ฟอร์มูลาวัน
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
![]() | |
ประเภท | Single seater |
---|---|
ประเทศ | International |
การเริ่มฤดูกาล | 1950[1] |
ผู้ขับ | 20 |
ผู้สร้าง | 10 |
ผู้ผลิตรถจักร | แฟร์รารี · Mercedes · Renault · Honda |
ผู้ผลิตยางรถ | Pirelli |
ผู้ขับแชมป์ | ![]() (Mercedes AMG Petronas) |
ผู้สร้างแชมป์ | ![]() |
เว็บไซต์ทางการ | www.formula1.com |
![]() |
รถสูตรหนึ่ง หรือ ฟอร์มูลาวัน (อังกฤษ: Formula One) หรือ เอฟวัน (อังกฤษ: F1) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า FIA Formula One World Championship[2] เป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดจากความช่วยเหลือของสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (Fédération Internationale de l'Automobile (FIA) ) คำว่า "สูตร" หมายถึงกฎกติกาที่ผู้เข้าแข่งขันและรถทุกคันต้องปฏิบัติตาม[3] ฤดูกาลแข่งขันของเอฟวัน ประกอบด้วยการแข่งขันหลายครั้งหรือที่เรียกว่า กรังด์ปรีซ์ (Grands Prix) ตามวัตถุประสงค์การสร้างของสนามแข่งและไปจนถึงขนาดที่เล็กลง ถนนสาธารณะและถนนปิดในเมือง ผลของการแข่งขันจะรวมและพิจารณาให้กับแชมป์ในส่วนของผู้ขับและผู้ผลิต ในส่วนของผู้ขับรถ ทีมผู้ผลิต เจ้าหน้าที่ทางรถ ผู้จัดเตรียม และสนามต้องมีผู้ที่ถือใบอนุญาตซูเปอร์ไลเซนซ์[4] ใบอนุญาตการแข่งรถสูงสุดจาก FIA[5]
การแข่งขันรถสูตรหนึ่ง แข่งด้วยความเร็วสูงถึง 360 กม/ชม. กับเครื่องยนต์สูงสุด 18,000 รอบ/นาที ประสิทธิภาพของรถขึ้นอยู่กับเครื่องยนต์ อากาศพลศาสตร์ การเบรกและยาง
ยุโรปถือเป็นจุดศูนย์กลางการแข่งของรถสูตรหนึ่ง และมีการแข่งขันเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามก็ได้ขยับขยายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลกในปีหลัง ๆ การแข่งขันในยุโรปและอเมริกาก็ถูกลดลงไป การแข่งขัน 17 ครั้งในปี 2009 มี 8 ครั้งที่จัดขึ้นนอกยุโรป
การแข่งขันรถสูตรหนึ่งยังถือเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีผู้ชมมหาศาล มีผู้ชมทั่วโลกกว่า 600 ล้านคนต่อฤดูกาล[6] และด้วยความที่เป็นกีฬาที่แพงที่สุดในโลก[7] จึงมีผลต่อด้านเศรษฐกิจอย่างมาก และการเงินและการต่อสู้ด้านการเมือง และยังปรากฏถึงด้านการค้าที่นำไปสู่การหาผู้สนับสนุนอย่างมาก นำไปสู่การหาค่าใช้จ่ายของผู้ผลิต อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2000 ค่าใช้จ่ายที่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น หลายทีม รวมถึงทีมผู้สร้างรถและทีมที่มีผู้สนับสนุนน้อย ก็ล้มหายไปหรือถูกขายให้บริษัทอื่น สิ่งนี้เองทำให้มีตัวจำกัดผู้เข้าร่วมแข่งขันด้วย
สนามรถสูตรหนึ่ง[แก้]
Albert Park Circuit, เมลเบิร์น
Bahrain International Circuit, Sakhir
Hanoi Street Circuit, ฮานอย
Circuit Zandvoort, ซันต์โฟร์ต
Circuit de Barcelona-Catalunya, บาร์เซโลนา
Circuit de Monaco, Monte Carlo
Baku City Circuit, บากู
Circuit Gilles Villeneuve, มอนทรีออล
Circuit Paul Ricard, Le Castellet
Red Bull Ring, Spielberg
Silverstone Circuit, Silverstone
Hungaroring, Mogyoród
Circuit de Spa-Francorchamps, Stavelot
Autodromo Nazionale di Monza, Monza
Marina Bay Street Circuit, สิงคโปร์
Sochi Autodrom, โซชี
Suzuka International Racing Course, Suzuka
Circuit of the Americas, ออสติน
Autódromo Hermanos Rodríguez, เม็กซิโกซิตี
Autódromo José Carlos Pace, เซาเปาลู
Yas Marina Circuit, อาบูดาบี
Shanghai International Circuit, เซี่ยงไฮ้
อ้างอิง[แก้]
- ↑ The formula was defined during 1946; the first Formula One race was during 1947; the first World Championship season was 1950.
- ↑ "2009 FIA Formula One World Championship". Fia.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
- ↑ "Discovering What Makes Formula One, Formula One — For Dummies". Dummies.com. สืบค้นเมื่อ 2009-09-14.
- ↑ (Showing%20Alterations) %2024-03-2009.pdf [ลิงก์เสีย]
- ↑ "APPENDIX L TO THE INTERNATIONAL SPORTING CODE" (PDF). FIA. 28 March 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-08-30.
- ↑ "F1's TV audience reached 600m in 2008". uk.eurosport.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.
- ↑ "F1 owners brace for impact of credit crunch on expensive sport — Racing — ESPN". Sports.espn.go.com. 2008-09-26. สืบค้นเมื่อ 2009-06-25.