ฟีแนนทรีน
ฟีแนนทรีน | |
---|---|
![]() | |
ชื่อตาม IUPAC | Phenanthrene |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [85-01-8] |
PubChem | |
SMILES | |
InChI | |
คุณสมบัติ | |
สูตรเคมี | C14H10 |
มวลต่อหนึ่งโมล | 178.23 g/mol |
จุดหลอมเหลว |
99 °C |
จุดเดือด |
340 °C |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | insoluble |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
ฟีแนนทรีน (อังกฤษ:Phenanthrene) เป็น พอลิไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbon) ที่ประกอบด้วยวงบแหวน เบนซีน 3 วงต่อเชื่อมกัน ดังรูปทางขวามือ คำว่าฟีแนนทรีนมาจากคำว่าฟีนิลรวมกับคำว่าแอนทราซีน เป็นสารที่พบในควันบุหรี่ เป็นสารระคายเคือง ทำให้ผิวไวต่อแสง สารบริสุทธิ์เป็นผงสีขาวและเรืองแสงฟลูออเรสเซนต์ สารที่มีโครงสร้างแบบเดียวกับฟีแนนทรีนแต่มีไนโตรเจนอยู่ที่ตำแหน่งที่ 4 และ5 เรียกว่าฟีแนนโทรลีน (phenanthroline.)
ฟีแนนทรีนมี โครงสร้างเรโซแนนซ์ (resonance structure) 5 แบบ ปฏิกิริยาฟีแนนทรีน มักจะเกิดในตำแหน่งที่ 9 และ 10 ฟีแนนทรีนแทบจะไม่ละลายในน้ำแต่ละลายได้ดีในสารมลพิษอินทรีย์ เช่น โทลูอีน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ อีเทอร์ คลอโรฟอร์ม กรดน้ำส้ม และเบนซีน การสังเคราะห์ฟีแนนทรีนใช้การสังเคราะห์แบบ Bardhan-Sengupta
ฟีแนนทรีนมีความคงตัวมากกว่าแอนทราซีน ในธรรมชาติ ฟีแนนทรีนพบในบริเวณที่เกิดการเผาไหม้ เช่นเดียวกับพีเอเอชชนิดอื่นๆ
![]() |
บทความนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล หมายเหตุ: ขอแนะนำให้จัดหมวดหมู่โครงให้เข้ากับเนื้อหาของบทความ (ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:โครงการจัดหมวดหมู่โครงที่ยังไม่สมบูรณ์) |