พูดคุย:การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้:
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ บทความเฉลิมพระเกียรติ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการได้โดยการช่วยกันพัฒนาบทความ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการทหารและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธ ทหาร การทหาร และสงคราม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 บทความคัดสรร คัดสรร  บทความนี้อยู่ที่ระดับคัดสรร ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ส่วนที่นำออก[แก้]

ในปีเดียวกัน พระยาตากสามารถตีเมืองอยุธยาคืนจากกองทัพพม่าได้ และทรงกวาดต้อนผู้คนไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองให้มั่นคง แต่กระนั้น เมืองอยุธยาไม่ได้กลายเป็นเมืองร้างเสียทีเดียว ยังมีผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิม และผู้ที่หลบหนีไปกลับมาอาศัยบริเวณเมืองอยุธยาและบริเวณใกล้เคียงดังเดิม จนทางการยกเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"[1] และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงรอบกรุง แขวงนคร แขวงอุทัย และแขวงเสนา[2]

สาเหตุการเสียกรุงฯ[แก้]

ด้วยสภาพของกรุงศรีอยุธยาที่ถูกปิดล้อมและตัดขาดการสื่อสารกับภายนอกเป็นเวลานาน อาณาจักรจึงไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และย่อมเสียแก่กองทัพพม่าอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว[3] และน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หัวเมืองซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามไม่มากนักสามารถตั้งตนเป็นใหญ่ได้ แม้ว่าสงครามเพิ่งจะยุติก็ตาม --Horus | พูดคุย 21:48, 9 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

กองทัพพม่ายกกลับ[แก้]

หลังจากที่เนเมียวสีหบดีได้รับคำสั่งให้กลับกรุงอังวะ เพราะอาณาจักรพม่าถูกคุกคามโดยกองทัพจีนที่ได้รุกรานหัวเมืองตามแนวชายแดน และเดินทางกลับถึงกรุงอังวะในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2310 เมื่อเนเมียวสีหบดีกลับถึงพม่าแล้ว พระเจ้ามังระทรงแต่งตั้งให้เป็น ศรีอยุธยาหวุ่น ในปีเดียวกันนั้น เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ทั่วอาณาจักรพม่า ทั้งเจดีย์และสถานที่สำคัญ ๆ โค่นพังทลายลงมามากต่อมาก พระเจ้ามังระตกพระทัยจึงได้สร้างพระพุทธรูปทองคำขึ้นหลายองค์ เพื่อล้างบาปและบรรจุไว้ในพระสถูปที่ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ด้วยทรงเข้าพระทัยว่าเป็นเพราะบาปกรรมที่พระองค์กระทำไว้ระหว่างการรุกรานอาณาจักรอยุธยา

พงศาวดารหอแก้วเล่าต่อไปถึงการรุกรานดินแดนของพม่าของกองทัพจีนในระยะ 2-3 ปี ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 กองทัพพม่าต้องสาละวนอยู่กับการขับไล่กองทัพจีน อันมีสาเหตุมาจากการไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอที่เกินเลยของทางการจีน[4] กองทัพจีนรุกรานพม่าถึงสี่ครั้ง แต่ก็พ่ายแพ้ไปทุกครั้ง เป็นเหตุให้พระเจ้ามังระไม่สามารถเสด็จยกทัพมาตีชาวไทยที่เหลืออยู่ด้วยพระองค์เองได้ ถึงแม้ว่าพระองค์ทรงทราบว่า ได้มีความพยายามที่จะตั้งราชวงศ์ใหม่และโค่นอำนาจของพม่า ข้อที่ควรสังเกตคือ ข้อความนี้ก็สอดคล้องกับเหตุการณ์การขับไล่พม่าออกจากดินแดนของคนไทยของพระยาตาก จนกระทั่งตีได้เมืองอยุธยาคืนภายในปีเดียวกัน[5] --Horus | พูดคุย 21:56, 9 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

พงศาวดาร[แก้]

ส่วนในพงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบองของพม่าได้ระบุว่า กองทัพพม่ามีขนาดใหญ่ อีกทั้งแม่ทัพทั้งสองก็ปฏิบัติการด้วยการประสานงานกันอย่างใกล้ชิด และมีการเตรียมการวางแผนอย่างรัดกุมมาเป็นแรมปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการตีกรุงศรีอยุธยาของพม่า[6]

3 แนวคิดสาเหตุการเสียกรุงฯ 2[7]

ทางด้านสุเนตร ชุตินธรานนท์ ได้เสนอแนวคิดที่ว่า ความพ่ายแพ้จนนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองนี้เป็นความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางทหารมากกว่าจะเป็นความอ่อนแอของกษัตริย์[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. ลำจุล ฮวบเจริญ. หน้า 2.
  2. หอมรดกไทย - หลังกรุงแตก
  3. วีณา โรจนราธา. กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรุงสยามพริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2540 หน้า 132-137 ISBN 978-974-02-0003-1
  4. หม่องทินอ่อง. (2548). ประวัติศาสตร์ไทย. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย. หน้า 177
  5. รอง ศยามานนท์. แถลงงานประวัติศาสตร์ เอกสาร โบราณคดี ปีที่ 18 เล่ม 1 มกราคม 2527 – ธันวาคม 2527 หน้า 39-46
  6. สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 12-13.
  7. มติชน. "อยุธยายศล่มแล้ว": คอลัมน์ สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม.
  8. สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 92

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2310 นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย เป็นการยุติอาณาจักรอยุธยา อันเป็นอาณาจักรที่ยาวนานที่สุดของคนไทย ลงอย่างราบคาบ นอกจากนี้ ยังเป็นการเสียเอกราชให้กับอาณาจักรพม่าเป็นครั้งที่สอง ภายหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2112 ก่อนที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงกอบกู้เอกราชและทรงย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงธนบุรี

สำหรับสาเหตุที่นำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้นั้น มักจะยึดถือกันมาจากแนวคิดของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงเห็นว่า อาณาจักรอยุธยาตอนปลายสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงประสบความเสื่อมโทรม ประกอบกับความอ่อนแอของกษัตริย์ ทำให้กองทัพพม่าซึ่งยกมาเป็นกองโจรขนาดเล็กก็สามารถตีเสียได้อย่างง่ายดาย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Horus (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:12, 15 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

พิจารณาประโยคนี้ตรงหัวบทความ[แก้]

ผมคิดว่าการเขียนประโยคที่ว่า “ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-พม่าเสื่อมลงจนถึงปัจจุบัน“ ในย่อหน้าที่สองนั้นเป็นเหมือนข้อคิดเห็นของผู้ที่เขียนบทความนี้นะครับ และคำว่าเสื่อมลงนั้น เสื่อมลงทางด้านไหน และมีผลต่อปัจจุบันอย่างไร หากมีคำตอบให้อธิบายขยายความตรงนี้เพิ่มเติม หากให้คำตอบตรงนี้ไม่ได้ ผมเสนอให้มีการพิจารณาลบข้อความส่วนนี้ไปนะครับ (อ่านหน้านี้แล้วเหมือนเจอตอตรงนี้อ่ะครับ) Bp101697 (คุย) 10:58, 24 มิถุนายน 2562 (+07)[ตอบกลับ]

ลองอ่านส่วน ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่า ในตัวบทความครับ Wedjet (คุย) 12:51, 24 มิถุนายน 2562 (ICT)