ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าแม่วัดดุสิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
[[หมวดหมู่:เจ้านายทรงกรมสมัยกรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:เจ้านายทรงกรมสมัยกรุงศรีอยุธยา]]
{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}

หนังสือ ก้อนอิฐ ก้อนหินเล่าเรื่อง โดย โรม บุนนาค

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:54, 2 ธันวาคม 2559

เจ้าแม่วัดดุสิต หรือหม่อมเจ้าบัว เป็นพระบรมราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี พระองค์มีศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชวงศ์พระมหาธรรมราชา ซึ่งสืบเชื้อสายมาแต่ราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัย"[1] ซึ่งต่อมาได้โปรดเกล้าเป็น พระองค์เจ้า กรมพระเทพามาตย์ พระนมของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช(ซึ่งเป็นราชโอรสของพระเจ้าปราสาททอง) ต่อมาหม่อมเจ้าบัว ได้สมรสกับ หม่อมเจ้าเจิดอำไพ นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงพระนามของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ฟังคำบอกเล่าจากพระวันรัตน์(ฉิม)ว่า เจ้าฟ้าหญิงรัศมี และเจ้าฟ้าจีกเคยเล่าว่า [[สมเด็จพระเอกาทศรถหรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 19 สมัยราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา]] ได้อภิเษกสมรสกับราชธิดาของพระยาเกียรติ์ (ขุนนางชาวมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มีราชธิดา คือ เจ้าครอกบัว(หม่อมเจ้าบัว) [2] จากเอกสารพงศาวดารไทยหลายฉบับและของต่างประเทศเป็นที่ยืนยันว่าเจ้าแม่วัดดุสิตนั้นมีตัวตนอย่างแน่นอน

ภายหลังมีความเปลี่ยนแปลงในราชสำนัก จนกระทั่งถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าและขึ้นทรงกรมที่ กรมพระเทพามาตย์ ตามลำดับในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นที่รู้จักกันดีในพระนาม "เจ้าแม่วัดดุสิต" ต่อมาภายหลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าได้เอ่ยถึงเจ้าแม่วัดดุสิตในนาม "เจ้าแม่ผู้เฒ่า" รัชกาลที่ ๔ เคยมีพระราชหัตถเลขาถึงเซอร์จอห์น เบาว์ริง ทรงอ้างถึงต้นตระกูลชาวมอญหงสาวดี ได้ติดตามสมเด็จพระนเรศวรหรือที่ทรงเรียกว่าพระนเรศร (King Phra Naresr) มายังอาณาจักรอยุธยาหรือกรุงศรีอยุธยา

"ในตอนนี้คนในตระกูลที่รับราชการเป็นทหารของพระเจ้ากรุงหงสาวดีได้ติดตามมากับสมเด็จพระนเรศรด้วย แล้วตั้งหลักแหล่งอยู่ในอยุธยา" [3]

เจ้าแม่วัดดุสิตสมรสกับหม่อมเจ้าเจิดอำไพมีบุตรธิดา 3 คน คือ

  1. 1.เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) แม่ทัพของของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคราไปตีนครเชียงใหม่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
  2. 2.เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นราชทูตเอกไปฝรั่งเศส
  3. 3.แช่มหรือฉ่ำ ธิดา

ต่อมาเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) มีบุตร ชื่อ “ ขุนทอง ” รับราชการใน สมเด็จพระสรรแพชรที่ 8 (พระเจ้าเสือ) เป็น เจ้าพระยาวรวงศาธิราช เสนาบดีคลัง มีบุตรชื่อ “ ทองคำ ” เป็น จมื่นมหาสนิท ในเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวร จนกระทั่ง เจ้าฟ้าเพชรขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ จมื่นมหาสนิท ได้เป็น พระยาราชนุกูล ปลัดทูลฉลองมหาดไทย มีบุตร ชื่อ “ ทองดี ” พระอักษรสุนทร เสมียนตรามหาดไทย ซึ่ง ได้สมรสกับ “ ดาวเรือง หรือหยก” มีบุตรธิดาชื่อ สา,ราม,แก้ว,ทองด้วง,บุญมา และอีกหลายท่าน ต่อมา “ทองด้วง” คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ “ จักรี ”

นั่นคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงเป็นกษัตริย์ใน ราชวงศ์ “ สุโขทัย ” และทรงมีความเกี่ยวพันกับราชวงศ์ “ ปราสาททอง ” และ ราชวงศ์ “ จักรี ”

ส่วนปัญหาที่ว่า เจ้าแม่วัดดุสิตนั้น เป็น "เจ้า" จริงหรือไม่นั้น อาจจะอนุมานได้จากคำพูดของสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งทรงใช้คำตรัสเรียกว่า "เจ้าแม่วัดดุสิต" คือเป็นพระนามโดยตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมนิยมแต่ก่อนจะไม่นิยมเรียกพระนามผู้เป็นเจ้ากันตรงๆ อย่างไรก็ดี เป็นไปได้สมเด็จพระนารายณ์ตรัสเรียกให้เกียรติเสมอ ด้วยทั้งนี้เนื่องจากหลักฐานตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ขึ้นไป คือประเภทจดหมายเหตุชาวต่างประเทศ หรือพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับต่างๆ

อ้างอิง

  1. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชโครงกระดูกในตู้. กรุงเทพฯ : บริษัท โอ เอ็น จี การพิมพ์ จำกัด, พ.ศ. 2548. 109 หน้า. หน้า 21. ISBN 974-690-131-1
  2. ปรามินทร์ เครือทอง. ศิลปวัฒนธรรม : ตามหา "เจ้าแม่วัดดุสิต" ปริศนาต้นพระราชวงศ์จักรี เจ้านายหรือสามัญชน ฉบับที่ 6 ปีที่ 26. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2548. หน้า 76-86.
  3. เซอร์จอห์น เบาว์ริง. ราชอาณาจักรและราษฎรสยาม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2547. หน้า 87.


หนังสือ ก้อนอิฐ ก้อนหินเล่าเรื่อง โดย โรม บุนนาค