กางเขนแพตตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราอาร์มลายกางเขนแพตตี

กางเขนแพตตี (Cross Pattée, Cross Patty, Cross Pate) เป็นสัญลักษณ์รูปแบบหนึ่งของกางเขนคริสเตียน ซึ่งมีลักษณะของแขนแคบเข้าตรงช่วงกลางของกางเขน โดยจะเริ่มจากเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้ง และจะค่อย ๆ กว้างออกที่บริเวณช่วงปลายทั้งสี่ด้าน โดยได้พบหลักฐานการใช้สัญลักษณ์กางเขนแพตตีในงานศิลปะยุคกลางตอนต้น อาทิเช่น งานปกสมุดทำด้วยโลหะซึ่งจัดสร้างโดยพระราชินีเธโอเดลินดา เพื่อใช้ถวายให้กับมหาวิหารมอนซา ในปี ค.ศ. 628 และยังพบบนปกหลังของกอสเปลของลินโด (Lindau Gospels) ซึ่งเป็นงานสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่หอสมุดมอร์แกน ตัวอย่างในยุคแรกของการใช้เป็นตราสัญลักษณ์ในอังกฤษ (ราวคริสต์ศตวรรณที่ 12) พบในตราอาร์มของบารอนเบิร์กเลย์

ความหมาย[แก้]

คำว่า pattée นั้นเป็นคำศัพท์ภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับคำว่ากางเขน หรือ Croix จะรวมกันเป็นคำเต็มว่า la croix pattée แปลตามศัพท์ว่า "กางเขนที่มีขา" คำว่า patte เป็นคำนามแปลว่าเท้า ซึ่งใช้ในสัตว์เป็นส่วนใหญ่[1]

กางเขนนี้มีแขนสี่ด้านค่อย ๆ บานออก ซึ่งแต่ละด้านมีลักษณะคล้ายขาของจอก หรือของเชิงเทียน ในภาษาเยอรมันเรียกว่า Tatzenkreuz มาจากคำว่า Tatze แปลว่าเท้า โดยสันนิษฐานว่าคำนี้มีรากมาจากคำกริยาภาษาละตินว่า pateo แปลว่า เปิดออก หรือ กางออก โดยสามารถพบได้ในตราสัญลักษณ์ของพระเจ้าสตีเฟนแห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1135 - 1154)[2]

รูปแบบต่าง ๆ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Larousse Dictionnaire de la Langue Francaise Lexis, Paris, 1993, p.1356
  2. Planché, J.R. The Pursuivant of Arms; or Heraldry Founded upon Facts. London, 1859, p.29