ข้ามไปเนื้อหา

ฟร็องซัว มีแตร็อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟรองซัว มิตแตร์รองด์)
ฟร็องซัว มีแตร็อง
François Mitterrand
ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีปีแยร์ โมรัว
โลร็อง ฟาบียุส
ฌัก ชีรัก
มีแชล รอการ์
เอดิต แครซง
ปีแยร์ เบเรโกวัว
เอดัวร์ บาลาดูร์
ก่อนหน้าวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง
ถัดไปฌัก ชีรัก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 มกราคม พ.ศ. 2499 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีกี มอเล
ก่อนหน้ารอแบร์ ชูมาน
ถัดไปเอดัวร์ กอร์นีกลียง-มอลีนีเย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
นายกรัฐมนตรีปีแยร์ ม็องแด็ส-ฟร็องส์
ก่อนหน้าเลอง มาร์ตีโน-เดอปลา
ถัดไปมอริส บูร์แฌ็ส-โมนูรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเลฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีเรอเน เปลอว็อง และอ็องรี เกย
ก่อนหน้าปอล ก็อสต์-ฟลอเร
ถัดไปหลุยส์ ฌากีโน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 ตุลาคม พ.ศ. 2459
ฌาร์นัก ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต8 มกราคม พ.ศ. 2539 (79 ปี)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
พรรคการเมืองพรรคสังคมนิยม
คู่สมรสดาเนียล มีแตร็อง
อาชีพทนายความ
ลายมือชื่อ

ฟร็องซัว มอริส อาเดรียง มารี มีแตร็อง (François Maurice Adrien Marie Mitterrand) IPA: [fʁɑ̃swa mɔʁis mitɛˈʁɑ̃] (26 ตุลาคม พ.ศ. 24598 มกราคม พ.ศ. 2539) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเลฝรั่งเศส

ฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ถึง 2538 โดยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนพรรคสังคมนิยม (PS) เขาชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524 กลายเป็นประธานาธิบดีสังคมนิยมคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5และเป็นประมุขแห่งรัฐที่มาจากฝ่ายซ้ายคนแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531นั้น เขาก็ชนะอีกครั้งหนึ่งและดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในปีเดียวกัน ในการดำรงตำแหน่งทั้งสองวาระนั้น เขาได้ยุบสภาเพื่อที่จะได้เสียงข้างมากในสภา แต่ทว่าพรรคสังคมนิยมก็ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองครั้ง และทำให้เกิด "การบริหารร่วมกัน" ในสองปีสุดท้ายของทั้งสองวาระ โดยมีฌัก ชีรักเป็นแกนนำตั้งแต่ พ.ศ. 2529 ถึง 2531 และเอดูอาร์ด บัลลาดูร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ถึง 2538

ในปัจจุบันฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดด้วยระยะเวลา 14 ปี ทั้งยังเป็นประธานาธิบดีที่อาวุโสที่สุดอีกด้วย (สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่ออายุ 78 ปี) ฟร็องซัว มีแตร็องถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2539 หลังจากเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสที่ประเทศอียิปต์

ประวัติ

[แก้]

ฟร็องซัว มีแตร็องเกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2459 ที่เมืองฌาร์นัค จังหวัดชาร็องต์ แคว้นปัวตู-ชาร็องต์ ในครอบครัวจารีตนิยมและเลื่อมใสในนิกายโรมันคาทอลิก ฌีลแบร์ เฟลิกซ์ โฌแซ็ฟ บิดาของเขาทำงานเป็นนายสถานีรถไฟ ต่อมาประกอบอาชีพที่โรงผลิตน้ำส้มสายชูจนเป็นประธานสมาคมสันนิบาตของผู้ผลิตน้ำส้มสายชู โดยที่ยายของเขานั้นเป็นชนชั้นสูง สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งคาสตีลและพระเจ้าจอห์นแห่งบรีแอนน์ กษัตริย์เยรูซาเลม ส่วนทางด้านมารดาของเขานั้นมีนามว่ามารี กาเบรียล อีวอน ลอแรน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากหลานสาวของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 22 ฟร็องซัว มีแตร็องมีพี่น้อง 7 คน (ชาย 3 : รอแบร์, ฌัก, ฟีลิป / หญิง 4) ภรรยาของเขา ดาเนียล มีแตร็อง แต่งงานกันในปี พ.ศ. 2487 มีลูกชาย 3 คนได้แก่ ปัสกาล (10 มิถุนายน พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488) , ฌ็อง-คริสต็อฟ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2489 — ) และฌีลแบร์ มีแตร็อง (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 — ) และยังมีลูกสาวอีกหนึ่งคนคือ มาซารีน แป็งโฌ เขามีหลานชายคือ เฟรเดริก มีแตร็อง ซึ่งเป็นนักแสดงและนักหนังสือพิมพ์ (และซ้ำยังสนับสนุนฝ่ายขวา ฌัก ชีรักอีกด้วย) และยังมีลูกเขยคือ รอแบร์ อาแน็ง ซึ่งเป็นนักแสดงและผู้กำกับชื่อดัง

มีแตร็องเข้าศึกษาที่อ็องกูแล็มตั้งแต่ พ.ศ. 2468 ถึง 2477 ซึ่งเขาเป็นสมาชิกเชเออเซ (JEC) คือองค์กรสนับสนุนและกระตุ้นความสนใจในการเป็นคาทอลิกในสังคม (Action catholique) เขาได้เข้ากรุงปารีสในฤดูร้อน พ.ศ. 2477 และเข้าศึกษาที่โรงเรียนรัฐศาสตร์เอกชน (École Libre des Sciences Politiques) จนถึง พ.ศ. 2480

สมัยดำรงตำแหน่ง

[แก้]

เมื่อสงครามโลกครั้งทมี่ 2 สิ้นสุดลง นายฟร็องซัวได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองอย่างจริงจัง เริ่มจากการชนะการเลือกตั้งและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ ในขณะที่อายุเพียง 30 ปี ต่อมาเขาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกิจการทหารผ่านศึก ซึ่งในขณะนั้นเขาเป็นรัฐมนตรีที่มีอายุน้อยที่สุด

เขาเคยลงแข่งขันในการเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ต้องพ่ายแพ้แก่นายพลเดอโกลและวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง เป็นระยะเวลา 16 ปีเต็มแห่งความพ่ายแพ้ แต่ในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จในปี 1981 นายฟร็องซัวเป็นนักการเมืองฝ่ายซ้ายคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และอีก 7 ปีต่อมาเขาได้ชัยชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง จึงทำให้นายฟร็องซัวได้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง

บทสุดท้ายของมิแตรรอง

[แก้]

วันที่ 8 มกราคม 1996 อดีตประธานาธิบดีฟร็องซัว มีแตร็อง ถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 79 ปี ขณะที่หลับอยู่ในอพาร์ทเมนต์ข้าง ๆ สำนักงานของเขา หลังต่อสู้กับความเจ็บปวดจากโรคมะเร็งที่ต่อมลูกหมากมาเป็นระยะเวลาหลายปี และต้องได้รับการผ่าตัดถึง 3 ครั้ง

เหตุการณ์สำคัญในสมัยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

[แก้]

การก่อการร้ายในฝรั่งเศส (เดือนกันยายน 1986

[แก้]
  • วันที่ 12 กันยายน 1986 ที่ย่านธุรกิจใจกลางกรุงปารีสเกิดระเบิดขึ้นที่ร้านขายอาหาร Cafétéria มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 42 คน
  • วันที่ 18 กันยายน ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารฝรั่งเศสชื่อ Christian Goutierre ถูกฆาตกรรมที่กรุงเบรุต เลบานอน

สาเหตุที่ผู้ก่อการร้ายวางระเบิดที่กรุงปารีส เนื่องมาจากต้องการให้รัฐบาลฝรั่งเศสปล่อยตัวนายจอร์จ อิบราฮิม อับดลเลาะห์ หัวหน้ากลุ่มกองกำลังติดอาวุธปฏิวัติเลบานอนหรือกลุ่มฟาร์ล (Farl) ก่อการร้ายในฝรั่งเศสและอิตาลีตั้งแต่ปี 1980 รวมทั้งสังหารนักการทูตอเมริกันและอิสราเอลในกรุงปารีส นายจอร์จ อิบราฮิมเป็นชาวคริสต์เลบานอน นิยมฝ่ายซ้าย ถูกตำรวจฝรั่งเศสจับกุมได้ที่เมืองลียงทางใต้ของฝรั่งเศส ศาลสั่งจำคุก 4 ปีด้วยความผิดที่มีเอกสารปลอมและพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตพร้อมทั้งคดีอื่น ๆ ที่เคยทำ เช่น การสังหารนักการทูตในกรุงปารีส เป็นต้น

การประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษาฝรั่งเศส

[แก้]

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2529 นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการและผู้ปกครองรวมตัวกันทำการประท้วง เนื่องจากความไม่พอใจที่รัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติปฏิรูปการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดทำโดยนายอาแล็ง เดอวาเก (Alain Devaquet) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาระดับสูงหรือทบวงมหาวิทยาลัย เป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ขึ้นมา พระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษามหาวิทยาลัยใหม่ เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีการคัดเลือก แข่งขันและเลือกเฟ้นเฉพาะผู้ที่เก่งเฉพาะด้าน โดยเพิ่มค่าเข้าเรียนให้สูงขึ้นและออกประกาศนียบัตรใบปริญญาที่ระบุชื่อสถาบันแก่ผู้ที่ศึกษาจบปริญญาจากมหาวิทยาลัยนั้น ๆ แต่นักศึกษาทำการประท้วงไม่เห็นด้วยกับพระราชบัญญัติฉบับใหม่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะนำมาซึ่งความแตกต่างด้านคุณภาพ ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย เกิดความไม่เสมอภาคทางการศึกษาและการมีอิสระในการเก็บค่าเล่าเรียน ทำให้ค่าเข้าเรียนสูงกว่าจำนวนที่กำหนดเดิม

การประท้วงเริ่มขึ้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 มีการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและนายเดอวาเกต์ให้ยกเลิกพระราขบัญญัติฉบับใหม่นี้ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จทำให้มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุดรัฐบาลก็ประกาศยกเลิกการปฏิรูปการศึกษาในระดับมัธยมและระดับมหาวิทยาลัย การประท้วงยุติลงในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2529

สภาวะทางเศรษฐกิจ

[แก้]

การวางแผนการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ หลังจากที่นายฟร็องซัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เขาได้วางแผนที่จะเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศสใหม่ คือ เริ่มระบบการโอนกิจการอุตสาหกรรมมาเป็นของรัฐ การโอนกิจการนี้ทำให้ระบบการให้สินเชื่อของประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ และการให้ค่าชดเชยแก่บรรดาผู้ถึอหุ้นในกิจการที่ถูกยึดมาเป็นของรัฐจะกระทำในลักษณะพันธบัตรรัฐบาล แต่นโยบายนี้ไม่ได้ทำให้ประเทศฝรั่งเศสขยายตัวทางเศรษฐกิจมากนัก อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเริ่มจากการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคในอัตราที่สูงขึ้น เป็นผลให้งบประมาณแผ่นดินขาดดุล เกิดภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากภาวะการเงินในอัตราสูง ทำให้เกิดภาวะกดดันแก่เงินฟรังก์ ก่อให้เกิดปัญหาต่อค่าเงินฟรังก์ในระบบการเงินยุโรป คือเกิดช่องว่างของอัตราดอกเบี้ยในยุโรปขึ้น

ใน พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) สภาวะเศรษฐกิจของฝรั่งเศสขยายตัวอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ1.9 การว่างงานที่เป็นปัญหาสำคัญในขณะนั้นลดลง อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 2 เป็นผลจากการลดลงของระดับราคาพลังงานที่นำเข้าการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่การลงทุนขยายตัวสูงขึ้น

ผลงานที่สำคัญ

[แก้]

ในเวลา 14 ปีที่ดำรงตำแหน่งภายใต้ความคิดสังคมนิยม และมีผลงานที่สนับสนุนแนวคิดนี้มากมาย อาทิ

  • ยกเลิกการประหารชีวิต
  • ให้เสรีภาพแก่สถานีวิทยุโทรทัศน์
  • ออกกฎหมายที่อยู่อาศัย (Loi Quilliot)
  • ออกกฎหมายแรงงาน (Loi Auroux) ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการทำงาน 39 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และลูกจ้างสามารถลาหยุดงานได้ โดยที่นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ และกำหนดให้มีการเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี
  • ออกกฎหมายการศึกษาขั้นสูง (Loi Savary)
  • ออกกฎหมายกระจายอำนาจทางการเมืองจากส่วนกลางสู่ภูมิภาค
  • ปี 1992 การออกเสียงประชามติของสหภาพยุโรปทำให้นายฟร็องซัวได้เป็นคนวางรากฐานการจัดตั้งเงินสกุลเดียวกันของยุโรป ที่เรียกว่า "ยูโร"
  • การสั่งให้ประเทศฝรั่งเศสหยุดแผนทดลองนิวเคลียร์ใต้ดินในปี 1992
  • ประธานาธิบดีฟร็องซัวและนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษร่วมลงนามในสัญญาสร้างอุโมงค์คู่ลอดช่องแคบอังกฤษเพื่อเชื่อมระหว่างสองประเทศ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1986 ณ มหาวิหารแคนเทอเบอรี่ ประเทศอังกฤษ
  • ริเริ่มให้สร้าง L'Arche de la défense ,La Pyramide du Louvre, La Bibliothèque Nationale
  • ในสมัยประธานาธิบดีฟร็องซัวมีการทำ cohabitation ที่ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากฝ่ายเดียวกัน ในสมัยนั้นเกิดขึ้น 2 ครั้ง
    • ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี 1986-1988 เป็นสมัยที่นายฟร็องซัวแห่งพรรคฝ่ายซ้ายเป็นประธานาธิบดี แต่งตั้งนายฌัก ชีรักแห่งพรรคฝ่ายขวาเป็นนายกรัฐมนตรี
    • ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี 1993-1995 เป็นสมัยที่นายเอดัวร์ บาลาดูร์ (Édouard Balladur) เป็นนายกรัฐมนตรีมาจากพรรคฝ่ายขวา
ก่อนหน้า ฟร็องซัว มีแตร็อง ถัดไป
วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
(พ.ศ. 2524 – 2538)
ฌัก ชีรัก
วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง
ผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา
ร่วมกับ ชูอัน มาร์ตี อี อาลานิส

(พ.ศ. 2524 – 2538)
ฌัก ชีรัก
เฟลีเป กอนซาเลซ
ประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
(30 มิถุนายน พ.ศ. 2532 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2532)
ชาลส์ เจมส์ ฮอฮีย์
รอแบร์ ชูมาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
รัฐบาลกี มอเล

(31 มกราคม พ.ศ. 2499 – 12 มิถุนายน พ.ศ. 2500)
เอดัวร์ กอร์นีกลียง-มอลีนีเย
เลอง มาร์ตีโน-เดอปลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐบาลปีแยร์ ม็องแด็ส-ฟร็องส์

(19 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498)
มอริส บูร์แฌ็ส-โมนูรี
ปอล ก็อสต์-ฟลอเร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเลและอาณานิคม
รัฐบาลเรอเน เปลอว็อง 1 และ อ็องรี เกย 3

(12 กรกฎาคม พ.ศ. 2493 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2494)
หลุยส์ ฌากีโน