มาจาช ราโกชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาจาช ราโกชี
ราโกชีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1947
เลขานุการลำดับที่หนึ่งพรรคประชาชนแรงงานฮังการี
(ถึง 28 มิถุนายน ค.ศ. 1953 ในตำแหน่ง เลขาธิการ)
ดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน ค.ศ. 1948 – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1956
ก่อนหน้าตนเอง
ในตำแหน่งเลขาธิการพรรคแห่งคอมมิวนิสต์ในฮังการี (กาแอ็มเป)
ถัดไปแอร์เนอ แกเรอ
นายกรัฐมนตรีฮังการีคนที่ 43
ประธานคณะรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีคนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
14 สิงหาคม ค.ศ. 1952 – 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1953
ก่อนหน้าอิชต์วาน โดบี
ถัดไปอิมแร นอจ
รักษาการ
14 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 – 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1947
ก่อนหน้าแฟแร็นตส์ นอจ
ถัดไปลอโยช ดินเญช
รักษาการ
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 – 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946
ก่อนหน้าโซลตาน ติลดี
ถัดไปแฟแร็นตส์ นอจ
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการี
ดำรงตำแหน่ง
23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 – 12 มิถุนายน ค.ศ. 1948
ก่อนหน้าพรรคผิดกฎหมาย; มีหลายกลุ่มแยก
ถัดไปตนเอง
ในตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาชนแรงงานฮังการี (แอ็มเดเป)
ตำแหน่งอื่น ๆ
สมาชิกสภาแห่งชาติชั้นสูง
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 1945 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1945
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เบ-ลอ มิกโลช และเบ-ลอ แฌเดญี
ก่อนหน้าโยแฌ็ฟ เรวอยี
ถัดไป
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1946 – 14 สิงหาคม ค.ศ. 1952
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ อาร์แพด ซากาซิตส์ (ถึง 5 สิงหาคม ค.ศ. 1948)
นายกรัฐมนตรีแฟแร็นตส์ นอจ
ลอโยช ดินเญช
อิชต์วาน โดบี
ก่อนหน้าแยเนอ เซิลเลอชี
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาจาช โรเซนเฟลด์

9 มีนาคม ค.ศ. 1892(1892-03-09)
อาดา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971(1971-02-05) (78 ปี)
กอร์กี สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย สหภาพโซเวียต
เชื้อชาติฮังการี
พรรคการเมืองแอ็มแอ็สเดเป (1910–1918)
แอ็มกาเป (1918–1948)
แอ็มเดเป (1948–1956)
แอ็มแอ็สแอ็มเป (1956–1962)
คู่สมรสเฟเนีย คอร์นีโลวา (ค.ศ. 1903–1980)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ออสเตรีย-ฮังการี
สาธารณรัฐโซเวียตฮังการี
สังกัด กองทัพออสเตรีย-ฮังการี
กองทัพแดงฮังการี
ประจำการค.ศ. 1914–1915
ค.ศ. 1919
ยศผู้บัญชาการเรดการ์ด
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติและการแทรกแซงในฮังการี (ค.ศ. 1918–1920)

มาจาช ราโกชี (ฮังการี: Rákosi Mátyás; 9 มีนาคม ค.ศ. 1892[1][2] – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971)[3] ชื่อเกิด มาจาช โรเซนเฟลด์ (Rosenfeld Mátyás) เป็นผู้นำฮังการีโดยพฤตินัยระหว่าง ค.ศ. 1947–1956[4][5] เดิมเขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1945–1948 และเลขาธิการพรรคประชาชนแรงงานฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1948–1956

ประวัติ[แก้]

ราโกชีเกิดในครอบครัวชาวยิวที่เมืองอาดา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเมื่อ ค.ศ. 1892 เขาเป็นบุตรคนที่ 4 ของโยแฌ็ฟ โรเซนเฟลด์ กับแซ็ตซีลิยอ เลแดแรร์ ราโกชีเรียนที่โรงเรียนในเมืองโชโปรนและแซแก็ด ก่อนจะเรียนต่อด้านการค้าที่สถาบันพาณิชย์ตะวันออก[6] เขาเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปไตยสังคมนิยมฮังการีและขบวนการนักศึกษากาลิเลโอขณะที่เรียนที่ฮังการี จากนั้นเป็นทหารในกองทัพออสเตรีย-ฮังการีเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและตกเป็นเชลยที่แนวรบด้านตะวันออก[7] ราโกชีกลับมาฮังการีหลังสงครามและเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ เขาเป็นผู้ตรวจการทางการเมืองของสาธารณรัฐโซเวียตฮังการีใน ค.ศ. 1919 ก่อนจะหนีออกนอกประเทศและทำงานเป็นเจ้าหน้าที่องค์การคอมมิวนิสต์สากลเมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ราโกชีถูกจับใน ค.ศ. 1924 และถูกตัดสินจำคุก 15 ปีหลังพยายามเข้าฮังการีและจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดิน ต่อมาเขาได้รับการปล่อยตัวไปยังสหภาพโซเวียตโดยแลกกับธงนักปฏิวัติฮังการีที่ถูกทหารรัสเซียยึดหลังการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1848[8]

ราโกชีกลับมาฮังการีต้น ค.ศ. 1945 เมื่อกองทัพแดงขับไล่แวร์มัคท์ออกจากฮังการีช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองและกลายเป็นหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีที่จัดตั้งใหม่ แม้พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีจะพ่ายให้กับพรรคพลเรือน แรงงานเกษตรกรรมและเกษตรกรรายย่อยอิสระในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1945 แต่ด้วยอิทธิพลของสหภาพโซเวียตที่ยืนกรานให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีมีที่นั่งในรัฐบาล ส่งผลให้ราโกชีได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีได้ใช้อิทธิพลในรัฐบาลกวาดล้างคู่แข่งทางการเมืองต่าง ๆ จนสามารถควบคุมอำนาจเบ็ดเสร็จใน ค.ศ. 1948 และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนฮังการีที่มีราโกชีเป็นผู้นำในปีต่อมา[9]

ราโกชีเป็นผู้นิยมลัทธิสตาลินอย่างรุนแรงและรัฐบาลของเขาภักดีต่อสหภาพโซเวียตอย่างยิ่ง เขาสร้างลัทธิบูชาบุคคลของตนเองตามอย่างสตาลิน[10] ราโกชีสั่งจับกุมชาวฮังการีจำนวนมากและมีส่วนทำให้ชาวฮังการีหลายพันคนเสียชีวิต[11][12] นโยบายแบบรวมอำนาจการผลิตและการกดขี่ปราบปรามของราโกชีทำลายสังคมเศรษฐกิจฮังการีจนนำไปสู่ความไม่พอใจในวงกว้าง เขาถูกปลดจากตำแหน่งชั่วคราวตามคำสั่งโซเวียตหลังสตาลินเสียชีวิตใน ค.ศ. 1953 และแทนที่ด้วยนักการเมืองคอมมิวนิสต์สายปฏิรูปอย่างอิมแร นอจ แต่กระนั้นราโกชีใช้อิทธิพลทางการเมืองแทรกแซงความพยายามในการปฏิรูปของนอจ และขับเขาออกจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1955[13]

เมื่อนีกีตา ครุชชอฟประณามสตาลินใน "สุนทรพจน์ลับ" ช่วงต้น ค.ศ. 1956 ราโกชีเผชิญคำวิจารณ์จากสมาชิกพรรคและสังคมภายนอกจนถูกบีบให้ลาออกในเดือนกรกฎาคม โดยมีแอร์เนอ แกเรอ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนต่อมา สามเดือนหลังจากนั้นเกิดการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 นำโดยนอจที่ต่อต้านรัฐบาลและสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามการก่อการกำเริบนี้ถูกสหภาพโซเวียตปราบปรามและมีการจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ใหม่ภายใต้การนำของยาโนช กาดาร์[14] ด้านราโกชีลี้ภัยในสหภาพโซเวียตจนกระทั่งเสียชีวิตที่เมืองกอร์กีในค.ศ. 1971[15] อัฐิของเขาถูกส่งกลับฮังการีอย่างลับ ๆ และฝังที่สุสานฟอร์ก็อชเรตในกรุงบูดาเปสต์ หลังเสียชีวิตราโกชีกลายเป็นสัญลักษณ์ของทรราชและการกดขี่ในฮังการี[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gábor Murányi เก็บถาวร 24 มกราคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Mátyás Rákosi, Encyclopedia.com; accessed 22 July 2020.
  3. Matyas Rakosi – History of 1956, rev.hu; accessed 22 July 2020.
  4. Bertényi Iván. Gyapai Gábor: Magyarország rövid története (Maecenas, 2001).
  5. Matyas Rakosi profile, Britannica Online Encyclopedia; accessed 22 July 2020.
  6. ELTE Egyetemi เก็บถาวร 2018-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, leveltar.elte.hu; accessed 22 July 2020 (in Hungarian).
  7. "Mátyás Rákosi". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ June 15, 2022.
  8. Mátyás Rákosi
  9. "Mátyás Rákosi". New World Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ June 15, 2022.
  10. Apor, Balázs (20 November 2010). ""Rákosi a hős." Sztálinista vezérkultusz Magyarországon". transindex (ภาษาฮังการี). สืบค้นเมื่อ 6 November 2021.
  11. Hungary: The Revolution of 1956 – Britannica Online Encyclopedia, britannica.com; accessed 22 July 2020.
  12. Gomori, George (30 November 2006). "Gyorgy Litvan". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2010.
  13. Rainer 2009, p. 82.
  14. "Soviets put a brutal end to Hungarian revolution". HISTORY. November 24, 2009. สืบค้นเมื่อ June 15, 2022.
  15. "Matyas Rakosi of Hungary Dies; Communist Leader in Stalin Era". The New York Times. February 6, 1971. สืบค้นเมื่อ June 15, 2022.
  16. Mink, András. "Mátyás is Dead, Justice is Here." Blinken Open Society Archives.