ภาษาเฮอร์เตวิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเฮอร์เตวิน
ܣܘܪܬ Sôreth
ออกเสียง/'hɛrtəvən/, /ˈsorɛθ/
ประเทศที่มีการพูดตุรกี
ภูมิภาคจังหวัดซิอิรห์
จำนวนผู้พูด1,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
แอโฟรเอชีแอติก
ระบบการเขียนอักษรซีเรียค (แบบ Madnhāyâ )
รหัสภาษา
ISO 639-2syr
ISO 639-3hrt

ภาษาเฮอร์เตวิน เป็นภาษาอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออกใช้พูดในหลายหมู่บ้านในจังหวัดซิอิรห์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่อพยพไปทางตะวันตก เหลือผู้พูดในตุรกีไม่มากนัก

ผู้พูดภาษานี้เป็นชาวคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดีย บ้านเดิมของพวกเขาอยู่ในหมู่บ้านในเฮอร์เตวิน ใกล้เมืองเปอร์วารี ในจังหวัดซิอิรห์ซึ่งถือว่าอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออก ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาษาเฮอร์เตวินเป็นสำเนียงที่พัฒนาขึ้นต่างจากภาษาใกล้เคียงอื่นๆ โดยมีลักษณะร่วมกับภาษาตูโรโย

ภาษาเฮอร์เตวินถูกจัดเป็นภาษาหนึ่งต่างหากโดย Otto Jastrow เมื่อ พ.ศ. 2513 และเขาได้อธิบายเกี่ยวกับภาษานี้ในอักสองปีต่อมา ลักษณะเด่นของภาษานี้ที่ต่างจากภาษาอราเมอิกใหม่สำเนียงตะวันออกด้วยกันคือ ไม่มีการแยกสรรพนามชี้เฉพาะ “นี่” กับ “นั่น” แต่ใช้กลุ่มของสรรพนามที่ครอบคลุมทั้งสองความหมายคือ awa aya และ ani มีการสร้างคำสรรพนามสำหรับคำว่า “สิ่งนี้ที่นี่” คือ oha eha และ anhi ผู้พูดภาษาเฮอร์เตวินจะพูดภาษาเคิร์ดได้ด้วย และอาจจะพูดภาษาอื่นๆได้อีก ภาษานี้เขียนด้วยอักษรซีเรียค แต่เกือบจะไม่มีวรรณกรรมใดๆเหลืออยู่เลย ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคเป็นภาษาทางศาสนา

อ้างอิง[แก้]

  • Jastrow, Otto (1990). Personal and Demonstrative pronouns in Central Neo-Aramaic. In Wolfhart Heinrichs (Ed.), Studies in Neo-Aramaic, pp. 89–103. Atlanta, Georgia: Scholars Press. ISBN 1-55540-430-8.
  • Maclean, Arthur John (1895). Grammar of the dialects of vernacular Syriac: as spoken by the Eastern Syrians of Kurdistan, north-west Persia, and the Plain of Mosul: with notices of the vernacular of the Jews of Azerbaijan and of Zakhu near Mosul. Cambridge University Press, London.