ฤทธี อินทราวุธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤทธี อินทราวุธ
ไฟล์:พลเอก ฤทธี อินทราวุธ ปี61.jpg
ตุลาการศาลทหารสูงสุด
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน 2561
หัวหน้าที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
7 มกราคม 2562
ทีปรึกษาปลัดกระทรวงกลาโหม / หัวหน้าคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการอวกาศและไซเบอร์ /ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
ถัดไปพลตรี มานพ สัมมาขันธ์
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2559
ก่อนหน้าพลตรี ตฤณ กาญจนานันท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 เมษายน พ.ศ. 2501 (66 ปี)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
ประจำการกองทัพบกไทย พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2560
สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561
ยศ พลเอก

พลเอก ฤทธี อินทราวุธ ชื่อเล่น แอ๊ด "ผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ไซเบอร์และกิจการอวกาศ ให้กับกองทัพ และกระทรวงกลาโหม" หัวหน้าที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ด้านกิจการอวกาศ กระทรวงกลาโหม อดีตที่ปรึกษา พลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม [1]หัวหน้าคณะทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกิจการอวกาศและไซเบอร์ คนแรก อดีตผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก[2]คนแรกและอดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร[3]

การศึกษา[แก้]

สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 18 รุ่นเดียวกับพลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 29 รุ่นเดียวกับพลเอก เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหมและอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี สมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก วราห์ บุญญะสิทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช อดีตแม่ทัพภาคที่ 4

การรับราชการทหาร[แก้]

  • พ.ศ. 2536 อาจารย์หัวหน้ากอง ส่วนยุทธวิธี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2539 อาจารย์หัวหน้ากอง ส่วนจำลองยุทธ์ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2540 รองเสนาธิการศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
  • พ.ศ. 2541 ผู้อำนวยการส่วนปฏิบัติการศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
  • พ.ศ. 2543 เสนาธิการศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก
  • พ.ศ. 2545 ผู้อำนวยการกองแผนและฝึกศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร
  • พ.ศ. 2554 รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร
  • พ.ศ. 2557 ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร
  • พ.ศ. 2559 ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก
  • พ.ศ. 2560 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก / ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงกลาโหม
  • พ.ศ. 2561 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม / ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงกลาโหม

การทำงาน[แก้]

  • พ.ศ. 2525 นำกำลังกองร้อยทหารราบ ร.5 พัน 5 เข้ายึดค่ายกรุงชิง และค่ายศาลาแฝด ของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ( ผกค.) จ.นครศรีธรรมราช ใน ยุทธการใต้ร่มเย็น
  • พ.ศ. 2526 นำกำลังกองร้อยทหารราบ ร.5 พัน 5 เข้ายึดค่ายเขาน้ำค้าง อุโมงค์ 3 ชั้น ของ โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ( จคม.) กรม 8 อ.นาทวี จ.สงขลา ใน ยุทธการใต้ร่มเย็น จนได้รับการปูนบำเหน็จพิเศษ 4 ขั้น เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ ( พ.ส.ร.) 3 ขั้น และได้รับพระราชทาน เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้น 2 ประเภท 1 ประดับเปลวระเบิด
  • พ.ศ. 2535 ริเริ่มนำระบบจำลองยุทธ์ ( Battle Simulation )[4] มาใช้ในการฝึกแก้ปัญหาที่บังคับการ ( Command Post Exercise : CPX ) ให้กับหน่วยระดับกองพลและกองทัพภาคทั่วประเทศเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2539 ผลักดันการจัดตั้ง ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก[5] สำเร็จในปี 2539 โดยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีทางทหาร เป็นคนที่ 10 ก่อนเปลี่ยนหน่วยเป็น ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก
  • พ.ศ. 2545 ได้รับรางวัลทหารราบดีเด่น จาก ผู้บัญชาการทหารบก
  • พ.ศ. 2546 ได้รับรางวัลโครงการวิจัยดีเด่น จาก กองทัพบก
  • พ.ศ. 2551 ริเริ่มบูรณาการการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ( Crisis Management Exercise : C-MEX ) ร่วมกับการฝึกทางการทหารตามแผนป้องกันประเทศเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2557 เป็น เลขานุการคณะอนุกรรมการฝ่ายลงทะเบียนฯ กิจกรรมปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ( Bike for Mom 2015 ) ทำให้มีผู้ร่วมกิจกรรมฯ ทั่วประเทศจำนวนมากจนได้รับการบันทึกสถิติโลกลงกินเนสส์บุ้ค[6] ( Guinness World Records )
  • พ.ศ. 2557 จัดการแข่งขันการปฏิบัติการไซเบอร์ระหว่างเหล่าทัพขึ้นเป็นครั้งแรก ( Army Cyber Contest 2015)[7]
  • พ.ศ. 2558 ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น และโครงการวิจัยดีเด่นจากกระทรวงกลาโหม[8]
  • พ.ศ. 2558 เสนอแนะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำแนวความคิดการปฏิบัติการไซเบอร์ และการต่อต้านสงครามไซเบอร์ของศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก ใส่ไว้ใน Digital Economy ในงานแถลงยุทธศาสตร์ชาติ 2559-2563 ของ วปอ.[9]
  • พ.ศ. 2558 ต่อต้านและตอบโต้กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway และให้คำแนะนำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับหน่วยงานราชการในการป้องกันและรับมือการโจมตีแบบ F5 ของกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway [10] ของกลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway
  • พ.ศ. 2559 ให้ความเห็นสนับสนุน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป และแจ้งเตือนการโจมตีของแฮ็กเกอร์จากต่างประเทศ พร้อมให้คำแนะนำด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับหน่วยงานราชการในการป้องกันและรับมือการโจมตี [11]
  • พ.ศ. 2559 ผลักดันการจัดตั้ง ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก[12] สำเร็จในปี 2559 โดยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก เป็นคนแรก
  • พ.ศ. 2560 เฝ้าระวัง ติดตามปราบปรามเว็บหมิ่นฯ กว่า 820 รายการ และปิดเว็บหมิ่นฯไปแล้ว 435 รายการ ส่งผลให้แนวโน้มลดลง [13]
  • พ.ศ. 2560 สลายขบวนการโจมตีเว็บไซต์จนทำให้กองทัพบกพอใจหลังสามารถป้องกันการโจมตีป่วนเว็บราชการลดลง [14]
  • พ.ศ. 2560 นำศูนย์ไซเบอร์กองทัพบกไล่บี้แฮกเกอร์ เผยสกัดเว็บหมิ่นฯ ไปกว่า 1,000 ราย [15]
  • พ.ศ. 2561 ริเริ่มผลักดันให้นำขีดความสามารถผู้เชี่ยวชาญไซเบอร์พลเรือน มาบรรจุเป็น “พนักงานราชการที่มีศักยภาพสูง” และ “ข้าราชการพลเรือนกลาโหม” เพื่อการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2561 ริเริ่มก่อตั้งเครือข่าย “สรรพกำลังด้านไซเบอร์” เพื่อการผนึกกำลังในการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2561 ริเริ่มผลักดันให้นำ “กำลังพลสำรอง” มาทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว เพื่อการรับมือกับภัยคุกคามด้านไซเบอร์เป็นครั้งแรก [16]
  • พ.ศ. 2561 พลเอก ฤทธี อินทราวุธ หัวหน้าคณะทำงานไซเบอร์กลาโหม กล่าวว่า กองทัพมีแผนสร้าง กำลังสำรอง ที่มีความรู้ด้านไซเบอร์ ไปพร้อมกัน กับการสร้าง กำลังพลสำรอง[17]

รับราชการพิเศษ[แก้]

  • เลขานุการศูนย์บริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  • อนุกรรมาธิการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาธารณะ วุฒิสภา [18]
  • ตุลาการศาลทหารกรุงเทพ( 2542 - 2554 )
  • ตุลาการศาลทหารกลาง( 2554 - 2561 )[19]
  • ตุลาการศาลทหารสูงสุด( 2561 - ปัจจุบัน)[20]
  • นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า[21]
  • ราชองครักษ์เวร[22]

ยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/059/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล เล่ม 135 ตอนที่ 59 ง ราชกิจจานุเบกษา 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 ลำดับที่ 8
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม 133 ตอน พิเศษ 203 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 กันยายน พ.ศ. 2559
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
  4. สัมภาษณ์พิเศษ สัมผัสชีวิต ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ รร.สธ.ทบ.
  5. "ศูนย์เทคโนโลยีทางทหารกองทัพบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-05. สืบค้นเมื่อ 2017-06-30.
  6. ประวัติศาสต์หน้าใหม่!! กินเนสส์บุ๊ก บันทึกสถิติไทยปั่น BIKE FOR MOM มากที่สุดในโลกBike for Mom 2015 บันทึกสถิติโลกลงกินเนสส์บุ้ค
  7. Army Cyber Contest 2015
  8. "นักวิจัยดีเด่น จาก กระทรวงกลาโหม ปี 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-24. สืบค้นเมื่อ 2017-06-30.
  9. "เสนอแนะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำแนวความคิดการปฏิบัติการไซเบอร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-26. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
  10. กลุ่มพลเมืองต่อต้าน Single Gateway การโจมตี DDos แบบ F5
  11. เตือนนราชการระวังกลุ่มแฮกเกอร์ต่างชาติโจมตีข้อมูล
  12. "ศูนย์ไซเบอร์ ทบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  13. ผอ.ไซเบอร์ ทบ.สั่งเฝ้าระวัง ติดตาม หลังปิดเว็บหมิ่นไปแล้ว 435รายการ
  14. กองทัพบกพอใจหลังสามารถป้องกันการโจมตีป่วนเว็บราชการลดลง[ลิงก์เสีย]
  15. ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.ไล่บี้แฮกเกอร์ เผยสกัดเว็บหมิ่นฯ ไปกว่า 1,000 ราย
  16. บิ๊กป้อมสั่งทุกเหล่าทัพเตรียมรับมือสงครามไซเบอร์
  17. https://www.posttoday.com/politic/news/551553
  18. http://web.senate.go.th/w3c/senate/pictures/comm/67/report%20of%20committee%2054-57_1.pdf[ลิงก์เสีย] สรุปผลงานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รอบ 3 ปี]
  19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง เล่ม 128 ตอน พิเศษ 88 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  20. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารสูงสุด
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เล่ม 132 ตอนพิเศษ 84 ง ราชกิจจานุเบกษา 10 เมษายน 2558
  22. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์ เล่ม 129 ตอนพิเศษ 47 ง ราชกิจจานุเบกษา 9 มีนาคม 2555
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  24. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๓๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  25. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๗, ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙
  26. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑๕๕, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๘
  27. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๘, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]