีอยู่หลายครั้งด้วยเหตุผลของผู้ตรวจสอบผู้ใช้และการก่อกวนต่อเนื่องยาวนานจากไอพี ถ้ามีใครสังเกตในการเปลี่ยนแปลงล่าสุดก็จะพบว่าไอพีเองก็มีการแก้ไขค่อนข้างน้อยเนื่องจากช่วงไอพีใหญ่ ๆ ของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นถูกบล็อกอยู่ [1] ด้วยเหตุนี้เรื่องของการก่อกวนโดยไอพีจึงไม่ได้เป็นปัญหาสำคัญมากเช่นในสมัยก่อน แต่อาจต้องกังวลด้วยซ้ำเพราะการบล็อกนี้ย่อมมีผลกระทบต่อผู้ใช้ไอพีที่มีเจตนาดี แต่จากที่พูดคุยในชุมชนและผลกระทบจากการก่อกวนโดยหุ่นเชิดจึงเห็นว่าการบล็อกช่วงไอพีเช่นนี้ยังมีความจำเป็นอยู่ และอาจเป็นสาเหตุที่ผมเห็นว่าระงับการแก้ไขด้วยไอพีไม่มีความจำเป็นครับ --Geonuch (คุย) 22:47, 23 ธันวาคม 2565 (+07)
- ผมคิดว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต่อให้ต้องการมากแค่ไหนแต่ก็ไม่สามารถกระทำได้จริง เช่น การก่อกวนนี้เพราะเราไม่รู้จักและไม่สามารถห้ามความคิดคนที่ตั้งใจมาก่อกวนอย่างแน่วแน่ได้ ที่ผ่านมาไม่มีโครงการไหนของวิกิมีเดียที่ไม่มีการก่อกวนตั้งแต่แรกเลย เว้นแต่โครงการจะไม่มีการแก้ไขเลยหรือเป็นโครงการที่ตายแล้วเท่านั้นครับ หรือการฟ้องคดีแม้จะบล็อกด้วยเหตุผลขู่ดำเนินคดีก็ไม่ได้ห้ามการดำเนินคดีในชีวิตจริง นโยบายวิกิพีเดียไม่ได้ใหญ่กว่ากฎหมายไทยหรือที่ไหนในโลก ทุกคนมีสิทธิที่จะทำได้ครับ อย่างไรก็ตาม แม้จะห้ามไม่ได้แต่เชื่อว่าก็ยังมีหนทางที่ชุมชนสามารถที่จะรับมือเมื่อมีการคุกคามเกิดขึ้นได้ การจัดการจึงเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการห้ามไม่ให้แก้ไขครับ ผมลองหาวิธีที่เห็นว่าจะสามารถกระทำได้นอกเหนือจากการแจ้งเตือนด้วยป้ายจนกว่าจะมีการใช้ IP Masking ซึ่งยังไม่ทราบแน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไรนะครับ เช่น
อภิปราย/ความคิดเห็นเพิ่มเติม (โดยไอพี)
[แก้]- ถ้าดูจากลักษณะโดยทั่วไปของผู้ใช้ขาประจำหลายท่านที่แสดงออกเรื่องการควบคุมคุณภาพ เริ่มตั้งแต่การบังคับให้สร้างบทความในฉบับร่าง การพิจารณาจำกัดการแก้ไขจากไอพีก็น่าจะเป็นมาตรการที่น่าจะลดการก่อกวนลงได้ในระดับหนึ่ง หากเห็นว่าในเมื่อไม่สามารถแก้ไขได้แล้วจะทำให้มีการสร้างบัญชีผู้ใช้เพื่อเลี่ยงข้อจำกัด ก็สามารถพิจารณาใช้ Extended Confirmed (30/500) แทน Autoconfirmed (4/10) ในการป้องกันการแก้ไขแทนก็ได้ หรือจะใช้ Abuse Filter หรือกระบวนการอื่นใดทำนองเดียวกันเพื่อจำกัดการแก้ไขให้สามารถตรวจสอบได้ก็ได้ ส่วนที่ว่าจะมีผู้โต้แย้งว่าเนื้อหาจะไม่เรียกว่าเสรีเหมือนชื่อเว็บ เอาเข้าจริงในเมื่อวิกิพีเดียไม่ได้ Position ตัวเองว่าเปิดกว้างกับการให้ผู้อื่นแก้ไขได้โดยเสรีอยู่แล้ว แต่ระบุว่าสามารถนำเนื้อหาไปใช้ได้โดยไม่จำต้องมีค่าตอบแทนใด ๆ แต่ต้องระบุที่มาและต้องเผยแพร่เนื้อหาโดยมีลักษณะสิทธิที่ไม่ด้อยไปกว่าที่เป็นอยู่ ตัววิกิพีเดียเองก็ไม่ได้เสียหายกับคำว่าเสรีที่จะเสียไปเนื่องจากการจำกัดการแก้ไขจากไอพีเท่าใดนัก กลับกันการจำกัดการแก้ไขอาจเป็นผลดีกับผู้ใช้ขาประจำที่ไม่ต้องพะวงกับการต้องรับมือการแก้ไขจากไอพีก็ได้ สามารถจำกัดความเสียหายไม่ให้เกิด Collateral Damage จากการล็อกหน้าและพุ่งเป้าไปที่ผู้แก้ไขซึ่งต้องมี Accountability ในสิ่งที่ตนเองทำด้วย --2001:FB1:CA:11C9:8037:2C74:2EEF:87F2 18:49, 29 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ความเห็น มีประเด็นย่อย ๆ คือ (1) Anyone can edit ไม่ได้หมายความว่า Anyone should edit (2) ความเสรีหรือความฟรี ก็มีได้หลายระดับ ผมคิดแบบ Maslow's Hierarchy ว่าถ้าเสรีสูงสุดโดยแท้ในอุดมคติก็คงจะไม่ต้องมีกำแพงกีดกันใดๆ ถ้าฟรีสูงสุดในอุดมคติก็ไม่ควรมีแบนเนอร์ขอความร่วมมือหรือบริจาคแต่อย่างใด หลายเว็บที่เอาข้อมูลวิกิพีเดียไปจัดรูปแบบหรือไปเปลี่ยนแปลงแปลเสียใหม่ให้บริการฟรีแต่มีโฆษณาแบบรกรุงรังมาก ผมคิดว่าตรงนี้ชุมชนอาจจะเข้าใจตรงกันว่าไม่ใช่สิ่งที่ต้องการในความหมายว่า "ฟรี" กลับมาในส่วนของเสรี โดยเฉพาะการเขียน ใครควรเขียนได้แค่ไหนเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่เริ่มวิกิพีเดียเสียด้วยซ้ำ ตั้งแต่ก่อนมีการคุกคามที่รุนแรง ช่วงนั้นมีแต่การก่อกวนหรือความขัดแย้งเชิงเนื้อหาเพียงอย่างเดียว ในข้อเสนอนี้แรงจูงใจหลักคือการคุกตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคที่สำคัญนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบของชุมชนโดยรวม และผมเข้าใจว่าความเห็นข้างบนจะบอกว่ามีผลพลอยได้ไปด้วย (3) ข้อเสนอนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ จะดีหรือร้ายเราก็มาช่วยกันตัดสินใจ ประคับประคอง และรับผิดชอบกันต่อไป ตัวข้อเสนอเองอาจจะไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันขนาดนั้น แต่กระบวนการพูดคุยสร้างความเห็นพ้อง และการให้ความสำคัญกับอาสาสมัครในปัจจุบัน อาจจะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เราอยู่รอดได้ Taweethaも (คุย) 19:11, 29 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- ความเห็น ถ้าจะ debate ในเชิงควบคุมคุณภาพ คิดว่าไม่ควรเปรียบเทียบการบังคับสร้างฉบับร่างกับการห้ามไอพีเขียน เพราะอย่างน้อยไอพีก็สร้างหน้าฉบับร่างได้ (เหตุผลคือลดภาระให้แอดมินต้องรีบมาลบบทความที่สร้างใหม่มากเกินไป อย่างน้อยฉบับร่างก็ยังพอปล่อยให้มีเวลาปรับปรุงก่อน) แก้ไขบทความต่าง ๆ ได้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในด้านอื่น เช่น อภิปราย (อย่างที่คุณทำอยู่) แต่ถ้าห้ามไอพีเขียนเลยจะเป็นการตัดคนที่มีโอกาสจะเข้ามาเขียนประจำในวิกิพีเดียมาก ในอนาคตอาจจะมีวันที่ต้องบังคับให้สมัครไอดีจริง ๆ ก็ได้ถ้ากำลังคนที่ดูแลไม่เพียงพอ แต่ปัจจุบันคิดว่ายังไม่ถึงขั้นนั้นครับ --Horus (พูดคุย) 23:18, 30 พฤศจิกายน 2565 (+07)
- การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่