มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4
Coronation Crown of George IV

มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 ถือโดยอธิการแห่งเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
รายละเอียด
สำหรับ สหราชอาณาจักร
ผลิตเมื่อค.ศ. 1821
ผู้ครอบครองพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
จำนวนโค้ง2 โค้ง
วัตถุดิบหลักทองคำ เงิน
วัสดุซับในกำมะหยี่สีม่วง กรุขอบด้วยขนเออร์มิน
อัญมณีสำคัญเพชร 12,314 เม็ด
องค์ก่อนหน้ามงกุฎพระเจ้าจอร์จที่ 1

มงกุฎราชาภิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 (อังกฤษ: The Coronation Crown of George IV) เป็นมงกุฎองค์ที่ใช้สวมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 4 ในปีค.ศ. 1821

การออกแบบ[แก้]

มงกุฎองค์นี้มีขนาดสูง 40 ซม. และประดับด้วยเพชรกว่า 12,314 เม็ด โดยถูกกล่าวกันว่าจะทำให้พระองค์ดูเหมือนเป็น "นกอันล้ำค่าแห่งตะวันออก"[1] ตัวฐานมงกุฎทำจากทองคำ และเงิน จัดทำโดยฟิลิป ลีบาร์ท แห่งรันเดลล์และบริดจ์[2] ซึ่งเป็นช่างทองประจำราชสำนัก โดยออกแบบให้เสมือนดั่งหายตัวได้ภายใต้เพชรที่ประดับอยู่บนมงกุฎองค์นี้ โดยมีแผนการถอดลายดอกลิลลี่ หรือเฟลอร์-เดอ-ลีส์ออก โดยแทนด้วยกุหลาบ ธิสเทิล และแชมรอก ซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาแผนการนี้ได้ถูกปฏิเสธโดย College of Arms และมงกุฎองค์นี้ยังมีหมวกกำมะหยี่ด้านในเป็นสีน้ำเงินเข้ม[3] ซึ่งแตกต่างจากองค์อื่นๆ ที่ใช้ในอังกฤษซึ่งจะเป็นกำมะหยี่สีม่วงหรือสีแดงอมม่วง โดยมงกุฎประกอบด้านบนยอดซึ่งเป็นลูกโลกและกางเขนแพตตี ซึ่งถูกรองรับโดยก้านทั้งสี่ ซึ่งเป็นลวดลายใบโอ้ค ซึ่งด้านล่างสุดของแต่ละก้านจะเป็นลายกางเขนแพตตี ระหว่างก้านยอดจะเป็นลวดลายดอกลิลลี่ หรือเฟลอร์-เดอ-ลีส์ และด้านในบุเป็นผ้ากำมะหยี่

ชะตากรรม[แก้]

เนื่องจากการเลื่อนวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าจอร์จที่ 4 อันสืบเนื่องมาจากคดีของพระราชินีคาโรลีน และมูลค่ารวมของมงกุฎองค์นี้สูงถึง 24,425 ปอนด์[4] ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระองค์ได้พยายามที่จะเก็บมงกุฎองค์นี้ไว้ และพยายามโน้มน้าวให้รัฐบาลซื้อไว้เพื่อที่พระองค์จะได้ใช้ทรงในรัฐพิธีเปิดประชุมสภาประจำปี แต่เนื่องจากมีมูลค่าสูงเกินไป มงกุฎองค์นี้ได้ถูกถอดอัญมณีออกคืนในปีค.ศ. 1823 และไม่ได้ถูกใช้ทรงโดยพระมหากษัตริย์พระองค์อื่นอีกเลย[4]

พระเจ้าจอร์จที่ 4 ได้ทรงซื้อแบบจำลองเท่าขนาดจริงที่ทำขึ้นด้วยทองเหลืองในมูลค่าเพียง 38 ปอนด์ ที่มีจารึกเขียนว่า "แบบจำลองของมงกุฎอิมพิเรียลไดมอนด์ซึ่งสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ทรงในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1821"[5]


มงกุฎองค์นี้หลังจากที่ถูกถอดอัญมณีแล้ว ได้ถูกปล่อยเช่าให้กับพิพิธภัณฑ์ลอนดอนตั้งแต่ปีค.ศ. 1933 จนถึง ค.ศ. 1985[6] ต่อมาได้ถูกซื้อโดยบริษัทแอสเปรย์ในปีค.ศ. 1987 และต่อมาถูกซื้อโดยเจ้าชายเจฟรี โบลเกียห์ แห่งบรูไน ซึ่งต่อมาได้เสนอให้กับสหราชอาณาจักร[7] โดยในปีค.ศ. 1995 ได้มีการตีมูลค่าถึง 376,000 ปอนด์ในระหว่างการขออนุญาตส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา[8] โดยต่อมาได้ถูกปฏิเสธการอนุญาตโดยคณะกรรมการตรวจสอบการส่งออกศิลปะ ในปัจจุบันมงกุฎองค์นี้อยู่ในงานสะสมศิลปะหลวงของพระราชวงศ์อังกฤษ และได้ถูกจัดแสดงไว้ที่หอคอยลอนดอนตั้งแต่ปีค.ศ. 1996[9] เป็นต้นมา โดยใช้เพชรที่ยืมจากเดอเบียร์สที่มีมูลค่าถึง 2 ล้านปอนด์ในการจัดแสดงเคียงคู่กับมงกุฎองค์นี้เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเห็นภาพถึงปริมาณเพชรที่ใช้ในประดับมงกุฎองค์ในอดีต[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tessa Rose (1992). The Coronation Ceremony of the Kings and Queens of England and the Crown Jewels. HM Stationery Office. p. 85. ISBN 978-0-11-701361-2.
  2. แม่แบบ:Royal Collection
  3. Cyril Davenport (1897). The English Regalia. K. Paul, Trench and Trübner. p. 13.
  4. 4.0 4.1 Kenneth J. Mears; Simon Thurley; Claire Murphy (1994). The Crown Jewels. Historic Royal Palaces Agency. pp. 6–7. ASIN B000HHY1ZQ.
  5. แม่แบบ:Royal Collection
  6. "Crown Jewels". Parliamentary Debates (Hansard). Vol. 268. United Kingdom: House of Commons. 18 December 1995. col. 853W. เก็บถาวร 2021-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "Crown Jewels". Parliamentary Debates (Hansard). Vol. 268. United Kingdom: House of Commons. 12 December 1995. col. 566W. เก็บถาวร 2021-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Reviewing Committee on the Export of Works of Art (1995). Export of Works of Art: 1994–95. HM Stationery Office. pp. 48–50.
  9. Stephen Goodwin (17 December 1996). "Crowning glory at Tower exhibition". Independent. สืบค้นเมื่อ 7 July 2016.
  10. "Crown Jewels Factsheet" (PDF). Historic Royal Palaces. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-02. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.

ดูเพิ่ม[แก้]