ยูซูรุ ฮานีว
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยูซูรุ ฮานิว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยูซูรุ ฮานิว ที่โอลิมปิกฤดูหนาว 2014 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ตัวแทนประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกิด | เซ็นได จังหวัดมิยางิ, ญี่ปุ่น | 7 ธันวาคม ค.ศ. 1994||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่พำนัก | เซ็นได, ญี่ปุ่น | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 172 ซม. | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อดีตผู้ฝึกสอน |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อดีตผู้ออกแบบท่า |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อดีตคลับที่สังกัด |
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Former training locations | โทรอนโต, เซ็นได | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เริ่มสเกตเมื่อ | ค.ศ. 1998 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วางมือ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับโลก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อันดับดีสุดในแต่ละฤดูกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คะแนนดีที่สุดในการแข่งขันเดี่ยวของ ISU | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คะแนนรวม | 322.59 2019 สเก็ตแคนาดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โปรแกรมสั้น | 111.82 2020 ชิงแชมป์สี่ทวีป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟรีสเกต | 212.99 2019 สเก็ตแคนาดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
ยูซูรุ ฮานีว (ญี่ปุ่น: 羽生 結弦; โรมาจิ: Hanyū Yuzuru) นักสเก็ตลีลาชาวญี่ปุ่น เขาเป็นแชมป์เหรียญทองโอลิมปิกสองสมัย (2014, 2018) แชมป์แชมป์โลกสองสมัย (2014, 2017) แชมป์กร็องปรีไฟนอลสี่ปีซ้อน (2013–2016) แชมป์แชมป์สี่ทวีป (2020) เป็นแชมป์เยาวชนโลกหนึ่งสมัย (2010) และเป็นแชมป์ประเทศญี่ปุ่นหกปี (2012–2015, 2020,2021) นอกจากนี้ ฮานีวได้รับมอบเหรียญเกียรติยศแพรแถบม่วงจากรัฐบาลญี่ปุ่นในปี 2014
สื่อหลายสำนักอาทิ The New York Times, Washington Post และ Japan Times ยกย่องเขาเป็นนักสเกตลีลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[21][22][23] ฮานีวเป็นนักสเก็ตลีลาที่ทำลายสถิติโลกถึง 19 ครั้ง ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดในประเภทเดี่ยวตั้งแต่มีระบบคะแนน ISU ในปี 2004 นอกจากนี้เขาเป็นนักสเก็ตลีลาชายคนแรกที่สามารถทำลายกำแพง 100 คะแนนในโปรแกรมสั้น ทำลายกำแพง 200 คะแนนในฟรีสเกต และทำลายกำแพง 300 คะแนนในคะแนนรวม[24][25][26] เขาชนะรายการกร็องปรีไฟนอล 2015–16 ด้วยคะแนนทิ้งห่างอันดับสองถึง 37.48 ซึ่งห่างที่สุดในประวัติศาสตร์[27]
หลังจากที่ฮานีวชนะในรายการสเกตลีลาชิงแชมป์สี่ทวีปปี 2020 เขาได้กลายเป็นผู้เล่นชายเดี่ยวคนแรกที่ได้ตำแหน่งซุเปอร์แสลม (Super Slam ) ซึ่งคือตำแหน่งที่ผู้เล่นคนนั้นสามารถชนะทุกรายการแข่งขันใหญ่ระดับนานาชาติของ ISU ได้ทั้งระดับผู้ใหญ่และเยาวชน
ฮานีวเป็นนักสเก็ตลีลาจากเอเชียคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก ในตอนที่เขามีอายุ 19 ปี เขาเป็นนักสเก็ตลีลาชายที่อายุน้อยที่สุดที่ชนะการแข่งขันระดับโอลิมปิกนับตั้งแต่สถิติของ ดิก บัตตัน (Dick Button) ในโอลิมปิกปี 1948 และเป็นผู้ได้เหรียญทองสองสมัยติดกันคนแรกนับตั้งแต่สถิติของบัตตันในปี 1948 และ 1952 ต่อมา ในการแข่งขัน CS Autumn Classic International ปี 2016 ฮานีวเป็นนักสเก็ตลีลาคนแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถทำท่ากระโดดหมุนตัวสี่รอบกลางอากาศ (Quadruple loop) ได้สำเร็จในระหว่างการแข่งขัน[28]
ประวัติ
[แก้]ฮานีวเกิดและเติบโตที่เมืองเซ็นได มีพี่สาวหนึ่งคนชื่อซายะ ชื่อของเขามีความหมายว่าสายธนูที่ขึงตึง เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นใจ ความแข็งแรง ซื่อตรงและยุติธรรม คุณพ่อของฮานีวตั้งให้เพราะอยากให้เขาเป็นเด็กที่มีความแน่วแน่มุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ทำ และต้องการให้เขาเติบโตขึ้นมาอย่างเรียบง่าย แต่สง่างาม และมีพลัง โดยเมื่ออายุได้ 4 ขวบฮานีวได้เริ่มเล่นสเก็ตน้ำแข็งตามพี่สาว
ฮานีวมีโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 ขวบคือโรคหอบหืด ซึ่งมักสังเกตได้หลังเสร็จสิ้นการแข่งขันว่าเขามักมีอาการหายใจไม่ทัน ฮานีวได้รับเข้าศึกษาในระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนมัธยมปลายโทโฮะกุซึ่งเป็นโรงเรียนที่นักสเก็ตชื่อดังนิยมเคยเรียนอยู่ อย่างเช่น ทาเคชิ ฮอนดะ และชิซึกะ อาราคาว่า แชมป์เหรียญทองโอลิมปิกหญิงคนแรกของญี่ปุ่นและอาศัยอยู่ในเมืองเซ็นไดเช่นเดียวกัน ก่อนที่จะเข้ารับการศึกษาทางไกลในมหาวิทยาลัยวาเซดะ สาขามนุษยสนเทศและประชานศาสตร์[29]
ฮานิวมีความชื่นชอบหมีพูห์เป็นพิเศษ และมักจะได้รับตุ๊กตาหมีพูห์เป็นของขวัญหลังจบการแข่งขันอยู่เสมอ[30] และเนื่องจากจำนวนที่ได้รับมีมากเกินไปทุกครั้งฮานิวจึงได้บริจาคตุ๊กตาหมีพูห์จำนวนมากให้กับเด็กๆท้องถิ่นในแต่ละเมืองที่เขาได้ไปแข่งขัน
อาชีพ
[แก้]จุดเริ่มต้น
[แก้]ฮานีวได้เริ่มเล่นสเก็ตน้ำแข็งตามพี่สาวของเขาเมื่ออายุได้4ขวบ มีแรงบันดาลใจจากชายชาวรัสเซียซึ่งเคยถูกขนานนามว่าเป็นราชานักสเก็ตในยุคสมัยที่ยังคงเป็นนักกีฬาอยู่และยังคงถูกเรียกว่าเป็นตำนานจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อ อีฟกานี พลูเซนโกะ และมีไอดอลอีกคนหนึ่งแรงบันดาลใจเป็นนักสเก็ตชาวอเมริกันชื่อจอน์นี่ เวียร์
ฮานีวเริ่มเข้าการแข่งขันระดับผู้เริ่มเล่นครั้งแรกเมื่อปี 2004–05 และได้รับเหรียญทอง จากนั้นลานสเก็ตที่เขาใช้เพื่อฝึกซ้อมได้ได้ถูกปิดตัวลงเพราะปัญหาด้านการเงินฮานีวจึงมีปัญหาเรื่องระยะเวลาการฝึกซ้อมอย่างมาก และหลังจากนั้น นานามิ อาเบะก็ได้เข้ามาเป็นโค้ชให้ฮานีว
ในปี 2006–07 ฮานีวได้เข้าแข่งขันรายการ "Japan Novice Championship" และได้รับเหรียญทองแดง การแข่งขึ้นนี้ทำให้ฮานีวได้รับเลือกเข้าแข่งขัน "Japan Junior Championship 2006" และจบการแข่งขันในอันดับที่ 7
ค.ศ. 2007 ลานสเก็ตได้กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง ทำให้ฮานีวมีเวลาฝึกซ้อมที่เพียงพอจึงได้ลงแข่งขันในรายการ "Japan Novice Championship" อีกครั้งและได้รับเหรียญทอง รวมถึงได้รับการคัดเลือกลงแข่งขัน "Japan Junior Championship 2007" สุดท้าย ฮานีวได้รับเหรียญทองแดงในครั้งนี้
2008–09 : เปิดตัวระดับเยาวชน
[แก้]ฮานีวขึ้นมาอยู่ระดับเยาวชน และได้รับเลือกให้แข่งขันในรายการ "Junior Granf Prix" เป็นรายการแรกทันที ในการแข่งที่เมราโน (Merano) ประเทศอิตาลี ฮานีวจบอันดับที่ 6 ในโปรแกรมสั้น และอันดับ 4 ในฟรีสเก็ต โดยคะแนนรวมผลได้อันดับที่ 5
หลังจากนั้นเข้าแข่งรายการ "Japan Junior Champtionship 2008–09" ทำคะแนนในโปรแกรมสั้นได้ 57.25 คะแนนเป็นอันดับที่ 4 และฟรีสเก็ตเป็นอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 124.92 ผลคะแนนรวมเป็นที่ 1 ด้วยคะแนน 182.17 จึงได้รับเหรียญทองในรายการนี้ และถือว่าเป็นนักกีฬาชายที่อายุน้อยที่สุดในวัยเพียง 13 ปีเท่านั้น
การแข่งขันนี่ทำให้ฮานีวได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันรายการ "Junior National Championships" และ "World Junior Championship" ซึ่งด้วยเหรียญที่ได้รับและคะแนนที่มากพอฮานีวสามารถเข้ารวมการแข่งขัน "Japan Championship 2008–09" ในระดับผู้ใหญ่อีกด้วย
ในปี 2009 การแข่งขัน "World Junior Championship" ที่ประเทศบังกาเลีย ฮานิวได้ที่ 11 ในนโปรแกรมสั้นด้วยคะแนน 58.18 และที่ 13 ในฟรีสเก็ตด้วยคะแนน 103.59 ผลรวมได้อันดับที่ 12 คะแนน 161.77 คะแนน
2009–10 : แชมป์โลกเยาวชนชายที่อายุน้อยที่สุด
[แก้]ในปี 2009–10 ฮานิวชนะการแข่ง "Japan Junior Championship" จึงได้รับการคัดเลือกเข้าแข่งขันในรายการ "Japan Championship" ระดับผู้ใหญ่
จากนั้นฮานีวชนะเหรียญทองในการแข่งขัน "Junior Grand Prix" ทั้ง 2 รายการที่ประเทศโครเอเชียและประเทศโปแลนด์ และเป็นอันดับ 1 จาก 6 คนของนักสเก็ตทั้งหมดที่ได้เข้ารอบคัดเลือกไปแข่งรายการ "Junior Grand Prix Final" ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และได้รับเหรียญทองตั้งแต่ครั้งแรกเลยด้วยคะแนน 69.85 ในโปรแกรมสั้น 136.85 ในฟรีสเก็ต ผลคะแนนรวม 206.77 เป็นอันดับที่ 1
ต่อมา จากผลงานทั้งหมด ฮานีวได้ถูกเลือกให้เข้าแข่งรายการ "World Junior Championship" อีกครั้งและได้รับเหรียญทองในที่สุด ด้วยการทำคะแนนส่วนตัวที่ดีสุด (personal best score) ณ ตอนนั้นด้วยคะแนน 216.10 คะแนน และกลายเป็นนักสเก็ตชาวญี่ปุ่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับเหรียญทองในรายการแข่งขันใหญ่ระดับโลกนี้อีกด้วย
2010–11 : เปิดตัวในรุ่นใหญ่และภัยพิบัติ
[แก้]ฮานีวตัดสินใจขึ้นมาแข่งขันในระดับผู้ใหญ่ด้วยอายุเพียง 15 ปี ซึ่งถือว่าอายุน้อยมากและไม่สามารถพบเห็นได้บ่อยนัก โดยในปีแรกฮานีวต้องไปแข่งขันเก็บคะแนนเพื่อให้ได้เข้ารอบ "Grand Prix Final" โดยต้องแข่งที่ญี่ปุ่นในรายการ "NHK Trophy 2010" และ "Cup of Rostelecom 2010" ที่ประเทศรัสเซีย
"NHK Trophy 2010" ฮานิวได้ที่ 5 ในโปรแกรมสั้นด้วยคะแนน 69.31 ที่ 4 ในฟรีสเก็ตดัวยคะแนน 138.41 และสามารถกระโดดท่าโทลูปหมุนกลางอากาศสี่ครั้ง (quadruple toe Loop) ได้เป็นครั้งแรก แต่คะแนนรวมได้ 207.72 จบรายการเป็นอันดับที่ 4
"Cup of Rostelecom 2010" ฮานีวทำได้เพียงอันดับที่ 7โปรแกรมสั้นทำคะแนนไป 70.24 ฟรีสเก็ต 132.42 คะแนน และรวมได้ 202.66 คะแนน ผลรวมการเก็บคะแนนทั้งหมดจึงไม่มากพอเพื่อเข้ารอบสุดท้าย
ในปี 2010–11 รายการชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น (Japan Championships) ฮานีวจบอันดับที่ 4 ของการแข่งขัน จึงถูกเลือกให้เข้าแข่งขันรายการสเกตลีลาชิงแชมป์สี่ทวีป และได้รับเหรียญเงินจากการแข่งขึ้นนี้
หลังจากจบการแข่งขันได้ไม่ถึงเดือน ฮานีวได้กลับไปฝึกซ้อมสเก็ตที่บ้านเกิดของเขาที่เมืองเซ็นได ซึ่งในเดือนมีนาคม 2011 ภูมิภาคโทโฮกุได้เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ ซึ่งเซ็นไดเป็นเมืองที่ถูกวัดค่าระดับความรุนแรงได้สูงสุด ขณะที่เกิดแผ่นดินไหวนั้นฮานีวกำลังฝึกซ้อมอยู่ในลานสเก็ตแถวบ้าน เขาจึงจำเป็นต้องรีบหนีออกจากตึกขณะที่ยังต้องสวมรองเท้าสเก็ตโดยไม่มีการ์ดป้องกันใบมีดรองเท้า และต้องย้ายไปอยู่ในศูนย์อพยพกับครอบครัวเป็นเวลาหลายวัน
เนื่องจากแผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้ทำให้ลานสเก็ตประจำของเขาถูกปิดตัวลงอีกครั้งหนึ่ง เขาจึงฝึกซ้อมที่โยโกฮามะและฮาจิโนเฮะ จนกระทั่งลานสเก็ตในเซ็นไดได้กลับมาเปิดอีกครั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม 2011
นอกจากนี้ ฮานีวได้ไปโชว์สเก็ตรอบประเทศกว่า 60 ครั้งซึ่งเป็นงานการกุศลสำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้นเองและใช้โอกาสนี้เป็นการฝึกซ้อมไปในตัวอีกด้วย
2011–12 : จุดเปลี่ยน
[แก้]ฮานีวเข้าร่วมแข่งขันแรกของฤดูกาล ในรายการ "Nebelhorn Trophy" ประเทศเยอรมนี จบในอันดับที่ 1 ทั้งโปรแกรมสั้นและฟรีสเก็ต ผลคะแนนรวมจึงได้ 226.26 เป็นอันดับ 1 ได้ และได้เหรีญทองแรก
รายการ "Grand Prix 2011–12" ฮานีวถูกคัดให้ไปแข่งที่ประเทศจีนในรายการ "Cup of China" เขาจบในอันดับที่ 4 และหลังจากนั้นที่ประเทศรัสเซีย "Rostelecom cup" จบอันดับที่ 1 ซึ่งผลการเก็บคะแนนมากพอให้เข้าสเกตลีลากร็องปรีรอบสุดท้าย (Grand Prix Final) ได้เป็นครั้งแรก ซึ่งฮานีวจบในอันดับที่ 4
ฮานีวชนะเหรียญทองแดงในรายการชิงแชมป์ญี่ปุ่น ทำให้ได้รับเลือกเข้าแข่งขันเป็นหนึ่งในประเภททีมจากประเทศญี่ปุ่น ในรายการชิงแชมป์โลก 2012 ซึ่งฮานีวทำได้ไม่ดีนักในโปรแกรมสั้นซึ่งได้เพียงที่ 7 แต่ในการแข่งฟรีสเก็ตฮานิวทำได้เป็นอันดับที่ 2 ผลรวมการแข่งขัน ฮานีวชนะเหรียญทองแดงด้วยคะแนน 251.06
เมษายน 2012 หลังจบฤดูกาล ฮานีวตัดสินใจเปลี่ยนโค้ชโดยย้ายไปอยู่กับโค้ช ไบรอัน ออร์เซอร์ ที่โทรอนโต ประเทศแคนาดาในช่วงแรกฮานีวจำเป็นต้องเดินทางไปกลับระหว่างเซ็นไดและโทรอนโตอยู่บ่อยๆ เนื่องจากยังต้องเรียนมัธยมปลายอยู่นั่นเอง ซึ่งหลังจากย้ายมาอยู่โทรอนโต ฮานีวได้เพิ่มเวลาฝึกซ้อมจาก 1–2 ชั่วโมงต่อวันเป็น 3–4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งยังจำเป็นต้องจำกัดเวลาฝึกซ้อมเนื่องจากปัญหาสุขภาพจากโรคประจำตัว คือ โรคหอบหืด กับเรื่องการเรียน และการเดินทางนั้นเอง
2012–13 : เก็บเกี่ยวประสบการณ์
[แก้]ฮานีวเข้ารวมแข่งขันแรกของฤดูกาล ในรายการ "Finlandia Trophy" ประเทศฟินแลนด์ และชนะเหรียญทองด้วยการกระโดดควอดโทลูป (quad toe Loop) และควอดซาลคาว (quad salchow) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ฮานีวทำท่าควอดซาลคาวในการแข่งขัน
ในรายการ "Grand Prix 2012–13" ฮานีวได้ไปแข่งที่ประเทศอเมริกาในรายการ "Skate America" โดยเขาชนะเหรียญเงิน และทำลายสถิติโลกเป็นครั้งแรกด้วยคะแนน 95.07 ในโปรแกรมสั้น และที่เมืองเซ็นไดในรายการ "NHK Trophy" ฮานีวได้เหรียญทอง และทำลายสถิติโลกของตัวเองในโปรแกรมสั้นอีกครั้งด้วยคะแนน 95.32 ซึ่งผลการเก็บคะแนนมากพอให้เข้ารอบสุดท้าย ที่โซชี ประเทศรัสเซีย สุดท้ายเขาคว้าเหรียญเงินไปในรอบสุดท้ายนี้
ธันวาคม 2012 ฮานีวชนะเหรียญทองในการแข่งขันระดับชาติได้เป็นครั้งแรก ถัดมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 เขาคว้าเหรียญเงินในการแข่งชิงแชมป์สี่ทวีป และที่ 4 ในการแข่งชิงแชมป์โลกปี 2013 โดยในการแข่งขันตลอดฤดูกาลนี้ฮานีวต้องเผชิญหน้ากับปัญหาสุขภาพอย่างหนักและอาการบาดเจ็บมากมาย
2013–14 แชมป์โอลิมปิกและแชมป์โลก ปีแห่งเหรียญทอง
[แก้]ในฤดูกาลนี้ฮานิวได้ประสบความสำเร็จอย่างสูงโดยชนะเหรียญทองรายการใหญ่ทุกรายการ อาทิเช่น "Grand Prix Final 2013–14", "Winter Olympic 2014" และ "World Championship 2014" รวมถึงทำลายสถิติโลกอีกถึง 2 ครั้ง รวมถึงเป็นนักกีฬาสเก็ตประเภทชายเดี่ยวคนแรกของโลกที่ทำลายกำแพงคะแนน 100 คะแนนในโปรแกรมสั้น
ฮานีวเข้ารวมแข่งขันแรกของซีซั่นในรายการ "Finlandia Trophy" ประเทศฟินแลนด์และชนะเหรียญทอง
รายการ "Grand Prix 2013–14" ฮานีวเข้าแข่งขันใน "Skate Canada" ที่ประเทศแคนาดาและ "Trophée Éric Bompard" ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยชนะเหรียญเงินจากทั้งสองรายการนี้ ซึ่งเพียงพอให้เข้ารอบแข่งขันในรอบไฟนอลได้ โดยรอบสุดท้ายถูกจัดขึ้นที่เมืองฟูกูโอกะ โดยฮานีวสามารถทำคะแนนโปรแกรมสั้นได้เป็นที่ 1 ทำลายสถิติโลกด้วยคะแนน 99.84 และชนะฟรีสเก็ตดัวยคะแนนสูงสุดของตัวเอง (Personal Best) 193.41 คะแนน ผลคะแนนรวมทั้งสองโปรแกรมคือ 293.25 คะแนน คว้าเหรียญทองไปครอง
ในเดือนธันวาคมฮานีวลงแข่งรายการชิงแชมป์ญี่ปุ่น และสามารถคว้าเหรียญทองสมัยที่สองไปครองได้อีกเช่นกัน โดยได้โปรแกรมสั้น 103.10 คะแนน (แข่งในประเทศจะไม่ถูกนับในการแข่งระดับสากลจึงไม่ใช่สถิติโลก) ฟรีสเก็ต 194.70 คะแนน รวม 297.80 คะแนน และได้ถูกคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศญี่ปุ่นให้เข้าแข่งขันในงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 และงานชิงแชมป์โลก 2014
โอลิมปิกฤดูหนาว : Sochi Olympic 2014
[แก้]ในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีแรกของฮานีว เขาเข้าร่วมแข่งโปรแกรมสั้นประเภททีมของทีมญี่ปุ่น โดยทำคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ด้วยคะแนน 97.98 ทำให้ทีมญี่ปุ่นได้ 10 คะแนน ซึ่งผลการแข่งขันประเภททีมโดยรวมญี่ปุ่นจบที่อันดับที่ 5 นอกจากนั้น ในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวฮานีวสามารถทำลายสถิติโลกได้อีกครั้งและเป็นนักสเก็ตคนแรกของโลกที่ทำลายกำแพงคะแนนเกิน 100 คะแนนด้วยคะแนน 101.45 และฟรีสเก็ต 178.64 รวมสองโปรแกรมได้คะแนนรวม 280.09 คะแนนคว้าเหรียญทองไปในที่สุด โดยเป็นนักกีฬาชายคนแรกของเอเชียและญี่ปุ่น ที่สามารถคว้าแชมป์โอลิมปิกฤดูหนาวในประเภทนี้มาได้ นอกจากนี้ ฮานีวยังเป็นแชมป์โอลิมปิกฤดูหนาวที่อายุน้อยที่สุด ด้วยวัยเพียง 19 ปีตั้งแต่สมัยของ Dick Button ในปี 1948 และหลังจากคว้าแชมป์เหรียญทองโอลิมปิก 2014 มาได้ ในเดือนเมษายน ฮานีวได้เดินทางกลับไปที่บ้านเกิดเมืองเซ็นได และมีงานพาเหรดเพื่อเฉลิมฉลองให้กับชัยชนะของเขาซึ่งมีประชาชนทั้งญี่ปุ่นและต่างชาติมารวมตัวกันกว่า 92,000 คนเลยทีเดียว
ฮานีวปิดท้ายฤดูกาลด้วยการแข่งขันชิงแชมป์โลก ที่จัดขึ้นที่เมืองไซตามะ โดยจบโปรแกรมสั้นในอันดับที่ 3 91.24 คะแนน ตามหลังรุ่นพี่จากประเทศเดียวกันอย่าง ทัตสึกิ มาชิดะถึง 6.97 คะแนน แต่สามารถทำได้ดีมากในฟรีสเก็ต โดยได้คะแนน 191.35 คะแนน ทำให้มีคะแนนรวม 282.59 คะแนน เฉือนเอาชนะทัตสึกิ มาชิดะไปเพียง 0.33 คะแนน คว้าเหรียญทองสมัยแรกมาได้สำเร็จ
ฮานีวเป็นนักสเก็ตชายเดี่ยวคนแรกนับจาก อเล็กซี่ ยากูดิน ปี 2002 ที่ชนะเหรียญทองในรายการแข่งขันใหญ่ทั้งหมดในฤดูกาลเดียวกัน
2014–15 : ต่อสู้และบททดสอบ
[แก้]ฮานีวเผชิญกับปัญหาสุขภาพอย่างหนักรวมทั้งอาการบาดเจ็บรุนแรง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคว้าเหรียญทองกรังปรีไฟนอลสมัยที่ 2 แชมป์ระดับประเทศสมัยที่ 3 และเหรียญเงินในการแข่งชิงแชมป์โลก
ฮานีวถอนตัวจากการแข่งขัน "Finlandia Trophy" ตั้งแต่ต้นฤดูกาลเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่หลัง และได้เข้ารวมแข่งขันรายการแรกในงาน "Grand Prix 2014-15" แทน โดยถูกคัดให้แข่งที่แรกใน "Cup of China" และตามด้วย "NHK Trophy" ในรายการแรกที่ฮานีวแข่งที่ประเทศจีน ช่วงระหว่างการวอร์มอัพ 6 นาทีก่อนการแข่งฟรีสเก็ต ฮานิวและฮันยางนักกีฬาชาวจีน ประสบอุบัติเหตุชนกันอย่างแรง โดยฮันยางมีอาการบาดเจ็บที่คางเล็กน้อย ส่วนฮานีวได้รับบาดเจ็บถึง 5 ตำแหน่งด้วยกัน ได้แก่ ศีรษะแตก คางแตก สะโพก ต้นขาและข้อเท้า ทำให้การแข่งขันถูกเลื่อนออกไปเล็กน้อยเพื่อทำการรักษาเบื้องต้น แต่ฮานีวก็ได้ตัดสินใจแข่งขันต่อในสภาพที่มีผ้าพันศีรษะ ฮานีวล้มลงไประหว่างการแข่งขันถึง 5 ครั้ง แต่คะแนนก็มากพอที่จะคว้าเหรียญเงินมาได้ หลังจบการแข่งขัน ฮานีวถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเพื่อตรวจอย่างละเอียด ต้องมีการเย็บบาดแผลที่ศีรษะและคาง หลังจากนั้นฮานิวเดินทางกลับญี่ปุ่นเพื่อทำการรักษาต่อไป
"NHK Trophy" ถูกจัดขึ้นหลังจากนั้นเพียง 19 วัน ฮานีวได้ประกาศจะเข้าร่วมการแข่งขันท่ามกลางคำถามมากมายจากสื่อญี่ปุ่น เนื่องจากอาการบาดเจ็บเพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นานและค่อนข้างหนัก ฮานีวทำได้ไม่ค่อยดีนักในโปรแกรมสั้นและได้อันดับที่ 5 ด้วยคะแนน 78.01 และยังคงลงแข่งฟรีสเก็ตในวันต่อมาอย่างลำบากได้อันดับที่ 3 ด้วยคะแนน 151.79 รวมทั้งสองโปรแกรม 229.80 ผลการแข่งขั้นสรุปเป็นอันดับที่ 4 แต่ด้วยคะแนนสะสมที่เพียงพอฮานีวจึงได้เข้ารอบ "Grand Prix Final 2014–15" เป็น 1 ใน 6 ของนักสเก็ตชายเดี่ยวโดยคะแนนเป็นอันดับสุดท้ายเฉือนเอาชนะด้วยด้วยคะแนนเพียง 0.15 คะแนนเท่านั้น
"Grand Prix Final" จัดขึ้นที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ในเดือนธันวาคม 2014 ฮานีวทำคะแนนมาเป็นอันดับที่ 1 ทั้งโปรแกรมสั้น 94.08 คะแนน และฟรีสเก็ต 194.08 คะแนน (Personal Best) รวม 288.16 คะแนนคว้าเหรียญทองสมัยที่ 2 และทิ้งห่างจาก ฮาเวียร์ เฟอร์นันเดส ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมทีมซ้อมที่ได้เหรียญเงิน ไปถึง 34.26 คะแนน
ในปลายเดือนธันวาคม ฮานีวได้กลับไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อรวมแข่งขันระดับประเทศและได้คะแนนสูงสุดทั้งโปรแกรมสั้นและฟรีสเก็ตรวม 286.86 คะแนน คว้าเหรียญทองระดับประเทศ 3 สมัยซ้อน
แต่หลังจบการแข่งขันและรับเหรียญ ซึ่งจะมีการประกาศรายชื่อนักกีฬาที่จะได้เป็นตัวแทนไปแข่งชิงแชมป์โลกนั้น ฮานีวกลับไม่สามารถปรากฏตัวขึ้นได้และแจ้งว่าข้อถอนตัวจากงานแสดงโชว์หลังจบการแข่งขัน (gala exhibition) ที่จะมีการจัดขึ้นในอีกวันถัดมาตามธรรมเนียม เนื่องด้วยมีอาการเจ็บปวดเกี่ยวกับช่องท้องอย่างรุนแรงและถูกวินิจฉัยว่ามีอาการกระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติ และเกี่ยวข้องกับสะดือซึ่งเป็นโรคที่หาได้ยากและพบได้น้อย
ฮานีวได้รับการผ่าตัดทันทีหลังจบการแข่งขัน หลังจากนั้นพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 2 สัปดาห์ และต้องพักฟื้นต่อไปอีกอย่างน้อย 1–2 เดือนจึงจะสามารถกลับไปฝึกซ้อมได้ ทว่าช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ฮานีวได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าอีกครั้งระหว่างการฝึกในญี่ปุ่นและต้องหยุดพักอีก 2 สัปดาห์เพื่อการรักษา ฮานีวกลับมาฝึกซ้อมได้อีกครั้งช่วงเดือนมีนาคมโดยไม่มีโค้ชไบรอันค่อยดูแล (แต่มีการติดต่อกันทางทางไกล)
หลังจากนั้น ฮานีวต้องเข้าแข่งขันชิงแชมป์โลก เขาทำคะแนนเป็นอันดับ 1 ในโปรแกรมสั้นด้วยคะแนน 95.20 แต่ฟรีสเก็ตทำคะแนนได้เป็นอันดับ 3 คะแนน 175.88 ผลคะแนนรวม 271.08 เสียแชมป์ให้กับฮาเวียร์ เฟอร์นันเดส ไปแค่ 2.82 คะแนนเท่านั้น
ฮานีวได้เข้าร่วมการแข่งขัน "World Team Trophy" เป็นครั้งแรก โดยจัดที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขาทำคะแนนเป็นอันดับ 1 ทุกรายการคว้า 24 คะแนนเต็มมาให้ทีมญี่ปุ่น ผลสรุปการแข่งทีมญี่ปุ่นได้เหรียญทองแดง และฮานีวเป็นนักกีฬาเพียงคนเดียวของรายการนี้ที่ชนะการแข่งขันทั้งหมด
2015–16 : สร้างประวัติศาสตร์
[แก้]ในโปรแกรมการแข่งขันฟรีสเก็ตของฤดูกาลนี้ ฮานีวได้เลือกเพลงที่ใช้เครื่องดนตรีญี่ปุ่นซึ่งประกอบภาพยนตร์เรื่องอนเมียวจิ และใช้คาเร็คเตอร์โหรอาเบะเป็นธีมหลักในการบอกเรื่องราว ฮานีวได้ตั้งชื่อโปรแกรมนี้ว่าเซย์เมย์ (SEIMEI)
ฮานีวเข้ารวมแข่งขันแรกของฤดูกาล ในรายการ "SC Autumn Classic 2015" ในประเทศแคนาดา ซึ่งไม่ไกลจากสถานที่ฝึกซ้อมประจำ โดยการคว้าเหรียญทองมาได้อย่างง่ายดาย
รายการแข่ง "Grand Prix 2015–16" ฮานีวคัดเลือกให้แข่งในรายการ "Skate Canada" และ "NHK Trophy"
ในรายการ "Skate Canada" ฮานีวทำได้ไม่ดีและทำผิดพลาดในการกระโดดซ้ำเกินจำนวนที่กำหนดในโปรแกรมสั้น จึงได้อันดับที่ 6 73.25 คะแนน ในการแข่งฟรีสเก็ตฮานีวฮึดสู้แต่ยังมีข้อผิดพลาดใหญ่ จนได้คะแนนมาเป็นอันดับที่ 2 186.29 คะแนน ผลรวม 259.54 คะแนน คว้าได้เพียงเหรียญเงินไปครอง
"NHK Trophy" ฮานีวสร้างประวัติศาสัตร์ที่ช็อกไปทั่วโลก โดยการทำลายสถิติโลกของตัวเองในปี 2014 ในโปรแกรมสั้นด้วยคะแนน 106.33 คะแนน และเขายังไม่หยุดอยู่แค่นั้น ฮานีวทำลายสถิติโลกในวันต่อมาในการแข่งฟรีสเก็ตด้วยคะแนน 216.07 คะแนน เขาจึงเป็นนักกีฬาสเก็ตชายคนแรกของโลกในวงการสเก็ตน้ำแข็งลีลา ที่ทำลายกำแพงคะแนนเกิน 200 คะแนนในการแข่งฟรีสเก็ต ส่งผลให้คะแนนรวมทั้งสองโปรแกรมรวมกันได้ 322.40 คะแนน จึงได้ทำลายกำแพงคะแนนเกิน 300 คะแนนด้วย เป็นการสร้างความช็อกโลกและจุดกระแสฮานีวฟีเวอร์ขึ้นในญี่ปุ่นทันที และด้วยคะแนนสูงสุดทำให้ฮานีวได้เข้ารอบไปแข่งใน "Grand Prix Final" ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน
"Grand Prix Final 2015–16" ฮานีวยังคงสร้างประวัติศาสัตร์ต่อไม่หยุดยั้ง ในโปรแกรมสั้นฮาน๊วทำผลงานออกมาได้อย่างไร้ที่ติ เขาจึงได้ทำลายสถิติโลกของตัวเองเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนไปอย่างง่ายดายด้วยคะแนน 110.95 คะแนน และในการแข่งฟรีสเก็ตเองก็เช่นเดียวกัน โดยทำคะแนนไปถึง 219.48 คะแนน ทำลายสถิติเดิมในฟรีสเก็ตของตัวเอง และแน่นอนว่าผลคะแนนรวมก็สร้างสถิติโลกใหม่ด้วยคะแนนสูงสุดเป็นประวัติกาลถึง 330.43 คะแนน คว้าเหรียญทองในรายการนี้ 3 สมัยซ้อนเป็นคนแรกของโลกอีกด้วย ชัยชนะครั้งนี้ยังสร้างประวัติศาสาตร์ความห่างของคะแนนระหว่างนักกีฬาเหรียญเงินอย่างฮาเวียร์ เฟอร์นันเดส สูงถึง 37.48 คะแนนทำลายสถิติเดิมของนักกีฬาที่เป็นไอดอลของฮานีวที่ชื่อ อีฟกานีย์ พลูเซนโกะ ที่ทำไว้ในปี 2004 (35.10 คะแนน)
26 ธันวาคม 2015 ฮานีวคว้าแชมป์ในการแข่งขันระดับประเทศอีกครั้งรวมเป็น 4 สมัยซ้อน แต่หลังจากนั้นฮานuวได้ประกาศถอนตัวออกจากการแข่งขันชิงแชมป์สี่ทวีป โดยกล่าวว่าต้องการมุ่งเป้าไปที่ชัยชนะในการแข่งขันชิงแชมป์โลก 2016
เดือนเมษายนปีถัดมา "World Championship 2016" รายการชิงแชมป์โลกที่ถูกจัดขึ้นในเมืองบอสตัน ฮานีวเกือบจะทำลายสถิติโลกของเขาได้อีกครั้งในการแข่งโปรแกรมสั้นด้วยคะแนนเชียดชิว 110.56 คะแนนซึ่งนำห่างจากคู่แข่งไปถึง 12.04 คะแนน ทว่าในการแข่งฟรีสเก็ตฮานิวกระโดดพลาดและมีข้อผิดพลาดมากมาย ผลรวมจึงทำออกมาได้เพียงคว้าเหรียญเงิน และเสียแชมป์เป็นครั้งที่สองให้กับฮาเวียร์ เฟอร์นันเดส อีกครั้ง
ในวันที่ 26 เมษายน 2016 หลังปิดฤดูกาลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ สมาคมสเก็ตลีลาญี่ปุ่นได้มีประกาศออกมาว่า ฮานีวมีความจำเป็นต้องหยุดการฝึกซ้อมเพื่อรักษาตัวอย่างน้อย 2 เดือน เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เท้าซ้ายซึ่งเริ่มมีอาการบาดเจ็บมาตั้งแต่ต้นฤดูกาล และอาการแย่ลงอย่างหนักในเดือนมกราคม 2016 ซึ่งเป็นสาเหตุให้ฮานีวต้องถอนตัวจากการแข่งขันชิงแชมป์สี่ทวีป และเลือกที่จะใช้ท่าซาลคาว (salchow) แทนท่าโทลูป (toe loop) ในรายการชิงแชมป์โลก เพราะการกระโดดท่านี้มีความจำเป็นต้องกระแทกปลายเท้าไปที่น้ำแข็งเพื่อเป็นแรงส่งตัวในการกระโดดนั้นเอง จากการวินิจฉัยของแพทย์อาการบาดเจ็บของฮานิวคือเส้นเอ็นที่เท้าซ้ายได้รับความเสียหาย เป็นอาการที่พบเห็นได้บ่อยในนักกีฬา
2016–17 : ราชาทวงบัลลังก์
[แก้]ฮานีวเข้ารวมแข่งขันแรกของฤดูกาลในรายการ "SC Autumn Classic" อีกครั้งและได้สร้างประวัติศาสาตร์ใหม่ด้วยการเป็นนักกีฬาสเก็ตคนแรกของโลกที่กระโดดควอลท์ลูป (quardruple loop) ในการแข่งขั้นทั้งโปรแกรมสั้นและฟรีสเก็ตได้สำเร็จ
"Grand Prix" รายการแรกฮานีวได้แข่ง "Skate Canada" อีกครั้งและคว้าเหรียญเงินมาได้เป็นครั้งที่สอง จากนั้นในการแข่งรายการที่สองฮานีวแข่งที่ "NHK Trophy" และทำคะแนนได้ถึง 103.89 ในโปรแกรมสั้น และทำลายกำแพงคะแนนรวมเกิน 300 คะแนนอีกครั้งในรายการแข่งนี้ คว้าเหรียญทองพร้อมเข้ารอบไปแข่งขัน "Grand Prix Final" ที่เมืองมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส
"Grand Prix Final" ฮานีวทำคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ในโปรแกรมสั้นด้วยคะแนน 106.54 คะแนน แต่ในฟรีสเก็ตฮานีวมีข้อผิดพลาดในครึ่งหลังจึงทำให้เสียคะแนนไปไม่น้อย แต่ผลรวมคะแนนสรุปฮานิวก็สามารถคว้าเหรียญทองในรายการนี้ถึง 4 สมัยซ้อนเป็นคนแรกของโลก
ฮานีวได้กลับไปญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อเข้าร่วมแข่งขันในรายการชิงแชมป์ระดับประเทศ แต่ก่อนการแข่งขันเพียงไม่กี่วันทางสมาคมประกาศว่าฮานีวขอถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากเป็นไข้หวัดใหญ่ แต่ยังคงได้รับเลือกให้เข้าไปแข่งขันในรายการชิงแชมป์สี่ทวีป 2017 และชิงแชมป์โลก 2017 เนื่องด้วยผลงานดีเด่นที่ผ่านมา
"Four Continents Championships 2017" หรือชิงแชมป์สี่ทวีปจัดขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ สถานที่จัดงานอยู่ที่พย็องชัง ซึ่งจะเป็นสนามเดียวกันกับที่จะใช้ในการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ซึ่งในการแข่งขันฮานีวทำพลาดในการหมุนคอมบิเนชันสปิน (combination spin) จึงได้อันดับที่ 3 ในโปรแกรมสั้นด้วยคะแนน 97.04 คะแนน และในการแข่งขันฟรีสเก็ต ฮานีวเกิดข้อผิดพลาดอีกครั้งถึงแม้ในครึ่งหลังจะสามารถเปลี่ยนแผนการแข่งจนทำออกมาได้ดีคะแนนได้ แต่ผลคะแนนรวมนั้นทำให้ฮานีวคว้าไปได้เพียงเหรียญเงินเท่านั้น
ชิงแชมป์โลก 2017 จัดในประเทศฟินแลนด์เมืองเฮลซิงกิ โดยฮานีวยังคงทำผิดพลาดในคอมบิเนชันสปินในโปรแกรมสั้น ส่งผลให้ได้อันดับที่ 5 ทว่าฟรีสเก็ตนั้นฮานีวฮึดสู้อย่างหนักสามารถกระโดดทุกท่าออกมาได้อย่างสมบูรณ์และสวยงามไร้ข้อผิดพลาดทั้งสิ้น จึงทำให้ฮานีวทำลายสถิติโลกในโปรแกรมนี้อีกครั้งนึงด้วยคะแนนสูงถึง 223.20 คะแนน ผลรวมคะแนนทั้งหมด 321.59 คะแนน กลับมาคว้าแชมป์โลกสมัยที่สองได้อีกครั้งนับจากปี 2014
ฮานีวกลับมาที่ญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อแข่งขันในรายการสุดท้าย "World Team Trophy" แต่ทำพลาดมากมายในโปรแกรมสั้นทำให้อยู่ในอันดับที่ 7 ในฟรีสเก็ตฮานิวคืนฟอร์มอีกครั้งได้คะแนนไป 200.49 คะแนนขึ้นเป็นที่ 1 และเป็นนักกีฬาชายคนแรกที่สามารถกระโดดหมุน 4 รอบในครึ่งหลังของฟรีสเก็ตได้ถึง 3 ท่า สุดท้ายทีมญี่ปุ่นก็สามารถคว้าเหรียญทองมาได้
2017–18 : โอลิมปิกเหรียญที่สอง
[แก้]ในฤดูกาลนี้เขากลับมาใช้เพลง "Ballade No. 1" (Chopin) สำหรับโปรแกรมสั้น ซึ่งเป็นเพลงที่เขาใช้เมื่อ 2 ฤดูกาลก่อนหน้านี้ที่ได้ทำลายสถิติโลกในโปรแกรมสั้นไป และยังใช้เพลงประกอบภาพยนตร์อนเมียวจิอีกครั้ง แต่อยู่ในรูปแบบที่เพิ่มรายละเอียดเข้าไปมากขึ้นเมื่อเทียบกับครั้งก่อน โดยการแข่งแรกของฤดูกาลนี้คือ "Skate Canada Autumn Classic International" ฮานีวทำลายสถิติโลกที่เขาได้ทำเอาไว้เมื่อรายการกร็องปรีไฟนอล 2015–16 ด้วยคะแนน 112.72 คะแนน อย่างไรก็ตามผลงานฟรีสเก็ตของเขาจบอันดับที่ 5 ทำให้เขาคว้าเหรียญเงินในครั้งนี้
"Rostelecom Cup 2017" ฮานีวจบอันดับที่ 2 ในโปรแกรมสั้น[31] ในฟรีสเก็ตเขาทำท่าควอดลัทซ์ (quadruple Lutz) เป็นครั้งแรกในการแข่งขัน ท้ายที่สุดจบเป็นอันอับ 2 ตามหลังนาธาน เฉิน ประมาณ 3 คะแนน หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ฮานีวเกิดการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นข้อเท้าขวาจากการฝึกซ้อม ทำให้ต้องถอนตัวจากการแข่งขัน "NHK Trophy 2017" และเนื่องจากการฟื้นตัวใช้ระยะเวลานานเกินกว่าที่คาดคิด ฮานีวจึงถอนตัวจากการชิงแชมป์ประเทศไปด้วย ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เข้าร่วมรายการที่เป็นเกณฑ์การคัดตัวไปโอลิมปิก 2018 แต่ฮานีวก็ยังคงได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของทีมชาติญี่ปุ่นในโอลิมปิกครั้งนี้ รวมถึงรายการชิงแชมป์โลก 2018 ที่มิลาน ประเทศอิตาลี[32][33] ซึ่งทำให้เขาครองอันดับ 1 ของโลก (world standing) และเป็นการป้องกันแชมป์โลกรวมถึงแชมป์โอลิมปิกอีกด้วย[34]
โอลิมปิกฤดูหนาว : Pyeongchang Olympic 2018
[แก้]ฮานีวไม่ได้เข้าร่วมการแข่งในประเภททีมในโอลิมปิกครั้งนี้ เพื่อที่จะใช้เวลาในการฝึกซ้อมสำหรับประเภทชายเดี่ยวให้มากขึ้น[35] โดยในงานแถลงข่าวที่เขาจัดขึ้น หลังจากการฝึกซ้อมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2018 ฮานีวเปิดเผยว่าเขาไม่ได้ฝึกซ้อมบนลานน้ำแข็งจนถึงเดือนมกราคม[36] หลังจากนั้นก็เริ่มที่จะซ้อมท่าทริปเปิลจัมพ์ (triple jump) เพียงแค่ 3 สัปดาห์ และท่าควอดดริปเปิลจัมพ์ (quadruple jumps) เพียง 2 สัปดาห์ก่อนเริ่มการแข่งขัน[37] และเขายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะใช้เทคนิคและท่าไหนบ้างในการแข่งขัน[38]
ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ฮานีวแสดงผลงานที่ยอดเยี่ยมในโปรแกรมสั้น นั่นทำให้เขาได้คะแนนไป 111.68 คะแนน นำมาเป็นอันดับที่ 1[39] ในการแข่งฟรีสเก็ต ฮานีวทำคะแนนไป 206.17 คะแนน ทำให้รวมแล้วทำไป 317.85 คะแนน ส่งผลให้ฮานีวคว้าเหรียญทองได้เป็นเหรียญที่สองติดต่อกัน ซึ่งไม่เคยมีใครทำได้ตั้งแต่สมัยของดิก บัตตอน ในปี 1948 และ 1952[40] ในเดือนมีนาคม 2018 สหภาพสเกตระหว่างประเทศ (ISU) ประกาศว่าฮานีวจะถอนตัวจากการชิงแชมป์โลกที่ใกล้จะถึงนี้ เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าขวาหลังจากที่ใช้ยาระงับปวดในการแข่งขันโอลิมปิกที่ผ่านมา โดยเปิดเผยว่าต้องใช้เวลาพักอย่างน้อย 2 สัปดาห์และอีก 3 เดือนสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ[41]
ในเดือนเมษายน ฮานีวได้ทำการแสดงเมดเลย์ของการแสดงเก่าๆ ของเขาในโชว์ที่เขาจัดขึ้นเองเป็นครั้งแรก "Continues with Wings" ที่ Musashino Forest Sports Plaza ในเมืองโตเกียว แต่หลีกเลี่ยงการกระโดดเนื่องจากยังคงบาดเจ็บอยู่[42][43] ต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน มีการประกาศว่าฮานีวจะเข้ารับรางวัล People's Honour Award ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติของรัฐบาลที่มอบโดยนายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น โดยเขาเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดท่ามกลาง 27 คนที่เคยได้รับรางวัลตั้งแต่รางวัลถูกทำขึ้นเมื่อปี 1977 และเป็นนักกีฬาสเก็ตลีลาคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้[44]
2018–19 : บาดเจ็บอย่างต่อเนื่อง และสถิติโลก
[แก้]ในเดือนสิงหาคม 2018 ฮานีวประกาศเพลงสำหรับโปรแกรมสั้นในฤดูกาลนี้ คือ "Otoñal" โดย Raúl di Blasio และออกแบบท่าโดย เจฟฟรีย์ บัทเทิล ส่วนฟรีสเก็ตจะชื่อการแสดงว่า "Origin" สำหรับกร็องปรีซีรีส์ 2018–19 ฮานีวจะเข้าแข่งขันในรายการ "Grand Prix of Helsinki" และ "Rostelecom Cup 2018"[45]
ฮานีวเริ่มต้นฤดูกาลด้วยรายการ "Skate Canada Autumn Classic International 2018" โดยทำไป 97.74 ในโปรแกรมสั้นหลังการผิดพลาดในท่าหมุนท่าหนึ่ง[46] ส่วนในฟรีสเก็ต ฮานีวทำไป 165.91 คะแนน เนื่องจากข้อผิดพลาดหลายอย่างจากการกระโดด ทำให้เขาจบในอันดับที่ 2 ตามหลังเพื่อนร่วมฝึกซ้อมอย่าง ชา จุน-ฮวาน และจบอันดับ 4 ด้วยคะแนนรวม 263.65 คะแนน[47]
ในการแข่งขันแรกของซีรีส์กร็องปรีที่เฮลซินกี ฮานีวรั้งอันดับ 1 ในโปรแกรมสั้นด้วย 106.69 คะแนน เป็นสถิติโลกใหม่หลังจากเปลี่ยนระบบการนับคะแนนเป็น +5/-5 GOE[48] ในฟรีสเก็ต เขาทำคะแนนไป 190.43 คะแนน และคะแนนรวม 297.12 คะแนน เป็นสองสถิติใหม่ของโลกและคว้าเหรียญทองมาครอง[49][50]
ในการแข่งขัน "Rostelecom Cup 2018" ฮานีวรั้งอันดับที่ 1 ในโปรแกรมสั้นด้วย 110.53 คะแนน ทำสถิติใหม่ของโลกอีกครั้ง วันถัดมาเขาได้รับบาดเจ็บที่ข้อเท้าขวาอีกครั้งจากการซ้อมแต่ก็ตัดสินใจไม่ถอนตัวจากการแข่ง ฮานีวใช้ยาระงับปวดและเปลี่ยนรูปแบบของการแสดงเพื่อหลีกหลี่ยงการทำให้อาการรุนแรงขึ้น โดยฮานีวจบที่อันดับ 1 ท้งในฟรีสเก็ตและผลคะแนนรวม ทำให้ฮานีวชนะเหรียญทองในทั้งสองรายการของกร็องปรีเป็นครั้งแรก [51] ต่อมา ฮานีวได้กล่าวว่า
ผมคิดที่จะถอนตัวเพราะอาการบาดเจ็บ แต่สุดท้าย..นั่นคือการตัดสินใจของผม ผมอยากที่จะแข่งในรายการนี้ที่รัสเซีย
ฮานีวขึ้นรับเหรียญรางวัลในพิธีรับเหรียญพร้อมไม้ค้ำเพื่อช่วยพยุงในการเดิน หลังจากนั้นตัวแทนจากสมาคมสเก็ตแห่งประเทศญี่ปุ่นรายงานว่า ฮานีวได้รับคำแนะนำให้พักเป็นเวลา 3 สัปดาห์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ[52]
ปลายเดือนพฤศจิกายน สมาคมได้ออกมาประกาศอีกครั้งว่าฮานีวจะถอนตัวจากการแข่งขัน "Grand Prix Final 2018–19" เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เอ็นขาขวา โดยต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนในการฟื้นฟู[53][54] ถัดมา การถอนตัวจากการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศก็ถูกประกาศออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์[55]
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศ เขาก็ยังได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่นในรายการชิงแชมป์โลก 2019 ที่ไซตะมะ ตามสถิติการแข่งของฮานีวในฤดูกาลก่อนหน้า[56] ก่อนการแข่งขันจะเริ่มขึ้น ฮานีวได้กล่าวว่าข้อเท้าข้างขวาของเขายังฟื้นตัวได้ไม่สมบูรณ์ แต่ยังยืนยันว่าเขาพร้อม 100% ที่จะลงแข่ง[57] โดยฮานีวรั้งอันดับ 3 หลังโปรแกรมสั้นจบลง[58] และรั้งอันดับที่ 2 ในฟรีสเก็ต ด้วยคะแนน 206.10 คะแนน ส่งผลให้คะแนนรวมของเขาจบในอันดับที่ 2[59] การแข่งขันนี้คล้ายกับเมื่อโอลิมปิกที่ผ่านมา ฮานีวใช้ยาระงับปวดก่อนลงแข่งเพื่อการกระโดด โดยการฟื้นตัวหลังจากนี้ยังไม่สามารถระบุได้[60] ต่อมา สมาคมได้ประกาศว่าฮานีวขะไม่เข้าร่วมการแข่งขันสุดท้ายในช่วงจบฤดูกาลอย่าง "World Team Trophy" เนื่องจากยังไม่หายการอาการบาดเจ็บ[61]
2019–20 : พิชิตตำแหน่ง Super Slam
[แก้]ฮานีวเริ่มฤดูการด้วยการแข่ง "CS Autumn Classic International 2019" เขาจบในอันดับที่ 1 ทั้งสองโปรแกรม ทำให้คว้าเหรียญทองได้ ถึงแม้ว่าฮานีวจะพลาดในท่าควอดซาลคาว (quad Salchow) ในโปรแกรมสั้น และความผิดพลาดบางอย่างในฟรีสเก็ต โค้ชไบรอัน ออเซอร์ ได้กล่าวชื่นชมฮานีวว่า
ผมไม่เคยเห็นเขาจดจ่อ ในช่วงเวลานี้ของปี
ในช่วงต้นของกร็องปรีซีรีส์ 2019–20 นั้น ฮานีวมุ่งสู้ครั้งที่ 4 ของเขาในรายการ "Skate Canada International 2019" โดยก่อนหน้านี้เขาคว้าเหรียญเงินได้ทั้งสามครั้ง แต่คครั้งนี้ฮานีวจบที่ 1 ในโปรแกรมสั้นด้วยผลงานไร้ที่ติ สะสม 20 คะแนนเหนือคู่แข่งอย่าง แคมเดน พูลกิเนน จากอเมริกา ฮานีวได้กล่าวถึงผลงานของเขาว่า
มันไม่ได้ดีอะไรมากมาย แต่ผมรู้สึกว่าผมทำอย่างดีที่สุดแล้วในวันนี้
ในฟรีสเก็ตได้ทำสถิติใหม่ของตัวเอง (new personal best) และชนะการแข่งขันด้วยคะแนนห่างจากอันดับ 2 ถึง 59.82 คะแนน ซึ่งเป็นช่องว่างที่กว้างที่สุดในประวัติศาสตร์ของกร็องปรีซีรีส์เลยทีเดียว นอกจากนี้เขายังชนะในรายการ "NHK Trophy 2019" รายการกร็องปรีรายการที่สองด้วยระยะห่างระหว่างคะแนนที่คล้ายกับรายการก่อนหน้า
ฮานีวเข้าแข่งขันต่อในกร็องปรีไฟนอล 2019–20 ที่เมืองตูริน หนึ่งในทีมโค้ชของฮานีวอย่าง จิสเลน ไบรแอนด์ มีปัญหาในการเดินทางทำให้เดินทางมาที่จัดการแข่งขันล่าช้า เป็นผลให้ฮานีวต้องเข้าแข่งขันโดยไม่มีโค้ชอยู่ที่งานในการแข่งขันช่วงแรก โดยเขาทำผิดพลาดในท่าควอดโทลูป (quad toe loop) โดยไม่ได้ทำคอมบิเนชัน (combination) ผลก็คือฮานีวมีคะแนนตามหลังผู้มีคะแนนนำอยู่เกือบ 13 คะแนน ต่อมาในฟรีสเก็ต ฮานีวกระโดดหมุนกลางอากาศสี่รอบ (quad jump) ได้ 5 ครั้งในหนึ่งโปรแกรมเป็นครั้งแรกในอาชีพของเขา รวมถึงการทำควอดลัทซ์ (quad Lutz) ครั้งแรกของเขาตั้งแต่มีอาการบาดเจ็บในโอลิมปิก แต่สุดท้ายฮานีวจบที่อันดับ 2 ในฟรีสเก็ต และได้รับรางวัลเหรีญเงินไปครอง
ถัดมา ฮานีสเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ไม่ได้เข้าร่วมมาตั้งแต่ฤดูกาล 2016–17 โดยฮานีวรั้งอันดับ 1 หลังจบโปรแกรมสั้น มีคะแนน 5.01 คะแนนนำอยู่เหนือโชมะ อูโนะ แต่ในฟรีสเก็ตฮานีวทำข้อผิดพลาดอยู่หลายอย่าง ทำให้รั้งอันดับ 3 ตามหลังโชมะ และยูมะ คากิยะมะ และมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 2 ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ฮานีวแพ้ให้กับโชมะ
หลังจากน้นฮานีวมุ่งสู่การแข่งขันชิงแชมป์สี่ทวีป 2020 ที่โซล เขาเลือกที่จะนำการแสดง "Ballade No. 1" (Chopin) และการแสดง "Seimei" จากฤดูกาลก่อนกลับมาใช้ อ้างอิงถึงพย็องชัง โอลิมปิก 2018 ฮานีวให้เหตุผลว่าในขณะที่เขาต้องการจะชนะเหรียญทองอีกครั้งในเกาหลีใต้ เขายังต้องการที่จะแสดงและจดจ่ออยู่กับสไตล์ของเขาให้มากกว่าเดิม โดยในโปรแกรมสั้นฮานีวทำลายสถิติเก่าของเขาที่ 111.82 คะแนน เขาเรียกการแสดงนี้ว่า "การแสดงที่สมบูรณ์แบบที่สุดที่เขาเคยทำมา" ถึงแม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดในท่าควอด 2 ครั้งที่พยายามทำในฟรีสเก็ต แต่ฮานีวก็ยังคว้าชัยชนะได้ด้วยคะแนนรวม 299.42 คะแนน การเอาชนะในรายการนี้ครั้งแรกของฮานีวทำให้เขาเป็นนักสเก็ตลีลาชายเดี่ยวคนแรกและคนเดียวในตอนนี้ ที่ชนะการแข่งขันรายการใหญ่ทั้งหมดของ ISU ทั้งในระดับเยาวชนและระดับผู้ใหญ่ ความสำเร็จนี้เรียกว่า ซุเปอร์แสลม (Super Slam) โดยกน้านี้มีแค่ 5 คนเท่านั้นที่ทำได้ ในการแข่งขันประเภทอื่น การแข่งขันรายการถัดไปคือชิงแชมป์โลก 2020 ที่มอนทรีออล แต่ก็ถูกยกเลิกเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19
ณ งานรับรางวัลของ ISU ปี 2020 (ISU Skating Awards) ฮานีวได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในรางวัล ชุดแต่งกายยอดเยี่ยม (Best Costume) และได้รับรางวัลผู้เล่นสเก็ตทรงคุณค่า (Most Valuable Skater) ในฤดดูกาล 2019–2020[62][63]
2020–21 : ชิงแชมป์ระดับประเทศอีกครั้ง
[แก้]เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ฮานีวประกาศว่าเขาจะไม่เข้าร่วมการแข่งขันกร็องปรีซีรีส์ในฤดูกาลนี้ เนื่องด้วยความเสี่ยงของโรคระบาดโควิด-19 ต่อตนเอง เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน และแฟนคลับที่สนับสนุนตัวเขา ถึงแม้ว่าจะมีความรู้สึกขัดแย้งว่าควรที่จะเข้าร่วมการแข่งขันดีหรือไม่ สาเหตุจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและการฝึกซ้อมที่ปราศจากทีมผู้ฝึกสอน สุดท้ายฮานีวตัดสินใจเข้าแข่งขันชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น 2020–21 ซึ่งจะเป็นการแข่งขันคัดเลือกสุดท้ายสำหรับชิงแชมป์โลกที่สต็อกโฮล์ม เมื่อจบการแข่งขันเขาจบอันดับที่ 1 ในโปรแกรมา้น และฟรีสเก็ต ทำให้เป็นการคว้าเหรียญทองในการแข่งขันระดับชาติเป็นครั้งที่ 5 ของฮานีว ด้วยคะแนน 319.36 คะแนน
การแข่งขันชิงแชมป์โลก 2021 ซึ่งจะเป็นการแข่งขันแบบโดยตรงระหว่างฮานีวกับ นาธาน เฉินเป็นครั้งแรกตั้งแต่รายการกร็องปรีไฟนอล 2019–20 โดยฮานีวรั้งอันดับ 1 หลังจบโปรแกรมสั้น ด้วยคะแนน 6.02 นำอยู่เหนือเพื่อนร่วมชาติอย่าง ยูมะ คากิยะมะ ในฟรีสเก็ตฮานีวเริ่มต้นด้วยการกระโดดควิดดริปเดิลจัมพ์ (quadruple jump) ติดต่อกัน 3 ครั้ง แต่พลาดแต่พื้นน้ำแข็งสองครั้ง จึงได้คะแนนไป 182.20 คะแนน เป็นอันดับที่ 4 และจบอันดับ 3 ของคะแนนรวม นี่เป็นการแข่งขันครั้งแรกที่ฮานีวทำได้ทำกว่าเหรียญเงินตั้งแต่ปี 2014 ในวันถัดมาฮานีวยืนยันรายงานข่าวต่างประเทศ ที่ว่าเขาได้รับผลกระทบจากอาการโรคหอบหืด เขากล่าวว่าเขารู้สึกเจ็บปวดนิดหน่อยหลังจากจบฟรีสเก็ต และอธิบายต่อว่า
มันมีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่มันทับถมกันเรื่อยๆ ... แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะถามว่ามันเป็นเหตุผลที่นำไปสู่ความผิดพลาดใหญ่ (ในฟรีสเก็ต) นั่นไหม ผมคิดว่าไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่ใหญ่เท่ากับการที่ผมพลาดในการทำคะแนน
ตำแหน่งของฮานีวพร้อมกับตำแหน่งของคากิยะมะผ่านการคัดเลือก 3 ตำแหน่งสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ต่อมาฮานีวแข่งขันเป็นหนึ่งในทีมชาติญี่ปุ่นในรายการ "World Team Trophy 2021" โดยเขาจบที่อันดับ 2 ทั้งโปรแกรมสั้นและฟรีสเก็ต แต่เขาก็ได้สร้างสถิติใหม่ของตัวเองทั้งสองโปรแกรมด้วยคะแนน 107.12 และ 193.76 ตามลำดับ และทำคะแนนให้ทีมญี่ปุ่นไปทั้งหมด 22 คะแนน คว้าเหรียญทองแดงกลับบ้านไป[64][65][66]
2021–22 : บาดเจ็บและแชมป์แห่งชาติสมัยที่ 6
[แก้]ฮานีวยืนยันการเข้าร่วมแข่งขันในฤดูกาลโอลิมปิก 2021–22 และได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมในรายการ NHK Trophy 2021 กับรายการ Rostelecom Cup 2021 ในเดือนพฤศจิกายนสำหรับโปรแกรมกร็องปรีไฟนอล 2021–22[67] ต่อมาในวันที่ 4 พฤศจิกายน สหพันธ์สเกตแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศว่าฮานีวจะถอนตัวออกจากแข่งขัน "NHK Trophy 2021" เพราะมีอาการบาดเจ็บที่เอ็นข้อเท้าขวาระหว่างการฝึกซ้อม[68] หลังจากนั้นก็ได้มีประกาศอีกครั้งว่าเขาจะทำการถอนตัวจากรายการ "Rostelecom Cup 2021" เช่นเดียวกัน แต่มีการกล่าวว่าฮานีวยังคงอยู่ในการพิจารณาสำหรับการแข่งให้ทีมโอลิมปิก[69][70]
ฮานีวได้ทำการแข่งขันครั้งแรกของฤดูกาลด้วยรายการ ชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น ปี 2021–22 ซึ่งเขาจบด้วยอันดับที่ 1 ทั้งโปรแกรมสั้นและฟรีสเกต ทำให้เขากลายเป็นแชมป์แห่งชาติเป็นครั้งที่ 6 เท่ากับทาเคชิ ฮอนดะ ผู้ที่ครองสถิติคว้าแชมป์มากที่สุดในรายการนี้เมื่อ 50 ปีก่อน นอกจากนี้ฮานีวยังได้พยายามกระโดดท่าควอดแอกเซิล (Quadruple Axel) หรือการกระโดด 4.5 รอบ เป็นครั้งแรกระหว่างการแสดงฟรีสเกตอีกด้วย ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการจบที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากลงด้วยขาสองข้าง[71] ในเวลาต่อมา ฮานีวได้รับมอบหมายให้เป็นหนึ่งในตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว และชิงแชมป์โลก ในปี 2022[72]
โอลิมปิกฤดูหนาว : Beijing Olympic 2022
[แก้]ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ซึ่งเป็นโอลิมปิกครั้งที่ 3 ของฮานีวนั้น เขาได้พลาดการกระโดดท่าควอดดริปเปิล ซาลคาว (quadruple Salchow) ไปเพราะสะดุดกับหลุมน้ำแข็ง ทำให้ฮานีวจบการแข่งขันในโปรแกรมระยะสั้นในอันดับที่ 8 ด้วยคะแนน 95.15 แต่ก็ยังคงเพียงพอสำหรับผ่านเข้าไปแข่งขันในโปรแกรมฟรีสเกต โดยคะแนนในโปรแกรมสั้นนั้น เป็นคะแนนที่ต่ำที่สุดของเขานับตั้งแต่การแข่ง "สเกตลีลาชิงแชมป์โลก 2019"[73] หลังจากนั้นในโปรแกรมระยะยาว ฮานีวยังล้มในท่ากระโดด 2 ท่าแรก ซึ่งก็คือควอดดริปเปิล แอกเซิล (quadruple Axel) และควอด ซาลคาว (quad Salchow)[74] นอกจากนั้นการพยายามกระโดดท่าควอด แอกเซิล (quad Axe) นั้น เป็นการพยายามครั้งแรกที่ไม่ถูกลดระดับให้เป็นทริปเปิล แอกเซิล (triple Axel)[75] ซึ่งหมายความว่าการพยายามกระโดดท่านี้ของฮานีวนั้น เกือบจะได้รับการยอมรับให้เป็นการกระโดดควอด แอกเซิล ที่สำเร็จครั้งแรกในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นอกจากความผิดพลาด 2 ครั้งแรกแล้ว ฮานีวทำการแข่งขันอย่างลื่นไหล และไม่มีความผิดพลาดอีก ทำให้เขาจบที่อันดับ 3 ในโปรแกรมฟรีสเกต และอันดับที่ 4 ของการแข่งขัน ด้วยคะแนนรวม 283.21 ตามหลังเพื่อนร่วมชาติอย่างโชมะ อูโนะ ที่ได้เหรียญทองแดง[74] เมื่อจบการแข่งขัน เขาได้ให้สัมภาษณ์ว่าตนเองเกิดอาการบาดเจ็บอีกครั้งที่บริเวณข้อเท้าขวา ในการฝึกซ้อม 1 วันก่อนวันแข่งขันรอบฟรีสเกต แต่ในเมื่อเป็นการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งไม่ใช่การแข่งระดับธรรมดา ฮานีวจึงใช้ยาระงับปวดแทนการถอนตัวออกจากการแข่ง[76] ถัดมาในวันที่ 1 มีนาคม สมาคมสเกตแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ออกมาประกาศถึงการถอนตัวจากรายการ "สเกตลีลาชิงแชมป์โลก 2022 " เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่ยังไม่หาย[77]
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2022 ฮานีวได้จัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่จบโอลิมปิก 2022 โดยเขาได้ประกาศว่าได้ตัดสินใจเทิร์นโปร (turn pro) เป็นนักกีฬาสเกตลีลามืออาชีพ และจะไม่ลงแข่งขันในรายการอีก โดยฮานีวได้กล่าวเอาไว้ว่า เขาบรรลุเป้าหมายทุกอย่างที่เขาสามารถทำได้แล้ว และไม่ต้องการที่จะแสวงหาการประเมินค่าแบบนั้น (ค่าของการแข่งขัน) อีกต่อไป[78] นอกจากนั้นเขายังกล่าวอีกว่า เป้าหมายต่อไปคือการไล่ล่าคำว่า "สเกตในอุดมคติ" (ideal skating) และใฝ่ฝันที่จะกระโดดท่าควอดดริปเปิล แอกเซิล ให้สำเร็จต่อไปในฐานะนักกีฬามืออาชีพ[79] Nikkei Asia ได้ระบุไว้ว่า การจบลงของฮานีวจากการแข่งขันนั้น "ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคสมัย"[79] เดอะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) ยังระบุไว้อีกว่า "เราอาจจะไม่ได้เห็นนักสเกตคนอื่น ๆ แบบฮานีวอีก"[80]
ผลรายการแข่งขันหลัก
[แก้]ระดับรุ่นใหญ่
[แก้]- ^ทีม – รายการประเภททีม
- GP – การแข่งขันในซีรีส์กร็องปรี (Grand Prix series)
- C – การแข่งขันถูกยกเลิก
- T – ผลทีม
- P – ผลเดี่ยว
- WD – ถอนตัวจากการแข่งขัน
- TBD – ผลการแข่งขันยังไม่ได้ตัดสิน
- เหรียญรางวัลจากประเภททีมจะมาจากผลการแข่งขันของทีมเท่านั้น
ระดับนานาชาติ[81] | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รายการ | 2010–11 | 2011–12 | 2012–13 | 2013–14 | 2014–15 | 2015–16 | 2016–17 | 2017–18 | 2018–19 | 2019–20 | 2020–21 | 2021–22 |
โอลิมปิก | อันดับ 1 | อันดับ 1 | อันดับ 4 | |||||||||
โอลิมปิก ทีม | อันดับ 5 | |||||||||||
ชิงแชมป์โลก | อันดับ 3 | อันดับ 4 | อันดับ 1 | อันดับ 2 | อันดับ 2 | อันดับ 1 | WD | อันดับ 2 | C | อันดับ 3 | WD | |
ชิงแชมป์สี่ทวีป | อันดับ 2 | อันดับ 2 | อันดับ 2 | อันดับ 1 | C | |||||||
GP ไฟนอล | อันดับ 4 | อันดับ 2 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | WD | อันดับ 2 | C | |||
GP Cup of China | อันดับ 4 | อันดับ 2 | ||||||||||
GP สเกตลีลากร็องปรี เฮลซิงกิ | 1st | |||||||||||
GP Internationaux de France | อันดับ 2 | |||||||||||
GP NHK Trophy | อันดับ 4 | อันดับ 1 | อันดับ 4 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | WD | อันดับ 1 | WD | ||||
GP Rostelecom Cup | อันดับ 7 | อันดับ 1 | อันดับ 2 | อันดับ 1 | WD | |||||||
GP Skate America | อันดับ 2 | |||||||||||
GP Skate Canada | อันดับ 2 | อันดับ 2 | อันดับ 2 | อันดับ 1 | ||||||||
CS Autumn Classic | อันดับ 1 | อันดับ 1 | อันดับ 2 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | |||||||
Finlandia Trophy | อันดับ 1 | อันดับ 1 | ||||||||||
Nebelhorn Trophy | อันดับ 1 | |||||||||||
World Team Trophy ทีม | อันดับ 3 T อันดับ 1 P |
อันดับ 1 T อันดับ 3 P |
WD | อันดับ 3 T อันดับ 2 P |
||||||||
ระดับชาติ | ||||||||||||
ชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น | อันดับ 4 | อันดับ 3 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | WD | WD | WD | อันดับ 2 | อันดับ 1 | อันดับ 1 |
ระดับเยาวชน
[แก้]- JGP – กร็องปรีซีรีส์รุ่นเยาวชน (ISU Junior Grand Prix Series)
- A – ระดับผู้เริ่มเล่น A (novice level A)
- B – ระดับผู้เริ่มเล่น B (novice level B)
รายการ | 04–05 | 05–06 | 06–07 | 07–08 | 08–09 | 09–10 |
---|---|---|---|---|---|---|
เยาวชนชิงแชมป์โลก | อันดับ 12 | อันดับ 1 | ||||
JGP กร็องปรีซีรีส์รุ่นเยาวชน ไฟนอล | อันดับ 1 | |||||
JGP กร็องปรีซีรีส์รุ่นเยาวชน ที่โครเอเชีย | อันดับ 1 | |||||
JGP กร็องปรีซีรีส์รุ่นเยาวชน ที่โปแลนด์ | อันดับ 1 | |||||
JGP กร็องปรีซีรีส์รุ่นเยาวชน ที่อิตาลี | อันดับ 5 | |||||
Santa Claus Cup | อันดับ 1 | |||||
Mladost Trophy | อันดับ 1 | |||||
Skate Copenhagen | อันดับ 1 | |||||
ชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่นรุ่นผู้ใหญ่ | อันดับ 8 | อันดับ 6 | ||||
ชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่นรุ่นเยาวชน | อันดับ 7 | อันดับ 3 | อันดับ 1 | อันดับ 1 | ||
ระดับผู้เริ่มเล่นชิงแชมป์ประเทศญี่ปุ่น | อันดับ 1 B | อันดับ 2 B | อันดับ 3 A | อันดับ 1 A |
สถิติโลก
[แก้]สถิติโลกในปัจจุบัน
[แก้]สถิติโลกในปัจจุบันนับจากระบบคะแนนแบบใหม่ คือ GOE +5/-5 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2018
- SP – โปรแกรมสั้น (Short program)
- FS – โปรแกรมยาว (Free skating)
ลำดับที่ | วันที่ | คะแนน | ประเภท โปรแกรม |
การแข่งขัน | จัดที่ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 3 พฤศจิกายน 2018 | 106.69 | SP | 2018 Grand Prix of Helsinki | เฮลซิงกิ | ทำลายสถิติของโชมะ อูโนะ ที่ทำไว้เมื่เดือนกันยายน 2018 |
2 | 4 พฤศจิกายน 2018 | 190.43 | FS | ทำลายสถิติของนาธาน เฉิน ที่ทำไว้เมื่เดือนตุลาคม 2018 | ||
3 | 297.12 | คะแนนรวม | ||||
4 | 16 พฤศจิกายน 2018 | 110.53 | SP | 2018 Rostelecom Cup | มอสโก | เป็นนักสเก็ตคนแรกที่ทำคะแนนเกิน 110 คะแนนในระบบคะแนนแบบ GOE +5/-5 |
5 | 23 มีนาคม 2019 | 206.10 | FS | 2019 World Championships | ไซตะมะ | ทำลายสถิติของโชมะ อูโนะที่ทำไว้เมื่อกุมภาพันธ์ 2019 และเป็นนักสเก็ตคนแรกที่ทำคะแนนได้มากกว่า 200 คะแนนในระบบคะแนนแบบ GOE +5/-5 |
6 | 300.97 | คะแนนรวม | เป็นนักสเก็ตคนแรกที่ทำคะแนนได้มากกว่า 300 คะแนนในระบบคะแนนแบบ GOE +5/-5 | |||
7 | 7 กุมภาพันธ์ 2020 | 111.82 | SP | 2020 Four Continents Championships | โซล |
สถิติโลกประวัติศาสตร์
[แก้]สถิติโลกประวัติศาสตร์นักจากระบบคะแนนแบบเก่า คือ GOE +3/-3 โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี 2004 ถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2018
- SP – โปรแกรมสั้น (Short program)
- FS – โปรแกรมยาว (Free skating)
ลำดับที่ | วันที่ | คะแนน | ประเภท โปรแกรม |
การแข่งขัน | จัดที่ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 19 ตุลาคม 2012 | 95.07 | SP | 2012 Skate America | เคนต์, รัฐวอชิงตัน | ทำลายสถิติของไดสุเกะ ทะกะฮาชิ ที่ทำไว้เมื่อเดือนเมษายน 2012 |
2 | 23 พฤศจิกายน 2012 | 95.32 | SP | 2012 NHK Trophy | ริฟุ, มิยางิ | |
3 | 5 ธันวาคม 2013 | 99.84 | SP | 2013–14 Grand Prix Final | ฟูกูโอกะ | ทำลายสถิติของแพทริก ชาน ที่ทำไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 |
4 | 13 กุมภาพันธ์ 2014 | 101.45 | SP | โอลิมปิกฤดูหนาว 2014 | โซชี | เป็นนักสเก็ตชายคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำลายกำแพง 100 คะแนน |
5 | 27 พฤศจิกายน 2015 | 106.33 | SP | 2015 NHK Trophy | นางาโนะ | |
6 | 28 พฤศจิกายน 2015 | 216.07 | FS | ทำลายสถิติของแพทริก ชาน ที่ทำไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 และเป็นนักสเก็ตชายคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำลายกำแพง 200 คะแนน | ||
7 | 322.40 | คะแนนรวม | ทำลายสถิติของแพทริก ชาน ที่ทำไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2013 และเป็นนักสเก็ตชายคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ทำลายกำแพง 300 คะแนน | |||
8 | 10 ธันวาคม 2015 | 110.95 | SP | 2015–16 Grand Prix Final | บาร์เซโลนา | เป็นนักสเก็ตคนแรกและคนเดียวที่ทำคะแนนได้มากกว่า 110 คะแนนก่อนฤดูกาล 2018–19 |
9 | 12 ธันวาคม 2015 | 219.48 | FS | |||
10 | 330.43 | คะแนนรวม | สถิติโลกประวัติศาสตร์ (Historical world record) เป็นนักสเก็ตคนแรกและคนเดียวที่ทำคะแนนได้มากกว่า 330 คะแนนก่อนฤดูกาล 2018–19 | |||
11 | 1 เมษายน 2017 | 223.20 | FS | 2017 World Championships | เฮลซิงกิ | สถิติโลกประวัติศาสตร์ (Historical world record) เป็นนักสเก็ตคนแรกและคนเดียวที่ทำคะแนนได้มากกว่า 220 คะแนนก่อนฤดูกาล 2018–19 |
12 | 22 กันยายน 2017 | 112.72 | SP | 2017 Autumn Classic | มอนทรีออล | สถิติโลกประวัติศาสตร์ (Historical world record) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2022–23". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 July 2022.
- ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2021–22". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
- ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2020-21". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2019-20". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2018-19". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2017-18". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "ISU Season's World Ranking for Male Single 2016-17". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2021/2022". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 July 2022.
- ↑ "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2020/2021". isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2019-20/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2019/2020"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2018-19/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2018/2019"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2017-18/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2017/2018"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2016-17/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2016/2017"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2015-16/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2015/2016"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2014-15/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2014/2015"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2013-14/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2013/2014"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2012-13/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2012/2013"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2011-12/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2011/2012"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2010-11/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2010/2011"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ [hhttp://www.isuresults.com/isujsstat/sb2009-10/sbtsmto.htm "ISU Judging System - Season Bests Total Scores 2009/2010"]. isuresults.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ "The Greatest Figure Skater Ever Is Michael Jackson on Ice, Surrounded by Winnie the Poohs". New York Times.
- ↑ "Is two-time Olympic gold medalist Yuzuru Hanyu the greatest figure skater of all time?". Washington Post.
- ↑ "Yuzuru Hanyu's second Olympic title reaffirms greatness". Japan Times.
Four-time world champion Kurt Browning of Canada... was asked by The New York Times on Saturday if Hanyu is the best skater in history. 'If you want him to be, you wouldn’t be wrong,' Browning stated. 'Why not. He’s everything. He’s the skater, he’s the jumper, but quintessentially, he’s the performer. He seems to have the superpower to take all the pressure, all the expectations and all the lights and all the cameras, and somehow he’s able to use it as a competitor.'
- ↑ "Progression of Highest Score, Men, Short Program Score". ISU Results. International Skating Union. 22 April 2017. สืบค้นเมื่อ 22 April 2017.
- ↑ "Progression of Highest Score, Men, Free Skating Score". ISU Results. International Skating Union. 22 April 2017. สืบค้นเมื่อ 22 April 2017.
- ↑ "Progression of Highest Score, Men, Total Score". ISU Results. International Skating Union. 22 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
- ↑ Zaccardi, Nick (12 December 2015). "Yuzuru Hanyu breaks world records, three-peats at Grand Prix Final". NBC Sports.
- ↑ "Yuzuru Hanyu (JPN) performs first clean quad loop in competition" (PDF) (Press release). International Skating Union. 16 October 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Student Spotlight". Waseda Weekly. July 28, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-18. สืบค้นเมื่อ 2018-02-22.
- ↑ "Figure skaters recall odd gifts from fans | OlympicTalk". สืบค้นเมื่อ 2015-09-12."Ten kids cleaning the ice after wildly popular Olympic/World champ Yuzuru Hanyu skated". Twitter. สืบค้นเมื่อ 2015-09-12.
- ↑ "ISU GP Rostelecom Cup 2017 Men Short Program Judges Details Per Skater" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). International Skating Union. October 20, 2017.
- ↑ "Figure skating: Defending Olympic champ Hanyu books ticket to Pyeongchang". Kyodo News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 24, 2017.
- ↑ "Figure skating entries for the 2018 Winter Olympics". Rocker – Figure Skating Analysis by Jackie Wong (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 24, 2017.
- ↑ "Yuzuru Hanyu pulls out of nationals due to ankle injury". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). December 18, 2017. ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-24. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.
- ↑ "Recovering Hanyu to focus on single's event at Pyeongchang:The Asahi Shimbun". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-18. สืบค้นเมื่อ February 18, 2018.
- ↑ "Hanyu's path to 2nd Olympic gold was paved with patience". USA TODAY (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
- ↑ Clarke, Liz (February 14, 2018). "Hanyu, Japanese icon and figure skating gold medalist, goes for history on a shaky ankle". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ February 18, 2018.
- ↑ "Yuzuru Hanyu Aiming For Gold – International Figure Skating". International Figure Skating (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). February 13, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-19. สืบค้นเมื่อ February 18, 2018.
- ↑ Gallagher, Jack (February 16, 2018). "Yuzuru Hanyu takes lead after short program at Pyeongchang Games". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-17. สืบค้นเมื่อ February 18, 2018.
- ↑ Longman, Jeré; Mather, Victor (February 16, 2018). "Yuzuru Hanyu Writes Another Chapter in Figure Skating Legend". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 18, 2018.
- ↑ "Figure skating: Olympic Champion Yuzuru Hanyu pulls out of Worlds: Japan federation". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). March 7, 2018. สืบค้นเมื่อ March 7, 2018.
- ↑ "Hanyu skates in own show, will compete next season". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 14, 2018. ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ April 17, 2018.
- ↑ "羽生結弦が得た新たなモチベーション 「勝てる」より「見せたい」プログラムを – スポーツナビ". Sports Navi (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ April 17, 2018.
- ↑ "Olympic figure skating champ Yuzuru Hanyu to receive People's Honor Award". Kyodo News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
- ↑ "ISU Grand Prix of Figure Skating 2018/19 – Entries – Men". ISU.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Yuzuru Hanyu leads after short program at Autumn Classic" (ภาษาอังกฤษ). Olympic Channel. สืบค้นเมื่อ September 26, 2018.
- ↑ "Figure skating: Olympic champ Hanyu wins Autumn Classic" (ภาษาอังกฤษ). The Mainichi Newspapers. September 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ September 26, 2018.
- ↑ "Yuzuru Hanyu Sets the Standard in Finland – International Figure Skating". International Figure Skating (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). November 4, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-04. สืบค้นเมื่อ November 4, 2018.
- ↑ "Yuzuru Hanyu wins Grand Prix of Helsinki in rout". OlympicTalk (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). November 4, 2018. สืบค้นเมื่อ November 4, 2018.
- ↑ "More records for Yuzuru Hanyu in Helsinki Olympic Channel". www.olympicchannel.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 4, 2018.
- ↑ "Figure Skating / Gutsy Hanyu battles injury to capture 10th Grand Prix title:The Asahi Shimbun". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-21. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ "Yuzuru Hanyu wants to skate in Grand Prix Final despite ankle injuries". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). November 18, 2018. ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
- ↑ "Figure Skating / Yuzuru Hanyu to miss to GP Final due to right ankle injury:The Asahi Shimbun". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ November 29, 2018.
- ↑ 株式会社スポーツニッポン新聞社マルチメディア事業本部. "羽生結弦がGPファイナル欠場 ロシア杯で右足首負傷 3週間安静とリハビリ加療1カ月 – スポニチ Sponichi Annex スポーツ". スポニチ Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ November 29, 2018.
- ↑ "羽生結弦が全日本選手権欠場 回復間に合わず3年連続で無念「非常に悔しく思います」/デイリースポーツ online". デイリースポーツ online (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ December 13, 2018.
- ↑ "Figure skating: Hanyu, Uno, Tanaka earn berths for 2019 worlds in Japan". Kyodo News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 25, 2018.
- ↑ "Yuzuru Hanyu insists he's ready for worlds after recovering from ankle injury". The Japan Times Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). March 19, 2019. ISSN 0447-5763. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-23. สืบค้นเมื่อ March 23, 2019.
- ↑ "Figure skating: Yuzuru Hanyu 3rd in men's SP as Nathan Chen takes big lead". Kyodo News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 23, 2019.
- ↑ "Figure skating: Yuzuru Hanyu takes 2nd at worlds as Nathan Chen repeats". Kyodo News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 23, 2019.
- ↑ Skating ISU (March 23, 2019), ISU World Figure Skating Championships 2019, Press Conference: Men Medalists (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ March 24, 2019
- ↑ "Figure skating: Yuzuru Hanyu to miss World Team Trophy due to ankle injury". Kyodo News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ March 25, 2019.
- ↑ "And the winner is: First ISU Skating Award recipients revealed". isu.org (ภาษาอังกฤษ). ISU. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ "Yuzuru Hanyu wins 2020 ISU Award for Most Valuable Skater" (ภาษาอังกฤษ). news.cgtn.com. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ "Figure skating: Yuzuru Hanyu 2nd best, Japan 3rd on Team Trophy 1st day". Kyodo News (ภาษาอังกฤษ). April 15, 2021. สืบค้นเมื่อ April 16, 2021.
- ↑ "Figure skating: Chen again upstages Hanyu in World Team Trophy". Kyodo News (ภาษาญี่ปุ่น). April 16, 2021. สืบค้นเมื่อ April 16, 2021.
- ↑ "Russia scores first World Team Trophy victory with U.S. in second". NBC Sports (ภาษาอังกฤษ). April 17, 2021. สืบค้นเมื่อ April 17, 2021.
- ↑ "2021 GRAND PRIX FINAL" (ภาษาอังกฤษ). ifsmagazine. 27 November 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-07. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "羽生結弦がNHK杯欠場、右足関節靱帯損傷「たった一度の転倒で」" (ภาษาญี่ปุ่น). sponichi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2021. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "羽生結弦がロシア杯欠場「着実に前に進んでいきます」" (ภาษาญี่ปุ่น). sponichi. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Figure skating: Hanyu still in Olympic hunt despite missing 2nd meet" (ภาษาอังกฤษ). mainichi.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-17. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ "Yuzuru Hanyu attempts quadruple Axel, wins Japan figure skating nationals". NBC Sports (ภาษาอังกฤษ). 26 December 2021. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ 羽生結弦ら来年3月の世界選手権代表に [Yuzuru Hanyu and others to represent in World Championships next March]. Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 26 December 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2021. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
- ↑ Maine, D'Arcy (2022-02-08). "Nathan Chen scores world-record 113.97 points in men's short program at Beijing Olympics". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
- ↑ 74.0 74.1 "Chen wins Olympic figure skating gold as Hanyu falls, ends fourth". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2022-02-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-10.
- ↑ "羽生の挑戦 4回転半としてISU公認大会で初認定 回転不足、転倒で大幅減点も". Daily (ภาษาญี่ปุ่น). 10 February 2022. สืบค้นเมื่อ 10 February 2022.
- ↑ Teh, Cheryl. "Japanese figure skater Yuzuru Hanyu quashes retirement rumors but reveals he suffered a serious ankle injury and has been told to stay off the ice for now". Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-27.
- ↑ "Injured Yuzuru Hanyu to miss world championships". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1 March 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-22. สืบค้นเมื่อ 1 March 2022.
- ↑ "Figure skating: Japanese icon Yuzuru Hanyu retires from competition". Kyodo News. 19 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-22. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 79.0 79.1 Kimura, Satoshi (20 July 2022). "Yuzuru Hanyu's retirement marks end of an era for figure skating". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ Macur, Juliet (20 July 2022). "Oh, Pooh. We May Never See Another Skater Like This One". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "Competition Results: Yuzuru HANYU". สหภาพสเกตนานาชาติ (International Skating Union).