กบฏพี่น้องจึง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กบฏพี่น้องจึง
ส่วนหนึ่งของ การขยายอาณาเขตไปทางใต้ของราชวงศ์ฮั่น

กบฏพี่น้องจึงปรากฏในภาพวาดโดงหอชื่อว่า "จึงเวืองจื่อสักฮ้าน " (Trưng Vuơng trừ giặc Hán; 徴王除賊漢 เจิงหวางฉูเจ๋ย์ฮั่น - ราชินีจึงกำจัดข้าศึกชาวฮั่น) จึง จั๊ก (Trưng Trắc; 徴側 เจิง เช่อ) นั่งบนหลังช้างเผือก และจึง หญิ (Trưng Nhị; 徴貳 เจิง เอ้อร์) นั่งบนหลังช้างดำ ติดตามมาด้วยทหารหลักเหวียต (Lạc Việt) ถืออาวุธ ทหารฮั่นล้มลงและถูกสังหาร เจ้าเมืองชาวฮั่นชื่อซู ติ้ง (蘇定) หันหลังมามองขณะวิ่งหนี ทั้งหมดสวมเครื่องแต่งกายที่ผิดยุคสมัย
วันที่ค.ศ. 40–43 (การก่อกบฏ)
ค.ศ. 42–43(การปราบกบฏโดยราชวงศ์ฮั่น)
สถานที่
ตอนเหนือของเวียดนาม
ผล ราชวงศ์ฮั่นชนะ
คู่สงคราม
ราชวงศ์ฮั่น หลักเหวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
หม่า ยฺเหวียน[a]
หลิว หลง
จึง จั๊ก โทษประหารชีวิต[b]
จึง หญิ โทษประหารชีวิต
โด เดือง Surrendered
กำลัง
ทหาร 20,000 นาย
เรือหอ 2,000 ลำ[1]
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
ทหารฮั่น ร้อยละ 40–50 (ส่วนมากเสียชีวิตจากโรคระบาด)[2] ทัพพี่น้องจึง:
• ถูกสังหารหลายพันนาย
• มากกว่า 20,000 นายยอมจำนน[3][4]
ทัพโด เดือง:
• มากกว่า 5,000 นาย (มีทั้งที่ถูกสังหารและยอมจำนน)[3]
• มากกว่า 300 นายถูกเนรเทศ[5]

กบฏพี่น้องจึง (เวียดนาม: Khởi nghĩa Hai Bà Trưng; จีน: 二徵夫人起義) เป็นการก่อการกำเริบในภาคใต้ของประเทศจีนในยุคราชวงศ์ฮั่นระหว่าง ค.ศ. 40 ถึง ค.ศ. 43

ในปี ค.ศ. 40 ผู้นำหญิงชาวเวียดนามจึง จั๊ก (Trưng Trắc) และน้องสาวจึง หญิ (Trưng Nhị) ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของจีนในเมืองเจียวจื่อ (ปัจจุบันคือภาคเหนือของประเทศเวียดนาม) ในปี ค.ศ. 42 ราชวงศ์ฮั่นส่งขุนพลหม่า ยฺเหวียนให้นำทัพไปปราบกบฏชาวหลักเหวียตของพี่น้องจึง ในปี ค.ศ. 43 กองทัพฮั่นปราบปรามกบฏและยึดอำนาจปกครองคืนมาได้อย่างสมบูรณ์ สองพี่น้องจึงถูกจับและถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยทัพราชวงศ์ฮั่น[6][7] แม้ว่าพงศาวดารของเวียดนามบันทึกถึงการพ่ายแพ้นี้ว่าสองพี่น้องจึงซึ่งพ่ายแพ้ต่อกองทัพราชวงศ์ฮั่นตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดลงแม่น้ำฮ้าตกาง (Hát Giang) ไม่ยอมจำนนต่อราชวงศ์ฮั่น[8][9][10]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ขุนพลเรือหอตฺว้าน จื้อ (段志) ก็ได้รับมอบหมายให้นำทัพ แต่ป่วยเสียชีวิตก่อนที่ทัพของราชวงศ์ฮั่นจะเข้ารบกับทัพของพี่น้องจึง หม่า ยฺเหวียนจึงเข้าบัญชาการกองกำลังของตฺว้าน จื้อ[1]
  2. เจียวโจวไว่ยฺวี่จี้อ้างว่าสามีของจึง จั๊กเข้าร่วมในการก่อกบฏด้วย ส่วนโฮ่วฮั่นชูไม่ได้ระบุถึงว่าสามีของจึง จั๊กอยู่ที่ใดหรือทำอะไรในระหว่างหรือหลังการก่อกบฏ ดายเหวียตสื่อกี่ตว่านจืออ้างว่าสามีของจึง จั๊กถูกประหารชีวิตโดยซู ติ้งเจ้าเมืองของฝ่ายราชวงศ์ฮั่นก่อนการก่อกบฏจะเริ่มต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Hou Hanshuvol. 24 "Account of Ma Yuan"
  2. Hou Hanshu, vol. 24 "Account of Ma Yuan" quote: "軍吏經瘴疫死者十四五。"
  3. 3.0 3.1 Hou Hanshu, vol. 24 "Account of Ma Yuan"
  4. Hou Hanshu, vol. 22 "Account of Liu Long"
  5. Hou Hanshu, Vol. 86 "Account of the Southern Barbarians"
  6. Bielestein (1986), p. 271.
  7. Yü (1986), p. 454.
  8. http://www.informatik.uni-leipzig.de/~duc/sach/dvsktt/
  9. http://www.nomfoundation.org/nom-project/History-of-Greater-Vietnam?uiLang=vn
  10. Book 3: kỷ thuộc Tây Hán, kỷ Trưng Nữ Vương, kỷ thuộc Đông Hán, kỷ Sĩ Vương, book of History of Greater Vietnam (Đại Việt Sử Ký Toàn Thư)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Bielestein, Hans (1986), "Wang Mang, the restoration of the Han dynasty, and Later Han", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC-AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 223–290
  • Brindley, Erica (2015). Ancient China and the Yue: Perceptions and Identities on the Southern Frontier, C.400 BCE-50 CE. Cambridge University Press. ISBN 978-1-10708-478-0.
  • Churchman, Catherine (2016). The People Between the Rivers: The Rise and Fall of a Bronze Drum Culture, 200–750 CE. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1-442-25861-7.
  • Dutton, George Edson; Werner, Jayne Susan; Whitmore, John K. (2012). Sources of Vietnamese Tradition. Columbia University Press.
  • Gilbert, Marc Jason (2007). "When Heroism is Not Enough: Three Women Warriors of Vietnam, Their Historians and World History". World History Connected. 4 (3).
  • Hood, Steven J. (2019). Dragons Entangled: Indochina and the China-Vietnam War. Taylor & Francis.
  • Kiernan, Ben (2019). Việt Nam: a history from earliest time to the present. Oxford University Press.
  • Korolkov, Maxim (2021). The Imperial Network in Ancient China: The Foundation of Sinitic Empire in Southern East Asia. Taylor & Francis. ISBN 978-1-00047-483-1.
  • Lai, Mingchiu (2015), "The Zheng sisters", ใน Lee, Lily Xiao Hong; Stefanowska, A. D.; Wiles, Sue (บ.ก.), Biographical Dictionary of Chinese Women: Antiquity Through Sui, 1600 B.C.E. - 618 C.E, Taylor & Francis, pp. 253–254, ISBN 978-1-317-47591-0
  • Li, Tana (2011), "Jiaozhi (Giao Chỉ) in the Han Period Tongking Gulf", ใน Cooke, Nola; Li, Tana; Anderson, James A. (บ.ก.), The Tongking Gulf Through History, Pennsylvania: University of Pennsylvania Press, pp. 39–53, ISBN 978-0-812-20502-2
  • McKay, John P.; Hill, Bennett D.; Buckler, John; Crowston, Clare Haru; Hanks, Merry E. Wiesner; Ebrey, Patricia Buckley; Beck, Roger B. (2012). Understanding World Societies, Combined Volume: A Brief History. Bedford/St. Martin's. ISBN 978-1-4576-2268-7.
  • Scott, James George (1918). The Mythology of all Races: Indo-Chinese Mythology. University of Michigan.
  • Tai, Hue-Tam Ho (2001). The Country of Memory: Remaking the Past in Late Socialist Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-22267-0.
  • Taylor, Keith Weller (1983). The Birth of Vietnam. University of California Press. ISBN 978-0-520-07417-0.
  • Yü, Ying-shih (1986), "Han foreign relations", ใน Twitchett, Denis C.; Fairbank, John King (บ.ก.), The Cambridge History of China: Volume 1, The Ch'in and Han Empires, 221 BC-AD 220, Cambridge: Cambridge University Press, pp. 377–463