ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 14 ตุลา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
== หลังเหตุการณ์ ==
ภายหลังเหตุการณ์นี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือ[[ท้องสนามหลวง]] และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]]ที่ปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[อ่าวไทย]]

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 กองทัพอเมริกาในประเทศไทยก็ใช้กฎอัยการศึกประหารชีวิต [[เทพ แก่นกล้า]] ซึ่งมีความผิดในข้อหาใช้ปืนยิงนายทหารอเมริกันเสียชีวิต

หลังจากนั้นการเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นโดย ในวันที่ 24 มกราคม 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย<ref>[https://doct6.com/learn-about/how/chapter-2/2-3/2-3-2-2 2.3.2 การเคลื่อนไหวอื่นๆ ของขบวนการนักศึกษา]</ref>เหตุการณ์ครั้งใหญ่ได้แก่เหตุการณ์จลาจล[[แยกพลับพลาไชย]] ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 การจลาจล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และเหตุการณ์ร้ายแรงที่รองลงมาเกิดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ศาลากลาง[[จังหวัดพังงา]] ได้มีผู้ก่อการร้ายโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วง ส่งผลให้ มีประชาชนเสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 17 ราย และในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2519 มีการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชนนับแสนคน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยัง[[สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย]] ที่ถนนวิทยุ กรณีนี้ได้กลายเป็นเหตุรุนแรงเมื่อคนร้ายโยนระเบิดใส่ขบวนแถวของประชาชนเมื่อเคลื่อนไปถึงหน้าบริเวณโรงภาพยนตร์สยาม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน

ในระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2517 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ กลุ่มแกนนำ นักศึกษา ผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา ถูกสังหารด้วยอาวุธปืนและระเบิด อีก อย่างน้อย 85 ราย<ref>[https://blogazine.pub/blogs/pandit-chanrochanakit/post/4726 ผู้ถูกสังหารทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 - กุมภาพันธ์ 2519]</ref>อาทิ ดร.[[บุญสนอง บุณโยทยาน]] [[มานะ อินทสุริยะ]] [[ไพโรจน์ พงษ์วิริยพงศ์]] [[พิพัฒน์ กางกั้น]] [[สำราญ คำกลั่น]] [[ประจวบ พงษ์ชัยวิวัฒน์]] [[สอิ้ง มารังกูล]] [[แสง รุ่งนิรันดรกุล]] [[อมเรศ ไชยสะอาด]] [[สมสิทธิ์ คำปันติบ]] [[สนอง ปัญชาญ]] [[ปรีดา จินดานนท์]] [[ชวินทร์ สระคำ]] [[เฮียง สิ้นมาก]] [[อ้าย ธงโต]] [[ประเสริฐ โฉมอมฤต]] [[โง่น ลาววงศ์]] [[มงคล สุขหนุน]] [[เกลี้ยง ใหม่เอี่ยม]] [[พุฒ ปงลังกา]] [[จา จักรวาล]] [[บุญทา โยธา]] [[อินถา ศรีบุญเรือง]] [[สวัสดิ์ ตาถาวรรณ]] [[พุฒ ทรายดำ]] [[บุญรัตน์ ใจเย็น]] [[กมล แซ่นิ้ม]] [[นิพนธ์ เชษฐากุล]] [[แก้ว เหลืองอุดมเลิศ]] [[ธเนศร์ เขมะอุดม]]<ref>[https://doct6.com/learn-about/how/chapter-3/3-4 บันทึก 6 ตุลา 3.4 ความรุนแรงและการลอบสังหาร พ.ศ. 2518]</ref>โดยทางตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้แม้แต่รายเดียว

ในช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากเหตุการณ์ลอบสังหารผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา และนักศึกษาแล้ว ยังนับเป็นยุคทองของการชุมนุมประท้วง กล่าวคือพระสงฆ์ได้จัดการชุมนุมประท้วงขึ้น เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2518โดยพระภิกษุสามเณรจากวัดมหาธาตุ และวัดต่างๆ หลายร้อยรูปทั่วประเทศ มาชุมนุมกันที่ลานอโศก [[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร|วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์]] ข้อเรียกร้องก็คือ ขอให้ทบทวนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่สร้างระบอบเผด็จการในหมู่สงฆ์ ด้วยการสร้างองค์กรมหาเถรสมาคมมาเป็นเครื่องมือ แม้แต่ตำรวจก็ได้จัดการชุมนุมประท้วงโดยในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตำรวจภูธรระดับผู้กองทั่วประเทศได้จัดการชุมนุมที่โรงแรมนารายณ์และในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตำรวจบางส่วนได้เข้าไปทำลายทรัพย์สิน[[บ้านซอยสวนพลู]]

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้าง [[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]] ขึ้นที่ [[สี่แยกคอกวัว]] [[ถนนราชดำเนินกลาง]] โดยกว่าจะผ่านกระบวนต่าง ๆ และสร้างจนแล้วเสร็จนั้น ต้องใช้เวลาถึง 28 ปี

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้[[ราชตฤณมัยสมาคม|สนามม้านางเลิ้ง]]เป็นที่ร่าง เรียกกันว่า "สภาสนามม้า" นำไปสู่[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2518|การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518]] ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของ[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]และผลกระทบจาก[[สงครามเวียดนาม]] แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ นำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ [[พ.ศ. 2519]] คือ '''[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]'''

นอกจากนี้ เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังนับเป็น[[การก่อการกำเริบโดยประชาชน|การลุกฮือของประชาชน]]ครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 20|ยุคศตวรรษที่ 20]] และยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ [[เกาหลีใต้]]ใน[[เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู]] เป็นต้น<ref name= "14 ตุลา">หนังสือ มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9 </ref>[[ไฟล์:1_11.jpg|thumb|190px|[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]เมื่อเวลา 23:30 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม]]

ในเดือน[[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2546]] นาย[[เทพมนตรี ลิมปพยอม]] นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ ''"ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย"'' และ ''"พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด"'' โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา<ref>[http://www.manager.co.th/politics/ViewNews.aspx?NewsID=4658121163248 ''ณรงค์''โยน''พล.อ.กฤษณ์'' ต้นเหตุความรุนแรง14ต.ค.]</ref> และพันเอก[[ณรงค์ กิตติขจร]] ยังได้กล่าวอีกว่า พล.อ.[[กฤษณ์ สีวะรา]] เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นาย[[โอสถ โกศิน]] อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา

[[พ.ศ. 2546]] สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปี<ref>สภาฯกำหนด 14 ตุลาคม เป็น "วันประชาธิปไตย" ผู้จัดการรายวัน 22 [[พ.ค. 2546]]</ref>

== รายชื่อ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ ==
== รายชื่อ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ ==



รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:47, 3 มีนาคม 2562

รายชื่อ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง