ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตอัครบิดร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ความหมายอื่น|เกี่ยวกับ= |สำหรับ= |ดูที่=พาทริอาคแห่งตะวันออก |เ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:47, 13 สิงหาคม 2552

อาณาจักรพาทริอาค (อังกฤษ: Patriarchate) เป็นตำแหน่งหรือเขตปกครองของพาทริอาค (Patriarch) หรือ สังฆราชของคริสต์ศาสนา

คำว่า “พาทริอาค” อาจจะใช้สำหรับ

ตำแหน่งห้าสังฆราช (Pentarchy) เดิมประกอบด้วยพระสันตะปาปาแห่งโรม, พาทริอาคแห่งคอนสแตนติโนเปิล, พาทริอาคแห่งอเล็กซานเดรีย, พาทริอาคแห่งอันติโอค และ พาทริอาคแห่งเยรุซาเล็ม ในปี ค.ศ. 1054 เมื่อเกิดความแตกแยกระหว่างคริสต์ศาสนจักรตะวันออกและตะวันตก (East-West Schism) ระบบนี้ก็แยกออกเป็นอาณาจักรพาทริอาคที่พูดภาษาลาตินหนึ่งอาณาจักรในกรุงโรมที่เป็นโรมันคาทอลิก และอาณาจักรพาทริอาคที่พูดภาษากรีกสี่อาณาจักรที่เป็นอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ พาทริอาคแห่งอันติโอคย้ายสำนักไปดามัสกัสในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในระหว่างสมัยการปกครองของมามลุคอียิปต์ผู้พิชิตซีเรีย แม้ว่าจะตั้งอยู่ในดามัสกัสแต่ตำแหน่งของสังฆราชก็ยังเรียกว่าพาทริอาคแห่งอันติโอค

ตำแหน่งสังฆราชสี่ตำแหน่งสี่ตำแหน่งทางตะวันออกของคอนสแตนติโนเปิล, อเล็กซานเดรีย, อันติโอค, และ เยรุซาเล็ม และหนึ่งตำแหน่งทางตะวันตกในกรุงโรมถือกันว่าเป็นตำแหน่งสังฆราช “อาวุโส” (กรีก: πρεσβυγενή หรือ παλαίφατα หรือ “ผู้เกิดก่อน” "of ancient fame") โดยแต่ละตำแหน่งก็มีหนึ่งในอัครสาวกเป็นอัครสาวกองค์แรก: นักบุญแอนดรูว์, นักบุญมาร์ค, นักบุญปีเตอร์, นักบุญเจมส์ และนักบุญปีเตอร์อีกครั้งตามลำดับ

อาณาจักรพาทริอาคมีอำนาจทางกฎหมายในเขตการปกครองของตนเองที่คล้ายคลึงกับการเป็นบรรษัท (corporation) ที่ดำเนินต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยคริสเตียนยุคแรก

นอกไปจากอาณาจักรพาทริอาคอย่างเป็นทางการเก้าแห่งแล้วก็ยังมีสังฆมณฑลที่เรียกตนเองว่าเป็น “อาณาจักรพาทริอาค” อยู่บ้างเช่น อาณาจักรพาทริอาคแห่งอคริดา (Patriarchate of Achrida) ที่ปัจจุบันอยู่ในโอห์ริด (Ohrid) ในประเทศมาซิโดเนีย

อ้างอิง

  • Catholic Encyclopedia: Patriarch and Patriarchate[1]

ดูเพิ่ม