ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2563
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว25 เมษายน พ.ศ. 2563
(สถิติก่อตัวเร็วที่สุดในแอ่งแปซิฟิกตะวันออก)
ระบบสุดท้ายสลายตัว19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อมารี
 • ลมแรงสูงสุด130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด948 มิลลิบาร์ (hPa; 27.99 inHg)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด21 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด16 ลูก
พายุเฮอริเคน4 ลูก
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
(ระดับ 3 ขึ้นไป)
3 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด46 คน
ความเสียหายทั้งหมด≥ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก
2561, 2562, 2563, 2564, 2565

ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2563 คือช่วงของฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก นับเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนน้อยที่สุดของพายุเฮอริเคนแปซิฟิก นับตั้งแต่ฤดู 2553 ฤดูกาลนี้มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนใกล้กับค่าเฉลี่ย โดยมีพายุที่ได้รับชื่อจำนวนทั้งหมด 16 ลูก แต่จำนวนพายุเฮอริเคนและพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่นั้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีพายุเฮอริเคนเพียง 4 ลูก และในจำนวนนี้มี 3 ลูกที่เป็นถึงพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ ซึ่งนับว่าน้อยที่สุดนับตั้งแต่ฤดูกาล 2553 อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลนี้นั้นนับได้ว่าเป็นฤดูกาลที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นเร็วที่สุด ทางด้านตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 140 องศาตะวันตก โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนหนึ่ง-อีได้ก่อตัวขึ้นในวันที่ 25 เมษายน ก่อนหน้าเจ้าของสถิติเดิมอย่างพายุโซนร้อนแอเดรียนในฤดูกาล 2560 เป็นเวลาสองสัปดาห์ โดยฤดูกาลนี้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และวันที่ 1 มิถุนายน ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง และไปจบลงพร้อมกันในวันที่ 30 พฤศจิกายน[1] โดยขอบเขตดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ที่พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวขึ้นได้ตลอดเวลา ดังที่แสดงให้เห็นด้วยกรณีของพายุดีเปรสชันเขตร้อนหนึ่ง-อี

พายุที่สำคัญที่สุดของฤดูกาล ได้แก่ พายุโซนร้อนอะแมนดา และพายุเฮอริเคนเจนิวีฟ โดยพายุอะแมนดาพัฒนาขึ้นใกล้อเมริกากลางในปลายเดือนพฤษภาคม และพัดเข้าประเทศกัวเตมาลา ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างในประเทศใกล้เคียงอย่างประเทศเอลซัลวาดอร์ และมีผู้เสียชีวิต 40 คนท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ส่วนพายุเจนิวีฟผ่านเข้าใกล้คาบสมุทรบาฆากาลิฟอร์เนียในเดือนสิงหาคม ทำให้เกิดลมพัดแรงในระดับพายุเฮอริเคนและฝนตกหนัก มีผู้เสียชีวิตจำนวน 6 คน และสร้างความเสียหายประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนผลกระทบจากพายุลูกอื่น ๆ นั้นน้อยมาก ในปลายเดือนกรกฎาคม พายุเฮอริเคนดักลัสที่ผ่านเข้าใกล้รัฐฮาวาย โดยกำแพงตาด้านใต้ที่มีกำลังอ่อนของตัวพายุได้เคลื่อนผ่านเกาะโอวาฮู ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย ส่วนที่เหลือของพายุโซนร้อนฟาอุสโต ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอากาศแห้งและฟ้าผ่าในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ทำให้เกิดอัคคีภัยหลายร้อยครั้ง ขณะที่ส่วนที่เหลือของพายุเจนิวีฟได้ทำให้เกิดฝนตกหนักในรัฐแอริโซนาและเซาท์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย พายุโซนร้อนเอร์นันเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเม็กซิโกมาก และพัดขึ้นฝั่งในบาฆากาลิฟอร์เนียซูร์เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย และพายุโซนร้อนฆูลิโอได้ทำให้เกิดอุทกภัยในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเม็กซิโก พายุลูกสุดท้ายของฤดูกาลสลายตัวไปเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ประมาณ 11 วันก่อนวันสิ้นสุดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ โดยรวมแล้วฤดูกาลนี้สร้างความเสียหายประมาณ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 46 คน

ภาพรวมฤดูกาล[แก้]

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (SSHWS)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)

พายุ[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนหนึ่ง-อี[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 26 เมษายน
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท)

วันที่ 23 เมษายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ (NHC) ออกการคาดการณ์อนาคตลมฟ้าอากาศเขตร้อนฉบับพิเศษ (STWO) สำหรับบริเวณของหย่อมความกดอากาศต่ำที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากจุดใต้สุดของคาบสมุทรบาฆากาลิฟอร์เนียทางใต้ในระยะหลายร้อยไมล์ โดยคาดว่าระบบมีโอกาสที่จะพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้[2] ต่อมา ร่องดังกล่าวเริ่มมีการจัดระบบอย่างรวดเร็ว โดยมีการพาความร้อนปรากฏขึ้นรอบศูนย์กลางของการไหลเวียน ตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ ได้รับการสนับสนุนโดยกระแสไหลออกที่ดีมากทางด้านเหนือ และมีการพัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ ตลอดทั้งวัน จนวันที่ 24 เมษายน ตัวหย่อมความกดอากาศต่ำได้แยกออกมาจากร่องความกดอากาศต่ำ ดังนั้น ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติจึงได้กำหนดให้ตัวระบบ เป็นระบบที่มีแนวโน้มสูงในการก่อตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อนในระยะเวลา 48 ชั่วโมง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นในการจัดระบบ[3] อย่างไรก็ตาม เวลาต่อมาวันเดียวกัน กลุ่มฝนและพายุฟ้าคะนองใกล้กับศูนย์กลางของระบบเริ่มลดน้อยลง ขณะที่ตัวศูนย์กลางระบบเริ่มมีความโค้งขึ้นเล็กน้อย[4] วันที่ 25 เมษายน การตรวจสอบโดยสแคตเตอร์มิเตอร์ พบว่าตัวหย่อมความกดอากาศต่ำที่พัฒนาขึ้นมีศูนย์กลางที่ลักษณะดีมากขึ้นในช่วงกลางคืน และกลุ่มพายุฟ้าคะนองเริ่มปรากฏบดบังการไหลเวียนได้อย่างเต็มที่ ในเวลานี้ ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสพายุว่า วัน-อี (One-E) ที่เวลาประมาณ 15:00 UTC ของวันที่ 25 เมษายน ทำให้พายุลูกนี้กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวเร็วที่สุดในแอ่ง ในแง่ของพายุที่ก่อตัวขึ้นทางด้านตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 140 องศาตะวันตก นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติที่เชื่อถือได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา โดยถือเป็นพายุที่ก่อตัวขึ้นก่อนที่ฤดูกาลอย่างเป็นทางการจะเริ่มต้นขึ้นถึงสามสัปดาห์[5][6] ส่วนสถิติเดิมเป็นของพายุโซนร้อยเอเดรียนในฤดูกาล 2560 ซึ่งก่อตัวขึ้นในวันที่ 9 พฤษภาคม[5]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนมีทิศทางเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจากจุดที่ก่อตัว โดยการพาความร้อนของระบบพายุย้ายลงไปทางด้านใต้ของระบบ อันเป็นผลมาจากอากาศแห้งที่เพิ่มขึ้นรอบ ๆ ระบบพายุ[7] อย่างไรก็ตาม การพาความร้อนขนาดเล็กที่ปะทุออกนั้น ช่วยให้พายุดีเปรสชันยังคงระดับความรุนแรงของตนไว้ได้ต่อไป แม้ว่าอากาศแห้งจะเริ่มไหลเวียนเข้าสู่ระบบแล้ว[5] วันที่ 26 เมษายน อากาศแห้ง ลมเฉือนที่เพิ่มขึ้น และพื้นผิวน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิเย็นขึ้น ทำให้ตัวพายุขนาดเล็กนี้ล้มลง โดยการพาความร้อนใกล้ศูนย์กลางเริ่มสลายตัวไปอย่างรวดเร็วและกระจายออกไปจากศูนย์กลางของระบบ ทิ้งไว้เพียงพายุฟ้าคะนองเล็กน้อยเท่านั้น พ้นจากเกณฑ์ที่เหมาะสมของพายุหมุนเขตร้อนไปโดยสิ้นเชิง[8] มีการประกาศว่าพายุดีเปรสชันได้สลายตัวไปแล้ว และกลายเป็นเศษที่หลงเหลือเล็กน้อยในวันเดียวกัน เนื่องจากการพยายามต่อสู้เพื่อการพัฒนาการพาความร้อนอีกครั้ง และการเพิ่มชึ้นของอากาศเสถียรรอบ ๆ ศูนย์กลาง[9] วันต่อมา เศษที่หลงเหลือได้สลายตัวไปอย่างสมบูรณ์

พายุโซนร้อนอะแมนดา[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 30 – 31 พฤษภาคม
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนบอริส[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 28 มิถุนายน
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1005 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.68 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนสี่-อี[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 30 มิถุนายน
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนคริสตีนา[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 13 กรกฎาคม
ความรุนแรง 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที)
993 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.32 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนหก-อี[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 14 กรกฎาคม
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนเจ็ด-อี[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 21 กรกฎาคม
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนดักลัส[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที)
954 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.17 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเอลิดา[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 13 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 ไมล์/ชม. (155 กม./ชม.) (1 นาที)
975 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.79 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนสิบ-อี[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 16 สิงหาคม
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนฟาอุสโต[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเจนิวีฟ[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 21 สิงหาคม
ความรุนแรง 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที)
950 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.05 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเอร์นัน[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 – 28 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1001 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.56 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนไอเซลล์[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 – 30 สิงหาคม
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนฆูลิโอ[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 7 กันยายน
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนคารินา[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 17 กันยายน
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
996 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโลเวลล์[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 25 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
999 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.5 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนมารี[แก้]

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กันยายน – 7 ตุลาคม
ความรุนแรง 130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (1 นาที)
947 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.96 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนนอร์เบิร์ต[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 ตุลาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1001 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.56 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโอเดลิส[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 5 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโพโล[แก้]

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 19 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ[แก้]

รายชื่อต่อไปนี้ ใช้สำหรับการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2562 สำหรับชื่อที่ถูกถอน ถ้ามีจะได้รับการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิของปี พ.ศ. 2563 โดยชื่อที่ไม่ถูกปลด จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปีฤดูกาล พ.ศ. 2568[10] รายชื่อชุดนี้เป็นชุดเดียวกันกับที่เคยใช้ไปในฤดูกาล พ.ศ. 2557 เว้น โอเดลีส ซึ่งถูกนำมาใช้แทนที่ โอดีล

ในฤดูกาล 2563 ชื่อในชุดรายชื่อถูกนำมาใช้ทั้งหมด 16 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกในฤดูกาล 2563
รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ
02E อะแมนดา
(Amanda)
09E เอลิดา
(Elida)
14E ไอเซลล์
(Iselle)
18E มารี
(Marie)
03E บอริส
(Boris)
11E ฟาอุสโต
(Fausto)
15E ฆูลิโอ
(Julio)
19E นอร์เบิร์ต
(Norbert)
05E คริสตีนา
(Cristina)
12E เจนิวีฟ
(Genevieve)
16E คารินา
(Karina)
20E โอเดลีส
(Odalys)
08E ดักลัส
(Douglas)
13E เอร์นัน
(Hernan)
17E โลเวลล์
(Lowell)
21E โพโล
(Polo)

สำหรับพายุที่ก่อตัวภายในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างเส้น 140 องศาตะวันตกถึงเส้นแบ่งวันสากล ชื่อที่จะใช้จะเป็นชื่อในชุดหมุนเวียนสี่ชุด[11] โดยในฤดูนี้ ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนใดได้รับชื่อจากชุดรายชื่อนี้เลย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dorst Neal. When is hurricane season? (Report). Atlantic Oceanographic and Meteorological Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2010.
  2. Andrew Latto; Daniel Brown (April 25, 2020). "NHC Graphical Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.
  3. Andrew Latto (April 25, 2020). "NHC Graphical Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.
  4. Latto, Andrew. "NHC Graphical Outlook Archive". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 David Zelinsky (April 25, 2020). "Tropical Depression ONE-E". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ April 25, 2020.
  6. Mersereau, Dennis (April 25, 2020). "The Eastern Pacific Ocean Just Saw Its Earliest Tropical Cyclone On Record". Forbes. สืบค้นเมื่อ May 2, 2020.
  7. Cangialosi, John. "Tropical Depression One-E Discussion Number 3". National Hurricane Center.
  8. Stewart, Stacy. "Tropical Depression One-E Discussion Number 5". National Hurricane Center.
  9. Stewart, Stacy. "Post-Tropical Cyclone One-E Discussion Number 6". National Hurricane Center.
  10. "Tropical Cyclone Names". National Hurricane Center. National Oceanic and Atmospheric Administration. 2013-04-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2013. สืบค้นเมื่อ May 8, 2013.
  11. "Pacific Tropical Cyclone Names 2016-2021". Central Pacific Hurricane Center. National Oceanic and Atmospheric Administration. May 12, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PHP)เมื่อ January 8, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]