ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์

พิกัด: 53°22′53″N 1°29′18″W / 53.381389°N 1.488272°W / 53.381389; -1.488272
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์)
มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์
University of Sheffield
คติพจน์ลาติน: Rerum cognoscere causas
อังกฤษ: To discover the causes of things
ไทย: เพื่อค้นพบสาเหตุของสิ่งต่าง ๆ
คติพจน์อังกฤษ
To discover the causes of things
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2448 — ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2440 — วิทยาลัยอุดมศึกษา
พ.ศ. 2371 — วิทยาลัยแพทย์
ที่ตั้ง, ,
53°22′53″N 1°29′18″W / 53.381389°N 1.488272°W / 53.381389; -1.488272
วิทยาเขตในเมือง
สีดำ และ ทอง
             
เครือข่ายกลุ่มรัสเซล, WUN, ACU, กลุ่มเอ็มแปด, กลุ่มมหาวิทยาลัยจังหวัดยอร์กเชอร์, EQUIS, สมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
เว็บไซต์www.sheffield.ac.uk

มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (อังกฤษ: University of Sheffield) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยในสหราชอาณาจักร ตั้งที่ใจกลางเมืองเชฟฟีลด์ อันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดเซาท์ยอร์กเชอร์ ถือกำเนิดจากการรวมกันระหว่างวิทยาลัยอุดมศึกษาเชฟฟีลด์ และวิทยาลัยแพทย์เชฟฟีลด์ มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มรัสเซล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาสองแห่งที่มีในเมือง โดยอีกแห่งที่มีจำนวนนักศึกษามากกว่า คือ มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์แฮลลัม (Sheffield Hallam University) ซึ่งตั้งห่างออกไปทางตะวันออกราว 500 เมตร[1]

ประวัติ

[แก้]
Portrait of Mark Firth, opened Firth College in 1879
Sheffield School of Medicine, founded in 1828 (right)
Firth Court, opened in 1905, with the Royal Charter

เมื่อ พ.ศ. 2371 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยแพทย์ประจำอำเภอเชฟฟีลด์ เพื่อช่วยในการผลิตแพทย์เพิ่ม[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ขยายศูนย์วิทยบริการมา โดยเปิดเป็นวิทยาลัยเฟิร์ท (Firth College) ตามชื่อของมาร์ก เฟิร์ท นักอุตสาหกรรมชาวอังกฤษ เพื่อให้การเรียนการสอนในสาขาวิชาศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และตอบสนองการเป็นเมืองอุตสาหกรรมของเชฟฟีลด์[3] หลังจากนั้นห้าปี ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนช่างฝีมือเชฟฟีลด์ (ระวังสับสนกับวิทยาลัยเทคนิคนครเชฟฟีลด์ ซึ่งต่อมาได้เป็นมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์แฮลลัม) โดยมีวิทยาลัยเฟิร์ทเป็นผู้สนับสนุน ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2440 สถาบันทั้งสามจึงรวมตัวกันเป็นวิทยาลัยอุดมศึกษาเชฟฟีลด์[3] ต่อมาวิทยาลัยอุดมศึกษาได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยโดยพระราชบัญญัติเมื่อ พ.ศ. 2448 แทนการนำไปรวมเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียซึ่งในเวลาต่อมาได้สลายตัวออกเป็นสถาบันอิสระ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ มหาวิทยาลัยลีดส์ และมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล เมื่อแรกสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย มีนักศึกษาเต็มเวลาเพียง 365 คน และคณาจารย์-เจ้าหน้าที่อีก 71 คน การเติบโตของมหาวิทยาลัยในช่วงต้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 มหาวิทยาลัยได้เติบโตอย่างรวดเร็วโดยมีจำนวนนักศึกษามากกว่าเดิมมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนงาน

[แก้]

มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 4 คณะวิชา ดังนี้[4]

  • คณะอักษรศาสตร์และมนุษยศาสตร์
    • ภาควิชาโบราณคดี
    • ภาควิชาประวัติศาสตร์
    • ภาควิชาปรัชญา
    • ภาควิชาดุริยศาสตร์
    • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
    • ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรม
    • สถาบันศึกษาพระคัมภีร์สหศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (Sheffield Institute for Interdisciplinary Biblical Studies (SIIBS))
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมอากาศยาน
    • ภาควิชาวิศวกรรมควบคุมอัตโนมัติและวิศวกรรมระบบ
    • ภาควิชาชีววิศวกรรม (bioengineering)
    • ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและสิ่งแวดล้อม
    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและโครงสร้าง
    • ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
    • ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • คณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสุขศาสตร์
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์ระบบหัวใจและหลอดเลือด
    • ภาควิชาทันตแพทย์คลินิก
    • ภาควิชาการวิจัยสุขภาพ (ScHARR)
    • ภาควิชาวิทยาศาสตร์การสื่อสารมนุษย์
    • ภาควิชาเมทาบอลิซึมมนุษย์
    • ภาควิชาการติดเชื้อและภูมิคุ้มกัน
    • ภาควิชาแพทยศาสตร์
    • ภาควิชาประสาทศาสตร์
    • ภาควิชาพยาบาลศาสตร์และการผดุงครรภ์
    • ภาควิชาวิทยาเนื้องอก
  • คณะวิทยาศาสตร์
    • ภาควิชาพืชศาสตร์และสัตวศาสตร์
    • ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
    • ภาควิชาชีวเวชศาสตร์
    • ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
    • ภาควิชาเคมี
    • ภาควิชาชีววิทยาโมเลกุลและชีวเทคโนโลยี
    • ภาควิชาจิตวิทยา

ที่ตั้ง

[แก้]

มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งหลักอยู่ใจกลางเมืองเชฟฟีลด์ค่อนไปทางตะวันตก ประกอบด้วยอาคารสโมสรนักศึกษา, สำนักงานมหาวิทยาลัย, อาคารเดนตัน (Dainton Building),[5] อาคารออกทากอน (Octagon Centre), อาคารเฟิร์ท (Firth Court), อาคารภูมิศาสตร์, อาคารอัลเฟรด เดนนี (Alfred Denny Building), อาคารภาควิชาพืชศาสตร์ฯ, อาคารริชาร์ด รอเบิตส์, อาคารฮิกส์, อาคารหอสมุด ฯลฯ

อาคารออกทากอนเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2526 ใช้เป็นศูนย์ประชุมของมหาวิทยาลัย ใช้ในพิธีมอบปริญญาบัตร และเปิดให้บุคคลภายนอกใช้ได้ แผนการก่อสร้างเริ่มต้นตั้งแต่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติเงินทุนจำนวน 175,000 ปอนด์ เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยกำหนดให้ก่อสร้างข้าง ๆ สำนักงานอธิการบดี และกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2508 ถึงกระนั้น เมื่อ พ.ศ. 2506 แผนการก่อสร้างถูกระงับ เนื่องจากมหาวิทยาลัยประสบปัญหาการเงิน ทำให้แผนนี้ช้าออกไป จนกระทั่งสามารถดำเนินการได้เมื่อ พ.ศ. 2524[6]

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "Table 1 - UK/EU/non-EU students by HE provider". hesa.ac.uk. Higher Education Statistics Agency. 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
  2. "A Legacy of Excellence" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 22 November 2013.
  3. 3.0 3.1 "Historical note". Sheffield, United Kingdom: University of Sheffield.
  4. "University of Sheffield: Departments and services". สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  5. "University of Sheffield: Dainton Building". สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
  6. Mathers, Helen (2005). Steel City Scholars. London: James & James. pp. 193–194. ISBN 1904022014.

หนังสือ

[แก้]
  • Arthur W. Chapman (1955) The Story of a Modern University: A History of the University of Sheffield, Oxford University Press.
  • Helen Mathers (2005) Steel City Scholars: The Centenary History of the University of Sheffield, London: James & James.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]