ฮิโระ ซางะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิโระ ซางะ

ซางะ ฮิโระ (嵯峨浩)

อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (愛新覺羅•浩)
ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิจีนและจักรวรรดิแมนจูกัว
ประสูติ16 มิถุนายน พ.ศ. 2457
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สวรรคต20 มิถุนายน พ.ศ. 2530
ปักกิ่ง ประเทศจีน
(พระชนมายุ 73 พรรษา)
พระราชสวามีเจ้าชายผู่เจี๋ย
พระราชบุตรเจ้าหญิงฮุ่ยเฉิง
เจ้าหญิงหยุนเฉิง

อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (愛新覺羅•浩)
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาซาเนโตะ ซางะ

ฮิโระ ซางะ (ญี่ปุ่น: 嵯峨 浩โรมาจิSaga Hiro) (16 มิถุนายน พ.ศ. 2457 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2530) ทรงเป็นธิดาของ ขุนนางซาเนโตะ ซางะ และเป็นพระญาติกับสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสในปีพ.ศ. 2481 กับเจ้าชายผู่เจี๋ย พระอนุชาในจักรพรรดิผู่อี๋ หลังจากทรงอภิเษกสมรสแล้วทรงได้รับการระบุพระนามไว้ว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ฮิโระ (愛新覺羅•浩) หรือ อ้ายซินเจว๋หลัว ฮ่าว ตามภาษาแมนจู และ ไอชิงกากูระ ฮิโระ ตามสำเนียงญี่ปุ่น หลังจากการเสด็จสวรรคตของจักรพรรดิผู่อี๋ในปี พ.ศ. 2510 พระสวามีของพระนางได้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์แมนจูกัว ทำให้พระนางทรงดำรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งแมนจูกัว อย่างไม่เป็นทางการ

พระประวัติ[แก้]

ภาพงานมงคลสมรสของเจ้าชายผู่เจี๋ยและฮิโระ ซางะ ในปี ค.ศ. 1938

ตระกูลซางะอยู่ในชั้นคุเงะสายโอริมาจิ ซันโจ ซึ่งเป็นสายตระกูลฟูจิวาระทางเหนือ ฮิโระเกิดในปี พ.ศ. 2457โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรีคนแรกของขุนนางซาเนโตะ ซางะ เมื่อเธอเติบโตขึ้น จึงได้เข้าศึกษาในโรงเรียนกากูชูอิง ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีล้วน

ในปี พ.ศ. 2480 เธอได้รู้จักกับเจ้าชายผู่เจี๋ย พระอนุชาในจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนการทหารญี่ปุ่น และได้มีการจัดเตรียมพิธีดูตัว โดยพระองค์ได้เลือกรูปภาพของเธอจากรูปสตรีหลายใบที่เสนอโดยกองทัพคันโตของญี่ปุ่น การสมรสครั้งนี้เป็นไปด้วยเหตุผลทางการเมืองเพื่อสานสัมพันธไมตรีอันเหนียวแน่นระหว่าง 2 ชนชาติคือชาวญี่ปุ่นและชาวแมนจู

พระราชพิธีหมั้นได้จัดขึ้นที่สถานเอกอัครราชทูตแมนจูกัวประจำกรุงโตเกียวในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 ตามมาด้วยการอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการที่ห้องโถงที่ตั้งกองทัพหลวงญี่ปุ่นที่คุดันซางะ ในกรุงโตเกียววันที่ 3 เมษายน ปีเดียวกัน ทั้งคู่ได้ย้ายไปที่เมืองฉางชุน เมืองหลวงของแมนจูกัว ทั้งคู่ให้กำเนิดพระธิดา 2 พระองค์ ทำให้ชีวิตการสมรสเริ่มมีความสุข

ระหว่างการอพยพของแมนจูเรียจากการโจมตีของสหภาพโซเวียต เจ้าหญิงฮิโระต้องแยกจากเจ้าชายผู่เจี๋ย ขณะที่เจ้าชายผู่เจี๋ยต้องติดตามจักรพรรดิผู่อี๋พระเชษฐาเสด็จลี้ภัยทางเครื่องบิน เจ้าหญิงฮิโระและเจ้าหญิงหยุนเฉิงพระธิดาได้ถูกส่งไปเกาหลีโดยทางรถไฟพร้อมกับสมเด็จพระจักรพรรดินีวั่นหรง รถไฟพระที่นั่งได้ถูกควบคุมโดยกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ตาลิทโจว แมนจูกัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 ในเดือนเมษายนทั้งหมดทรงถูกคุมขังไว้ที่คุกเมืองฉางชุน จนได้รับการปล่อยตัวและถูกคุมขังอีกครั้งที่คุกมณฑลจี๋หลิน เมื่อกองทัพพรรคก๊กมินตั๋งได้ทิ้งระเบิดมณฑลจี๋หลิน[1] ทั้งหมดจึงถูกย้ายไปคุมขังที่คุกเมืองหยานจี เจ้าหญิงฮิโระและพระธิดาได้ถูกย้ายไปคุมขังที่คุกเมืองเซี่ยงไฮ้[2] และได้รับการส่งกลับไปยังญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2504 หลังจากพระสวามีทรงพ้นโทษ ทั้งคู่ได้รับการยินยอมให้ประทับอยู่ร่วมกันที่เมืองปักกิ่งโดยโจว เอินไหล ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ไม่เคยห่างกัน โดยใช้ชีวิตแบบสามัญชน จนกระทั่ง พ.ศ. 2530 เจ้าหญิงฮิโระ ซางะสิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 73 พรรษา

พระธิดา[แก้]

  • เจ้าหญิงฮุ่ยเซิง (慧生) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2482 ที่เมืองฉางชุน ทรงศึกษาที่โรงเรียนกากูชูอิง พระนางทรงถูกปลงพระชนม์ที่อิซุ ใกล้กรุงโตเกียวในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2500 แต่บางหลักฐานกล่าวว่าทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมพระองค์เอง
  • เจ้าหญิงหยุนเซิง (嫮生) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2484 ทรงศึกษาที่โรงเรียนกากูชูอิง หลังจากนั้นทรงอภิเษกสมรสกับอดีตชนชั้นสูงในโตเกียว และทรงมีบุตรธิดารวม 5 พระองค์ ปัจจุบันยังทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่

อ้างอิง[แก้]

  1. Lebra, Above the Clouds pp.213
  2. Behr, The Last Emperor, p. 268-9

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]