ฟอร์ด โฟกัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟอร์ด โฟกัส
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตฟอร์ด
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2541–ปัจจุบัน (ประเทศจีน)
พ.ศ. 2541–2568 (ตลาดโลก)
พ.ศ. 2548–2561 (ประเทศไทย)
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
รูปแบบตัวถัง3 ประตู น็อชแบ็ก/ลิฟท์แบ็ก
5 ประตู น็อชแบ็ก/ลิฟท์แบ็ก
4 ประตู เก๋ง
5 ประตู เอสเตท
2 ประตู คูป (สหรัฐฯ)
2 ประตู คูปเปิดประทุน (ยุโรป)
โครงสร้างเครื่องวางหน้าขับเคลื่อนล้อหน้าหรือขับเคลื่อนสี่ล้อ (รุ่น RS เท่านั้น)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าฟอร์ด เอสคอร์ท (ยุโรปและอเมริกาเหนือ)
ฟอร์ด เลเซอร์ (เอเชียและโอเชียเนีย)
รุ่นต่อไปฟอร์ด เอสเคป (อเมริกาเหนือ)

ฟอร์ด โฟกัส (อังกฤษ: Ford Focus) เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (เซ็กเมนต์-ซีในยุโรป) ผลิตโดยบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ออกแบบภายใต้แผนฟอร์ดปี 2000 ของอเล็กซ์ ทรอทแมนซึ่งมีเป้าหมายเป็นรถที่มีความเหมือนกันในทุกตลาดทั่วโลก โดยโฟกัสได้ออกแบบทั้งหมดโดยทีมเยอรมนีและทีมอังกฤษของฟอร์ด ยุโรป[1] โฟกัสได้จำหน่ายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ทำการตลาดต่อจากฟอร์ด เอสคอร์ทและฟอร์ด เลเซอร์ในเอเชียและโอเชียเนีย

รุ่นที่ 1 (C170; 1998–2004)[แก้]

ฟอร์ด โฟกัส Hatch (รุ่นที่ 1 ปรับโฉม)
ฟอร์ด โฟกัส Hatch (รุ่นที่ 1)
ฟอร์ด โฟกัส Sedan (รุ่นที่ 1)

ฟอร์ด โฟกัส รุ่นที่ 1 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2541-2547 ในรุ่นนี้ได้แทนที่รถฟอร์ด เอสคอร์ท ซึ่งมี 4 ขนาดดังนี้ 1.4 ,1.6, 1.8 และ 2.0 ลิตร

มีตัวถัง 4 แบบ คือ แฮทช์แบค 3 ประตู ,แฮทช์แบค 5 ประตู ,ซีดาน 4 ประตู และเอสเตท 5 ประตู แต่รุ่นยังไม่เป็นที่รู้จักของประเทศไทยมากนัก

รุ่นที่ 2 (C307 และ C170; 2004–2011)[แก้]

Europe (C307)[แก้]

Ford Focus Hatch (รุ่นที่ 2 ปรับโฉม)
Ford Focus Hatch (รุ่นที่ 2 ปรับโฉม)
Ford Focus Sedan (รุ่นที่ 2)

ฟอร์ด โฟกัส รุ่นที่ 2 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2547-2551 ซึ่งมี 5 ขนาดดังนี้ 1.4 ,1.6, 1.8 ,2.0 และ 2.5 ลิตร

มีตัวถัง 5 แบบ คือ คอนเวอร์เทเบิล 2 ประตู ,แฮทช์แบค 3 ประตู ,ซีดาน 4 ประตู ,สเตชันวากอน 5 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู

รุ่นนี้ เป็นรุ่นแรกที่เข้ามาผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย โดยเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2548

ในตลาดเมืองไทย ฟอร์ด เปิดตัว โฟกัสครั้งแรก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ถือเป็นการเปิดตัวรถฟอร์ด ที่มีคนไทย ให้ความสนใจกันมากที่สุดครั้งหนึ่ง จนถึงขั้นนำไปเปรียบเทียบกับ Honda Civic FD ที่เปิดตัวในเวลาก่อนหน้านั้น เพียงไม่กี่สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงก่อนเปิดตัว ฟอร์ด เผยโฉมเวอร์ชันต้นแบบซีดาน 4 ประตู Focus CONCEPT ในงานปักกิง มอเตอร์โชว์เดือนพฤษภาคม 2005 เป็นช่วงเวลาที่คนไทยเริ่มรับรู้กันมากขึ้นทั้งโดยความตั้งใจของฟอร์ด เซลส์ ประเทศไทยเองและจากสื่อมวลชนว่าโฟกัสกำลังจะมาเปิดตัวในเมืองไทย กันเสียที[2]

ฟอร์ดรู้ปัญหาและพยายามจะแก้ปัญหาด้วยการเปิดตัวรุ่น TDCi สู่ตลาดประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ถือเป็นรถยนต์คอมแพกต์ในตลาด Mass รุ่นแรกของเมืองไทย ในรอบเกือบ 20 ปี ที่วางเครื่องยนต์ดีเซลมาให้จากโรงงานและในการเปิดตัวช่วงแรกนั้นฟอร์ดในยุโรปรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบนั้นมีแต่เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ อัตราทดชิด DuraShift ติดตั้งมาให้เท่านั้น ทำให้ฟอร์ด เซลส์ ประเทศไทยสั่งรถรุ่นนี้เข้ามาขายด้วยเกียร์ธรรมดาเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค แล้วยอดขายน้อยเพราะฟอร์ด สั่งรถ TDCi เกียร์ธรรมดา เข้ามาไม่ถึง 100 คัน และสั่งนำเข้ามาจาก โรงงานในฟิลิปปินส์เพียงแค่ 2 ครั้ง คราวละไม่กี่สิบคัน[ต้องการอ้างอิง]

รุ่นที่ 3 (C346; 2011–2018)[แก้]

Ford Focus hatchback (Mark III ก่อนปรับโฉม)
Ford Focus hatchback (Mark III ปรับโฉม)
Ford Focus (Mark III ก่อนปรับโฉม)
Ford Focus hatchback (Mark III ปรับโฉม)

ฟอร์ด โฟกัส รุ่นที่ 3 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2554-2561 ในรุ่นนี้มี 6 ขนาดดังนี้ 1.0 1.5 1.6 1.8 2.0 และ 2.3 ลิตร

มีตัวถัง 3 แบบ คือ ซีดาน 4 ประตู สเตชันวากอน 5 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู

หลังจากที่ Ford ประเทศไทยได้เผยโฉม Focus รุ่นไมเนอร์เชนจ์อย่างเป็นทางการไปในงาน Bangkok International Motor Show เดือนมีนาคมปี 2016 Ford ตัดสินใจนำเครื่องปริมาตร 1.5 ลิตร EcoBoost มาขายในประเทศไทย[3]

กลางปี 2018 ได้ยุติการทำตลาดแล้วในประเทศไทย เนื่องจากปัญหาเรื่องระบบเกียร์ PowerShift

ในปี 2019 ล่าสุดก็ถอดเมนูหัวข้อ Passenger Cars หรือรถยนต์นั่งออกไปจากเมนูรุ่นรถแล้วยกเลิกการทำตลาดรถยนต์นั่ง Passenger Cars ทั้ง 3 รุ่น Fiesta, Focus, EcoSport อย่างเป็นทางการในประเทศไทยเหลือรถจำหน่าย 3 กลุ่ม 4 รุ่น

รุ่นที่ 4 (C519; 2018–ปัจจุบัน)[แก้]

ฟอร์ด โฟกัส (รุ่นที่ 4)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ2018–ปัจจุบัน (ตลาดจีน)
2018–2025 (ตลาดโลก)
แหล่งผลิต
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง5 door hatchback
4 door sedan
5 door wagon
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
ระบบเกียร์
  • 6-speed manual
  • 6-speed automatic (1.5 Ti-VCT only)
  • 7-speed 7F40 automatic (ST)
  • 8-speed 8F24 automatic (petrol)
  • 8-speed 8F35 automatic (diesel)
มิติ
ระยะฐานล้อ2,700 mm (106.3 in)
ความยาว4,378 mm (172.4 in) (Hatchback)
4,668 mm (183.8 in) (Estate)
4,647 mm (183.0 in) (Sedan)
ความกว้าง1,825 mm (71.9 in)
ความสูง1,454 mm (57.2 in) (Hatchback)
1,481 mm (58.3 in) (Estate)
1,483 mm (58.4 in) (Sedan)
น้ำหนัก1,235 kg - 1,518 kg (Hatchback)
1,383 kg - 1,559 kg (Estate)
1,239 kg - 1,408 kg (Sedan)
Ford Focus (fourth generation)
Ford Focus estate (fourth generation)
Interior
Ford Focus sedan (fourth generation)

ฟอร์ด โฟกัส รุ่นที่ 4 ผลิตระหว่าง พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน ซึ่งมี 4 ขนาดดังนี้ 1.0 ,1.5 ,2.0 และ 2.3 ลิตร

มีตัวถัง 3 แบบ คือ ซีดาน 4 ประตู ,สเตชันวากอน 5 ประตู และแฮทช์แบค 5 ประตู

ยุติการผลิต (เวอร์ชันตลาดโลก)[แก้]

หนึ่งในรถยนต์พิกัด Compact Car ที่เคยได้รับความนิยมในยุโรปอย่าง Ford Focus อาจจะถึงจุดจบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เนื่องจากผู้บริหารให้สัมภาษณ์กับสื่อเชิงบอกใบ้ว่า อาจต้องยุติการดำเนินงานของโรงงานผลิตรถยนต์ Ford ใน Saarlouis เยอรมนี ซึ่งนั่นเป็นสถานที่ที่ Ford Focus ผลิตอยู่

Stuart Rowley ผู้บริหารของ Ford ยุโรป เป็นผู้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวกับสื่อ เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งขยายความว่า Ford มองหาความเป็นไปได้อื่นในการผลิตรถยนต์ที่โรงงาน Saarlouis รวมไปถึงการขายโรงงานให้กับผู้ผลิตรายอื่น เนื่องจากบริษัทไม่มีแผนนำรถยนต์รุ่นอื่น มาประกอบที่โรงงานแห่งนี้

นอกจากนั้น อาจจะมีการปลดพนักงานจำนวนมาก ซึ่งในโรงงานดังกล่าวมีพนักงานอยู่ 4,600 ตำแหน่ง แต่ยังไม่มีการะบุกรอบเวลาในขณะนี้ สำหรับอนาคตของ Ford Focus รวมถึง Ford Mondeo เวอร์ชันตลาดโลกที่ยุติการผลิตไป ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมานั้น จะยังคงผลิตที่โรงงานในประเทศจีนต่อไป เพื่อจำหน่ายที่นั่นโดยเฉพาะ

อ้างอิง[แก้]

  1. English, Andrew. "Where are the people who designed the original Ford Focus?". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  2. https://www.carsome.co.th/buy-car/ford/focus
  3. https://www.headlightmag.com/first-impression-ford-focus-ecoboost-turbo-2016/

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฟอร์ด โฟกัส เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: ประเทศไทย