ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาเซนายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเซนายา
ܣܢܝܐ Senāya, ܣܘܪܝ Soray
ออกเสียง/sɛnɑjɑ/, /soraj/
ประเทศที่มีการพูดอิหร่าน, ยุโรปตะวันตก, ออสเตรเลีย, สหรัฐ
ภูมิภาคเตหะราน และ เมืองควาซวิน
จำนวนผู้พูด500 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
แอโฟรเอชีแอติก
ระบบการเขียนอักษรซีเรียค (แบบ Māḏnhāyā)
รหัสภาษา
ISO 639-2syr
ISO 639-3syn

ภาษาเซนายา เป็นภาษาแอราเมอิกตะวันออกหรือภาษาซีเรียคสมัยใหม่ เป็นภาษาของชาวอัสซีเรียที่มีต้นกำเนิดในซานันดัซ ในเคอร์ดิสถานของอิหร่าน ผู้พูดส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดีย

จุดกำเนิด ประวัติศาสตร์และการใช้ในปัจจุบัน

[แก้]

เมืองซานันดัซเป็นบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของบริเวณที่เคยใช้ภาษาแอราเมอิก สำเนียงของภาษาแอราเมอิกใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองนี้ มีสองสำเนียงคือ สำเนียงฮาลัวลาของชาวยิวและสำเนียงเซนายาของชาวคริสต์ ซึ่งแตกต่างกัน เช่น เสียง θ (th) ของภาษาแอราเมอิกยุคกลาง เป็นเสียง l ในสำเนียงฮาลัวลา และs ในภาษาเซนายา ตัวอย่างเช่น , mîθa, 'ตาย' เป็น mîsa ในภาษาเซนายาและ mîla ในสำเนียงฮาลัวลา

ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกคัลเดียที่แยกออกมาจากนิกายอัสซีเรียตะวันออกในพุทธศตวรรษที่ 21 และเข้าร่วมในคริสตจักรโรมันคาทอลิก ผุ้พูดภาษานี้ไม่เข้าใจภาษาแอราเมอิกใหม่คัลเดียที่ใช้พูดในอิรัก ปัจจุบัน ชุมชนชาวคริสต์ในซานันดัซเริ่มลดลง ส่วนใหญ่อพยพมาอยู่ที่เตหะราน จนไม่มีผู้พูดภาษาเซนายาเป็นภาษาแม่ในซานันดัซ ภาษาในเตหะรานได้รับอิทธิพลจากภาษาแอราเมอิกใหม่อัสซีเรียสำเนียง อูร์เมซนายา (Urmežnāya) ชาวคริสต์กลุ่มนี้ใช้ภาษาซีเรียคเป็นภาษาทางศาสนา ภาษาเซนายาเขียนด้วยอักษรซีเรียคแบบ Madnhāyâ ซึ่งเป็นแบบที่ใช้กับภาษาซีเรียคคลาสสิก

อ้างอิง

[แก้]
  • Heinrichs, Wolfhart (ed.) (1990). Studies in Neo-Aramaic. Scholars Press: Atlanta, Georgia. ISBN 1-55540-430-8.