ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าปเสนทิโกศล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา และให้ความสำคัญศาสนาต่าง ๆ ทัดเทียมกัน ต่อเมื่อมานับถือ[[พระพุทธศาสนา]]น้อมเอาพระ[[รัตนตรัย]]มาเป็นสรณะเด็ดขาดแล้ว จึงทรงเลิกการกระทำที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนชีวิต และนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น
จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา และให้ความสำคัญศาสนาต่าง ๆ ทัดเทียมกัน ต่อเมื่อมานับถือ[[พระพุทธศาสนา]]น้อมเอาพระ[[รัตนตรัย]]มาเป็นสรณะเด็ดขาดแล้ว จึงทรงเลิกการกระทำที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนชีวิต และนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น


พระนางมัลลิกา เป็นสาวิกาผู้บรรลุ[[อริยบุคคล#โสดาบัน|โสดาบัน]]ตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระ[[รัตนตรัย]] เมื่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีและแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด กอปรกับสุทัตตคหบดี เพราะฉะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ เพราะต้องการเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามล้างโคตรในหมู่ศากยะในเวลาต่อมา ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจากประวัติศาสตร์
พระนางมัลลิกา เป็นสาวิกาผู้บรรลุ[[อริยบุคคล#โสดาบัน|โสดาบัน]]ตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระ[[รัตนตรัย]] เมื่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีและแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด กอปรกับสุทัตตคหบดี เพราะฉะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระ[[ภิกษุ]]สงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ เพราะต้องการเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามล้าง[[โคตร]]ในหมู่ศากยะในเวลาต่อมา ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจาก[[ประวัติศาสตร์]]


เมืองสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศานาที่สำคัญอันดับที่ 2 รองจากเมือง[[ราชคฤห์]] ก็เพราะการอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั่นเอง
ด้วยพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนี่เองคือเหตุผลที่เมืองสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศานาที่สำคัญอันดับที่ 2 รองจากเมือง[[ราชคฤห์]]

== พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย ==
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ [[เมทฬุปนิคม]] ใน[[แคว้นสักกะ]]ของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อว่าทีฑการายนะรักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าใน[[พระคันธกุฎี]]กราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า {{คำพูด|ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น[[กษัตริย์]] หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ 80 ปี หม่อมฉันก็มีอายุ 80 ปีเหมือนกัน|พระเจ้าปเสนทิโกศล}}

ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะ[[อำมาตย์]]เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำ[[เครื่องราชกกุธภัณฑ์]]กลับไป[[กรุงสาวัตถี]] สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่[[ม้า]]ตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง

เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจาก[[พระเจ้าอชาตศัตรู]] พระราชาแห่ง[[แคว้นมคธ]]ผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระ[[ชรา]]และทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอก[[ประตูเมือง]]ราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง [[นางสนม]]ที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี


{{บุคคลในพุทธประวัติ}}
{{บุคคลในพุทธประวัติ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:38, 19 กันยายน 2555

พระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ามหาโกศล กรุงสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล เมื่อได้เจริญวัยได้ไปศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองตักสิลา ณ สำนักตักกสิลา

พระสหาย

เจ้าชายมีพระสหายอีก ๒ พระองค์ ที่เป็นศิษย์ร่วมรุ่นกัน คือ เจ้าชายมหาลิจากกรุงเวสาลี แคว้นวัชชี และเจ้าชายพันธุละจากกรุงกุสินาราหนึ่งในเมืองหลวงของแคว้นมัลละ

แสดงศิลปวิทยา

เมื่อจบการศึกษาแล้วต่างก็แยกย้ายกันกลับมาตุภูมิ และได้แสดงศิลปวิทยาให้พระประยูรญาติได้ชมโดยทั่วหน้ากัน พระเจ้ามหาโกศลได้มอบพระราชบัลลังก์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลขึ้นครองราชย์แทนในเวลาต่อมา

เจ้าชายพันธุละหนีออกจากกุสินารา

ส่วนเจ้าชายพันธุละถูกคู่อริกลั่นแกล้ง แม้การแสดงศิลปวิทยาท่ามกลางพระประยูรญาติจะจบลงด้วยความพอใจของมหาสมาคม แต่เจ้าชายพันธุละทรงน้อยพระทัย จึงหนีออกจากเมืองกุสินารา มาขอถวายตัวเข้ารับราชการรับใช้พระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์ทรงดีพระทัยมาก จึงทรงแต่งตั้งให้พันธุละเป็นเสนาบดี

ศาสนา

พระเจ้าปเสนทิโกศลเดิมทีนับถือศาสนานิครนถ์ (ศาสนาเชน หรือ ลัทธิชีเปลือย) และเชื่อถือในการบูชายัญของพราหมณ์อีกด้วย เมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ยังไม่เลิกบูชายัญ และยังติดต่อกับพวกชีเปลือยเป็นต้นอยู่

เข้าสู่สำนักของพระโคตมพุทธเจ้า

ครั้งหนึ่ง ขณะที่อยู่สำนักพระพุทธเจ้า พอดีเหล่าชีเปลือยเดินผ่านมาใกล้ ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศลประคองอัญชลีประกาศว่า ขอนมัสการพระคุณเจ้าทั้งหลาย แล้วหันมาทูลพระพุทธเจ้าว่า สมณะเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติว่า

มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระอรหันต์ จะรู้ว่าใครมีศีลหรือไม่ ต้องอยู่ด้วยกันนาน ๆ จะรู้ว่ามีความสะอาดหรือไม่ ด้วยการทำงาน (หรือเจรจา) จะรู้ว่ามีปัญญาหรือไม่ ด้วยการสนทนาจะรู้ว่ากำลังใจเข้มแข็งหรือไม่ ก็ต้องเมื่อตกอยู่ในอันตราย

— พระพุทธเจ้า

ประกอบพิธีบูชายัญ

ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประกอบพิธีบูชายัญยิ่งใหญ่ มีการตระเตรียมฆ่าสัตว์อย่างละ ๗๐๐ เพราะสุบินได้ยินเสียงประหลาด บังเอิญว่าพระนางมัลลิกา พระมเหสีทรงทัดทาน การฆ่าสัตว์ครั้งมโหฬารจึงไม่เกิดขึ้นและเป็นผู้ชักจูงพระองค์เข้าสู่พระพุทธศาสนา

เป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา

จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้อุปถัมภ์ทุกศาสนา และให้ความสำคัญศาสนาต่าง ๆ ทัดเทียมกัน ต่อเมื่อมานับถือพระพุทธศาสนาน้อมเอาพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะเด็ดขาดแล้ว จึงทรงเลิกการกระทำที่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนชีวิต และนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นแบบอย่างดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น

พระนางมัลลิกา เป็นสาวิกาผู้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุยังน้อย มีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย เมื่อมาเป็นมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ย่อมมีอิทธิพลต่อความเชื่อของพระราชสวามีและแนะนำให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาในที่สุด กอปรกับสุทัตตคหบดี เพราะฉะนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงถวายความอุปถัมภ์ดูแลพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์อย่างดี พระองค์เองเสด็จเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลถามปัญหาธรรมและฟังพระพุทธโอวาทอยู่เสมอ เพราะต้องการเป็นญาติทางสายโลหิตกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงเป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามล้างโคตรในหมู่ศากยะในเวลาต่อมา ศากยวงศ์ต้องถูกทำลายล้างจนสูญหายไปจากประวัติศาสตร์

ด้วยพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนี่เองคือเหตุผลที่เมืองสาวัตถีเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศานาที่สำคัญอันดับที่ 2 รองจากเมืองราชคฤห์

พบพระพุทธเจ้าครั้งสุดท้าย

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เมทฬุปนิคม ในแคว้นสักกะของพวกศากยะ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านมาทางนั้น โปรดให้พักกองทัพไว้ไม่ไกลวัดนัก ตั้งพระราชหฤทัยจะเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ชื่อว่าทีฑการายนะรักษาไว้ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีกราบทูลถึงความที่พระองค์มีความเคารพนับถือพระพุทธเจ้าด้วยเหตุต่างๆ เป็นอันมาก ในตอนสุดท้ายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นชาวโกศล หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ 80 ปี หม่อมฉันก็มีอายุ 80 ปีเหมือนกัน

— พระเจ้าปเสนทิโกศล

ในระหว่างที่พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด้จเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระคันธกุฎีแต่เฉพาะพระองค์ ทีฆการายนะอำมาตย์เห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงนำเครื่องราชกกุธภัณฑ์กลับไปกรุงสาวัตถี สถาปนาวิฑูฑภะซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี (แม่ทัพ) ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินแทน เหลือไว้แต่ม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง

เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลลาเสด็จกลับออกมาจากพระคันธกุฎีไม่พบทีฆการายนะอำมาตย์ ซึ่งพระองค์มอบให้รักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ไว้จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล พบเพียงม้าตัวหนึ่งกับนางสนมคนหนึ่ง สอบถามได้ความว่าทีฆการายนะอำมาตย์กับวิฑูฑภะเสนาบดียกกองทัพกลับกรุงสาวัตถีแล้วพร้อมทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ก็ทรงแน่พระทัยว่าเจ้าชายวิฑูฑภะเป็นขบถแน่ จึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อขอกำลังทหารจากพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาแห่งแคว้นมคธผู้เป็นพระราชนัดดาไปกู้ราชบัลลังก์คืน แต่เนื่องด้วยทรงพระชราและทรงเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง จึงสิ้นพระชนม์อยู่นอกประตูเมืองราชคฤห์ในราตรีที่เสด็จไปถึงนั่นเอง นางสนมที่โดยเสด็จก็ร้องไห้คร่ำครวญความทราบถึงพระเจ้าอชาตศัตรู จึงโปรดให้จัดการพระบรมศพให้เสร็จสิ้นไปด้วยดี