ฟอร์ด เลเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟอร์ด เลเซอร์
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตฟอร์ดมอเตอร์
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2523 - 2546
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact car) (พ.ศ. 2524–2537)
รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) (พ.ศ. 2537–2550)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
แฮทช์แบค 3 ประตู
แฮทช์แบค 5 ประตู
สเตชันวากอน 4 ประตู
คอนเวอร์เทเบิล 2 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรลล่า
ฮอนด้า ซีวิค
นิสสัน ซันนี่/ทีด้า/บลูเบิร์ด ซิลฟี
มาสด้า 323/3
มิตซูบิชิ แลนเซอร์
เชฟโรเลต ครูซ
แดวู ลาเซ็ตติ
โอเปิล แอสตร้า
ซูซูกิ SX4
เกีย ซีเฟีย/ฟอร์เต้
ฮุนได เอลันตร้า
เปอโยต์ 308/408
ซีตรอง C4
ซูบารุ อิมเพรสซา
โปรตอน เพอร์โซนา/เพรเว่
บีเอ็มดับเบิลยู 1 ซีรีส์
โฟล์กสวาเกน กอล์ฟ/เจ็ตตา
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าฟอร์ด เอสคอร์ท
รุ่นต่อไปฟอร์ด โฟกัส

ฟอร์ด เลเซอร์ (อังกฤษ: Ford Laser) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (Compact Car) ซึ่งผลิตโดยบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2546 โดยมีตลาดรองรับอยู่หลายทวีปตั้งแต่เอเชีย ,โอเชียเนีย ,อเมริกาใต้และแอฟริกา มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 5 Generation (รุ่น) ซึ่งรุ่นที่ 1-4 ไม่เป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก แต่ในรุ่นที่ 5 หลังจากฟอร์ดมอเตอร์ได้มาก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538 ในปี พ.ศ. 2543 เลเซอร์รุ่นที่ 5 จึงได้เข้ามาขายในประเทศไทย และขายจนถึงปี พ.ศ. 2548

รุ่นที่ 1 (KA/KB; พ.ศ. 2523-2528)[แก้]

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 1

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 1 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2523-2528 ในรุ่นนี้ได้ใช้รหัสว่า KA ในปี พ.ศ. 2523-2526 และ KB ในปี พ.ศ. 2526-2528 โดยมีการออกแบบร่วมกับมาสด้า 323 และยังใช้เครื่องยนต์ของมาสด้า ซึ่งมี 3 ขนาดดังนี้ 1.1 ,1.3 และ 1.5 ลิตร

มีตัวถัง 3 แบบ คือ แฮทช์แบค 3 ประตู ,แฮทช์แบค 5 ประตู และซีดาน 4 ประตู สำหรับในประเทศไทย เลเซอร์รุ่นนี้เคยมีการนำเข้ามาขาย ประมาณปี พ.ศ. 2523 - 2524 โดย บริษัท แองโกล-ไทย มอเตอร์ จำกัด (ตัวแทนนำเข้าและจำหน่ายรถฟอร์ดในยุคนั้น) แต่เลเซอร์รุ่นนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักของประเทศไทยมากนัก

รุ่นที่ 2 (BF/KC/KE; พ.ศ. 2528-2533)[แก้]

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 2

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 2 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2528-2533 โดยใช้รหัสว่า KC และ KE มีเครื่องยนต์ 2 ขนาดคือ 1.3 และ 1.6 ลิตร และมีตัวถัง 5 แบบคือ คอนเวอร์เทเบิล 2 ประตู ,แฮทช์แบค 3 ประตู ,ซีดาน 4 ประตู ,สเตชันวากอน 5 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู

รุ่นที่ 3 (KF/KH; พ.ศ. 2532-2538)[แก้]

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 3

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 3 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2532-2538 มีรหัสว่า KF และ KH มีตัวถัง 4 แบบ คือ แฮทช์แบค 3 ประตู ,ซีดาน 4 ประตู ,สเตชันวากอน 4 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู มีเครื่องยนต์ 3 ขนาด คือ 1.3 ,1.6 และ 1.8 ลิตร

และนอกจากนี้ รุ่นนี้ยังมีการผลิตรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อออกมาด้วยในรุ่น 1.8 ลิตร

เลเซอร์โฉมนี้ในประเทศไทย เคยมีการนำมาทำเป็นรถแท็กซี่ และเคยเป็นรถที่ใช้ในการถ่ายทำละครเรื่อง ทองพูน โคกโพ ในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย

รุ่นที่ 4 (KJ/KL/KM; พ.ศ. 2537-2541)[แก้]

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 4

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 4 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2537-2541 มีรหัสว่า KJ และ KL โดยมีตัวถัง 3 แบบคือ ซีดาน 4 ประตู ,แฮทช์แบค 3 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู และมีเครื่องยนต์ 1.6 และ 1.8 ลิตร

อย่างไรก็ตาม ฟอร์ด เลเซอร์รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากผู้คนในยุคนั้นหันไปซื้อรถยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่าอย่าง ฟอร์ด เฟสติวา เนื่องจากราคาถูกกว่าและประหยัดน้ำมันมากกว่าทำให้รุ่นนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

รุ่นที่ 5 (KN/KQ; พ.ศ. 2542-2546)[แก้]

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 5

ฟอร์ด เลเซอร์ รุ่นที่ 5 เริ่มผลิตระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 เป็นรุ่นสุดท้ายของฟอร์ด เลเซอร์ โดยใช้รหัสว่า KN และ KQ มีตัวถัง 2 แบบคือซีดาน 4 ประตูและแฮทช์แบค 5 ประตู และมีเครื่องยนต์ 3 ขนาดคือ 1.6 ,1.8 และ 2.0 ลิตร

รุ่นนี้ เป็นรุ่นแรกที่เข้ามาผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย โดยเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2543 และหลังจากไมเนอร์เชนจ์ในปี พ.ศ. 2546 ได้ใช้ชื่อใหม่ว่า ฟอร์ด เลเซอร์ เทียร่า (อังกฤษ: Ford Laser Tierra) แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากแม้เลเซอร์ในตลาดโลกจะมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากแต่รุ่นนี้ก็ยังทำยอดขายไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในปี พ.ศ. 2546 ฟอร์ดจึงได้เลิกผลิตเลเซอร์และนำฟอร์ด โฟกัส (อังกฤษ: Ford Focus) มาทำตลาดทั่วโลกแทน (ในช่วงแรกโฟกัสทำตลาดเฉพาะยุโรปเท่านั้น แต่เมื่อเลเซอร์เลิกผลิตจึงนำโฟกัสไปทำตลาดแทน) และในปี พ.ศ. 2548 ได้ยกเลิกการผลิตและจำหน่ายเลเซอร์ในประเทศไทยไปในที่สุด

ฟอร์ด เลเซอร์ เทียร่า / ลิงซ์ / เทียร่า / เลเซอร์ เทียร่า RS[แก้]

ฟอร์ด เลเซอร์ เทียร่า RS front
ฟอร์ด เลเซอร์ เทียร่า RS rear

ปีนี้ ฟอร์ด เลเซอร์ รถเก๋งเพียงรุ่นเดียวของค่าย ฟอร์ด ในประเทศไทย ถึงคราวต้องเปลี่ยนโฉมใหม่ หลังจากผ่านร้อน ผ่านฝน มานานกว่า 4 ปี

ฟอร์ด ปรับรูปลักษณ์ภายนอก ตกแต่งภายในห้องโดยสาร และเปลี่ยนชื่อรถ เลเซอร์ รุ่นใหม่ เป็น "ลินซ์" (LYNX) "ลิเดีย" (LIDEA) และ "เทียร์รา" (TIERRA) ยกเว้น ในประเทศเวียดนาม ที่ยังใช้ชื่อ เลเซอร์ ส่วนบ้านเราจะเปิดตัวในชื่อว่า เลเซอร์ เทียร์รา เนื่องจาก ฟอร์ด ย้ายฐานการผลิตรถรุ่น เลเซอร์ ทั้งหมดในกลุ่มอาเชียน ไปอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ การทดลองขับเลเซอร์ เทียร์รา หรือ ลินซ์ ครั้งแรก จึงถูกจัดขึ้นที่นั่น ภายใต้โพรแกรม THE 2002 FORD LYNX