ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เป่ย์ผิง–เทียนสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการเป่ย์ผิง-เทียนสิน
ส่วนหนึ่งของ สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

กองทัพญี่ปุ่นเดินขบวนเข้าสู่ประตูเจิ้งหยางเหมิน ในกรุงเป่ย์ผิง (ปักกิ่ง) และเข้ายึดครองเมือง
วันที่ต้นเดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1937
สถานที่
เมืองเป่ย์ผิง (ปักกิ่ง) – เทียนสิน (เทียนจิน) และบริเวณโดยรอบ
ผล จักรวรรดิญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม

จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น

สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949) สาธารณรัฐจีน

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ทะนิชิโระ ทาชิโร่
คิโยะชิ คัตสึกิ
ซ่ง จีหยวน
ฉิน เตอฉุน (ผู้ว่าการนครเป่ย์ผิง)
กำลัง
60,000+ 100,000+

ยุทธการเป่ย์ผิง-เทียนสิน (จีนตัวย่อ: 平津作战; จีนตัวเต็ม: 平津作戰; พินอิน: Píng Jīn Zùozhàn), หรือรู้จักกันใน ยุทธการปักกิ่ง และ ปฏิบัติการปักกิ่ง-เทียนสิน หรือถูกทางฝ่ายญี่ปุ่นเรียกว่า ญี่ปุ่น: วิกฤตการณ์จีนตอนเหนือโรมาจิ北支事変ทับศัพท์: โฮะจุชิ จิเฮ็น (25–31 กรกฎาคม 1937) เป็นหนึ่งในยุทธการในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ที่ทำการสู้รบบริเวณกรุงเป่ย์ผิง (กรุงปักกิ่งในปัจจุบัน สมัยนั้นเรียกว่า เป่ย์ผิง) และเมือง เทียนสิน (เทียนจินในปัจจุบัน) ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของญี่ปุ่น

เบื้องหลัง

[แก้]

ระหว่างเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 กองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศจีน ได้เริ่มโจมตีกำแพงเมืองหว่านผิง (宛平鎮) หลังจากได้ยื่นคำขาดให้แก่ทางการจีนเพื่ออนุญาตให้กองกำลังของญี่ปุ่นเข้าเมืองหว่านผิง เพื่อค้นหาทหารที่ฝ่ายญี่ปุ่นอ้างว่าได้หายตัวไปในเมืองดังกล่าว

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจุดสะพานมาร์โก โปโล ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางรถไฟสายหลักทางตะวันตกของกรุงเป่ย์ผิงและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์มาก ก่อนถึงเดือนกรกฎาคมปี 1937 กองทัพญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้กองทัพจีนที่ประจำบริเวณแห่งนี้ถอนกำลังออกไปซ้ำหลายครั้ง แต่ทางการจีนก็ตอบปฏิเสธทุกครั้ง

นายพลซ่ง จีหยวนแห่งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน ได้สั่งกองทัพของเขาให้ตั้งมั่นป้องกันเมืองและพยายามหลีกเลี่ยงสงครามผ่านการเจรจาทางทูต

ในวันที่ 9 กรกฎาคม ญี่ปุ่นได้ทำการหยุดยิงและเสนอเงื่อนไขพักรบ เงื่อนไขหนึ่งคือ กองพลที่ 37 ของกองทัพจีน ซึ่งญี่ปุ่นตั้งข้อสงสัยว่ามีความเป็นปฏิปักษ์และปฏิบัติต่อตนในฐานะ "ศัตรู" จะต้องถูกแทนที่ด้วยอีกกองกำลังหนึ่งจากจีน ซึ่งก็คือ กองทัพประจำที่ 29 ทางการจีนเห็นว่าเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงสงคราม จึงยอมข้อเสนอของญี่ปุ่น เงื่อนไขนี้ถูกตกลงโดยจีนในวันเดียวกัน อย่างไรก็ตามตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 9 กรกฎาคม ซึ่งผ่านการตกลงสงบศึกเพียงชั่วครู่ ญี่ปุ่นกลับเป็นฝ่ายละเมิดฝ่าฝืนข้อตกลงหยุดยิงเสียเอง กองทัพญี่ปุ่นเริ่มระดมพลขึ้นและกำลังทหารญี่ปุ่นยังคงเพิ่มเข้าประชิดเมืองหว่านผิงอย่างต่อเนื่อง พลโททะนิชิโระ ทาชิโร่ ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศจีนล้มป่วยและเสียชีวิตในวันที่ 12 กรกฎาคมและถูกแทนที่ด้วยพลโทคิโยะชิ คัตสึกิ

การซ้อมรบทางการทูต

[แก้]

ขณะเดียวกันรัฐบาลพลเรือนญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะ ในกรุงโตเกียว ทรงจัดการประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมและมีมติให้พยายามคลี่คลายความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาทางการทูต อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อนุญาตให้มีการติดตั้งกองทหารราบ กองทัพโชเซ็น สองกลุ่มที่เป็นอิสระจาก กองทัพคันโตและทหารอากาศเป็นกำลังเสริม การติดตั้งนี้ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมโดยมีข่าวว่าการเจรจาถูกควบคุมโดยผู้บัญชาการของ กองทัพญี่ปุ่นทางตอนเหนือของจีน และกองทัพประจำที่ 29 ของจีน หลังจากได้มีการเจรจาระหว่างกันทั้งสองฝ่าย ตามการเสนอของนักการทูตญี่ปุ่นที่เมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนกรุงหนานจิง

อย่างไรก็ตามแม้หลังจากนายพลซ่งจีหยวนผู้บัญชาการกองทัพประจำที่ 29 และหัวหน้าสภาการเมืองเหอเป่ย-ชาฮาร์ ได้รับรายงานว่ามีข้อตกลงในวันที่ 18 กรกฎาคม แต่ทางการญี่ปุ่นกลับไม่มีความจริงใจต่อรัฐบาลกลางของจีน แม้จะมีการเจรจาและมีข้อตกลงหยุดยิงหลายครั้ง แต่กองทัพญี่ปุ่นพยายามเสริมกำลังเข้าประชิดอย่างต่อเนื่อง

การระดมพลครั้งนี้ทำให้นายพลเคนจิ อิชิฮาฮาระได้มีปฏิกิริยาไม่เห็นด้วยอย่างมาก เนื่องเขาเห็นว่าการปะทะกับจีนเป็นภาระและไม่มีความจำเป็น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อตำแหน่งและกำลังของญี่ปุ่นในประเทศแมนจูกัวซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับสหภาพโซเวียต นายพลเคนจิได้เสนอให้ชะลอการรุกรานจีนไปก่อน เอาชนะโซเวียตก่อนและค่อยมายึดครองจีนทีหลัง ในการคัดค้านของนายพลเคนจิเป็นไปอย่างล่าช้า ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเจ้าชายฟูมิมาโระ โคโนเอะทรงใช้การติดต่อในความพยายามที่จะสร้างข้อตกลงทางการทูตโดยตรงกับรัฐบาลจีนคณะชาติของพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งเป็นรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐจีนในกรุงหนานจิง โดยทรงยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลจีนยอมยกดินแดนเมืองเป่ย์ผิงและเทียนสินให้แก่ญี่ปุ่นเป็นการหลีกเลี่ยงสงคราม แต่รัฐบาลจีนคณะชาติกลับตอบปฏิเสธและพร้อมป้องกันประเทศหากมีการรุกรานอธิปไตย เมื่อการเจรจาทางการทูตของเจ้าชายโคโนเอะล้มเหลวในวันที่ 23 กรกฎาคมและกองทัพญี่ปุ่นในจีนได้มีการระดมกำลังเสริมกำลังเริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม

หนึ่งสัปดาห์ต่อมาผู้บัญชาการกองทัพบกจีนตอนเหนือของญี่ปุ่นรายงานว่า กองทัพญี่ปุ่นเริ่มหมดความอดทนในการตั้งถิ่นฐานอย่างสงบ ทางญี่ปุ่นได้ตัดสินใจใช้กำลังทหารเพื่อ "ลงโทษ" กองทัพประจำที่ 29 ของจีนและขออนุมัติจากโตเกียว ในระหว่างนี้มีการออกคำสั่งให้ระดมพลเพิ่มอีกสี่หน่วย

วิกฤตการณ์หลานฟาง

[แก้]
กองทัพญี่ปุ่นควบคุมรางรถไฟใกล้กรุงเป่ย์ผิง

แม้จะมีการพักรบเล็กน้อย การฝ่าฝืนการหยุดยิงยังคงดำเนินต่อไปรวมถึงการโจมตีด้วยกระสุนปืนใหญ่ของญี่ปุ่นอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคมการเสริมกำลังของญี่ปุ่นในรูปแบบของ กองพลที่ 20 แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น มาถึงและการปะทะได้ปะทุขึ้นเป็นครั้งแรกที่หลานฟาง เมืองบนทางรถไฟระหว่างเป่ย์ผิงและเทียนสินระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพจีน

การปะทะครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมเมื่อกองทหารญี่ปุ่นพยายามผ่านเข้าประตูกวางหวาเหมินในกรุงเป่ย์ผิง โดยอ้างว่าเพื่อ "ปกป้องคนญี่ปุ่น" ในวันเดียวกันนั้นเครื่องบินญี่ปุ่นก็ทิ้งระเบิดเมืองหลานฟางทำให้ชาวจีนผู้บริสุทธ์เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก

ทหารจีนเตรียมป้องกันประเทศ ในกรุงเป่ย์ผิง

กองทัพญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้นายพลซ่งจีหยวนออกคำสั่งเรียกให้กองทัพจีนทั้งหมดถอนกำลังออกจากชานเมืองเป่ย์ผิงไปทางตะวันตกของแม่น้ำหย่งติง ภายใน 24 ชั่วโมง นายพลซ่งปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่ากองทัพจีนกระทำเพื่อปกป้องประเทศถือว่าไม่มีความผิด ส่วนกองทัพญี่ปุ่นเป็นผู้รุกรานและละเมิดข้อตกลง นายพลซ่งสั่งให้หน่วยของเขาเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการและขอกำลังเสริมจำนวนมากจากรัฐบาลกลางจีนคณะชาติไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ญี่ปุ่นได้บุกโจมตีกองกำลังจีนที่เมืองตงโจวกองพันจีนหนึ่งกองได้ถอยออกมาและกลับไปตั้งหลักที่เมืองหนานหยวน เครื่องบินญี่ปุ่นได้ทิ้งระเบิดกองกำลังจีนนอกกรุงเป่ย์ผิงและลาดตระเวนไปทิ้งที่เมืองไคเฟิง, เจิ้งโจวและลั่วหยางด้วย

ญี่ปุ่นเปิดฉากบุกกรุงเป่ย์ผิง

[แก้]

ในวันที่ 28 กรกฎาคมกองบังคับการกองพลที่ 20 แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น และกลุ่มกำลังพลอิสระรวม 3 กลุ่มได้เปิดฉากการโจมตีกรุงเป่ย์ผิง โดยได้รับการสนับสนุนจากการสนับสนุนทางอากาศ การโจมตีได้เริ่มที่เขตหนานหยวนเป็นเป้าหมายแรกและการโจมตีครั้งที่สองต่อเขตเป่ย์หยวน การต่อสู้ที่ขมขื่นเกิดขึ้นกับทั้งนายพลตงชิง รองผู้บัญชาการของกองทัพเส้นทางประจำที่ 29 ของจีนและนายพลจ้าว เติ้งหยู ผู้บังคับบัญชากองทหารจีนที่ 132 นายพลทั้งสองคนได้เสียชีวิตในขณะทำการต้านทานญี่ปุ่นอย่างห้าวหาญและหน่วยของพวกเขาต้องประสบกับการบาดเจ็บล้มตายอย่างหนัก

อย่างไรก็ตามกองทหารจีนที่ 38 ของนายพลหลิว เฉินซาน ได้ผลักดันญี่ปุ่นในพื้นที่หลานฟางออกไป ขณะที่กองทัพของกองทหารจีนที่ 53 และส่วนหนึ่งของจีนส่วนที่ 37 ได้ยึดคืนพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟที่เฟิงไถ

อย่างไรก็ตามการโตัตอบของจีนเป็นเพียงการทุเลาชั่วคราวและในเวลาพลบค่ำ เมื่อการสู้รบทำให้ทหารจีนเริ่มสูญเสียหนักขึ้น นายพลซ่ง จีหยวนยอมรับว่าการสู้รบครั้งต่อไปนั้นไร้ประโยชน์และตัดสินใจถอนกำลังหลักของกองทัพประจำเส้นทางที่ 29 ไปทางตอนใต้ของแม่น้ำหยุงกิง ผู้ว่าการเมืองเทียนสิน นายพลจาง ซื่อจงได้ออกจากกรุงเป่ย์ผิง เพื่อดูแลเรื่องการเมืองในมณฑลเหอเป่ย์ และ ชาฮาร์ โดยแทบไม่มีกองทหาร กองพลที่ 29 ของนายพลหลิว หลู่เจินได้แยกตัวออกมาใหม่ถูกทิ้งให้อยู่ในกรุงเป่ย์ผิง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย

กำลังฝ่ายญี่ปุ่น

[แก้]

กำลังฝ่ายจีนคณะชาติ

[แก้]

การเสียเมืองเทียนสิน

[แก้]
แนวป้องกันจีนที่เมืองเทียนสิน

ในขณะเดียวกันบนชายฝั่งในตอนเช้าของวันที่ 29 กรกฎาคมกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นและ กองพลที่ 5 แห่งกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นได้แยกย้ายกันโจมตีเมืองเทียนสินและท่าเรือใกล้เคียงที่เขตตางกู ซึ่งได้รับการปกป้องโดยหน่วยกองทหารจีนที่ 38 และอาสาสมัครภายใต้รักษาการผู้บังคับบัญชา หลิว เหวินเทียน นายพลหวง เหว่ย์คังผู้บัญชากองพลน้อยปกป้องป้อมปราการต้ากูโข่ว (ซึ่งเป็นป้อมโบราณสมัยราชวงศ์ชิงในช่วงสงครามฝิ่น) กองพลน้อยของนายพลหวงได้เริ่มการตีโต้ญี่ปุ่นอย่างกล้าหาญและสามารถโจมตีสนามบินญี่ปุ่นที่อยู่ใกล้เคียงทำลายเครื่องบินจำนวนมาก อย่างไรก็ตามด้วยการเพิ่มกำลังทหารของญี่ปุ่นทำให้ตำแหน่งของเขาไม่สามารถป้องกันได้และในคืนนั้น (30 กรกฎาคม)ทำให้กองทัพญี่ปุ่นเริ่มยึดพื้นที่คืน เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่สู้ดี นายพลจาง ซื่อจงเห็นว่าเพื่อถนอมกำลังไว้จึงได้ออกคำสั่งให้ถอนทัพถอยไปตั้งหลักที่หม่าชางและหยางลิ่วชิง ทางตอนใต้ของเมืองเทียนสินและปล่อยให้เมืองเทียนสินและป้อมต้ากูโข่วตกแก่ญี่ปุ่น

การเสียกรุงเป่ย์ผิง

[แก้]
กองทหารญี่ปุ่นเดินขบวนเข้าสู่นครเป่ย์ผิง

ในวันที่ 28 กรกฎาคม จอมทัพเจียง ไคเชกออกคำสั่งให้นายพลซ่ง จีหยวนสู้แบบออมกำลัง หากสูญเสียหนักให้ถอยทัพ และให้ทำการถอยทัพไปที่เป่าติ้ง ตอนใต้ของมณฑลเหอเป่ย์ ในอีกสองวันข้างหน้าการสู้รบอย่างรุนแรงเกิดขึ้นในเทียนสิน ที่กองกำลังจีนทำการต่อต้านอย่างหนัก แต่ต่อมาจีนก็ถอยกลับไปทางทิศใต้ตามแนวรถไฟเทียนสิน-ฝู่โข้ว และรถไฟ เป่ย์ผิง-ฮั่นโข้ว

ในวันที่ 4 สิงหาคม กำลังพลที่หลงเหลืออยู่ของนายพลหลิว หลู่เจินได้ถอยทัพไปตั้งหลักที่มณฑลชาร์ฮาร์ กรุงเป่ย์ผิงที่โดดเดี่ยวและบอบช้ำได้ถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น แม้จะมีการต่อต้านของพลเรือนจีนในกรุงเป่ย์ผิง แต่ทางกองทัพญี่ปุ่นก็สามารถจัดการรักษาคงามสงบได้เรียบร้อย จนถึงที่ 8 สิงหาคม นายพลมาซะคะซึ คาวะเบะแห่งกองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนทัพเข้าเมืองเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมในขบวนสวนสนามทหารและมีการประกาศต่อชาวเมืองว่า ณ ขณะนี้เมืองเป่ย์ผิงถูกกองทัพญี่ปุ่นยึดครองแล้ว และเขาจะเป็นผู้ว่าราชการทหารคนใหม่ของเมือง

ดูเพิ่ม

[แก้]

หนังสือ

[แก้]
  • Hsu Long-hsuen and Chang Ming-kai, History of The Sino-Japanese War (1937-1945) 2nd Ed., 1971. Translated by Wen Ha-hsiung, Chung Wu Publishing; 33, 140th Lane, Tung-hwa Street, Taipei, Taiwan Republic of China. Pg.177-180 Map 2
  • Dorn, Frank (1974). The Sino-Japanese War, 1937-41: From Marco Polo Bridge to Pearl Harbor. MacMillan. ISBN 0-02-532200-1.
  • Dryburgh, Marjorie (2000). North China and Japanese Expansion 1933-1937: Regional Power and the National Interest. RoutledgeCurzon. ISBN 0-7007-1274-7.
  • Lu, David J (1961). From The Marco Polo Bridge To Pearl Harbor: A Study Of Japan's Entry Into World War II. Public Affairs Press. ASIN B000UV6MFQ.
  • Furuya, Keiji (1981). The riddle of the Marco Polo bridge: To verify the first shot. Symposium on the History of the Republic of China. ASIN: B0007BJI7I.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]