มงกุฎทิวดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มงกุฎทิวดอร์
Tudor Crown

มงกุฎทิวดอร์ ปรากฎอยู่ในพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1
ตราสัญลักษณ์
รายละเอียด
สำหรับ อังกฤษ
ผลิตเมื่อก่อน ค.ศ. 1521
ทำลายเมื่อค.ศ. 1649
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์อังกฤษ
น้ำหนักสุทธิ3.3 กิโลกรัม (7 ปอนด์ 6 ออนซ์)
จำนวนโค้ง2 โค้ง
วัตถุดิบหลักทองคำ
วัสดุซับในผ้ากำมะหยี่
อัญมณีสำคัญทับทิมเจ้าชายดำ เพชร มรกต ทับทิม แซฟไฟร์ ไข่มุก
องค์ถัดไปมงกุฎเซนต์เอ็ดเวิร์ด

มงกุฎทิวดอร์ (อังกฤษ: Tudor Crown) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มงกุฎพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (อังกฤษ: Henri VIII's Crown) เป็นมงกุฎองค์หลักซึ่งใช้ทรงโดยพระมหากษัตริย์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักรช่วงรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จนถึงช่วงสงครามกลางเมืองในปีค.ศ. 1649 โดยมงกุฎองค์นี้ได้ถูกขนานนามโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะ เซอร์รอย สตรอง ว่าเป็น"ผลงานชิ้นเอกของช่างศิลป์ราลสำนักสมัยทิวดอร์"[1] และรูปร่างลักษณะของมงกุฎก็ได้รับการเปรียบเทียบกับมงกุฎแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[2]

ประวัติ[แก้]

มงกุฎองค์นี้ไม่ปรากฎหลักฐานปีที่จัดสร้างขึ้น แต่สันนิษฐานว่าพระเจ้าเฮนรีที่ 7 หรือพระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ได้ทรงให้จัดสร้างขึ้น โดยพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรในสมุดจดบันทึกเครื่องเพชรของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในปีค.ศ. 1521 โดยเรียกมงกุฎองค์นี้ว่า "มงกุฎทองคำ"[3] โดยมีลักษณะงดงามและประณีตมากกว่ามงกุฎจากยุคกลางที่ทรงใช้มาก่อน โดยมงกุฎองค์นี้ประกอบด้วยเส้นโค้ง 2 เส้นตัดกัน มีกางเขนแพตตีจำนวน 5 ตำแหน่ง และเฟลอ-เดอ-ลีสจำนวน 5 ตำแหน่ง ซึ่งประดับประดาด้วยรัตนชาติได้แก่ เพชร มรกต ทับทิม แซฟไฟร์ ไข่มุก และในช่วงสมัยหนึ่งได้ประดับยอดด้วยทับทิมเจ้าชายดำ[4][a] บริเวณเฟลอ-เดอ-ลีสตำแหน่งกึ่งกลางของมงกุฎมีภาพเขียนพระเยซู พระนางมารีย์พรหมจารี และนักบุญจอร์จ เพื่อที่จะใช้แสดงถึงพระราชอำนาจของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ที่ทรงเป็นประมุขแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ[4] นอกจากนี้ยังพบบันทึกของมงกุฎองค์นี้อีกหลายครั้งในเอกสารปีค.ศ. 1532, 1550, 1574 และ 1597

ชะตากรรม[แก้]

หลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ซึ่งถือเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ ซึ่งราชวงศ์สจวตได้เข้ามามีบทบาทในราชบัลลังก์ของอังกฤษ โดยทั้งรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 และพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ก็พบหลักฐานว่าได้ทรงมงกุฎองค์นี้เช่นกัน[6] จนกระทั่งถึงช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ ซึ่งทำมาซึ่งการปลงพระชนม์ของพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ในปีค.ศ. 1649 มงกุฎองค์นี้ได้ถูกทำลายและถอดชิ้นส่วนอัญมณีออกขายเป็นมูลค่าประมาณ 1,100 ปอนด์[7] โดยจากหลักฐานบันทึกทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ที่ถูกนำมาขายนั้นพบว่ามงกุฎองค์นี้มีน้ำหนักถึง 3.3 กิโลกรัม (7 ปอนด์ 6 ออนซ์)[8]

ตราอาร์ม[แก้]

ตราอาร์มมงกุฎทิวดอร์

ในระหว่างช่วงปีค.ศ. 1902 ถึง 1953 ภาพวาดมงกุฎทิวดอร์ได้ถูกนำมาใช้ในตราพระราชลัญจกร และตราสัญลักษณ์ต่างๆ ในประเทศต่างๆ ที่เป็นราชอาณาจักรเครือจักรภพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ในปีค.ศ. ​2022 พระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงเลือกใช้มงกุฎทิวดอร์บนตราพระราชลัญจกร[9]

A logo with "CR III" and a crown
พระราชลัญจกรในพระเจ้าชาลส์ที่ 3 โดยมียอดเป็น มงกุฎทิวดอร์[10]
A logo with "CR III" and a crown
พระราชลัญจกรในพระเจ้าชาลส์ที่ 3 โดยมียอดเป็นมงกุฎแห่งสกอตแลนด์

มงกุฎองค์ใหม่[แก้]

ในปีค.ศ. 2012 ได้มีการจัดสร้างมงกุฎทิวดอร์องค์จำลองโดยอาศัยรูปแบบจากงานวิจัยของ Historic Royal Palaces โดยให้แฮรี คอลลินส์ อดีตนายช่างอัญมณีประจำราชสำนัก โดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการขึ้นงานโลหะเหมือนในสมัยทิวดอร์ โดยใช้อัญมณี และไข่มุกทั้งสิ้นกว่า 344 เม็ดในการประดับ โดยได้จัดแสดงอยู่ ณ Royal Chapel ที่พระราชวังแฮมป์ตันคอร์ต[11]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Black Prince's Ruby was located at the top of the arches and surmounted by a cross.[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sir Roy Strong (19 November 1989). "A Vanished Realm: The Lost Treasures of Britain". The Sunday Times Magazine. p. 33.
  2. Lucy Gent; Nigel Llewellyn (1990). Renaissance Bodies: The Human Figure in English Culture, c. 1540–1660. Reaktion Books. p. 14. ISBN 978-0-948462-08-5.
  3. John Plowfeld (1521). "King Henry VIII's Jewel Book". ใน Edward Trollope (บ.ก.). Associated Architectural Societies Reports and Papers. Vol. 17. James Williamson. pp. 158–159.
  4. 4.0 4.1 Jennifer Loach; G. W. Bernard; Penry Williams (1999). Edward VI. Yale University Press. p. 36. ISBN 978-0-300-07992-0.
  5. Collins, p. 12.
  6. Edward Francis Twining (1960). A History of the Crown Jewels of Europe. Batsford. p. 139.
  7. Arthur Jefferies Collins (1955). Jewels and Plate of Queen Elizabeth I: The Inventory of 1574. Trustees of the British Museum. p. 266.
  8. Oliver Millar, บ.ก. (1972). The Inventories and Valuations of the King's Goods, 1649–51. Walpole Society. p. 43. ISBN 095023740X.
  9. King Charles: New royal cypher revealed, BBC 26 September 2022
  10. "King Charles: New royal cypher revealed". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-09-26. สืบค้นเมื่อ 2022-09-26.
  11. "Henry VIII's Crown at Hampton Court Palace". Historic Royal Palaces. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-08. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.

ดูเพิ่ม[แก้]