วัดคลองตะเคียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดคลองตะเคียน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดคลองตะเคียน
ที่ตั้งหมู่ 6 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 64220
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท
กิจกรรมศาสนสถานในพระพุทธศาสนาที่มีกิจกรรมเชิงพุทธตลอดปี/ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดคลองตะเคียน เป็นวัดของคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นวัดที่มีประวัติการก่อตั้งในที่บริเวณที่เป็นวัดร้างเดิมที่เรียกว่า "วัดไก่แจ้" ที่มีประวัติความมเป็นมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยตอนปลาย อันปรากฏหลักฐานเป็นซากวัดร้างและเจดีย์ที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นวัดหลวงพ่อห้อม อมโร หรือพระราชพฤฒาจารย์ วัดคูหาสุวรรณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านได้ริเริ่มให้มีการจัดสร้าง และยกวัดร้างเดิมให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาตั้งแต่ พ.ศ. 2529 [1] และส่งศิษย์ของท่านคือพระปลัดทองดี มหาวีโร (พระครูสุพัฒนพิธาน : ทองดี อาจใหญ่ :พ.ศ. 2495-2541) มาเป็นผู้วางรากฐานและก่อตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก จนกระทั่งพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนทั้งในส่วนของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และเสนาสนะเพื่อรองรับและบริการชุมชนเช่นปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

วัดคลองตะเคียน หรือเรียกในภาษาปากว่า "วัดใหม่" ด้วยเป็นวัดที่ตั้งขึ้นภายหลังวัดอื่นในชุมชน การเรียกชื่อวัดใหม่จึงเป็นภาษาปากที่เรียกขึ้นแทนชื่อวัดว่าเป็นวัดใหม่ตั้งขึ้นในภายหลังเมื่อเทียบกับวัดคุ้งยาง วัดฤทธิ์ เป็นต้น] หรือในชื่ออื่น อาทิ วัดป่าสัก วัดสักวัน (อ่านว่า สัก-กะ-วัน ที่หมายถึง สวนสัก) ซึ่งบริเวณวัดเป็นป่าไม้สักเก่าแก่ ยังมีซากตอให้เห็นอยู่ในสมัยนั้น เมื่อ 100 กว่าปี จากคำบอกเล่าว่าวัดเริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยมีหลักฐานเนื่องต่อเป็น "วัดร้าง" ที่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัดร้างโดยกองศาสนสมบัติกลาง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในชื่อวัด "ไก่เตี้ย" [2] โดยเป็นวัดนับแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และเป็นวัดร้าง [3]

ในสมัยอยุธยาพม่าได้ยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลกไม่สำเร็จ พม่าได้ต้อนเอาคนไทยเป็นเชลยและเผาบ้านเรือนวัดวาอารามต่าง ๆ จนเสียหายหมด ซึ่งข้อมูลนี้ได้จากพระสุขวโรทัย (หลวงพ่อห้อม) เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ได้เล่าว่าคุณยายของท่านเมื่อตอนอายุ 80 ปี จะเตรียมหุงข้าวแล้วตากให้แห้งนำเก็บใส่ไว้ในไถ้ (ถุงสะพายชนิดหนึ่ง) พร้อมด้วยกระบอกน้ำ ตำน้ำพริกใส่กระบอกไปกินยามคับขันเมื่อเวลาพม่ามาชาวบ้านจะเตรียมเสบียงใส่ไม้คานหาบไว้เลย รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ช่วยกันสอดแนมคอยเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา พม่ามาถึงก็จะให้สัญญาณแล้วรีบหนีเข้าไปหลบภัยในป่า พม่ามักจะมาในฤดูข้าวเหลือง ผู้ใดหนีไม่ทันจะถูกต้อนเป็นเชลยเพื่อใช้งาน คนชราหรือคนมีครรภ์ใกล้คลอดนำกลับไปยากก็จะถูกพม่าฆ่าทิ้งลงที่ถ้ำไทร ถ้ำไทรนี้ปรากฏชื่ออยู่ที่ข้างโรงเรียนบ้านสวนเหนือ “ประชาบำรุง”

การตั้งวัดในภายหลังเกิดขึ้นจากการที่นายเจอ เหลี่ยมไทย อุบาสก ได้บริจาคที่ดินให้กับทางคณะสงฆ์ โดยการนำของหลวงพ่อห้อม อมโร ซึ่งเป็นมาตุภูมิของท่าน และได้ริเริ่มก่อตั้งจนกระทั่งเป็นวัดโดยการส่งพระปลัดทองดี มหาวีโร สังกัดวัดคูหาสุวรรณ ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย ซึ่งมีพื้นถิ่นบ้านเกิดบริเวณนั้นให้ไปเป็นเจ้าอาวาส และก่อร่างสร้างวัดกับชุมชนให้ก้าวหน้ามาจนกระทั่งปัจจุบัน

ที่ตั้ง[แก้]

ตั้งอยู่ที่บ้านคลองตะเคียน หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านสวน ด้านทิศตะวันออกจรดที่ส่วนบุคคลและคลองส่งน้ำสาธารณะ ด้านทิศใต้จรดที่ส่วนบุคคลและถนนที่เชื่อมต่อระหว่างบ้านสวน-บ้านคลองด่าน-หนองสะแก เชื่อมไปจนถึงอำเภอพรหมพิรามของจังหวัดพิษณุโลก และเป็นจุดตัดเชื่อมระหว่างถนนเส้นบายพาสพิษณุโลก-สุโขทัยด้วย ด้านทิศตะวันตกติดกับที่ส่วนบุคคลและชุมชนบริเวณวัด ด้านทิศเหนือจรดที่ส่วนบุคคลเป็นท้องนา บริเวณวัดคลองตะเคียนมีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ที่มีสิ่งก่อสร้างอันเป็นศาสนวัตถุและศาสนสถาน รวมทั้งปลูกต้นไม้เพื่อให้เกิดความร่มรื่นด้วยเช่นกัน

ศาสนวัตถุ[แก้]

  1. อุโบสถ
  2. ศาลาการเปรียญ
  3. วิหาร
  4. กุฎิที่พักสงฆ์
  5. ฌาปนสถาน/ศาลาคู่เมรุ
  6. ส่วนป่าเฉลิมพระเกียรติ
  7. สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนา การศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรม คลื่น 98.250 MHz ตั้งที่วัดคลองตะเคียน หมู่ ๖ ตำบลบ้านสวน
  8. ที่ตั้งของศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนวัดคลองตะเคียน (ดำเนินการโดยองค์การบริส่วนตำบลบ้านสวน อบต.บ้านสวน)

ทำเนียบเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร) ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2529- 2541[4][5]
  • พระครูสุรัตน์ธรรมเกษม(พิศิษฐ์ เขมรโต) ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2541-2559[6]
  • พระครูสมุห์สิริวรงค์ ติกขปัญโญ ดำรงตำแหน่งระหว่าง รับการแต่งตั้งเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน
ลำดับเจ้าอาวาสวัดคลองตะเคียน
ที่ รายนาม/สมณศักดิ์ ตำแหน่ง เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 พระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร /อาจใหญ่) เจ้าอาวาส พระครูสัญญาบัตร พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2541 มรณภาพ 22 เม.ย.2541
2 พระครูสุรัตน์ธรรมเกษม (พิศิษฐ์ เขมรโต) พระอุปัชฌาย์, เจ้าคณะตำบลตาลเตี้ย พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2559 ลาสิกขา 8 มกราคม 2559
3 พระครูสมุห์สิริวรงค์ ติกขปัญโญ พระกรรมวาจาจารย์, พระวิปัสนาจารย์ 9 เม.ย.2560 ปัจจุบัน เดิมสังกัดวัดคูหาสุวรรณ

กิจกรรมพิเศษ[แก้]

วัดคลองตะเคียน ได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เพื่อให้บริการการศึกษาพระพุทธศาสนาต่อเยาวชนและผู้สนใจในบริเวณใกล้เคียง รวมทั้งก่อตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่อชุมชน อีกด้วย

เว็บไซต์เกี่ยวข้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. [กองพุทธศาสนสถาน,กรมการศาสนา,กระทรวงศึกษาธิการ,ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ 7,กรุงเทพ โรงพิมพ์การศาสนา,2531. หน้า 505].
  2. http://www.watkongtakean.com/[ลิงก์เสีย] สื่อออนไลน์ วัดคลองตะเคียน ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.สุโขทัย
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2478/D/3679.PDF หลักฐานประกาศกรมศิลปากร กำหนดโบราณสถานสำหรับชาติ ประกาศ 8 มีนาคม 2478 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 1709-1710
  4. ดร, ดิเรก ด้วงลอย | พระปลัดระพิน พุทธิสาโร [ผู้เรียบเรียง]. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านสวนจังหวัดสุโขทัย = Local history of Bansuan Sukhothai province พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563 http://gps.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2020/03/02_01-256_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99.pdf
  5. ดร, ดิเรก ด้วงลอย บรรณาธิการ|โมไนย พจน์ [ผู้เรียบเรียง] . (2551). พุทธจริยศาสตร์สำหรับชาวพทธ. สุโขทัย กองทุนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาพระครูสุพัฒนพิธาน (ทองดี มหาวีโร).
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.