ลิโอเนล เอสกาโลนิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิโอเนล เอสกาโลนิ
เอสกาโลนิขณะทำหน้าที่ร่วมกับทีมชาติอาร์เจนตินาใน ค.ศ. 2022
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ลิโอเนล เซบัสเตียน เอสกาโลนิ[1]
วันเกิด (1978-05-16) 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 (45 ปี)[1]
สถานที่เกิด ปูฆาโต รัฐซานตาเฟ ประเทศอาร์เจนตินา
ส่วนสูง 1.82 เมตร (6 ฟุต 0 นิ้ว)[1]
ตำแหน่ง แบ็กขวา, กองกลางตัวขวา
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
อาร์เจนตินา (ผู้จัดการทีม)
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
ค.ศ. 1995–1996 ญุลส์โอลบอยส์ 12 (0)
ค.ศ. 1996–1997 เอสตูเดียนเตส 37 (7)
ค.ศ. 1998–2006 เดปอร์ติโบลาโกรุญญา 200 (14)
ค.ศ. 2006เวสต์แฮมยูไนเต็ด (ยืมตัว) 13 (0)
ค.ศ. 2006–2007 ราซินซันตันเดร์ 30 (1)
ค.ศ. 2007–2013 ลัตซีโย 52 (1)
ค.ศ. 2008–2009มายอร์กา (ยืมตัว) 28 (0)
ค.ศ. 2013–2015 อาตาลันตา 15 (0)
รวม 387 (23)
ทีมชาติ
ค.ศ. 1997 อาร์เจนตินา ยู-20 ปี 7 (2)
ค.ศ. 2003–2006 อาร์เจนตินา 7 (0)
จัดการทีม
ค.ศ. 2016–2017 เซบิยา (ผู้ช่วย)
ค.ศ. 2017–2018 อาร์เจนตินา (ผู้ช่วย)
ค.ศ. 2018 อาร์เจนตินา ยู-20 ปี
ค.ศ. 2018– อาร์เจนตินา
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ลิโอเนล เซบัสเตียน เอสกาโลนิ (สเปน: Lionel Sebastián Scaloni, เสียงอ่านภาษาสเปน: [ljoˈnel eskaˈloni],[2] ภาษาสเปนแบบอาร์เจนตินา: [ehkaˈloni]; 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1978 – ) เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลระดับอาชีพชาวอาร์เจนตินา และอดีตผู้เล่นซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ฝึกสอนให้แก่ทีมชาติอาร์เจนตินา ทั้งนี้ เขาเคยเป็นนักฟุตบอลแบ็กขวาหรือกองกลางตัวขวา โดยเป็นผู้เล่นสารพัดประโยชน์

เอสกาโลนิเกิดที่ปูฆาโต รัฐซานตาเฟ ซึ่งได้รับการเปิดตัวครั้งแรกในฐานะนักฟุตบอลให้แก่สโมสรญุลส์โอลบอยส์ใน ค.ศ. 1995 เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในระดับอาชีพที่ประเทศสเปน โดยส่วนใหญ่อยู่ที่สโมสรเดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา ซึ่งเขาคว้าแชมป์ลีกสเปน ฤดูกาล 1999–2000 และโกปาเดลเรย์ ฤดูกาล 2001–2002 โดยรวมแล้ว เขาลงเล่น 258 เกม และ 15 ประตูใน 12 ฤดูกาลในลาลิการ่วมกับสามทีมที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ เขายังทำหน้าที่ในประเทศอิตาลีเป็นเวลาหลายปี ร่วมกับสโมสรกีฬาลัตซีโยและอาตาลันตาก่อนจะอำลาการเป็นนักฟุตบอลอาชีพใน ค.ศ. 2015 ส่วนในระดับนานาชาติ เขาทำหน้าที่นักฟุตบอลให้แก่ประเทศอาร์เจนตินาในระดับอายุต่ำกว่า 20 ปี และเปิดตัวให้กับทีมชุดใหญ่ใน ค.ศ. 2003 เขาลงแข่งสำหรับทีมชาติเจ็ดนัดระหว่าง ค.ศ. 2003 ถึง 2006 และเป็นส่วนหนึ่งของทีมฟุตบอลโลก 2006

เอสกาโลนิเข้ามาเป็นผู้จัดการทีมใน ค.ศ. 2016 โดยเริ่มเป็นผู้ช่วยที่สโมสรฟุตบอลเซบิยา และทีมอายุต่ำกว่า 20 ปีของอาร์เจนตินา ซึ่งใน ค.ศ. 2018 เขาได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดการทีมชุดอายุต่ำกว่า 20 ปี และได้รับเลือกให้เป็นผู้นำทีมชุดใหญ่ของอาร์เจนตินาในปลายปีดังกล่าว เขาพาทีมคว้าอันดับสามในการแข่งระดับนานาชาติครั้งแรกของการทำหน้าที่ ซึ่งคือโกปาอาเมริกา 2019 ที่ประเทศบราซิล ต่อมา เขาพาทีมคว้าแชมป์โกปาอาเมริกา 2021 ซึ่งถือเป็นเกียรติยศแรกของอาร์เจนตินาในรอบ 28 ปี จากนั้นสามารถพาทีมชนะทีมชาติอิตาลีในการแข่งฟินาลิสซิมา 2022 หลังจากนั้นในฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ทีมชาติอาร์เจนตินาที่นำโดยเอสกาโลนิสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกสมัยที่สาม โดยเป้นการคว้าแชมป์โลกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1986

สมัยเป็นนักฟุตบอลอาชีพ[แก้]

สโมสร[แก้]

ช่วงปีแรก ๆ และเดปอร์ติโบ[แก้]

เอสกาโลนิ (ซ้าย) ขณะอยู่สังกัดเอสตูเดียนเตสใน ค.ศ. 1996

เขาเกิดที่เมืองเล็ก ๆ ชื่อปูฆาโต ในรัฐซานตาเฟ[3] โดยมีเชื้อสายอิตาลีจากอัสโกนิเชโน แคว้นมาร์เค[4][5] เอสกาโลนิเริ่มอาชีพของเขาในปริเมราดิบิซิออนเดอาร์เฆนตินาร่วมกับสโมสรท้องถิ่นชื่อญุลส์โอลบอยส์ และจากนั้นคือเอสตูเดียนเตสเดลาปลาตา ก่อนย้ายไปเดปอร์ติโบเดลาโกรุญญาของสเปนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997 ด้วยเงิน 405 ล้านเปเซตา[6]

เขาทำหน้าที่ร่วมกับทีมกาลิเซียเป็นประจำตลอดระยะเวลาแปดปีครึ่ง โดยเขาลงแข่งร่วมกับมานูเอล ปาโบล และบิกตอร์ สำหรับจุดเริ่มต้นทั้งสองทางทางปีกขวา[7][8] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เข่า เขาจึงทำหน้าที่เพียง 14 นัดในลาลิกา ขณะที่เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญาคว้าแชมป์ได้เป็นครั้งแรก[9]

หลังจากหลุดจากโฆอากิน กาปาร์โลส ผู้จัดการทีม เอสกาโลนิได้เข้าร่วมทีมเวสต์แฮมยูไนเต็ดแบบยืมตัวในการแข่งพรีเมียร์ลีกเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกรอบเวลาการโอน ในความพยายามที่จะเพิ่มโอกาสในการคัดเลือกฟุตบอลโลกที่กำลังจะมาถึง[10] โดยเขาสวมเสื้อหมายเลข 2 เนื่องจากโตมาช เรปกา ที่จากไป และเปิดตัวในลีกให้แก่ทีมลอนดอนตะวันออก ที่ได้ปะทะกับซันเดอร์แลนด์เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์[11] ตลอดจนเขายังช่วยให้ทีมเข้าถึงเอฟเอคัพรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งเป็นการแพ้ลิเวอร์พูลจากการดวลลูกโทษ[12][13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "2006 FIFA World Cup Germany List of Players" (PDF). FIFA. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 June 2019. สืบค้นเมื่อ 8 June 2019.
  2. cf. Spanish phonology#Epenthesis
  3. Reinke, Mariana (27 July 2021). "Pujato, el pueblo rural del DT Lionel Scaloni con el récord de un camión cada diez personas" [Pujato, HC Lionel Scaloni's small town with the record of a truck for every ten people]. La Nación (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 31 January 2022.
  4. De Luca, Francesco (12 December 2022). "Argentina in semifinale mondiale, il riscatto di Scaloni l'italiano" [Argentina in World Cup semi-finals, saved by Scaloni the Italian]. Il Mattino (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
  5. Belotti, Marina (18 December 2022). "Lionel Scaloni, l'ex nerazzurro che si gioca la Coppa del Mondo" [Lionel Scaloni, former black-and-blue who plays for World Cup] (ภาษาอิตาลี). Calcio Atalanta. สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
  6. Levinsky, Sergio (8 August 2018). "La historia de Lionel Scaloni: el hombre que le teme a los aviones pero derribaba "gigantes" y llevó al título al Sub 20" [The story of Lionel Scaloni: the man who fears airplanes but brought down "giants" and took Under 20s to title] (ภาษาสเปน). Infobae. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.
  7. Hermida, Xosé (21 April 2003). "El indulto de Víctor" [Víctor's pardon]. El País (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.
  8. Méndez, Carlos (3 February 2004). "Sólo me falta ser central y portero" ["I only have not played as stopper and goalkeeper"]. Diario AS (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 11 May 2016.
  9. Grosso, Cristian (7 August 2018). "Lionel Scaloni: el perfil de un obsesivo del juego que nunca pierde el buen humor" [Lionel Scaloni: the profile of a game freak who is always in a good mood]. La Nación (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.
  10. "West Ham capture defender Scaloni". BBC Sport. 1 February 2006. สืบค้นเมื่อ 17 February 2015.
  11. "West Ham 2–0 Sunderland". BBC Sport. 4 February 2006. สืบค้นเมื่อ 25 September 2019.
  12. "Liverpool 3–3 West Ham (aet)". BBC Sport. 13 May 2006. สืบค้นเมื่อ 25 September 2019.
  13. Steinberg, Jacob (2010). "Whatever happened to West Ham's FA Cup final team of 2006?". Bleacher Report. สืบค้นเมื่อ 26 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]