มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 1)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์
ฤดูกาลที่ 1
พิธีกรปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการหม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน24
ผู้ชนะเลิศชนัญชิดา พงษ์เพชร (แพทตี้)
รองชนะเลิศสิริศักดิ์ มาทอง (เชฟ)
ภาวริสร์ พานิชประไพ (มาร์ค)
สถานที่แข่งขันเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ประเทศประเทศไทย
จำนวนตอน16
การออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ19 สิงหาคม 2561 (2561-08-19) –
9 ธันวาคม 2561 (2561-12-09)
ลำดับฤดูกาลที่
ถัดมา →
ฤดูกาลที่ 2

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 เป็นรายการเรียลลิตีเกมโชว์ทำอาหารในฤดูกาลที่ 1 ของมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (นับจำนวนฤดูกาลใหม่แยกจากจูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์) โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันในรุ่นเด็กที่มีอายุ 8 – 13 ปี ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ทางช่อง 7HD [1][2][3]

กติกาการแข่งขัน[แก้]

รอบคัดเลือกรอบแรก[แก้]

ในรอบนี้จะเป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน

รอบกล่องปริศนา[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนา และวัตถุดิบพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ

รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 นาทีจาก ซุปเปอร์มาเก็ตของมาสเตอร์เชฟ ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบทีมชาเลนจ์ ต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน

รอบทดสอบทักษะทางด้านอาหาร[แก้]

ผุ้เข้าแข่งขันจะต้องทำการทดสอบทางด้านอาหาร ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นเชฟที่แตกต่างกันออกไป ทีมใดที่มีทักษะทางด้านอาหารที่ดีกว่า คนๆนั้นจะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบทันที

รอบการแข่งขันแบบทีม[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมา โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ อีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

รอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ[แก้]

ทีมที่แพ้ในรอบทีมชาเลนจ์ จะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อคัดหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบทีมชาเลนจ์ สามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไป โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ

ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ผู้เข้าแข่งขัน 24 คนสุดท้าย
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ประเทศไทย.

แถวที่หนึ่ง: ริต้า, แพรว, พอใจ, พีช, แพทตี้, น้ำใส, เมล, กอหญ้า, จัสมิน, อัยริน, เอ็นดู, ชาช่า และอลิซ
แถวที่สอง:เซน, แทน, สตังค์, มาร์ค, ภูมิ, ซีนาย, เคซี, เชฟ, อชิ, บูม และกัปตัน
ไม่ปรากฏในภาพ:นาโน และราฟาเอล
ชื่อ อายุ ลำเนา ลำดับ ชนะ
แพทตี้ 10 กรุงเทพ ชนะเลิศ
9 ธันวาคม
7
เชฟ 11 กรุงเทพ รองชนะเลิศ
9 ธันวาคม
5
มาร์ค 12 กรุงเทพ 3
จัสมิน 12 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
18 พฤศจิกายน
3
เซน 12 สมุทรปราการ 3
อัยริน 9 พิษณุโลก 4
กอหญ้า 9 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
11 พฤศจิกายน
1
พีช 11 กรุงเทพมหานคร 3
อชิ 10 เชียงใหม่ ถูกคัดออก
4 พฤศจิกายน
3
พอใจ 8 กรุงเทพมหานคร 3
บูม 11 นนทบุรี ถูกคัดออก
28 ตุลาคม
3
น้ำใส 10 ประจวบคีรีขันธ์ 1
ชาช่า 10 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
21 ตุลาคม
1
ภูมิ 11 เชียงใหม่ 4
อลิซ 11 ชลบุรี ถูกคัดออก
14 ตุลาคม
1
ริต้า 12 กรุงเทพมหานคร 1
กัปตัน 12 ปทุมธานี ถูกคัดออก
7 ตุลาคม
2
สตังค์ 12 กรุงเทพมหานคร 1
แทน 12 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
30 กันยายน
2
เคซี 8 กรุงเทพมหานคร ถอนตัว
30 กันยายน
2
ซีนาย 8 สมุทรปราการ ถูกคัดออก
23 กันยายน
0
เมล 9 กรุงเทพมหานคร 1
เอ็นดู 9 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
16 กันยายน
1
แพรว 8 กรุงเทพมหานคร 1
นาโน 11 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
2 กันยายน
0
ราฟาเอล 11 ภูเก็ต 0

ข้อมูลการแข่งขัน[แก้]

ตารางการคัดออก[แก้]

อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอน
3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15/16
1 แพทตี้ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะเลิศ
2 เชฟ ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน เสี่ยง รองชนะเลิศ
มาร์ค ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
4 จัสมิน สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ออก
เซน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ กดดัน ชนะ ผ่าน สูง เสี่ยง ผ่าน ออก
6 อัยริน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
7 กอหญ้า ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
พีช ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน กดดัน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ออก
9 อชิ ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ออก
พอใจ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
11 บูม ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ออก
น้ำใส ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ออก
13 ชาช่า ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
ภูมิ ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ออก
15 อลิซ ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
ริต้า ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
17 กัปตัน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
สตังค์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
19 แทน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ออก
20 เคซี ชนะ ผ่าน ผ่าน ต่ำ กดดัน ผ่าน ชนะ ถอนตัว
21 ซีนาย ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ออก
เมล ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
23 เอ็นดู ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
แพรว ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
25 นาโน ผ่าน ออก
ราฟาเอล สูง ออก
  ชนะเลิศการแข่งขัน
  รองชนะเลิศการแข่งขัน
  ชนะชาเลนจ์
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ถอนตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์

ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]

ตอนที่ 1 : รอบคัดเลือก (ฝ่ายหญิง)[แก้]

ออกอากาศ 19 สิงหาคม 2561
  • ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 40 คน ที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด จะต้องมาเข้าแข่งขันกันอีกครั้งในรอบคัดเลือก โดยผู้เข้าแข่งขันแบ่งเป็นผู้ชายจำนวน 20 คน และผู้หญิงจำนวน 20 คน โดยจะแยกการคัดเลือกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน 26 คนสุดท้าย คือ ผู้ชาย 13 คน และผู้หญิง 13 คน โดยจะให้กลุ่มผู้หญิงแข่งขันก่อน โดยน้อง ๆ ผู้หญิงทั้ง 20 คนต้องแสดงทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบนี้คือ สเต๊กปลาแซลมอน โดยผู้เข้าแข่งขันต้องแล่เนื้อปลาแซลมอนเป็นชิ้นอย่างต่ำ 5 ชิ้น เท่า ๆ กัน โดยมีเวลาในการปรุงเมนูสเต๊กปลาแซลมอนจำนวน 40 นาที โดยในรอบนี้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้ดีในรอบแรกจำนวน 9 คน คือ อัยริน, แพทตี้, กอหญ้า, ชาช่า, แพรว, พีช, จัสมิน, ริต้า และพอใจ ทำให้ได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบต่อไปทันที และมีผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกโดยทำอาหารออกมาได้ไม่ดี คือ พิ้งค์, วิว และกรุ๊งกริ๊ง ทำให้ต้องออกจากการแข่งขันโดยทันที และทำให้เหลือผู้เข้าแข่งขันจำนวน 8 คน ต้องมาทำการแข่งขันกันต่อในรอบที่สอง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พิ้งค์, วิว และกรุ๊งกริ๊ง
  • ทักษะการทำอาหาร: น้อง ๆ ผู้หญิงผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 8 คน ต้องมาแข่งขันกันในรอบที่ 2 ซึ่งในรอบนี้จะมีการแข่งขันคัดเลือกเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่จะผ่านเข้ารอบต่อไปอีกเพียง 4 คน โดยโจทย์ที่ใช้ในการแข่งขันในรอบนี้คือ เมนูอาหารจานที่ตนเองถนัด โดยมีเวลาในการเลือกวัตถุดิบจำนวน 5 นาที และมีเวลาในการปรุงอาหารอีกจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหาร ในการทำอาหารน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาสร้างสรรค์และทำได้ดีที่สุด 4 คน คือ อลิซ, เมล, น้ำใส และเอ็นดู ทำให้ได้รับผ้ากันเปื้อนและให้ผ่านเข้ารอบต่อไป
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เจเจ, เฌอแตม, ลิซซี่ และกระแต

ตอนที่ 2 : รอบคัดเลือก (ฝ่ายชาย)[แก้]

ออกอากาศ 26 สิงหาคม 2561
  • ทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร: ผู้เข้าแข่งขันกลุ่มเด็กผู้ชายทั้ง 20 คน ที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด จะต้องมาเข้าแข่งขันกันอีกครั้งในรอบคัดเลือก โดยเป็นการคัดเลือกฝ่ายชายเพื่อคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน 13 คน เข้ารอบสุดท้าย โดยน้อง ๆ ผู้ชายทั้ง 20 คนต้องแสดงทักษะในครัวขั้นพื้นฐาน โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบนี้คือ สเต๊กหอยเชลล์โฮตาเตะ โดยมีเชฟเอียนเป็นคนสาธิตในการทำเต๊กหอยเชลล์โฮตาเตะ ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต้องเสริฟเมนูสเต๊กหอยเชลล์โฮตาเตะเป็นจำนวน 3 ชิ้น อีกทั้งต้องทำเครื่องเคียง และซอสตามความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง มีหอยเชลล์โฮตาเตะให้คนละ 4 ตัว ผู้เข้าแข่งขันต้องลงมือทำด้วยตัวเองตั้งแต่ขั้นตอนแกะหอยเชลล์โฮตาเตะ โดยมีเวลาในการปรุงเมนูสเต๊กหอยเชลล์โฮตาเตะจำนวน 40 นาที โดยในรอบนี้มีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้ดีในรอบแรกจำนวน 9 คน คือ เชฟ, เซน, ซีนาย, นาโน, สตังค์, มาร์ค, ราฟาเอล, ภูมิ และเคซี ทำให้ได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบต่อไปทันที และมีผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกโดยทำอาหารออกมาได้ไม่ดี คือ แสงหนึ่ง, ดีสิงห์ และก้อง ทำให้ต้องออกจากการแข่งขันโดยทันที และทำให้เหลือผู้เข้าแข่งขันจำนวน 8 คน ต้องมาทำการแข่งขันกันต่อในรอบที่สอง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แสงหนึ่ง, ดีสิงห์ และก้อง
  • ทักษะการทำอาหาร: ในการแข่งขันรอบที่สอง น้อง ๆ ผู้ชายผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 8 คน ต้องมาแข่งขันกันในรอบที่ 2 อีกครั้ง เนื่องจากเมนูอาหารในรอบแรกนั้น คณะกรรมการยังไม่สามารถตัดสินในฝีมือการทำอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันได้ ซึ่งในรอบนี้จะมีการแข่งขันคัดเลือกเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่จะผ่านเข้ารอบต่อไปอีกเพียง 4 คน โดยโจทย์ที่ใช้ในการแข่งขันในรอบนี้คือ เมนูอาหารจานที่ตนเองถนัด โดยมีเวลาในการเลือกวัตถุดิบจำนวน 5 นาที และมีเวลาในการปรุงอาหารอีกจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหาร ในการทำอาหารน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาสร้างสรรค์และทำได้ดีที่สุด 4 คน คือ แทน, อชิ, กัปตัน และบูม ทำให้ได้รับผ้ากันเปื้อนและให้ผ่านเข้ารอบต่อไป
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ฟุ้ย, บอล, เมโม่ และโปเต้

ตอนที่ 3 : การทำสุดยอดเมนูจากปลา[แก้]

ออกอากาศ 2 กันยายน 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา ครั้งที่ 1: ในรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีข้าวโพดหลากหลายชนิดเป็นวัตถุดิบหลักประกอบด้วย ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ข้าวโพดทับทิม และข้าวโพดอ่อน ในการแข่งขันขันกล่องปริศนาครั้งที่ 1 ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบหลัก เพราะเนื่องจากข้าวโพดเป็นที่รู้จัก และนิยมไปทั่วโลก และนอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดหวานแปรรูปเป็นอันดับ 1 ของโลก และมีวัตถุดิบอื่น ๆ เป็นวัตถุดิบเสริมให้คนละเท่า ๆ กัน โดยน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกใช้ข้าวโพดชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร มีเวลาในการปรุงอาหารเป็นเวลา 60 นาที ในการใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารออกมา ราฟาเอล, จัสมิน และเคซี เป็นสามจานที่ทำอาหารจากข้าวโพดออกมาได้ดี และเคซีก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาคนแรก
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เคซี
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 1: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 1 คือ ตลาดปลา จากการที่ เคซี ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงมีสิทธิ์ในการขายปลาให้ผู้เข้าแข่งขันที่จะมาใช้ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยประกอบด้วยปลาแซมอน, ปลากะพงขาว, ปลากะพงแดง, ปลาดุก, ปลาทับทิม, ปลาคิมเมได และปลาเก๋า และจากการที่เคซีชนะในรอบกล่องปริศนา ทำให้เคซีผ่านเข้ารอบต่อไป โดยไม่ต้องทำการแข่งขัน และมีสิทธิ์เลือกเพื่อนผู้ชายทั้งหมด หรือเพื่อนผู้หญิงทั้งหมด ผ่านเข้ารอบไปด้วย โดยไม่ต้องทำการแข่งขัน ซึ่งเคซีได้เลือกเพื่อนผู้หญิงทั้งหมดผ่านเข้ารอบต่อไป และในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที และมีเวลาเลือกวัตถุดิบจำนวน 5 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ คือ อชิ กัปตัน และภูมิ ทำให้ทั้งสามคนเป็นผู้ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์
  • ผู้ชนะ: อชิ, กัปตัน และภูมิ
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: นาโน, ราฟาเอล และเชฟ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: นาโนและราฟาเอล

ตอนที่ 4 : การทำคัพเค้ก[แก้]

ออกอากาศ 9 กันยายน 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสามทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ อชิ, กัปตัน และภูมิที่เป็นผู้ชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสาม โดยในครั้งนี้มีกรรมการเป็นคนจัดทีมให้ผู้เข้าแข่งขัน
หัวหน้า สมาชิก
กัปตัน มาร์ค,ซีนาย,แพทตี้,เคซี,ริต้า,น้ำใส,เมล
อชิ จัสมิน,กอหญ้า,สตังค์,ชาช่า,เซน,อลิซ,พอใจ
ภูมิ อัยริน,แพรว,พีช,เอ็นดู,บูม,เชฟ,แทน

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งนี้ โจทย์ของการแข่งขันคือ เย็นตาโฟทะเลชามยักษ์ เป็นเมนูเส้นที่แสนธรรมดา แต่โดดเด่นโดยน้ำซุปสีชมพูที่รสชาติจัดจ้าน ครบเครื่องด้วยวัตถุดิบจากท้องทะเล โดยเด็ก ๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องช่วยกันทำเย็นตาโฟทะเลชามยักษ์ โดยจะแบ่งเป็นสามทีม โดยคณะกรรมการเป็นผู้จัดทีมให้ดังนี้ ทีมกัปตัน มีสมาชิกคือ มาร์ค, ซีนาย, แพทตี้, เคซี, ริต้า, น้ำใส และเมล ทีมอชิ มีสมาชิกคือ จัสมิน, กอหญ้า, สตังค์, ชาช่า, เซน, อลิซ และพอใจ ส่วนสมาชิกที่เหลือเป็นสมาชิกของทีมภูมิ โดยแต่ละคนจะมีหน้าที่เป็นของตัวเองแต่ละขั้นตอนคือ หั่นและลวกผักบุ้ง ลวกเส้น ลวกกุ้ง ลวกปลา ลวกปลาหมึกแช่ด่าง หั่นเต้าหู้และทอด ทำซอส และขั้นตอนสุดท้ายตกแต่งจาน โดยทีมที่ทำได้เร็วและสมบูรณ์แบบที่สุด จะเป็นผู้ชนะ และได้แกล้งกรรมการด้วยระเบิดซอสเย็นตาโฟ จากการทำการแข่งขันทีมที่ชนะในครั้งนี้คือ ทีมภูมิ และได้เลือกเชฟป้อมเป็นคนที่ถูกแกล้งโดยระเบิดเย็นตาโฟ

  • ทีมที่ชนะ: ทีมภูมิ
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความกดดันทำให้ทีมที่แพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ ในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้ได้คือ คัพเค้ก โดยมีลัท จากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 มาเป็นผู้ให้คำแนะนำแก่น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งคัพเค้กที่ดี นอกจากหน้าตาที่สวยงามเพื่อดึงดูดผู้รับประทาน เนื้อคัพเค้กที่ดีต้องนุ่มฟู ไม่แข็งกระด้าง ด้านในต้องสุกพอดี โดยมีการเตรียมเครื่องโรยหน้าหลากหลายชนิดไว้สำหรับผู้เข้าแข่งขัน เช่น ผลไม้นานาชนิด เบอร์รี ผลไม้ตระกูลส้มและมะนาว เกล็ดน้ำตาลหลากหลายชนิด อัลมอนด์ และถั่วต่าง ๆ เกล็ดช็อกโกแลตและผงโกโก้ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำคัพเค้กจำนวน 9 ชิ้น และมีอย่างน้อย 2 รสชาติ มีเวลาในการทำคัพเค้กจำนวน 90 นาที โดยหลังจากกรรมการได้ชิมคัพเค้กของทุกคน ผู้ชนะในการทำคัพเค้กคือ แพทตี้ และรองชนะเลิศคือ อลิซ และทั้งสองคนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันประเภททีมสัปดาห์ต่อไป ในการแข่งขันครั้งนี้ ชาช่า, ริต้า, พอใจ, น้ำใส, เคซี, สตังค์, มาร์ค, กัปตัน และอชิ ทำคัพเค้กออกมาไม่ตรงกับโจทย์ที่กำหนด ทำให้กรรมการตัดสินใจไม่ชิมคัพเค้ก และก็เสี่ยงในการถูกคัดออก แต่กรรมการได้ตัดสินใจในท้ายที่สุดว่าจะไม่มีใครถูกคัดออกในสัปดาห์นี้ เนื่องจากผู้เข้าแข่งขันทำผลงานผิดพลาด และเสิร์ฟอาหารที่ไม่ครบ 9 ชิ้นเกินครึ่ง
  • ผู้ที่ตกเป็นเก้าอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ชาช่า, ริต้า, พอใจ, น้ำใส, เคซี, สตังค์, มาร์ค, กัปตัน และอชิ

ตอนที่ 5 : การทำสเต๊กจากเนื้อหมูสันติดกระดูก (พอร์กชอป)[แก้]

ออกอากาศ 16 กันยายน 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ แพทตี้และอลิซที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม
หัวหน้าทีม สมาชิก
แพทตี้ เชฟ, จัสมิน, กอหญ้า, ภูมิ, แทน, ริต้า, มาร์ค, พอใจ, เมล, ชาช่า และบูม
อลิซ เซน, น้ำใส, เคซี, กัปตัน, พีช, สตังค์, อชิ, อัยริน, เอ็นดู, แพรว และซีนาย

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งที่ 1 โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ เนื้อหมูสันติดกระดูก (พอร์กชอป) โดยทั้งสองทีมต้องทำสเต๊กระดับพรีเมียมจากเนื้อหมูสันติดกระดูก และต้องสร้างสรรค์เครื่องเคียงอีกหนึ่งอย่าง และซอสอีกหนึ่งอย่าง เพื่อเสิร์ฟให้แขกที่เป็นบุคคลสำคัญจำนวน 51 คน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จอีก 60 นาที โดยแขกบุคคลสำคัญที่มาเป็นคณะกรรมการตัดสินคือ ผู้เข้าแข่งขันจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 และมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 เมนูของทีมสีน้ำเงินคือ "สเต๊กหมูพริกไทยซอสไวน์แดง" สเต๊กหมูพริกไทยซอสไวน์แดง เสิร์ฟคู่กับมะเขือเทศ เห็ดย่าง และมันบดกับมูสวานิลลา ด้านเมนูของทีมสีแดงคือ "พอร์กชอปหน้าร้อน" พอร์กชอปเบอาร์แนซ เสิร์ฟคู่กับซัลซาสลัดและหน่อไม้ฝรั่งผัดเนยข้าวโพดชีส ผลจากการตัดสิน ทีมสีน้ำเงินได้ 37 คะแนน สีแดงได้ 14 คะแนน ทำให้ทีมสีน้ำเงินเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอย

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทำให้ทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยมีเฟิส ผู้ชนะจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 มาเป็นผู้กำหนดโจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์ในการแข่งขันก็คือ ลิงกวีเน น้ำพริกอ่อง ซึ่งส่วนผสมสำคัญของอาหารจานนี้คือ 1) ส่วนผสมของเนื้อหมูและมันหมูต้องนุ่ม ร่วน และลงตัว 2) รสชาติเครื่องแกงต้องใกล้เคียงต้นฉบับที่สุด 3) เส้นพาสตาต้องเหนียวนุ่มด้านนอก กัดไปแล้วต้องกรึบพอดี และ 4) ต้องจัดแต่งจานให้เหมือนต้นฉบับ นอกจากนี้ยังมีสูตรในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 45 นาที หลังจากกกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว แพรว, อชิ, เอ็นดู และซีนาย เป็นสี่คนที่ทำอาหารได้ผิดพลาดที่สุด และผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ แพรวและเอ็นดู
  • ผู้ที่ตกเป็นสี่อันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: แพรว, อชิ, เอ็นดู และซีนาย
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แพรวและเอ็นดู

ตอนที่ 6 : การทำอาหารจากเนื้อหางจระเข้ (บองตัน)[แก้]

ออกอากาศ 23 กันยายน 2561
  • บททดสอบทักษะในการทำอาหาร: ในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร ทีมสีน้ำเงินซึ่งเป็นผู้ชนะในรอบภารกิจแบบทีมในครั้งก่อน จะได้สิทธิ์ในการแข่งขันในรอบนี้ เพื่อที่จะหาผู้ชนะ และผู้ชนะจะได้สิทธิพิเศษในการแข่งขันรอบต่อไป ส่วนทีมสีแดงไม่ต้องทำการแข่งขัน ในการแข่งขันครั้งนี้เป็นการแข่งขันแบบคู่ ผู้เข้าแข่งขันจะจับสลากกันเพื่อหาคู่ในการทำอาหาร (โดยการจับฉลาก จะเป็นการจับ คุกกี้เสี่ยงทาย โดยในคุกกี้จะเป็นสีของแต่ละสี) โดยเมลคู่กับพอใจ เชฟคู่กับภูมิ กอหญ้าคู่กับมาร์ค แทนคู่กับแพทตี้ บูมคู่กับริต้า และจัสมินคู่กับชาช่า ซึ่งโจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ ไข่ดาว โดยไข่ขาวต้องสุกแต่ไม่ดิบ ไข่แดงต้องเยิ้มแต่ไม่แตก ซึ่งต้องมีความแม่นยำในด้านเวลา โดยมีเวลาจำนวน 10 นาทีในการทอดไข่ดาวออกมาให้สมบูรณ์แบบและได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทีมที่ทอดไข่ดาวได้เยอะและสมบูรณ์ที่สุดจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน
  • ผู้ชนะ: เชฟ และภูมิ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ เนื้อสัตว์ ประกอบไปด้วย กบ, นกกระจอกเทศ และจระเข้ ซึ่งเชฟและภูมิ ซึ่งเป็นผู้ชนะในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร จึงมีสิทธิ์เลือกวัตถุดิบในการแข่งขันให้เพื่อน ๆ ผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งทั้งสองคนได้ได้ตัดสินใจเลือกหางจระเข้ให้เพื่อน ๆ ผู้เข้าแข่งขัน และนอกจากนี้ทั้งสองคนยังได้สิทธิ์ไม่ต้องแข่งขันในรอบต่อไปและมีสิทธิ์เลือกเพื่อน ๆ ผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้าไปด้วยจำนวน 5 คน คือ แพทตี้, อชิ, พอใจ, แทน และเซน ในการแข่งขันมีเวลาให้ในการทำอาหารจำนวน 1 ชั่วโมง และมีเวลาเลือกวัตถุดิบในซุปเปอร์มาเก็ตจำนวน 5 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดสองอันดับ คือ เคซี และบูม ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองคนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในรอบต่อไป ส่วน ซีนาย และ เมล เป็น 2 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน เนื่องจากว่า ทั้ง 2 คน ทำอาหารไม่สุกทั้งคู่
  • ผู้ชนะ: เคซี
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ซีนายและเมล

ตอนที่ 7 : การทำอาหารจานด่วน[แก้]

ออกอากาศ 30 กันยายน 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ เคซี และบูมที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม
หัวหน้าทีม สมาชิก
เคซี เชฟ, จัสมิน, แพทตี้, ภูมิ, แทน, กอหญ้า, ริต้า, พีช และชาช่า
บูม เซน, มาร์ค, สตังค์, กัปตัน, อลิซ, อชิ, น้ำใส, พอใจ และอัยริน

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งที่ 2 ได้นำผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 คน มาแข่งขันในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมที่สวนน้ำการ์ตูน เน็ตเวิร์ค อเมโซน พัทยา จังหวัดชลบุรี โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ การทำอาหารจานด่วน โดยทั้งสองทีมต้องทำอาหารจานด่วนให้เพียงพอสำหรับคนทั้งหมดในสวนน้ำ โดยทำอาหารออกมาขายในราคาจานละ 99 บาท โดยทีมที่ขายได้จำนวนเงินเยอะที่สุด จะเป็นผู้ชนะในภารกิจแบบทีม โดยทั้งสองทีมมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที และมีเวลาในการขายอาหารอีก 60 นาที เมนูของทีมสีน้ำเงินคือ "แซนด์วิชเปิดหน้าสไตล์ฝรั่งเศส" เสิร์ฟพร้อมกับมุสมะม่วงครีมกะทิ ด้านเมนูของทีมสีแดงคือ "เบอร์เกอร์เนื้อซอสลาบเผ็ดนรก" เบคอนกรอบ ผักสลัด ซอสมะเขือเทศตุ๋นในน้ำมันมะกอก และหอมใหญ่คาราเมลไลซด์ ผลจากการขายอาหาร ทีมสีน้ำเงินขายได้จำนวนเงิน 14,355 บาท ด้านทีมสีแดงขายได้จำนวนเงิน 14,755 บาท ทำให้ทีมสีแดงเป็นฝ่ายชนะไป

  • ทีมที่ชนะ: สีแดง
  • ผู้ที่ถูกถอนตัว: เคซี
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทำให้ทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ เนื่องจากเคซีหัวหน้าทีมสีน้ำเงินมีปัญหาด้านสุขภาพจนไม่สามารถมาแข่งขันได้ จึงได้ถอนตัวออกจากการแข่งขัน โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ เปาะเปี๊ยะทอด ไส้เนื้อปู ซึ่งส่วนสำคัญของอาหารจานนี้คือ 1) การห่อเปาะเปี๊ยะต้องประณีต 2) เปาะเปี๊ยะต้องมีสีเหลืองกรอบ น่ารับประทาน 3) จะต้องมีรสชาติที่กลมกล่อม และชูรสชาติเนื้อปู นอกจากนี้ยังมีการเตรียมวัตถุดิบในการทำเปาะเปี๊ยะให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 30 นาที และต้องทำเปาะเปี๊ยะให้ได้อย่างต่ำจำนวน 5 ชิ้น หลังจากกกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว กอหญ้าและแทนเป็นสองคนที่ทำอาหารได้ผิดพลาดที่สุด และผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ แทน
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: แทนและกอหญ้า
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แทน

ตอนที่ 8 : การทำซูชิระดับพรีเมียม[แก้]

ออกอากาศ 7 ตุลาคม 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนาในกล่อง วัตถุดิบในกล่องปริศนาคือ ถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบที่สามารถนำไปแปรรูปได้หลายประเภท และยังเป็นโปรตีนธรรมชาติที่สำคัญในเทศกาลกินเจ โจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารในรูปแบบอาหารเจ โดยผู้เข้าแข่งต้องสร้างสรรค์อาหารเจในรูปแบบที่แปลกใหม่ และไม่จำเจ และน่ารับประทานกว่าอาหารเจที่เห็นอยู่ทุก ๆ ปี ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหารเป็นเวลา 60 นาที และมีวัตถุดิบเสริมอย่างจำกัดให้แก่ผู้เข้าแข่งขันทุกคน ในการใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจออกมา แพทตี้, เชฟ และพีช เป็นสามจานที่ทำอาหารจากข้าวโพดออกมาได้ดี และพีชก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: พีช
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยในครั้งนี้ได้มีการเชิญเชฟ แซม-ไพศาล อ่าวสถาพร แห่ง โออิชิ กรุ๊ป โดยโจทย์ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ ซูชิระดับพรีเมียม ประกอบไปด้วยข้าวปั้นหน้าปลาแซลมอน ข้าวปั้นหน้าปลาทูน่า ข้าวปั้นหน้าฟัวกรา ข้าวปั้นหน้ากุ้งหวาน ซูชิหน้าไข่ปลาแซลมอน และแคลิฟอร์เนียมากิ ซึ่งซูชิระดับพรีเมียมต้องทีลักษณะคือ ข้าวปั้นต้องมีชิ้นพอดีคำกับชิ้นปลา ต้องมีรสชาติที่กลมกล่อม และหน้าตาต้องเหมือนกับตัวอย่าง โดยมีเชฟมาสาธิตในการทำซูชิแต่ละอย่างให้กับผู้เข้าแข่งขัน จากการที่พีชชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้สิทธิ์ให้ผ่านเข้ารอบต่อไป โดยไม่ต้องทำการแข่งขัน และมีสิทธิ์เลือกเพื่อนหนึ่งคนผ่านเข้าไปด้วย ซึ่งพีชได้เลือกพอใจผ่านเข้ารอบไปด้วย โดยการแข่งขันรอบนี้เป็นการแข่งขันประเภทคู่ โดยผลัดกันทำคนละ 10 นาที ซึ่งสิทธิพิเศษอีกอย่างคือ พีชสามารถเลือกคู่ให้กับเพื่อน ๆ ดังนี้ แพทตี้คู่กับกอหญ้า, จัสมิสคู่กับอัยริน, อชิคู่กับมาร์ค, เซนคู่กับเชฟ, ริต้าคู่กับอลิซ, กัปตันคู่กับสตังค์, น้ำใสคู่กับชาช่า และภูมิคู่กับบูม ในการแข่งขันทำอาหารมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 60 นาที หลังจากกรรมการได้ชิมซูชิของผู้เข้าแข่งขันทุกคู่ ผู้เข้าแข่งขันสองคู่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดเยอะที่สุดคือ จัสมินกับอัยริน และกัปตันกับสตังค์ และคู่ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ กัปตันและสตังค์
  • ผู้ที่ตกเป็นสี่อันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: จัสมิน, อัยริน, กัปตัน และสตังค์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: กัปตันและสตังค์

ตอนที่ 9 : การทำอาหารจากเนื้อส่วนต่าง ๆ ของแกะ[แก้]

ออกอากาศ 14 ตุลาคม 2561
  • บททดสอบทักษะในการทำอาหาร: ในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร โจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้คือ ปาท่องโก๋ โดยจะต้องนำปาท่องโก๋มาราดนมข้นหวานด้วย การทำปาท่องโก๋หากนวดแป้งได้ไม่ดี ปาท่องโก๋จะไม่ฟู และต้องตัดสัดส่วนออกมาเท่า ๆ กัน เพื่อให้ได้เป็นชิ้นที่สวยงาม โดยครั้งนี้เป็นการแข่งขันกันเป็นคู่ โดยจับสลากกันได้ดังนี้ แพทตี้คู่กับอัยริน เชฟคู่กับพอใจ อลิซคู่กับริต้า จัสมินคู่กับน้ำใส เซนคู่กับอชิ มาร์คคู่กับภูมิ และชาช่าคู่กับพีช มีเวลาการทำอาหาร 15 นาที ในการทำปาท่องโก๋ราดนมออกมาให้สมบูรณ์แบบและจำนวนเยอะที่สุด โดยทีมที่ชนะในการแข่งขันคือ แพตตี้และอัยริน
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: แพตตี้และอัยริน
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่แพทตี้และอัยริน ชนะในบททดสอบทักษะในการทำอาหาร จึงได้รับสิทธิ์ในการแกล้งเชฟเอียนด้วยพายุแป้งปาท่องโก๋ และไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ โดยในครั้งนี้ได้มี เสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค มาเป็นแขกรับเชิญ แทนเชฟเอียนที่ติดภารกิจ โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ การทำอาหารจากเนื้อส่วนต่าง ๆ ของแกะ มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที และมีเวลาในการเลือวัตถุดิบอีก 5 นาที และผู้ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ในครั้งนี้ก็คือ จัสมิน
  • ผู้ชนะ: จัสมิน
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ริต้า, ภูมิ และอลิซ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ริต้าและอลิซ

ตอนที่ 10 : การทำอาหารจากปูยักษ์อลาสก้า[แก้]

ออกอากาศ 21 ตุลาคม 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนา เนื่องจากเชฟเอียนไม่อยู่ พี่ตั๊ก นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ จึงได้มาเป็นแขกรับเชิญในวันนี้ ในโจทย์ในกล่องปริศนาคือ ของหวาน ซึ่งประกอบไปด้วยมาร์ชเมลโล, นมข้นหวานรสช็อกโกแลต, โยเกิร์ต, สตรอเบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, เมลอน, แครกเกอร์, เกล็ดน้ำตาล, ครีมชีส, แป้งพัฟ, มันม่วง และมะเขือเทศ และยังมีวัตถุดิบอีกอย่างที่ดูไม่เข้าพวกก็คือ ตีนไก่ โดยผู้เข้าแข่งขันไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบทั้งหมดในการทำของหวาน มีเวลาในการทำของหวานจำนวน 90 นาที ของหวาน 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ น้ำใส, แพทตี้ และมาร์ค ผู้ชนะในรอบนี้ก็คือ มาร์ค
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: มาร์ค
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์วัตถุดิบหลักในครั้งนี้คือ คือ ปูยักษ์อลาสก้า เป็นวัตถุดิบระดับโลก ด้วยเนื้อที่สด และหวาน ในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันต้องแกะเนื้อปูด้วยตัวเอง โดยมีเชฟเอียนเป็นคนสาธิตในการแกะเนื้อปูให้ดู โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ แกงไทยสู่สากล และจากการที่มาร์คชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิพิเศษคือ ไม่ต้องทำการแข่งขัน และสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันอีกหนึ่งคนผ่านไปด้วย ก็คือ พอใจ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับปูยักษ์อลาสก้าคนละหนึ่งตัว และมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดสองอันดับ คือ เชฟ และเซน ตามลำดับ ซึ่งทั้งสองคนจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมในรอบต่อไป ส่วนคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในครั้งนี้คือ ภูมิและชาช่า
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ภูมิ, ชาช่า และบูม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ภูมิและชาช่า

ตอนที่ 11 : การทำหมูสดอนามัยให้เป็นอาหารหรูระดับคุณภาพ[แก้]

ออกอากาศ 28 ตุลาคม 2561
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ เซน และเชฟที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม
หัวหน้าทีม สมาชิก
เซน มาร์ค, จัสมิน, น้ำใส, กอหญ้า และบูม
เชฟ แพทตี้, พีช, อชิ, พอใจ และอัยริน

โดยในการแข่งขันแบบทีมครั้งนี้ แขกรับเชิญในการตัดสินคือ กองทัพนักกีฬาทีมชาติไทยจำนวน 31 คน อาทิเช่น สมจิตร จงจอหอ, เทวินทร์ หาญปราบ, พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ, เยาวภา บุรพลชัย และแทมมารีน ธนสุกาญจน์ เป็นต้น โจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้คือ การทำหมูสดอนามัยให้เป็นอาหารหรูระดับคุณภาพ โดยทั้งสองทีมต้องทำอาหารจานที่ดีที่สุด ให้นักกีฬาทั้งหมดได้รับประทาน โดยทั้งสองทีมมีเวลาในการทำอาหาร 90 นาที และหลังจากนั้นต้องหยุดทำอาหาร และพร้อมที่จะเสิร์ฟอาหารทันที เมนูของทีมสีน้ำเงินคือ "หมูไปเที่ยวฝรั่งเศส" เสิร์ฟกับตับห่านซอสไวน์แดงและมันบด ด้านเมนูของทีมสีแดงคือ "หมูม้วนไส้ผักโขมเห็ด" ซอสไวน์ขาวเครื่องเทศอินเดีย ผลจากการแข่งขัน ทีมสีน้ำเงินได้จำนวน 18 คะแนน ด้านทีมสีแดงได้ 13 คะแนน ทำให้ทีมสีน้ำเงินเป็นฝ่ายชนะไป

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทำให้ทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ สเต๊กเนื้อสันใน พร้อมเครื่องเคียง โดยต้องทำเนื้อให้สุกระดับมีเดียมแรร์ เนื้อด้านในจะมีสีชมพู ทั่วถึงเท่ากันเกือบทั้งหมด ส่วนผิวด้านนอกสุดจะมีสีน้ำตาลเข้ม โดยต้องใช้อุณหภูมิที่พอดี ถ้าใช้อุณหภูมิมากไปหรือน้อยไป จะไม่ได้สเต๊กในระดับที่ต้องการ สำหรับเครื่องเคียง ผู้เข้าแข่งขันสามารถรังสรรค์ได้ตามใจชอบ โดยมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 25 นาที และผู้เข้าแข่งขันคนใดทำเสร็จแล้ว สามารถเสิร์ฟให้คณะกรรมการได้ทันที หลังจากกกรรมการได้ชิมสเต๊กของทุกคนแล้ว บูมและน้ำใสเป็นสองคนที่ทำอาหารได้ผิดพลาดที่สุด จึงต้องออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: บูมและน้ำใส

ตอนที่ 12 : การทำอาหารจากสุดยอดวัตถุดิบของไทย[แก้]

ออกอากาศ 4 พฤศจิกายน 2561
  • บททดสอบทักษะในการทำอาหาร: ในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร โจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้คือ การตกแต่งเค้กแต่งงาน โดยจะต้องแต่งหน้าเค้กแต่งงานตามตัวอย่าง โดยมีการจับสลากคู่ในการทำงาน โดยแพทตี้คู่กับกอหญ้า เซนคู่กับเชฟ มาร์คคู่กับอัยริน จัสมินคู่กับอชิ และพีชคู่กับพอใจ โดยมีเวลา 25 นาที ในการที่จะตกแต่งเค้กออกมาให้สวยงามที่สุด โดยคู่ที่แต่งหน้าเค้กออกมาได้สวยที่สุด จะเป็นผู้ชนะในรอบบททดสอบทักษะในการทำอาหาร โดยคู่ที่ชนะในครั้งนี้คือ เซนกับเชฟ
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เซนและเชฟ
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: จากการที่เซนและเชฟ ชนะในบททดสอบทักษะในการทำอาหาร จึงได้รับสิทธิ์ในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน และไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ โดยโจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ การทำอาหารจากสุดยอดวัตถุดิบของไทย ประกอบไปด้วย เนื้อโคขุนโพนยางคำ, กุ้งแม่น้ำจากอยุธยา, ปูทะเล และหอยนางรมสุราษฎร์ โดยเซนและเชฟได้เลือกเนื้อโคขุนให้มาร์คกับกอหญ้า เลือกกุ้งแม่น้ำให้พอใจกับอชิ เลือกปูทะเลให้แพทตี้กับอัยริน และเลือกหอยนางรมให้พีชกับจัสมิน มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที และมีเวลาในการเลือกวัตถุดิบอีก 5 นาที และในครั้งนี้จะประกาศลำดับจากคะแนนสูงสุดไปน้อยสุด คือ แพทตี้, มาร์ค, อัยริน, จัสมิน, กอหญ้า, พีช และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ พอใจกับอชิ
  • ผู้ชนะ: แพทตี้
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: พอใจ, พีช และอชิ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พอใจและอชิ

ตอนที่ 13 : การทำอาหารจากชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเป็ด[แก้]

ออกอากาศ 11 พฤศจิกายน 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา: ในรอบกล่องปริศนา ในโจทย์ในกล่องปริศนาประกอบไปด้วยเนื้อไก่, ปลาแซลมอน, ฟักทอง, บีทรูท, ข้าวกล้อง, ช็อกโกแลต และพริกขี้หนู โดยโจทย์ในครั้งนี้คือ ให้นำอาหารที่มีประโยชน์จากในกล่องมารังสรรค์เป็นจานอาหารที่ดีที่สุด มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที เพื่อให้ได้จานที่ดีที่สุด อาหาร 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ เซน, จัสมิน และเชฟ ผู้ชนะในรอบนี้ก็คือ จัสมิน
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: จัสมิน
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์โจทย์ของการแข่งขันคือ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเป็ด ประกอบไปด้วยน่อง, สะโพก, อก, สันใน, ตับ, กึ๋น, ตีน และคอ จากการที่จัสมินชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้สิทธิพิเศษ ในการเลือกวัตถุดิบให้กับตัวเองและผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ โดยจัสมินเลือกส่วนอกเป็ดให้ตัวเอง เลือกน่องให้มาร์ค เลือกสะโพกให้กอหญ้า เลือกสันในให้อัยริน เลือกตับให้พีช เลือกกึ๋นให้เชฟ เลือกคอให้เซน และเลือกตีนให้แพทตี้ และมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที และมีเวลาอีก 5 นาที ในการเลือกวัตถุดิบในซุปเปอร์มาร์เก็ต ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารออกมาได้ดีและมีความคิดสร้างสรรค์ที่สุดอันดับ คือ แพทตี้ ส่วนคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในครั้งนี้คือ กอหญ้าและพีช
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: กอหญ้า, พีช และ เซน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: กอหญ้าและพีช

ตอนที่ 14 : การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ[แก้]

ออกอากาศ 25 พฤศจิกายน 2561
  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันเซมิไฟนอลรอบแรก ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารภายใต้โจทย์ สุดยอดวัตถุระดับโลก ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อวากิว, กุ้งมังกร 7 สี และฟัวกรา เนื่องจากในการแข่งขันรอบที่แล้ว แพตตี้ได้เป็นจานที่ดีที่สุด แพตตี้จึงได้รับสิทธิพิเศษแรก คือ แพตตี้ไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้และได้ผ่านเข้ารอบเพื่อไปแข่งต่อในรอบถัดไปทันที และสิทธิพิเศษที่สองที่แพตตี้ได้รับคือ แพตตี้ได้จับฉลากวัตถุดิบให้กับคนที่เหลือ ซึ่งน้องแพตตี้จับฉลากได้ เนื้อวากิว ซึ่งจัสมินและอัยรินคือ สองคนที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด และอัยรินเป็นคนที่ออกจากการแข่งขันในรอบนี้
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: จัสมินและอัยริน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: อัยริน
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: เซมิไฟนอลรอบสอง ผู้เช้าแข่งขันต้องทำอาหารภายใต้โจทย์ สุดยอดวัตถุระดับโลกที่เหลือ ซึ่งก็คือ กุ้งมังกร 7 สี และฟัวกรา เนื่องจากในการแข่งขันรอบที่แล้ว แพตตี้ได้เป็นจานที่ดีที่สุด ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต้องใช้วัตถุดิบทั้ง 2 ชนิดนี้โดยการทำเป็น Surf&Turf แพตตี้และมาร์ค เป็น 2 คนที่ไม่มีข้อผิดพลาดในจานอาหาร จึงได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทันที ส่วนคนที่มีข้อผิดพลาด คือ เชฟ, เซนและจัสมิน และจัสมินและเซนเป็นคนที่ออกจากการแข่งขันในรอบนี้
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เซน, เชฟและจัสมิน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: จัสมินและเซน

ตอนที่ 15-16 : การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ[แก้]

ออกอากาศ 2-9 ธันวาคม 2561
  • รอบไฟนอล : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสาม ได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers), อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) โดยผู้ชนะจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟจูเนียร์คนต่อไปของประเทศไทย (เนื่องจากรายการนี้เคยมีผู้ชนะคนแรกมาก่อนแล้วจากรายการจูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2556)
  • ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1 : แพทตี้

อ้างอิง[แก้]

  1. "ทุ่ม 70 ล้านทำ "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" หนุ่ม ชูฝีมือเด็ก-สอดแทรกศิลปะอาหารไทย". www.khaosod.co.th. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  2. ""มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" "หนุ่ม" ยันงบไม่เด็ก 70 ล้าน". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.
  3. "ต่อยอดความสำเร็จ !! เปิดรับสมัคร "มาสเตอร์เชฟ จูเนียร์" อายุระหว่าง 8-13 ปี แข่งขันทำอาหาร ชิงเงิน 5 แสนบาท". www.onbnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2019-09-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]