วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดสันปูเลย)
วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว
แผนที่
ที่ตั้งตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว
พระครูปลัดคุณวัฒน์ (วรกร เขมปญฺโญ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว เดิมชื่อ “วัดสะหลีเวียงแก้ว” วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่าอาจก่อสร้างมาแต่กาลสมัยอาณาจักรหริภุญชัย เรืองรุ่ง ด้วยว่าได้ขุดพบซากฐานอาคารและก้อนอิฐโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือสกุลเชิงช่างสมัยหริภุญชัย และ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้วอาจสร้างขึ้นในสมัยพระนางเจ้าจามเทวี และเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องมาถึงราชวงศ์มังราย กระทั่งเชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าราวปีพุทธศักราช 2111 ทำให้พระสงฆ์ไม่สามารถดำรงสมณเพศอยู่ได้ บางรูปก็ลาสิกขา บางรูปก็หลบหนีไปอยู่ยังเมืองอื่น ๆ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้วัดวาอารามในเมืองเชียงใหม่ร้างไปกว่า200 ปี ต่อมาภายหลังพระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ถึงยุคฟื้นม่านแป๋งเมือง ได้รวบรวมไพร่พลประชากรกลับเข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง อีกทั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ กวาดต้อนเอาชาวเมืองเชียงแสนมาตั้งครัวเรือนอยู่ที่เมืองอยู่เป็นจำนวนมาก และมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งมาตั้งหมู่บ้านในเขตเมืองดอยสะเก็ด ตั้งชื่อหมู่บ้านของตนว่า “บ้านปูเลย” มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง จึงได้พากันสร้างวัดเพื่อเป็นสถานบำเพ็ญบุญประจำหมู่บ้านและได้พบว่าในบริเวณหมู่บ้านปูเลยนั้นปรากฏซากโบราณสถานซึ่งเป็นวัดร้างมาแต่เดิม จึงพากันบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างแห่งนั้นให้เป็นวัดที่มีพระภิกษุสงฆ์จำพรรษา ในปีพุทธศักราช 2354 ได้อาราธนา ครูบาหลวงธนัญไชย จากวัดสันต้นดู่ มาเป็นประธานในการบูรณปฏิสังขรณ์ และเป็นปฐมเจ้าอาวาสรูปแรก เพื่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุต่าง ๆ ขึ้น โดยได้รับความอุปถัมภ์จาก เจ้าหลวงธัมมลังกาช้างเผือก ให้ความอุปถัมภ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างเสนาสนะดังกล่าว จนทำให้วัดเจริญสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ตามที่ปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับการจัดหมวดอุโบสถ ซึ่งเป็นการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยโบราณของล้านนา ทั้งนี้เอกสารที่ปรากฏการจัดหมวดอุโบสถเป็นครั้งแรกนั้นคือ ปีพุทธศักราช 2365 และเอกสารการจัดหมวดอุโบสถครั้งสุดท้ายเมื่อปีพุทธศักราช 2449 ความว่า ปีพุทธศักราช 2424 – 2433 วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ขึ้นตรงต่อ หมวดอุโบสถวัดสันต้นดู่ อยู่นอกเวียงเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีทั้งหมด 15 วัด ที่กล่าวถึงความว่า “วัดปูเลย นิกายเชียงใหม่ ตั้งอยู่บ้านสันปูเลย แคว้นหนองกอก เจ้าอธิการชื่อ ธุอินทะ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ รองอธิการชื่อ ธุคันธะ มีพระลูกวัดจำนวน 2 รูป เณร 8 รูป ขึ้นแก่วัดสันต้นดู่” เข้าใจว่า วัดสันปูเลยนั้นเรียกตามชื่อหมู่บ้านสันปูเลยนั่นเอง ในบริเวณวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว มีต้นโพธิ์ใหญ่อันเป็นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ5 ต้น ซึ่งภาษาล้านนา จะเรียกต้นโพธิ์ว่า “ไม้สะหลี” และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มักเรียกว่า “เวียงแก้ว” ซึ่งพระพุทธเจ้า มีศักดิ์ฐานะเป็นเชื้อสายกษัตริย์ อีกทั้งบริเวณบ้านสันปูเลยนี้ปรากฏหลักฐานว่ามี เจ้านายฝ่ายเหนือ มาสร้างคุ้มหลวง เพื่อปกครองทัพและชาวเมืองเชียงแสน จึงเรียกชื่อวัดนี้ตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏ คือ ต้นโพธิ์ ว่า “วัดสะหลีเวียงแก้ว” อีกชื่อหนึ่ง วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ตามที่ปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับการจัดหมวดอุโบสถ ซึ่งเป็นการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยโบราณของล้านนา ทั้งนี้เอกสารที่ปรากฏการจัดหมวดอุโบสถเป็นครั้งแรกนั้นคือ ปีพุทธศักราช 2365 และเอกสารการจัดหมวดอุโบสถครั้งสุดท้ายเมื่อปีพุทธศักราช 2449 ความว่า ปีพุทธศักราช 2424 – 2433 วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ขึ้นตรงต่อ หมวดอุโบสถวัดสันต้นดู่ อยู่นอกเวียงเชียงใหม่ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีทั้งหมด 15 วัด ที่กล่าวถึงความว่า “วัดปูเลย นิกายเชียงใหม่ ตั้งอยู่บ้านสันปูเลย แคว้นหนองกอก เจ้าอธิการชื่อ ธุอินทะ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ รองอธิการชื่อ ธุคันธะ มีพระลูกวัดจำนวน 2 รูป เณร 8 รูป ขึ้นแก่วัดสันต้นดู่” เข้าใจว่า วัดสันปูเลยนั้นเรียกตามชื่อหมู่บ้านสันปูเลยนั่นเอง ในบริเวณวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว มีต้นโพธิ์ใหญ่อันเป็นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ5 ต้น ซึ่งภาษาล้านนา จะเรียกต้นโพธิ์ว่า “ไม้สะหลี” และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มักเรียกว่า “เวียงแก้ว” ซึ่งพระพุทธเจ้า มีศักดิ์ฐานะเป็นเชื้อสายกษัตริย์ อีกทั้งบริเวณบ้านสันปูเลยนี้ปรากฏหลักฐานว่ามี เจ้านายฝ่ายเหนือ มาสร้างคุ้มหลวง เพื่อปกครองทัพและชาวเมืองเชียงแสน จึงเรียกชื่อวัดนี้ตามสัญลักษณ์ที่ปรากฏ คือ ต้นโพธิ์ ว่า “วัดสะหลีเวียงแก้ว” อีกชื่อหนึ่ง วัดสันปูเลย ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับประกาศจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และโดยผ่านมติเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม ประกาศให้เปลี่ยนแปลงชื่อ “วัดสันปูเลย” เป็น “วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว” สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ( โดยปรากฏในประกาศราชกิจจานุเบกษาหน้าที่ ๒๐ เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๘๓ ง ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๖ ) มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๗๐ เมตร ( อุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ ) และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2344 และมีชื่อวัดใหม่ว่า “วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว” โดยตั้งอยู่บ้านสันปูเลย เลขที่ 66 หมู่ที่ 1 บ้านสันปูเลย ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ในบริเวณวัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว มีเนื้อที่ 12 ไร่ เศษฯ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ มูลนิธิพระครูบาน้อย เขมปัญโญ "เพื่อสงเคราะห์เลี้ยงเด็กกำพร้าผู้ยากไร้และการสาธารณสงเคราะห์" และ สมาคมศิษย์วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

วัดสันปูเลย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2491 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 70 เมตร[1]

เมื่อวันที่ 24 เดือน เมษายน พุทธศักราช 2556 วัดสันปูเลย ได้รับประกาศจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และโดยผ่านความเห็นชอบมติของมหาเถรสมาคม ประกาศให้เปลี่ยนแปลงชื่อวัดใหม่ เป็น “วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว” อย่างถูกต้องโดยปรากฏในประกาศราชกิจจานุเบกษาหน้าที่ 20 เล่ม 130 ตอนที่ 83 ง ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2556[2]

วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ยังเป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี พ.ศ. 2558 ของ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 19 (โดยมติมหาเถรสมาคม)[แก้]

มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 14/2560 มติที่ 344/2560 เมื่อวันที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2560[3] ได้พิจารณาอนุมัติให้วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 19 (โดยมติมหาเถรสมาคม) ตามความในข้อ ๙ แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด พ.ศ. ๒๕๕๘ 

วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ได้ให้การอบรมสั่งสอนการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน และส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนได้ปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เพื่อถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่รู้จักในผู้ปฏิบัติธรรมนี้ว่า “วิชชาธรรมกาย” และโดยได้ยึดหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร วิ. อดีตรองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ตลอดถึงพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เจ้าสำนักและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดราชบุรี ประธานศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.)

เจ้าอาวาส[แก้]

การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม 17 รูป ดังนี้

  1. พระครูบาหลวงธนัญไชย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 – 2360 ( ปฐมเจ้าอาวาส )( ย้ายกลับไปครองวัดสันต้นดู่ ปัจจุบันคือ วัดรัตนปัญญารังสิตย์)
  2. พระครูบาหลวงอโนไชย ตั้งแต่ปี พ.ศ 2361 – 2374
  3. พระครูบาเตชะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2375 - 2410
  4. พระครูบาอินทะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 – 2435
  5. พระครูบาคำแสน คนฺธาโร (คันธะ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 – 2452
  6. พระครูบารัตนปัญญา (แก้ว) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2453 – 2482
  7. พระอธิการทวน สุมงฺคโล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 – 2486
  8. เจ้าอธิการอินถา อาภาโส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2487 – 2500
  9. เจ้าอธิการดวงตา รุจิตธมฺโม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 – 2509
  10. พระครูสังฆรักษ์บุญรัตนะ ปุญฺญรโต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 – 2512
  11. พระถวัลย์ ธมฺมรโต (รักษาการ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 – 2516
  12. พระจรัญ ยสวฑฺฒโน (รักษาการ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 – 2520
  13. พระศรีบุตร อภิวฑฺฒโน (รักษาการ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 – 2526
  14. พระอธิการชัยเดช กิตฺติภทฺโท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 – 2530
  15. พระครูพิชัย โชติปญฺโญ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 – 2550
  16. พระครูประภัศร์ชัยคุณ (นิเวศน์) (รักษาการ) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 – 2553
  17. พระครูปลัดคุณวัฒน์ (วรกร เขมปญฺโญ) (ครูบาน้อย) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]