ข้ามไปเนื้อหา

เนือร์บวร์คริง

พิกัด: 50°20′08″N 6°56′51″E / 50.335556°N 6.9475°E / 50.335556; 6.9475
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนือร์บวร์ค–ริง
ที่ตั้ง เนือร์บวร์ค ประเทศเยอรมนี
เขตเวลา GMT +1 (DST: +2)
กร็องด์ปรี-ชเตร็คเคอ (2002–ปัจจุบัน)
พื้นผิว Asphalt
ความยาว 5.148 กม. (3.199 ไมล์)
จำนวนโค้ง 15
สถิติต่อรอบ 1:28.139 (เนเธอร์แลนด์ Verstappen, Red Bull Racing RB16, 2020, ฟอร์มูล่าวัน)
กร็องด์ปรี-ชเตร็คเคอ (1984–2001)
พื้นผิว ลาดยาง
ความยาว 4.556 กม. (2.831 ไมล์)
จำนวนโค้ง 12
สถิติต่อรอบ 1:18.354 (โคลอมเบีย Montoya, Williams FW23, 2001 ฟอร์มูล่าวัน)
นอร์ทชไลเฟอ (1983–ปัจจุบัน)
พื้นผิว ลาดยาง/คอนกรีต
ความยาว 20.830 กม. (12.944 ไมล์)
จำนวนโค้ง 154
สถิติต่อรอบ 6:25.91 (เยอรมนีตะวันตก Bellof, Williams FW23, 1983 ฟอร์มูล่าวัน)
นอร์ทชไลเฟอ (1927–1982)
พื้นผิว ลาดยาง/คอนกรีต
ความยาว 22.835 กม. (14.189 ไมล์)
จำนวนโค้ง 160
สถิติต่อรอบ 7:06.4 (สวิตเซอร์แลนด์ Regazzoni, Williams FW23, 1975 ฟอร์มูล่าวัน)

เนือร์บวร์คริง (เยอรมัน: Nürburgring) เป็นสนามแข่งรถที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศเยอรมนีและทวีปยุโรป ตั้งอยู่ที่เมืองเนือร์บวร์คในรัฐไบเอิร์น ใกล้อุทยานแห่งชาติไอเฟิล ทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของนครแฟรงก์เฟิร์ตประมาณ 183 กิโลเมตร สนามแห่งนี้ได้รับสมญาว่า นรกสีเขียว (Die grüne Hölle)[1] จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของทางวิ่งมีระดับความสูงต่างกันถึง 300 เมตร

การจัดแบ่งทางวิ่ง

[แก้]
แผนผัง เกอซัมส์เทร็คเคอ 28.265 กิโลเมตร

เนือร์บวร์ค-ริงถูกสร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1925-1927 ปัจจุบันจุผู้ชมได้ 150,000 คน[2] เมื่อแรกสร้างเสร็จมีความยาวทั้งสิ้น 28.265 กิโลเมตร ซึ่งเรียกว่า เกอซัมส์เทร็คเคอ (Gesamtstrecke ทางวิ่งรวม) แบ่งเป็นสามส่วน:

  • นอร์ทชไลเฟอ (Nordschleife ลูปเหนือ) ความยาว 22.810 กิโลเมตร
  • ซึดชไลเฟอ (Südschleife ลูปใต้) ความยาว 7.747 กิโลเมตร
  • ซีลชไลเฟอ (Zielschleife ลูปจบ) บ้างเรียก เบอโทนชไลเฟอ (Betonschleife ลูปคอนกรีต) ความยาว 2.281 กิโลเมตร

นอกจากนี้ยังมีส่วนใหม่ที่สร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1983 เรียกว่า กร็องด์ปรี-ชเตร็คเคอ (GP-Strecke) ความยาว 5.148 กิโลเมตร ซึ่งถูกก่อสร้างด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูงสุด ใช้สำหรับการแข่งขันฟอร์มูล่าวัน

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
ส่วนหนึ่งของ นอร์ทชไลเฟอ

นอร์ทชไลเฟอได้ชื่อว่าเป็นสนามแข่งรถที่ขับยาก ท้าทาย และอันตรายที่สุดในโลก เนื่องจากถูกบังคับด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขา จนได้รับฉายาว่า "The Green Hell" (นรกสีเขียว) ถูกใช้เป็นสนามแข่งรถสูตรหนึ่ง รายการเยอรมันกร็องด์ปรี ตั้งแต่ปี 1947 ถึง 1970) จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจนนักแข่งรถเสียชีวิตหลายคน นักแข่งรถจึงพากันประท้วงไม่ยอมร่วมแข่งขันที่นี่ จนกว่าจะมีการปรับปรุงสภาพสนามให้มีความปลอดภัย

นอร์ทชไลเฟอได้รับการปรับปรุง แต่ก็ยังเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงได้มีการสร้างส่วนซึดชไลเฟอและซีลชไลเฟอเพิ่มเติม พร้อมกับปรับเส้นทางของนอร์ทชไลเฟอ ส่วนที่อันตรายออกไป และในปี พ.ศ. 2525 ได้สร้างสนามมาตรฐาน เรียกว่า GP-Strecke เปิดใช้งานเมื่อ ค.ศ. 1984 และใช้เป็นสนามแข่งกร็องด์ปรีจนถึงปัจจุบัน

สนามเนือร์บวร์คริง ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นสนามที่ขับยาก ท้าทาย และอันตรายที่สุดสนามหนึ่งในโลก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นหุบเขาคดเคี้ยว สนามแห่งนี้ถูกสร้างมาเพื่อใช้สำหรับแข่งขันรถยนต์สูตรหนึ่ง รายการเยอรมันกรังด์ปรีซ์ตั้งแต่ปี 1947 จนถึง 1970 ก่อนที่สนามจะถูกงดทำการแข่งขันไประยะหนึ่ง เนื่องจากความยากและอันตรายของสภาพภูมิประเทศ และเส้นทาง ทำให้มีนักแข่งหลายต่อหลายคนต้องจบชีวิตไปกับสนามแห่งนี้

ต่อมาสมาพันธ์ยานยนต์แห่งประเทศเยอรมัน (ADAC - Allgemeiner Deutscher Automobil Club) ได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นหนึ่งในรายการ ADAC 24Hours Rennen Nürburgring ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นเส้นทางนอร์ทชไลเฟอ ความยาว 22.810 กิโลเมตร รวมกับ GP-Streke ความยาว 5.148 กิโลเมตร ที่ใช้แข่งรถ F1 รวมกันได้ระยะทางรวม 26 กิโลเมตร โดยมีโค้งอันตราย 73 โค้ง ตลอดระยะการขับขี่ 26 กิโลเมตร ใน 24 ชั่วโมง ภายใต้หลังพวงมาลัย นักแข่งทุกคน ต้องเผชิญกับความยากของสนาม ทั้งความเร็วสูง โค้งแคบ หักศอก โค้งกะทันหัน ทางขึ้น-ลง สูงต่ำบนเนินเขา และจุด Blind corner ที่พร้อมจะทำให้นักขับมือใหม่ต้องเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติได้ทุกเวลา

ด้วยความยากและท้าทายของสนามแห่งนี้ จึงผลักดันให้สนามเนือร์บวร์คริง กลายเป็นสนามเวิลด์กรังด์ปรีซ์ที่ติดอันดับความสำคัญระดับโลก และมีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลกจากความนิยมการแข่งรถในรูปแบบ 24 ชั่วโมง รองจากการแข่งขันเลอมังต์ 24 ชั่วโมง และอเมริกา 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นรายการแข่งขันสำหรับรถโปรดักชั่นคาร์ คือรถที่จำหน่ายอยู่ในโชว์รูม และมีการนำมาโมดิฟายด์บางส่วนเพื่อนำไปแข่งขัน จึงเป็นรายการที่ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลก ส่งรถโปรดักชั่นคาร์เข้ามาแข่งขัน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถภาพของรถในแต่ละรุ่น มีทั้งรถยนต์จากยุโรป อาทิ บีเอ็มดับเบิลยู, เมอร์เซเดส เบนซ์, เฟอร์รารี่, เรย์โนลด์ ฯลฯ เข้าร่วมทดสอบประสิทธิภาพของรถ

จากรูปแบบแทร็คการแข่งขันที่มีรูปแบบเป็นถนนระหว่างเมือง ซึ่งปกติใช้เป็นถนนสาธารณะ ที่ตัดผ่าเมืองและหุบเขา ความยาวกว่า 20 กิโลเมตร มาเชื่อมต่อเข้าสนาม F1 ความยาว 5.7 กิโลเมตร ที่สามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดเต็มกำลังของเครื่องยนต์ ทำให้บริษัทฯ รถยนต์ทั่วโลกพยายามส่งรถยนต์ ในสายการผลิตและจำหน่ายในโชว์รูม เข้ามาร่วมรายการแข่งขันเพื่อเป็นโอกาสในการทดสอบประสิทธิภาพของรถ ทั้งขุมพลังของเครื่องยนต์ อัตราเร่ง อัตราทดเกียร์ สปีดต่างๆ ไปจนถึงระบบช่วงล่าง การยึดเกาะถนน และระบบรักษาความปลอดภัยทั้งระบบเบรก และระบบนิรภัยที่มีติดตั้งอยู่ในรถยนต์ เพื่อเป็นการพิสูจน์คุณภาพของรถยนต์ก่อนจำหน่ายออกสู่บริโภค

ด้วยความยากและท้าทายดังกล่าว จึงทำให้นักแข่ง และบริษัทฯ ผลิตรถยนต์ทั่วโลก พร้อมใจกันส่งรถเพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพ หากแต่สนามเนือร์บวร์คริงไม่ได้เปิดกว้าง และง่ายดายต่อการลงสนาม เพราะผู้ที่จะมีสิทธิ์ในการลงสนาม และแข่งขันในรายการ 24 hrs. Nürburgring ได้ จะต้องมีประสบการณ์จากการขับในสนาม Nürburgring 26 กิโลเมตร นี้ก่อน และต้องสะสมชั่วโมงได้ไม่น้อยกว่าคนละ 6 ชั่วโมง ผ่านทางรายการ VLN (Veranstaltergemeinschaft Langstreckenpokal Nürburgring) จึงจะได้รับสิทธิ์เข้าสู่รายการแข่งขัน 24 ชั่วโมงที่เนือร์บวร์คริงได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. "McLaren Formula 1 - Heritage - Welcome to the Green Hell". McLaren. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-26. สืบค้นเมื่อ 2021-07-19.
  2. "List of stadiums with 100,000 plus capacity". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-06-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

http://www.thairath.co.th/content/427096

50°20′08″N 6°56′51″E / 50.335556°N 6.9475°E / 50.335556; 6.9475