รถด่วนราชธานี
รถด่วนราชธานี | |
---|---|
![]() รถโดยสารชุดใหม่ของรถด่วนราเชนทรนครปัฏนาราชธานี ประดับลายด้วยศิลปะแบบมธุพานี | |
ภาพรวม | |
ประเภทการเดินรถ | เชื่อมเมืองหลวงของรัฐต่าง ๆ เข้ากับเดลี |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
เปิดเดินรถ | 3 มีนาคม 1969 |
ผู้ดำเนินการปัจจุบัน | การรถไฟอินเดีย |
เว็บไซต์ | http://indianrail.gov.in |
บริการบนขบวนรถ | |
ชั้น | รถนอนชั้นหนึ่งปรับอากาศ รถนอนปรับอากาศเตียงสองชั้น และรถนอนปรับอากาศเตียงสามชั้น |
การจองที่นั่ง | มี |
บริการรถนอน | มี |
บริการอาหาร | มี |
รถชมวิว | ไม่มี แต่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ |
ความบันเทิง | จุดจ่ายไฟ ไฟส่องสว่าง |
บริการสัมภาระ | ใต้ที่นั่ง |
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ | เครื่องนอน ระบบแจ้งข้อมูลแก่ผู้โดยสาร |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ชุดรถ | เอ็ลเอ็ชเบ |
เกจ | อินเดียนเกจ 1,676 mm (5 ft 6 in) |
ความเร็ว | สูงสุด 130–140 km/h (81–87 mph) |
เจ้าของเส้นทาง | การรถไฟอินเดีย |
รถด่วนราชธานีเป็นชุดรถไฟด่วนที่เปิดให้บริการสำหรับผู้โดยสารโดยการรถไฟอินเดียในประเทศอินเดีย เชื่อมโยงระหว่างเมืองหลวงและเมืองสำคัญของรัฐต่าง ๆ ในประเทศอินเดียเข้ากับกรุงนิวเดลี รถด่วนราชธานีเป็นรถด่วนที่มีศักดิ์สูงสุดในระบบรถไฟของประเทศอินเดีย[1][2]
ประวัติ[แก้]
รถด่วนราชธานีขบวนแรกที่เปิดให้บริการได้แก่รถด่วนฮาวราราชธานี (Howrah Rajdhani Express) ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2512 รถด่วนฮาวราราชธานีเดินรถจากสถานีฮาวราในโกลกาตา รัฐเบงกอลตะวันตกถึงสถานีนิวเดลีเป็นระยะทาง 1,450 กิโลเมตร (900 ไมล์) โดยใช้เวลาเพียง 17 ชั่วโมง 20 นาทีเท่านั้น[3][4] รถด่วนราชธานีเป็นรถไฟขบวนแรกในอินเดียที่มีระบบปรับอากาศตลอดทั้งขบวน[5] และครองสถิติรถไฟที่เร็วที่สุดในประเทศอินเดีย (120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง)) จนกระทั่งถูกทำลายสถิติโดยรถด่วนโภปาลศตาพที (140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (87 ไมล์ต่อชั่วโมง)) ใน พ.ศ. 2531
รถด่วนราชธานีมีต้นทางและปลายทางจากเมืองสำคัญของรัฐส่วนใหญ่ในประเทศอินเดีย โดยในรัฐทั้ง 28 ของประเทศอินเดียและดินแดนสหภาพชัมมูและกัศมีร์ มีเพียง 7 รัฐที่ไม่มีต้นทางหรือปลายทางของรถด่วนราชธานี ได้แก่ปัญจาบ มัธยประเทศ ราชสถาน หรยาณา อานธรประเทศ อุตตรประเทศ และอุตตราขัณฑ์
การให้บริการ[แก้]
รถด่วนราชธานีเป็นขบวนรถที่มีศักดิ์สูงสุดในระบบรถไฟอินเดีย[5] เป็นรถปรับอากาศตลอดทั้งขบวน และมีอาหารและชาสำหรับผู้โดยสาร โดยราคาอาหารและเครื่องดื่มจะรวมอยู่ในค่าโดยสารแล้ว[5] รถด่วนราชธานีมีตู้โดยสารสามแบบได้แก่รถนอนปรับอากาศชั้นหนึ่ง รถนอนปรับอากาศเตียงสองชั้น และรถนอนปรับอากาศเตียงสามชั้น
เส้นทาง[แก้]
รถด่วนราชธานีเปิดให้บริการ 25 เส้นทาง โดยสถานีต้นทางในกรุงนิวเดลีมีอยู่ด้วยกัน 3 สถานี ได้แก่นิวเดลี ฮัซรัตนิซามุดดีน และอานันทวิหาร ชื่อของรถด่วนราชธานีที่เดินรถในเส้นทางต่าง ๆ จะมีชื่อแตกต่างกันตามต้นทางจากรัฐนั้น ๆ เส้นทางรถด่วนราชธานีที่เปิดให้บริการมีดังนี้[6][7]
รัฐ | ต้นทางรัฐ | ต้นทางเดลี | ชื่อขบวน | เลขขบวน | ระยะทาง | ความเร็วเฉลี่ย | ปีที่เริ่มให้บริการ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กรณาฏกะ | เบงคาลูรุซิตี (บังคาลอร์) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | บังคาลอร์ราชธานี | 22691/22692 | 2,365 km (1,470 mi) | 70 km/h (43 mph) | 2535 |
กัว | ชุมทางมฑคังวะ (มอร์กาว) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | มฑคังวะราชธานี | 22413/22414 | 2,094 km (1,301 mi) | 71 km/h (44 mph) | 2558 |
เกรละ | ติรุวนันตปุรัม (ติรุวนันตปุรัม) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | ติรุวนันตปุรัมราชธานี | 12431/12432 | 3,149 km (1,957 mi) | 76 km/h (47 mph) | 2536 |
คุชราต | อะห์มดาบาด (อะห์มดาบาด) |
นิวเดลี | สุวรรณชยันตีราชธานี | 12957/12958 | 934 km (580 mi) | 68 km/h (42 mph) | 2541 |
ฉัตตีสครห์ | ชุมทางพิลาสปุระ (พิลาสปุระ) |
นิวเดลี | พิลาสปุระราชธานี | 12441/12442 | 1,501 km (933 mi) | 74 km/h (46 mph) | 2544 |
ชัมมูและกัศมีร์ | ชัมมูทวี (ชัมมู) |
นิวเดลี | ชัมมูทวีราชธานี | 12425/12426 | 582 km (362 mi) | 64 km/h (40 mph) | 2537 |
ฌารขัณฑ์ | ชุมทางรัญจี (รัญจี) |
นิวเดลี | รัญจีราชธานี (ผ่านโพกาโร) |
20839/20840 | 1,305 km (811 mi) | 74 km/h (46 mph) | 2554 |
นิวเดลี | รัญจีราชธานี (ผ่านเมทินีนคร) |
12453/12454 | 1,341 km (833 mi) | 76 km/h (47 mph) | 2549 | ||
ตริปุระ | อครตลา (อครตลา) |
อานันทวิหาร | อครตลาราชธานี | 20501/20502 | 2,421 km (1,504 mi) | 59 km/h (37 mph) | 2560 |
เตลังคานา | ชุมทางสิกันดราบาด (สิกันดราบาด) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | สิกันดราบาดราชธานี | 12437/12438 | 1,661 km (1,032 mi) | 76 km/h (47 mph) | 2545 |
ทมิฬนาฑู | เจนไน (เจนไน) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | เจนไนราชธานี | 12433/12434 | 2,175 km (1,351 mi) | 77 km/h (48 mph) | 2536 |
เบงกอลตะวันตก | ชุมทางฮาวรา (โกลกาตา) |
นิวเดลี | ฮาวราราชธานี (ผ่านคยา) |
12301/12302 | 1,447 km (899 mi) | 85 km/h (53 mph) | 2512 |
นิวเดลี | ฮาวราราชธานี (ผ่านปัฏนา) |
12305/12306 | 1,530 km (950 mi) | 76 km/h (47 mph) | |||
สิยาลทหะ (โกลกาตา) |
นิวเดลี | สิยาลทหะราชธานี | 12313/12314 | 1,453 km (903 mi) | 82 km/h (51 mph) | 2543 | |
พิหาร | ราเชนทรนคร (ปัฏนา) |
นิวเดลี | ราเชนทรนครปัฏนาราชธานี | 12309/12310 | 1,002 km (623 mi) | 83 km/h (52 mph) | 2539 |
มหาราษฏระ | มุมไบ (มุมไบ) |
นิวเดลี | มุมไบราชธานี | 12951/12952 | 1,384 km (860 mi) | 88 km/h (55 mph) | 2515 |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | ออกัสต์กรานตีราชธานี | 12953/12954 | 1,377 km (856 mi) | 79 km/h (49 mph) | 2535 | ||
บานดรา (บานดรา) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | บานดราราชธานี | 09003/09004 | 1,367 km (849 mi) | 99 km/h (62 mph) | 2560 | |
ฉัตรปตี ศิวาจี (มุมไบ) |
ฮัซรัตนิซามุดดีน | มุมไบราชธานี สายฉัตรปตี ศิวาจี -ฮัซรัตนิซามุดดีน (ผ่านโภปาล) |
22221/22222 | 1,535 km (954 mi) | 86 km/h (53 mph) | 2562 | |
อัสสัม | ฑิพรูครห์ (ฑิพรูครห์) |
นิวเดลี | ฑิพรูครห์ราชธานี (ผ่านพเรานี) |
12423/12424 | 2,434 km (1,512 mi) | 75 km/h (47 mph) | 2539 |
นิวเดลี | ฑิพรูครห์ราชธานี (ผ่านฮาชีปุระ) |
20505/20506 | 2,458 km (1,527 mi) | 68 km/h (42 mph) | 2542 | ||
นิวเดลี | ฑิพรูครห์ราชธานี (ผ่านมุซัฟฟาร์ปุระ) |
20503/20504 | 2,452 km (1,524 mi) | 68 km/h (42 mph) | 2555 | ||
โอริศา | ภุพเนศวร (ภุพเนศวร) |
นิวเดลี | ภุพเนศวรราชธานี (ผ่านอาทระ) |
22811/22812 | 1,723 km (1,071 mi) | 76 km/h (47 mph) | 2537[8] |
นิวเดลี | ภุพเนศวรราชธานี (ผ่านโพกาโร) |
22823/22824 | 1,800 km (1,100 mi) | 74 km/h (46 mph) | 2546[9] | ||
นิวเดลี | ภุพเนศวรราชธานี (ผ่านสัมพลปุระ) |
20817/20818 | 1,914 km (1,189 mi) | 71 km/h (44 mph) | 2561 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Top 10 Highest Priority Trains of Indian Railways Network". WalkthroughIndia.com. สืบค้นเมื่อ 2019-05-22.
- ↑ "Highest Priority Trains of Indian Railways". erail.in. สืบค้นเมื่อ 2019-05-22.
- ↑ "Howrah-New Delhi Rajdhani Express completes glorious 50 yrs in passenger service". India Blooms. สืบค้นเมื่อ 2019-03-03.
- ↑ "Mumbai-New Delhi Rajdhani Express turns 40". Times of India. 20 May 2012. สืบค้นเมื่อ 4 Sep 2012.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Rajdhani Express and Duronto Express Trains". MakeMyTrip. สืบค้นเมื่อ 4 Sep 2012. Italic or bold markup not allowed in:
|publisher=
(help) - ↑ "List of all Rajdhani Express trains". etrain.info. สืบค้นเมื่อ 4 Sep 2013.
- ↑ "Rajdhani Express Trains - Railway Enquiry". indiarailinfo.com. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
- ↑ Rail Budget 1994-95
- ↑ Rail Budget 2003-04
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: รถด่วนราชธานี |