พูดคุย:ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการบิน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับเครื่องบิน สายการบิน ท่าอากาศยาน และนักบิน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ส่วนเกร็ดที่นำออกจากบทความ[แก้]

มหัศจรรย์เลข 9[แก้]

นอกเหนือกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 เดือน 9 (กันยายน 2549) ซึ่งมีการวิ่งเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมีนักวิ่งจากภูมิภาคต่างๆ (จำนวนที่ลงทะเบียน 9,999 คน) แล้ว เป็นที่น่าสังเกตถึง มหัศจรรย์เลข 9 [1][2] ดังต่อไปนี้

  • อาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน มีระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้น 9 เมตร ซึ่งเสาหลัก (เสาไพลอนที่ค้ำซูเปอร์ทรัส) หรือคานหลักรั้น มี 2 ตัวต่อ 1 คาน รวมกันเป็น 1 ชุด
  • เสา 2 ตัวที่ค้ำคานนี้จะห่างกัน 81 เมตร (8+1=9)
  • ชุดเสาที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะห่างจากชุดเสาทางด้านทิศตะวันตก 126 เมตร (1+2+6=9)
  • หลังคาผ้าใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งกับอาคารเทียบเครื่องบินทั้งหมด 108 ช่วง (1+0+8=9)
  • สำหรับทางเลื่อนระนาบผิวเฉพาะในเทอร์มินอลมีทั้งหมด 95 ชุด มีความยาวตั้งแต่ 27 เมตร (2+7=9) และ 108 เมตร (1+0+8=9)
  • ความเร็วของทางเลื่อนในอาคารรวมทั้งทางเลื่อนลาดเอียง มีความเร็วนาทีละ 45 เมตร (4+5=9)
  • ระยะเวลาก่อสร้างนานที่สุด 45 ปี ( 4+5 =9)

(สถานีโทรทัศน์แบบเรียลลีตี้) สถานีสุวรรณภูมิ[แก้]

บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด[แก้]

  • รัฐบาลได้จัดตั้ง บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม. โดยสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อบริหารงานการก่อสร้างของ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในขณะนั้น และเมื่อมีการสร้างเสร็จ บริษัทฯ ก็ต้องยุบกิจการเพื่อโอนไปรวมกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ต่อจากนั้น บมจ.ทอท ก็เป็นผู้รับผิดชอบท่าอากาศยานฯ แห่งนี้ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา --Horus | พูดคุย 20:41, 18 ตุลาคม 2552 (ICT)

ส่วนความเป็นที่สุดที่ถูกนำออกจากบทความ[แก้]

  • สนามบินที่ใหญ่ที่สุด ทันสมัยที่สุดในโลก[3]
  • ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน ถือเป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก[3]
  • มีเรื่อง “ฉาวโฉ่เรื่องการทุจริต” มากที่สุด ตั้งแต่เริ่มคิดโครงการเมื่อ พ.ศ. 2503 เรื่อยมาจนการเริ่มการก่อสร้าง[3]
  • ระบบการบริหารจัดการท่าอากาศยานทุกกิจกรรม ที่ใช้ระบบไอทีติดอันดับโลก โดยถูกเชื่อมโยงด้วยระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่เรียกว่า AIM (Airport Information Management System) [3]
  • ใช้เวลาสร้าง 45 ปี (นานที่สุด)
  • มี landing fee น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับท่าอากาศยานในภูมิภาคเดียวกัน
  • โรงซ่อมเครื่องบินใหญ่ที่สุดในโลก --Horus | พูดคุย 21:38, 18 ตุลาคม 2552 (ICT)

ส่วนรายละเอียดที่ถูกนำออกจากบทความ[แก้]

ระบบบริการคลังสินค้า[แก้]

คลังสินค้ามีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธีการศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี

ระบบอื่นๆ[แก้]

  • ระบบโภชนาการ - ระบบโภชนาการสามารถผลิตอาหาร ให้แก่สายการบินต่างๆ ได้ 65,000[ต้องการอ้างอิง]ชุดต่อวัน
  • โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน - โรงซ่อมบำรุงอากาศยานมีจำนวน 2 โรง สามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส เอ 380 ได้
  • ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ - ศูนย์ควบคุมฯ มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก (132.2[ต้องการอ้างอิง] เมตร) ที่พร้อมไปด้วยระบบวิทยุสื่อสารการบิน ระบบติดตามอากาศยานเขตประชิดสนามบินและระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดิน รวมทั้งระบบนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย
  • โรงแรมและบริการ - โรงแรมตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ในระยะแรกมีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่างๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ

อ้างอิง[แก้]

  1. ยินดีต้อนรับสู่ สุวรรณภูมิ, เว็บไซต์ นสพ. คมชัดลึก, เรียกดูเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2550
  2. ที่สุดแห่งสุวรรณภูมิ นสพ.เดลินิวส์ 12 ก.ย. 2549 (ลิงก์เสีย)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 เว็บไซต์ซิตี้วาไรตี้ เรียกดู 10 เมษายน พ.ศ. 2550 21.10 น.

ลิงก์[แก้]

ติดขัด[แก้]

บทความนี้เป็นบทความคัดสรรก็จริง แต่ในส่วนของสายการบินและเหตุการณ์ปัจจุบันกลับไม่มีการอ้างอิง ควรถอดออกจากระดับคัดสรรชั่วคราวหรือไม่ครับ --อาร์มมี่ (พูดคุย) 20:27, 27 มิถุนายน 2555 (ICT)

เหตุการณ์ที่สำคัญ[แก้]

เวลาประมาณ 14.45 น. วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประมาณ 5,000 คน เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่ง ก่อนที่กลุ่มพันธมิตรจะเข้าถึงตัวอาคาร PTC (Passenger Terminal Complex) มีการสกัดกั้นของทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยานและเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 200 - 300 นาย แต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่ต้านทานผู้ชุมนุมไม่ไหวได้ถอยร่นมาเรื่อยๆ จนเวลาประมาณ 19.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมก็ต้านเจ้าหน้าที่จนถึงตัวอาคารและทำการชุมนุมอยู่ด้านนอกอาคารผู้โดยสาร และผู้ชุมนุมทยอยเดินทางเข้ามาสมทบมากขึ้นประมาณ 80,000 คน

เช้าของวันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิประกาศหยุดทำการบิน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เวลา 21:00 นาฬิกา วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงการณ์ประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในเขตพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที

จากเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาทำให้การเดินทางทางอากาศไปสู่ท่าอากาศยานนานาชาติอื่นต้องหยุดลง ทำให้สายการบินที่มีมีกำหนดลงจอด ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต้องไปลงจอด ณ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาแทน ประกอบกับนักท่องเที่ยวติดค้างในประเทศไทยเป็นจำนวนมากทำให้สายการบินต่างต้องใช้ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพื่อขนส่งผู้โดยสารที่ติดค้างแทน แต่เนื่องจากท่าอากาศยานอู่ตะเภารองรับปริมาณผู้โดยสารได้จำนวนจำกัดด้วยเรื่องของพื่นที่และอุปกรณ์ที่จะรองรับได้ สายการบินต่างๆ และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินการเพื่อรองรับการ Check In ขึ้นที่ BITEC บางนา ผ่านระบบของ Airline Host โดยตรง โดยเชื่อมต่อเครือข่ายของ True ระบบได้เริ่มติดตั้งที่ไบเทคบางนาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คาดว่าจะเริ่มบริการให้กับผู้โดยสารได้ในวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป สายการบินที่จะไปบริการแก่ผู้โดยสารที่ไบเทค ดังนี้ สายการบินไทย, สายการบินอีวีเอแอร์ไลน์, สายการบินกรุงเทพ เป็นต้น

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.00 น. กลุ่มพันธมิตรประชาชนประชาธิปไตย ทยอยสลายการชุมนุมหลังจากได้ประกาศเลิกชุมนุมเมื่อวันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ไปแล้ว

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 กลุ่มชายฉกรรจ์ชุดดำเกือบ 200 คน กระจายอยู่บริเวณอาคารจอดรถโซน 2 สนามบินสุวรรณภูมิ เหตุจากขัดแย้งภายในของหุ้นส่วนบริษัทได้รับอนุญาตจัดการลานจอดรถในอาคาร ทำให้สร้างความตื่นตระหนก ให้แก่ผู้ใช้บริการ[1]

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เปิดสถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นวันแรก มีเจ้าหน้าที่ 291 ราย[2]

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เกิดเหตุระบบเรดาห์ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมืองใช้การไม่ได้สาเหตุจากระบบไฟฟ้าขัดข้องส่งผลให้เครื่องบินต้องย้ายไปลงจอดที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภอและท่าอากาศยานภูเก็ตเป็นการชั่วคราว[3]

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลาประมาณ 20.30 น. รันเวย์ด้านตะวันตก 19R ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้พบร่องรอยยุบตัวของยางมะตอยบริเวณกึ่งกลางรันเวย์จุดร่องล้อที่เครื่องบินลง กว้าง 60 ซม. ยาว 60 ซม. ลึก 5 ซม.เครื่องบินต้องย้ายการลงจอดไปที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานอู่ตะเภาและท่าอากาศยานดอนเมือง[4]

วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 เวลาประมาณ 23.28 น. รันเวย์ ฝั่งตะวันออก 19L ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับความเสียหายเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ สายการบินไทย TG679 ที่มาจากเมืองกวางโจว ไถลออกนอกรันเวย์สนามบินทำให้ต้องปิดซ่อมเร่งด่วน[5] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Mr.BuriramCN (พูดคุยหน้าที่เขียน) 13:20, 31 พฤษภาคม 2558 (ICT)

รบกวนช่วยแก้ไขในตางรางสายการบินครับผมแก้จากคอมพิวเตอร์ไม่ได้ครับ[แก้]

ลบสายการบิน เคซี อินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (3Q) และ สายการบิน อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ (J2) เพิ่ม ไชน่าเอ็กซ์เพรสแอร์ไลน์ (G5) จ้านเจียง และ คุนหมิงแอร์ไลน์ (KY) คุนหมิง สายการบิน พีกัส ฟลาย (EO) ครัสโนยาสค์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ (HX) ฮ่องกง สายการบิน จีเอ็กซ์แอร์ไลน์ (GX) ขอบคุณครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Khampirat (พูดคุยหน้าที่เขียน) 15:28, 29 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

--Khampirat (คุย) 15:28, 29 พฤศจิกายน 2561 (ICT) Khampirat

  1. http://thairecent.com/Crime/2010/725569/
  2. http://www.thairath.co.th/content/region/179543
  3. http://www.komchadluek.net/detail/20120622/133406/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99.html
  4. http://www.manager.co.th/business/viewnews.aspx?NewsID=9550000082768
  5. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378687039&grpid=01&catid=&subcatid=