ข้ามไปเนื้อหา

อเล็กซานเดอร์ อัลบอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กซานเดอร์ อัลบอน
อัลบอนใน ค.ศ. 2024
เกิดอเล็กซานเดอร์ อัลบอน อังศุสิงห์
(1996-03-23) 23 มีนาคม ค.ศ. 1996 (29 ปี)
เวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน อังกฤษ
คู่รักลิลลี เหอ (2019–ปัจจุบัน)
บุพการีไนเจล อัลบอน (บิดา)
ญาติมาร์ก อัลบอน (อา)
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก
สัญชาติประเทศไทย ไทย
ทีมในปี 2025วิลเลียมส์-เมอร์เซเดส[1]
หมายเลขรถ23
แข่ง111 (ออกตัว 108)
แชมป์โลก0
ชนะ0
โพเดียม2
คะแนน258
ตำแหน่งโพล0
ทำรอบได้เร็วที่สุด0
แข่งครั้งแรกออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ 2019
แข่งครั้งล่าสุดซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์ 2025
อันดับในปี 202416 (12 คะแนน)
รายการที่แล้ว
รางวัล
  • 2019
  • 2019
  • เอฟไอเอ นักแข่งหน้าใหม่แห่งปี
  • ออโตสปอร์ตอะวอดส์ นักแข่งหน้าใหม่แห่งปี
เว็บไซต์www.alexalbon.com

อเล็กซานเดอร์ อัลบอน อังศุสิงห์ (อังกฤษ: Alexander Albon Ansusinha; เกิด 23 มีนาคม ค.ศ. 1996) เป็นนักแข่งรถชาวไทยเชื้อสายอังกฤษ ปัจจุบันแข่งรถภายใต้ธงชาติไทยในการแข่งขันฟอร์มูลาวันให้แก่วิลเลียมส์

อัลบอนเกิดที่นครเวสต์มินสเตอร์ และเติบโตที่เทศมณฑลซัฟฟอล์ก โดยเขาเป็นบุตรของอดีตนักแข่งรถชาวอังกฤษ ไนเจล อัลบอน กับมารดาชาวไทย และเป็นหลานชายของ มาร์ก อัลบอน ผู้มีศักดิ์เป็นอาซึ่งเคยเป็นนักแข่งรถเช่นเดียวกัน อัลบอนเริ่มต้นอาชีพด้วยการแข่งรถคาร์ตที่ประสบความสำเร็จ จากผลงานชนะเลิศการแข่งขันรุ่นจูเนียร์ไดเรกไดรฟ์ในการแข่งรถคาร์ตชิงแชมป์ยุโรปและเวิลด์คัพ ฤดูกาล 2010[2][3] เขาเลื่อนขั้นสู่การแข่งขันฟอร์มูลาระดับรองใน ค.ศ. 2012 และเข้าแข่งขันฟอร์มูลาเรอโนยูโรคัพตั้งแต่ฤดูกาล 2012 ถึง 2014[4][5][6] อัลบอนเลื่อนขั้นสู่รายการเอฟไอเอฟอร์มูลาทรีชิงแชมป์ยุโรป ฤดูกาล 2015 ก่อนจะย้ายไปแข่งในรายการจีพีทรีซีรีส์โดยได้อันดับรองชนะเลิศตามหลัง ชาร์ล เลอแกลร์ ในฤดูกาลเปิดตัวกับอาแอร์เต[7][8][9] เขาเลื่อนขั้นสู่รายการเอฟไอเอฟอร์มูลาทู ฤดูกาล 2017 และได้อันดับที่สามในการชิงแชมป์ของฤดูกาลถัดมากับเดอาแอมแอ็ส[10][11]

อัลบอนเป็นสมาชิกเรดบูลจูเนียร์ทีมใน ค.ศ. 2012 และเซ็นสัญญากับโตโรรอสโซในการแข่งขันฟอร์มูลาวันฤดูกาล 2019 โดยเข้าแข่งขันรายการแรกที่ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์[12] หลังจากการแข่งขันสิบสองรายการ เขาได้เลื่อนขั้นสู่ทีมหลักคือเรดบูล เพื่อแทนที่ ปีแยร์ กัสลี และจับคู่กับ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน[13][14] เขาได้อันดับบนโพเดียมครั้งแรกในฤดูกาล 2020 ที่ทัสกันและบาห์เรนกรังด์ปรีซ์ ทำให้เขากลายเป็นนักขับสัญชาติไทยคนแรกที่ขึ้นโพเดียมในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน[15][16][17] อัลบอนถูกแทนที่โดย เซร์ฆิโอ เปเรซ ในฤดูกาล 2021 โดยเขายังคงเป็นนักขับสำรองให้แก่เรดบูลและทีมรองที่ปรับภาพลักษณ์ใหม่เป็นอัลฟาทอรี[18][19] เขาเข้าร่วมการแข่งขันด็อยท์เชอทูเรินวาเกินมาสเทิร์ส (เดเทเอ็ม) กับอัลฟาทอรีอาเอฟเฟกอร์เซ เคียงคู่กับ เลียม ลอว์สัน และกลายเป็นนักขับสัญชาติไทยคนแรกที่ชนะการแข่งขันเดเทเอ็ม โดยเขาชนะการแข่งขันรอบที่สองที่ฮ็อคเคินไฮม์ริง[20][21] อัลบอนเซ็นสัญญากับวิลเลียมส์สำหรับฤดูกาล 2022 เพื่อเข้ามาแทนที่ จอร์จ รัสเซลล์ และยุติความเกี่ยวข้องกับเรดบูลหลังจากขยายสัญญากับทีมใหม่เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแรก[22][23]

จากสถิติ ณ ซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์ 2025 อัลบอนมีผลงานด้วยการมีอันดับบนโพเดียมสองครั้งในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน อัลบอนเซ็นสัญญาอยู่กับวิลเลียมส์อย่างน้อยจนสิ้นสุดฤดูกาล 2026[1]

ชีวิตช่วงต้นและชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อัลบอนเกิดในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1996 ที่โรงพยาบาลพอร์ตแลนด์ ในนครเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาคือ ไนเจล อัลบอน เป็นอดีตนักแข่งรถชาวบริติชผู้เคยเข้าร่วมการแข่งขันบริติชทัวริงคาร์แชมเปียนชิปและพอร์เชอคาร์เรราคัพ มารดาของเขาคือกัญญ์กมล เป็นชาวไทย[24][25][26] อาของเขาคือ มาร์ก อัลบอน อดีตนักแข่งรถผู้เคยเข้าร่วมการแข่งขันหนึ่งรายการของอินเตอร์เนชันแนลฟอร์มูลา 3000[27]

อัลบอนเติบโตที่เมืองบูเอส เทศมณฑลซัฟฟอล์ก พร้อมกับน้องชายชื่อลูกา และน้องสาวอีกสามคน ได้แก่ โคลอี โซอี และอลิเซีย[28][29][30] อัลบอนศึกษาที่โรงเรียนอิปสวิช ก่อนจะออกจากโรงเรียนเพื่อเริ่มต้นอาชีพนักแข่งรถ[25][31] เขายกให้ มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ และวาเลนตีโน รอสซี เป็นบุคคลตัวอย่างผู้มีอิทธิพลในวัยเด็กของเขา[32]

อัลบอนถือสองสัญชาติทั้งบริติชและไทย และแข่งรถโดยใช้ธงชาติไทย[33] เขานับถือศาสนาพุทธ[34] เขาและครอบครัวมีสัตว์เลี้ยงจำนวนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยแมวอย่างน้อยสิบสองตัว สุนัข และม้าอีกสองตัว[30] อัลบอนคบหากับ ลิลลี เหอ นักกอล์ฟแอลพีจีเอชาวจีน อย่างเปิดเผยตั้งแต่ ค.ศ. 2019[35]

สถิติการแข่งรถคาร์ต

[แก้]

สรุปอาชีพนักแข่งรถคาร์ต

[แก้]
ฤดูกาล รายการ ทีม อันดับ
2006 คาร์ตมาสเตอส์บริติชกรังด์ปรีซ์ — รุ่นคัมเมอร์คาเดต 1
ซูเปอร์วันเนชันแนลแชมเปียนชิป — รุ่นคัมเมอร์คาเดต 17
ซูเปอร์วันเนชันแนลแชมเปียนชิป — รุ่นฮอนด้าคาเดต 1
2007 คาร์ตมาสเตอส์บริติชกรังด์ปรีซ์ — รุ่นคัมเมอร์คาเดต 6
บริติชโอเพนแชมเปียนชิป — รุ่นฮอนด้าคาเดต 3
ซูเปอร์วันเนชันแนลแชมเปียนชิป — รุ่นคัมเมอร์คาเดต 2
เอ็มเอสเอบริติชแชมเปียนชิป — รุ่นคาเดต 4
2008 คาร์ตมาสเตอส์บริติชกรังด์ปรีซ์ — รุ่นเคเอฟทรี 1
บีอาร์ดีซีสตาส์ออฟทูมอร์โรวแชมเปียนชิป — รุ่นเคเอฟทรี 2
ซูเปอร์วันเนชันแนลแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟทรี 3
2009 ฟอร์มูลาคาร์ตสตาส์ — รุ่นเคเอฟทรี 1
ซูเปอร์วันเนชันแนลแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟทรี 1
เคเอฟวินเทอร์ซีรีส์ — รุ่นเคเอฟทรี 1
ดับเบิลยูเอสเคอินเตอร์เนชันแนลซีรีส์ — รุ่นเคเอฟทรี มิก แบร์เรตต์เรซซิง 5
2010 เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ — รุ่นเคเอฟทรี อินเทรพิดไดร์เวอร์โปรแกรม 3
โตรเฟโออันเดรอามาร์กุตตี — รุ่นเคเอฟทรี NC
ดับเบิลยูเอสเคยูโรซีรีส์รุ่นเคเอฟทรี 2
ซีไอเค-เอฟไอเอยูโรเปียนแชมเปียนชิปรุ่นเคเอฟทรี 1
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์คัพรุ่นเคเอฟทรี 1
โมนาโกคาร์ตคัพรุ่นเคเอฟทรี 4
2011 เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ — รุ่นเคเอฟทู อินเทรพิดไดร์เวอร์โปรแกรม 4
ดับเบิลยูเอสเคซูเปอร์มาสเตอร์ซีรีส์รุ่นเคเอฟทู 10
ดับเบิลยูเอสเคยูโรซีรีส์รุ่นเคเอฟวัน 2
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์คัพรุ่นเคเอฟวัน 2
แหล่งที่มา:[36][37]

สถิติการแข่งรถ

[แก้]

สรุปอาชีพนักแข่งรถ

[แก้]
ฤดูกาล รายการ ทีม แข่งขัน ชนะ โพล รอบเร็ว โพเดียม คะแนน อันดับ
2012 ฟอร์มูลาเรอโน 2.0 แอลปส์ เอปิกเรซซิง 14 0 0 0 0 26 16
ยูโรคัพฟอร์มูลาเรอโน 2.0 14 0 0 0 0 0 38
2013 ยูโรคัพฟอร์มูลาเรอโน 2.0 เคทีอาร์ 14 0 1 1 0 22 16
ฟอร์มูลาเรอโน 2.0 เอ็นอีซี 6 0 0 1 1 61 22
2014 ยูโรคัพฟอร์มูลาเรอโน 2.0 เคทีอาร์ 14 0 1 0 3 117 3
ฟอร์มูลาเรอโน 2.0 เอ็นอีซี 6 1 0 1 2 80 17
2015 เอฟไอเอฟอร์มูลาทรีชิงแชมป์ยุโรป ซิกเนเชอร์ 33 0 2 1 5 187 7
มาเก๊ากรังด์ปรีซ์ 1 0 0 0 0 13
2016 จีพีทรีซีรีส์ อาแอร์เตกรังด์ปรีซ์ 18 4 3 3 7 177 2
มาสเตอส์ออฟฟอร์มูลาทรี ไฮเทคจีพี 1 0 0 0 0 5
2017 เอฟไอเอฟอร์มูลาทูแชมเปียนชิป อาแอร์เตกรังด์ปรีซ์ 20 0 1 1 2 86 10
2018 เอฟไอเอฟอร์มูลาทูแชมเปียนชิป เดอาแอมแอ็ส 24 4 3 0 8 212 3
2019 ฟอร์มูลาวัน เรดบูลโตโรรอสโซฮอนด้า 12 0 0 0 0 92 8
แอสตันมาร์ตินเรดบูลเรซซิง 9 0 0 0 0
2020 ฟอร์มูลาวัน แอสตันมาร์ตินเรดบูลเรซซิง 17 0 0 0 2 105 7
2021 ด็อยท์เชอทูเรินวาเกินมาสเทิร์ส อัลฟาทอรีอาเอฟเฟกอร์เซ 14 1 1 3 4 130 6
ฟอร์มูลาวัน เรดบูลเรซซิงฮอนด้า นักขับทดสอบ/สำรอง
สกูเดเรียอัลฟาทอรี
2022 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์เรซซิง 22 0 0 0 0 4 19
2023 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์เรซซิง 22 0 0 0 0 27 13
2024 ฟอร์มูลาวัน วิลเลียมส์เรซซิง 24 0 0 0 0 12 16
2025 ฟอร์มูลาวัน แอตลัสเซียนวิลเลียมส์เรซซิง 5 0 0 0 0 18* 8*
แหล่งที่มา:[36]
หมายเหตุ
  • * ฤดูกาลกำลังดำเนินอยู่

ผลการแข่งขันฟอร์มูลาวัน

[แก้]
(คำสำคัญ) (การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวหนา หมายถึงนักขับได้ตำแหน่งโพล; การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวเอียง หมายถึงนักขับทำรอบได้เร็วที่สุด)
ปี ผู้เข้าแข่งขัน แชสซี เครื่องยนต์ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 อันดับ คะแนน
2019 เรดบูลโตโรรอสโซฮอนด้า สกูเดเรียโตโรรอสโซ เอสทีอาร์14 ฮอนด้า อาร์เอ619เอช 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
14
BHR
9
CHN
10
AZE
11
ESP
11
MON
8
CAN
Ret
FRA
15
AUT
15
GBR
12
GER
6
HUN
10
8 92
แอสตันมาร์ตินเรดบูลเรซซิง เรดบูล อาร์บี15 BEL
5
ITA
6
SIN
6
RUS
5
JPN
4
MEX
5
USA
5
BRA
14
ABU
6
2020 แอสตันมาร์ตินเรดบูลเรซซิง เรดบูล อาร์บี16 ฮอนด้า อาร์เอ620เอช 1.6 วี6 เทอร์โบ AUT
13†
STY
4
HUN
5
GBR
8
70A
5
ESP
8
BEL
6
ITA
15
TUS
3
RUS
10
EIF
Ret
POR
12
EMI
15
TUR
7
BHR
3
SKH
6
ABU
4
7 105
2022 วิลเลียมส์เรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู44 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม13 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
13
SAU
14†
AUS
10
EMI
11
MIA
9
ESP
18
MON
Ret
AZE
12
CAN
13
GBR
Ret
AUT
12
FRA
13
HUN
17
BEL
10
NED
12
ITA
WD
SIN
Ret
JPN
Ret
USA
13
MXC
12
SAP
15
ABU
13
19 4
2023 วิลเลียมส์เรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู45 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม14 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
10
SAU
Ret
AUS
Ret
AZE
12
MIA
14
MON
14
ESP
16
CAN
7
AUT
11
GBR
8
HUN
11
BEL
14
NED
8
ITA
7
SIN
11
JPN
Ret
QAT
137
USA
9
MXC
9
SAP
Ret
LVG
12
ABU
14
13 27
2024 วิลเลียมส์เรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู46 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม15 1.6 วี6 เทอร์โบ BHR
15
SAU
11
AUS
11
JPN
Ret
CHN
12
MIA
18
EMI
Ret
MON
9
CAN
Ret
ESP
18
AUT
15
GBR
9
HUN
14
BEL
12
NED
14
ITA
9
AZE
7
SIN
Ret
USA
16
MXC
Ret
SAP
DNS
LVG
Ret
QAT
15
ABU
11
16 12
2025 แอตลัสเซียนวิลเลียมส์เรซซิง วิลเลียมส์ เอฟดับเบิลยู47 เมอร์เซเดส-เอเอ็มจี เอฟ1 เอ็ม16 1.6 วี6 เทอร์โบ AUS
5
CHN
7
JPN
9
BHR
12
SAU
MIA
EMI
MON
ESP
CAN
AUT
GBR
BEL
HUN
NED
ITA
AZE
SIN
USA
MXC
SAP
LVG
QAT
ABU
8* 18*
แหล่งที่มา:[38][39]
หมายเหตุ
  • † ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน
  • * ฤดูกาลกำลังดำเนินอยู่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Albon signs multi-year contract extension with Williams". Formula One. 15 May 2024. สืบค้นเมื่อ 16 May 2024.
  2. "Moller-Madsen (KF2) and Albon (KF3) European Champions". Kartcom. KSP Reportages. Commission Internationale de Karting (CIK). 12 July 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2025.
  3. "Albon untouchable?". Kartcom. KSP Reportages. 12 September 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2024. สืบค้นเมื่อ 22 March 2025.
  4. "Albon: Red Bull 'had no reason' to keep me in junior programme in 2012". Formula One. 27 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2025. สืบค้นเมื่อ 20 October 2024.
  5. "A generation full of promise". World Series by Renault. Renault Sport. 18 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2013. สืบค้นเมื่อ 19 February 2013.
  6. Khorounzhiy, Valentin (2 April 2014). "Lotus-backed Eurocup FR2.0 trio have 2014 teams confirmed". PaddockScout.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  7. "Lotus F1 juniors Albon, Boccolacci join Signature for European F3". Autosport.com. Haymarket Publications. 14 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2015. สืบค้นเมื่อ 14 January 2015.
  8. Jaeggi, Erwin (24 February 2016). "De Vries joins 2016 GP3 field with ART". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2018. สืบค้นเมื่อ 24 February 2016. We have Charles Leclerc, Alexander Albon [neither confirmed yet], Jake Hughes, Jack Aitken and Kevin Jorg lining up on the grid and Antonio Fuoco is staying for another season. All these guys are capable of winning races
  9. Larkam, Lewis (26 November 2016). "Ferrari junior Charles Leclerc wins GP3 title despite collision". ESPN. สืบค้นเมื่อ 22 March 2025.
  10. Khorounzhiy, Valentin (22 February 2017). "GP3 runner-up Albon confirmed for GP2 2017 promotion". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
  11. Cooper, Adam (26 November 2018). "Alexander Albon clear to join Toro Rosso in F1 as he exits Nissan". Autosport.com. Motorsport Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 22 March 2025.
  12. "Albon to partner Kvyat at Toro Rosso in 2019". Formula One. 26 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019.
  13. "Alex Joins the Team". Red Bull Racing. Red Bull. 12 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2019. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
  14. "Red Bull: Alexander Albon to replace Pierre Gasly". BBC Sport. 12 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2019. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
  15. ""อเล็กซานเดอร์ อัลบอน" พาธงไตรรงค์ ขึ้นโพเดียม F1". ฐานเศรษฐกิจ. 14 กันยายน 2020. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2020.
  16. "Tuscan GP Facts & Stats: Hamilton just one win shy of Schumacher record". Formula One. 13 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2020. สืบค้นเมื่อ 14 September 2020.
  17. Kalinauckas, Alex (29 November 2020). "F1 Bahrain GP: Hamilton wins following Grosjean's fireball crash". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2020. สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
  18. "Perez to partner Verstappen at Red Bull in 2021, as Albon becomes reserve driver". Formula One. 18 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-12-18.
  19. "'It hurts, but I'm not giving up' - Albon resolute as he breaks silence on losing Red Bull race seat". Formula One. 20 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
  20. Thukral, Rachit (4 January 2021). "Albon to contest DTM in 2021 with Red Bull backing alongside Lawson". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2021.
  21. "AlphaTauri Driver Alex Albon Scores Maiden DTM Win – Kelvin Van Der Linde Victim Of The Hot Race And Still Half-Time Champion". Deutsche Tourenwagen Masters (DTM). Allgemeiner Deutscher Automobil-Club (ADAC). 19 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 August 2021. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  22. "Williams Racing confirms Latifi & Albon as 2022 driver line up". Williams Racing. Williams Group. 8 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2021. สืบค้นเมื่อ 8 September 2021.
  23. Mitchell-Malm, Scott; Khorounzhiy, Valentin (25 August 2022). "Albon independent from Red Bull under new Williams F1 deal". The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2022. สืบค้นเมื่อ 16 March 2023.
  24. Bishop, Matt (16 July 2024). "The lonely death of B Bira, Thai racing prince, adventurer and Olympian". Motor Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2024. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025. One of [Thai drivers] is current Williams ace Alex Albon, who was born in London’s Portland Hospital in March 1996 to a Thai mother, Kankamol Albon (...) his father Nigel Albon is British and indeed raced in the British Touring Car Championship in 1994.
  25. 25.0 25.1 Maxifahrer, Alex (28 November 2018). "5 things you didn't know about 2019 Scuderia Toro Rosso driver Alexander Albon". Red Bull. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2021. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  26. "Nigel Albon – Racing career profile". Driver Database. The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2019. สืบค้นเมื่อ 29 August 2019.
  27. Brown, Allen (22 November 2016). "Where Are They Now: Mark Albon". OldRacingCars.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 March 2025.
  28. Sandalls, Katy (29 March 2020). "Suffolk F1 star opens up on 'tough' early years in county in new Netflix documentary". East Anglian Daily Times. Newsquest Media. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025. Alex, 24, grew up in Bures near Sudbury for part of his early life attending Littlegarth School in Nayland and later Ipswich School.
  29. Benson, Andrew (29 August 2019). "Alex Albon's Belgian GP Red Bull debut: An attacking style & still lives with mum". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2022. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025. Albon - who still lives with his mum, three sisters and brother in Milton Keynes, and does the school run for his younger siblings when he is there - says it has taken time to feel completely at home in F1.
  30. 30.0 30.1 "Confused by Alex's British GP lid? Here's everything you need to know about Albon Pets!". Williams Racing. Williams Group. 1 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2022. สืบค้นเมื่อ 6 October 2022.
  31. Sandalls, Katy (12 August 2019). "Former Suffolk schoolboy gets top F1 seat". East Anglian Daily Times. Newsquest Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  32. "Get To Know Your Driver: Alex Albon". Red Bull Racing. Red Bull. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  33. Duncan, Philip (23 October 2019). "Red Bull's Alex Albon aiming to move out of parents' house with new deal". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2019. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  34. "Albon reveals he is a 'practising Buddhist'". Sports Mole. GMM. 14 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2021. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  35. Nichols, Beth Ann (22 April 2022). "Formula 1's Alex Albon on his LPGA girlfriend Muni He, Netflix drama and the golf craze that's hit elite race-car drivers". Golfweek. USA Today Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 22 January 2023.
  36. 36.0 36.1 "Alex Albon – Racing career profile". Driver Database. The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2025. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  37. "Albon, Alexander – Results". Kartcom (ภาษาฝรั่งเศส). KSP Reportages. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2021. สืบค้นเมื่อ 5 December 2021.
  38. "Alexander Albon – Results". Motorsport Stats. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.
  39. "Alexander Albon – Involvement". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 23 March 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]