พุธิตา ชัยอนันต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พุธิตา ชัยอนันต์
ไฟล์:S 5922835.jpg
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดเชียงใหม่ เขต 4
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 349 วัน)
ก่อนหน้าวิทยา ทรงคำ
คะแนนเสียง62,009 (57.3%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2530 (36 ปี)
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–ปัจจุบัน)
คู่สมรสชวลิต เลาหอุดมพันธ์
(2564–ปัจจุบัน)
บุตร1 คน
ศิษย์เก่าโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาชีพนักการเมือง
ชื่อเล่นจีน

พุธิตา ชัยอนันต์ (เกิด 9 ตุลาคม พ.ศ. 2530) ชื่อเล่น จีน เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคก้าวไกล โดยเป็น ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่สาม [1]ของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 และเป็น ส.ส. เพศหญิงที่ได้คะแนนสูงสุดในบรรดา ส.ส. เพศเดียวกัน

ประวัติ[แก้]

พุธิตา ชัยอนันต์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2530 เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านกฎหมายที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา (พัฒนาสังคม) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[2]

พุธิตา เป็นนักกิจกรรมรณรงค์เรื่องประชาธิปไตยตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่[3]

งานการเมือง[แก้]

พุธิตา เป้นนักเคลื่อนไหวด้านการเมืองตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นนักศึกษา เคยยื่นหนังสือให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 เรียกร้องให้คณะกรรมการเลือกตั้งลาออกทั้งชุดและมีการชูป้ายข้อความ “เห็นหัวเราบ้าง” จนเป็นไวรัล[2] เคยทำงานเป็นอาสาสมัครนักสิทธิมนุษยชน มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง และเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ต่อมาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ และได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ (สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ) และเป็นผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ส.แบบแบ่งเขต (เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร) ในปีต่อมา

พุธิตาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคก้าวไกล เขตเลือกตั้งที่ 4 แข่งขันกับ วิทยา ทรงคำ จากพรรคเพื่อไทย และกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยในการลงพื้นที่หาเสียงเธอได้พบกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ เธอตะโกนต่อหน้าพลเอก ประยุทธ์ ว่าการหาเสียงว่าพรรคก้าวไกลจะยกเลิกการมีทหาร เข้าข่ายการโกหกบิดเบือน สร้างข่าวปลอม เพราะไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอนโยบายยกเลิกกองทัพหรือทหาร[4][5] ในที่สุดผลการเลือกตั้งปรากฏว่าเธอได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 62,009 คะแนน ซึ่งเป็นผู้สมัครของพรรคก้าวไกลที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดของพรรค[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคก้าวไกล

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พุธิตาสมรสกับ พันตำรวจโท ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ ในปี พ.ศ. 2564 โดยชวลิตได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในขณะนั้น ในนามพรรคอนาคตใหม่ และ พรรคก้าวไกล ในเวลาต่อมา

อ้างอิง[แก้]