ภาษามันดาอิก
ภาษามันดาอิก | |
---|---|
Mandāyì, Raṭnā | |
ประเทศที่มีการพูด | อิหร่าน, อิรัก, สหรัฐอเมริกา |
ภูมิภาค | จังหวัดฆูเซสถาน ประเทศอิหร่าน |
จำนวนผู้พูด | 100 คนสำหรับภาษามันดาอิกใหม่ (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | แอโฟรเอชีแอติก
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | arc |
ISO 639-3 | อย่างใดอย่างหนึ่ง: mid — ภาษามันดาอิกใหม่ myz — ภาษามันดาอิกคลาสสิก |
ภาษามันดาอิก เป็นภาษาที่ใช้ในศาสนามันดาอี ใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิก และได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านอื่น ๆ ทั้งในด้านไวยากรณ์และรากศัพท์ ภาษามันดาอิกคลาสสิก จัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก สาขาตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิกที่ใช้พูดในบาบิโลเนียและภาษาในเมโสโปเตเมียอื่น ๆ มีความใกล้เคียงกับภาษาซีเรียค ที่เป็นภาษาของชาวคริสต์ในตะวันออกกลาง
ภาษามันดาอิกใหม่[แก้]
ภาษามันดาอิกใหม่พัฒนามาจากภาษามันดาอิก ที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาอราเมอิก ภาษาอราเมอิกเคยใช้เป็นภาษากลางในยุคอัสซีเรียและอะคีเมนิด และเป็นภาษาสำหรับการติดต่อระหว่างชาติ หลังจากนั้น ภาษาอราเมอิกพัฒนาออกไปเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มตะวันตกได้แก่ภาษาทัลมูดิกในปาเลสไตน์ ภาษาปาเลสไตน์ของชาวคริสต์ และภาษาซามาริทัน กับกลุ่มตะวันออก ได้แก่ ภาษาบาบิโลเนียยุคสุดท้าย ภาษาซีเรียคและภาษามันดาอิก
ภาษาที่ยังเหลืออยู่ของภาษาอราเมอิกกลุ่มตะวันออกได้แก่ ภาษาอราเมอิกใหม่กลาง (ภาษาตูโรโยและภาษามลาโซ) ภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันออกเฉียงเหนือ (เป็นกลุ่มใหญ่สุด ซึ่งรวมทั้งภาษาอราเมอิกใหม่ในหมู่ชาวยิวและภาษาอราเมอิกใหม่อัสซีเรียและภาษาอราเมอิกใหม่คัลเดีย) และภาษามันดาอิกใหม่ ส่วนภาษาที่เหลือรอดของกลุ่มตะวันตกมีภาษาเดียวคือภาษาอราเมอิกใหม่ตะวันตกที่ใช้พูดในบางหมู่บ้านในดามัสกัส ในบรรดาภาษาที่เหลือรอดเหล่านี้ ภาษามันดาอิกใหม่จัดว่าเป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอราเมอิกโดยตรง ในทางไวยากรณ์ ภาษามันดาอิกใหม่มีลักษณะอนุรักษนิยมเมื่อเทียบกับภาษาอราเมอิใหม่กลุ่มตะวันออกอื่น ๆ โดยยังคงใช้การเชื่อมต่อปัจจัยแบบภาษาเซมิติกยุคเก่า
ภาษามันดาอิกใหม่เหลืออยู่สามสำเนียง ใช้พูดในเมืองซุซตาร์ ชาห์ วาลติ และเดซฟูล ในฆูเซสถานตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศอิหร่าน ชุมชนชาวมันดาอีในเมืองเหล่านี้อพยพออกในช่วงพ.ศ. 2523 และเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองอะห์วาซและโคร์รัมชาห์ ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามอิรัก-อิหร่าน
อ้างอิง[แก้]
- Drower, Ethel Stefana and Rudolf Macuch. 1963. A Mandaic Dictionary. Oxford: Clarendon.
- Häberl, Charles. 2006. The Neo-Mandaic Dialect of Khorramshahr. PhD Dissertation, Harvard University.
- Macuch, Rudolf. 1965. Handbook of Classical and Modern Mandaic. Berlin: De Gruyter.
- Macuch, Rudolf. 1989. Neumandäische Chrestomathie. Wiesbaden: Harrasowitz.
- Macuch, Rudolf. 1993. Neumandäische Texte im Dialekt von Ahwaz. Wiesbaden: Harrasowitz.
- Nöldeke, Theodor. 1862. “Ueber die Mundart der Mandäer.” Abhandlungen der Historisch-Philologischen Classe der königlichen Gesellschaft der Wissenschaften zu Göttingen 10: 81-160.
- Nöldeke, Theodor. 1875. Mandäische Grammatik. Halle: Waisenhaus