ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามเวียดนาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 141: บรรทัด 141:
การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจาก[[คำแปรญัตติเคส–เชิร์ช]] (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน<ref>Kolko, Gabriel ''Anatomy of War'', pp. 457, 461 ff., ISBN 1-898876-67-3.</ref> การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย<ref>Charles Hirschman et al., "Vietnamese Casualties During the American War: A New Estimate," Population and Development Review, December 1995.</ref> ไปถึงกว่า 3 ล้านคน<ref name="afp1995">{{cite news |title=20 Years After Victory, Vietnamese Communists Ponder How to Celebrate |author=Philip Shenon|first=Philip |last=Shenon |url=http://www.nytimes.com/1995/04/23/world/20-years-after-victory-vietnamese-communists-ponder-how-to-celebrate.html |date=23 April 1995 |newspaper=[[The New York Times]] |accessdate=24 February 2011 }}</ref><ref>Associated Press, 3 April 1995, "Vietnam Says 1.1 Million Died Fighting For North."</ref> ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคน<ref name="Heuveline, Patrick 2001">Heuveline, Patrick (2001). "The Demographic Analysis of Mortality in Cambodia." In Forced Migration and Mortality, eds. Holly E. Reed and Charles B. Keely. Washington, D.C.: National Academy Press.</ref><ref name="Marek Sliwinski 1995">Marek Sliwinski, Le Génocide Khmer Rouge: Une Analyse Démographique (L'Harmattan, 1995).</ref><ref name="Banister, Judith 1993">Banister, Judith, and Paige Johnson (1993). "After the Nightmare: The Population of Cambodia." In Genocide and Democracy in Cambodia: The Khmer Rouge, the United Nations and the International Community, ed. Ben Kiernan. New Haven, Conn.: Yale University Southeast Asia Studies.</ref> ชาวลาวเสียชีวิต 20,000-200,000 คน<ref>Warner, Roger, [[Shooting at the Moon (book)|Shooting at the Moon]], (1996), pp366, estimates 30,000 Hmong.</ref><ref>Obermeyer, "Fifty years of violent war deaths from Vietnam to Bosnia", ''British Medical Journal,'' 2008, estimates 60,000 total.</ref><ref>T. Lomperis, ''From People's War to People's Rule,'' (1996), estimates 35,000 total.</ref><ref>Small, Melvin & Joel David Singer, ''Resort to Arms: International and Civil Wars 1816–1980'', (1982), estimates 20,000 total.</ref><ref>Taylor, Charles Lewis, ''The World Handbook of Political and Social Indicators,'' estimates 20,000 total.</ref><ref>Stuart-Fox, Martin, ''A History of Laos,'' estimates 200,000 by 1973.</ref> และทหารชาวอเมริกันเสียชีวิตในข้อพิพาทนี้ 58,220 นาย{{#Tag:Ref|ตัวเลขผู้เสียชีวิตของสหรัฐ 58,220 นาย และบาดเจ็บ 303,644 นายมาจากกองวิเคราะห์สารสนเทศสถิติกระทรวงกลาโหม (SIAD) ศูนย์ข้อมูลกำลังพลกลาโหม เช่นเดียวกับจากใบแสดงความคิดเห็นจากกระทรวงทหารผ่านศึกลงวันที่เดือนพฤษภาคม 2553<ref>{{cite report |date=26 February 2010 |title=America's Wars |url=http://www1.va.gov/opa/publications/factsheets/fs_americas_wars.pdf |publisher=Department of Veterans Affairs |month=May |Year=2010}}</ref> รายงาน "กำลังพลสูญเสียในสงครามและปฏิบัติการทางทหารของอเมริกา: รายชื่อและสถิติ" (American War and Military Operations Casualties: Lists and Statistics) ของ CRS (หน่วยรัฐการการวิจัยรัฐสภา) ต่อรัฐสภา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553<ref>{{cite report |date=26 February 2010 |title=American War and Military Operations: Casualties: Lists and Statistics |url=http://www.fas.org/sgp/crs/natsec/RL32492.pdf |author1=Anne Leland |author2=Mari–Jana "M-J" Oboroceanu |publisher=Congressional Research Service}}</ref> และหนังสือ เวียดนามทรหด: บันทึกความทรงจำของร้อยโททหารราบ (Crucible Vietnam: Memoir of an Infantry Lieutenant)<ref>{{Harvnb|Lawrence|2009|pp=[http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA65 65], [http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA107 107], [http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA154 154], [http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA217 217]}}</ref> บางแหล่งให้ตัวเลขเป็นอื่น (เช่น สารคดี ''หัวใจแห่งความมืด: พงศาวดารสงครามเวียดนาม 1945-1975'' (''Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945–1975'') เมื่อปี 2548/2549 ที่ถูกอ้างในบทความนี้เช่นกัน ระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตของสหรัฐไว้ 58,159 นาย<ref name="aaron">{{cite video |people = Aaron Ulrich (editor); Edward FeuerHerd (producer and director) |date=2005 & 2006 |title = Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945–1975 |format = Box set, Color, Dolby, DVD-Video, Full Screen, NTSC, Dolby, Vision Software |medium = Documentary |publisher = Koch Vision |time = 321 minutes |isbn = 1-4172-2920-9 }}</ref> และหนังสือ ''บุตรเวียดนาม'' (''Vietnam Sons'') เมื่อปี 2550 ระบุตัวเลข 58,226 นาย<ref>Kueter, Dale. ''Vietnam Sons: For Some, the War Never Ended.'' AuthorHouse (21 March 2007). ISBN 978-1425969318</ref>|name=USd&w|group=A}}
การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจาก[[คำแปรญัตติเคส–เชิร์ช]] (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน<ref>Kolko, Gabriel ''Anatomy of War'', pp. 457, 461 ff., ISBN 1-898876-67-3.</ref> การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย<ref>Charles Hirschman et al., "Vietnamese Casualties During the American War: A New Estimate," Population and Development Review, December 1995.</ref> ไปถึงกว่า 3 ล้านคน<ref name="afp1995">{{cite news |title=20 Years After Victory, Vietnamese Communists Ponder How to Celebrate |author=Philip Shenon|first=Philip |last=Shenon |url=http://www.nytimes.com/1995/04/23/world/20-years-after-victory-vietnamese-communists-ponder-how-to-celebrate.html |date=23 April 1995 |newspaper=[[The New York Times]] |accessdate=24 February 2011 }}</ref><ref>Associated Press, 3 April 1995, "Vietnam Says 1.1 Million Died Fighting For North."</ref> ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคน<ref name="Heuveline, Patrick 2001">Heuveline, Patrick (2001). "The Demographic Analysis of Mortality in Cambodia." In Forced Migration and Mortality, eds. Holly E. Reed and Charles B. Keely. Washington, D.C.: National Academy Press.</ref><ref name="Marek Sliwinski 1995">Marek Sliwinski, Le Génocide Khmer Rouge: Une Analyse Démographique (L'Harmattan, 1995).</ref><ref name="Banister, Judith 1993">Banister, Judith, and Paige Johnson (1993). "After the Nightmare: The Population of Cambodia." In Genocide and Democracy in Cambodia: The Khmer Rouge, the United Nations and the International Community, ed. Ben Kiernan. New Haven, Conn.: Yale University Southeast Asia Studies.</ref> ชาวลาวเสียชีวิต 20,000-200,000 คน<ref>Warner, Roger, [[Shooting at the Moon (book)|Shooting at the Moon]], (1996), pp366, estimates 30,000 Hmong.</ref><ref>Obermeyer, "Fifty years of violent war deaths from Vietnam to Bosnia", ''British Medical Journal,'' 2008, estimates 60,000 total.</ref><ref>T. Lomperis, ''From People's War to People's Rule,'' (1996), estimates 35,000 total.</ref><ref>Small, Melvin & Joel David Singer, ''Resort to Arms: International and Civil Wars 1816–1980'', (1982), estimates 20,000 total.</ref><ref>Taylor, Charles Lewis, ''The World Handbook of Political and Social Indicators,'' estimates 20,000 total.</ref><ref>Stuart-Fox, Martin, ''A History of Laos,'' estimates 200,000 by 1973.</ref> และทหารชาวอเมริกันเสียชีวิตในข้อพิพาทนี้ 58,220 นาย{{#Tag:Ref|ตัวเลขผู้เสียชีวิตของสหรัฐ 58,220 นาย และบาดเจ็บ 303,644 นายมาจากกองวิเคราะห์สารสนเทศสถิติกระทรวงกลาโหม (SIAD) ศูนย์ข้อมูลกำลังพลกลาโหม เช่นเดียวกับจากใบแสดงความคิดเห็นจากกระทรวงทหารผ่านศึกลงวันที่เดือนพฤษภาคม 2553<ref>{{cite report |date=26 February 2010 |title=America's Wars |url=http://www1.va.gov/opa/publications/factsheets/fs_americas_wars.pdf |publisher=Department of Veterans Affairs |month=May |Year=2010}}</ref> รายงาน "กำลังพลสูญเสียในสงครามและปฏิบัติการทางทหารของอเมริกา: รายชื่อและสถิติ" (American War and Military Operations Casualties: Lists and Statistics) ของ CRS (หน่วยรัฐการการวิจัยรัฐสภา) ต่อรัฐสภา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553<ref>{{cite report |date=26 February 2010 |title=American War and Military Operations: Casualties: Lists and Statistics |url=http://www.fas.org/sgp/crs/natsec/RL32492.pdf |author1=Anne Leland |author2=Mari–Jana "M-J" Oboroceanu |publisher=Congressional Research Service}}</ref> และหนังสือ เวียดนามทรหด: บันทึกความทรงจำของร้อยโททหารราบ (Crucible Vietnam: Memoir of an Infantry Lieutenant)<ref>{{Harvnb|Lawrence|2009|pp=[http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA65 65], [http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA107 107], [http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA154 154], [http://books.google.com/books?id=CxtJ56I2cjMC&pg=PA217 217]}}</ref> บางแหล่งให้ตัวเลขเป็นอื่น (เช่น สารคดี ''หัวใจแห่งความมืด: พงศาวดารสงครามเวียดนาม 1945-1975'' (''Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945–1975'') เมื่อปี 2548/2549 ที่ถูกอ้างในบทความนี้เช่นกัน ระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตของสหรัฐไว้ 58,159 นาย<ref name="aaron">{{cite video |people = Aaron Ulrich (editor); Edward FeuerHerd (producer and director) |date=2005 & 2006 |title = Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945–1975 |format = Box set, Color, Dolby, DVD-Video, Full Screen, NTSC, Dolby, Vision Software |medium = Documentary |publisher = Koch Vision |time = 321 minutes |isbn = 1-4172-2920-9 }}</ref> และหนังสือ ''บุตรเวียดนาม'' (''Vietnam Sons'') เมื่อปี 2550 ระบุตัวเลข 58,226 นาย<ref>Kueter, Dale. ''Vietnam Sons: For Some, the War Never Ended.'' AuthorHouse (21 March 2007). ISBN 978-1425969318</ref>|name=USd&w|group=A}}


== เบื้องหลังถึงปี 2492 ==
== เบื้องหลังถึงปี 2492 ==YoYo
ฝรั่งเศสเริ่มการพิชิต[[อินโดจีน]]ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1850 และปราบปรามอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2436<ref>Ooi, Keat Gin. ''[http://books.google.com/?id=QKgraWbb7yoC&pg=PA520 Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor]''. ABC-CLIO; 2004. ISBN 978-1-57607-770-2. p. 520.</ref><ref>Rai, Lajpat. ''[http://books.google.com/?id=QQ_nS6pTlDgC&pg=PA22 Social Science]''. FK Publications; ISBN 978-81-89611-12-5. p. 22.</ref><ref>Dommen, Arthur J.. ''[http://books.google.com/?id=MauWlUjuWNsC&pg=PA4 The Indochinese experience of the French and the Americans: nationalism and communism in Cambodia, Laos, and Vietnam]''. Indiana University Press; 2001. ISBN 978-0-253-33854-9. p. 4–19.</ref> [[สนธิสัญญาเว้ ค.ศ. 1884]] เป็นพื้นฐานการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสในเวียดนามเป็นเวลาอีกเจ็ดทศวรรษ แม้จะมีการต้านทานทางทหาร ที่โดดเด่นที่สุด คือ [[ขบวนการเกิ่นเวือง|เกิ่นเวือง]]แห่งฟาน ดิญ ฝุง ในปี 2431 พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบันกลายสภาพเป็นอาณานิคม[[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] และลาวถูกเพิ่มเข้าสู่อาณานิคมภายหลัง<ref name = "Neale 2001 3">{{Harvnb|Neale|2001|p=3}}.</ref> มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่มในช่วงนี้ เช่น [[พรรคชาตินิยมเวียดนาม]]ที่ก่อการกำเริบเอียนบ๊ายที่ล้มเหลวในปี 2473 แต่ท้ายที่สุด ไม่มีกลุ่มใดประสบความสำเร็จมากเท่ากับแนวร่วม[[เวียดมินห์]] ซึ่งก่อตั้งในปี 2484 ซึ่งอยู่ในการควบคุมของ[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]] และได้รับเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาและ[[พรรคชาตินิยมจีน]]ในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น<ref name = "Neale 2001 17">{{Harvnb|Neale|2001|p=17}}.</ref>{{#tag:Ref|"พรรคชาตินิยมเวียดนาม" เดิมก่อตั้งขึ้นใน[[นานกิง]] ประเทศจีน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2478 และต้นปี 2479 เมื่อพรรคชาตินิยมเวียดนาม นำโดย เหวียน ไท ฮ็อก และสมาชิก[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]]บางคน และสมาชิกพรรคชาตินิยมเวียดนามอื่นจำนวนหนึ่งก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านจักรวรรดินิยม ไม่นานองค์การนี้ก็หมดความเคลื่อนไหวไป จนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนและโฮจิมินห์รื้อฟื้นในปี 2484<ref>{{cite book|author=Sophie Quinn-Judge|title=Ho Chi Minh: the missing years, 1919–1941|url=http://books.google.com/?id=knErjpiKxQoC&pg=PA212|year=2003|publisher=C. Hurst|isbn=978-1-85065-658-6|pages=212–213}}</ref>|group=A}}
ฝรั่งเศสเริ่มการพิชิต[[อินโดจีน]]ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1850 และปราบปรามอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2436<ref>Ooi, Keat Gin. ''[http://books.google.com/?id=QKgraWbb7yoC&pg=PA520 Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor]''. ABC-CLIO; 2004. ISBN 978-1-57607-770-2. p. 520.</ref><ref>Rai, Lajpat. ''[http://books.google.com/?id=QQ_nS6pTlDgC&pg=PA22 Social Science]''. FK Publications; ISBN 978-81-89611-12-5. p. 22.</ref><ref>Dommen, Arthur J.. ''[http://books.google.com/?id=MauWlUjuWNsC&pg=PA4 The Indochinese experience of the French and the Americans: nationalism and communism in Cambodia, Laos, and Vietnam]''. Indiana University Press; 2001. ISBN 978-0-253-33854-9. p. 4–19.</ref> [[สนธิสัญญาเว้ ค.ศ. 1884]] เป็นพื้นฐานการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสในเวียดนามเป็นเวลาอีกเจ็ดทศวรรษ แม้จะมีการต้านทานทางทหาร ที่โดดเด่นที่สุด คือ [[ขบวนการเกิ่นเวือง|เกิ่นเวือง]]แห่งฟาน ดิญ ฝุง ในปี 2431 พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบันกลายสภาพเป็นอาณานิคม[[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] และลาวถูกเพิ่มเข้าสู่อาณานิคมภายหลัง<ref name = "Neale 2001 3">{{Harvnb|Neale|2001|p=3}}.</ref> มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่มในช่วงนี้ เช่น [[พรรคชาตินิยมเวียดนาม]]ที่ก่อการกำเริบเอียนบ๊ายที่ล้มเหลวในปี 2473 แต่ท้ายที่สุด ไม่มีกลุ่มใดประสบความสำเร็จมากเท่ากับแนวร่วม[[เวียดมินห์]] ซึ่งก่อตั้งในปี 2484 ซึ่งอยู่ในการควบคุมของ[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]] และได้รับเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาและ[[พรรคชาตินิยมจีน]]ในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น<ref name = "Neale 2001 17">{{Harvnb|Neale|2001|p=17}}.</ref>{{#tag:Ref|"พรรคชาตินิยมเวียดนาม" เดิมก่อตั้งขึ้นใน[[นานกิง]] ประเทศจีน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2478 และต้นปี 2479 เมื่อพรรคชาตินิยมเวียดนาม นำโดย เหวียน ไท ฮ็อก และสมาชิก[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]]บางคน และสมาชิกพรรคชาตินิยมเวียดนามอื่นจำนวนหนึ่งก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านจักรวรรดินิยม ไม่นานองค์การนี้ก็หมดความเคลื่อนไหวไป จนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนและโฮจิมินห์รื้อฟื้นในปี 2484<ref>{{cite book|author=Sophie Quinn-Judge|title=Ho Chi Minh: the missing years, 1919–1941|url=http://books.google.com/?id=knErjpiKxQoC&pg=PA212|year=2003|publisher=C. Hurst|isbn=978-1-85065-658-6|pages=212–213}}</ref>|group=A}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:08, 14 กันยายน 2559

สงครามเวียดนาม
สถานที่
{{{place}}}
กำลัง
  • ~1,830,000 (2511)
  • เวียดนามใต้ เวียดนามใต้: 850,000
    1,500,000 (2517–8)[1]
  • สหรัฐ สหรัฐอเมริกา: 536,100
  • กำลังทหารโลกเสรี: 65,000[2][3] แบ่งเป็น
  • เกาหลีใต้ เกาหลีใต้: 50,000[4]
  • ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย: 7,672
  • ไทยฟิลิปปินส์ ไทย, ฟิลิปปินส์: 10,450
  • นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์: 552
  • ~461,000
  • เวียดนามเหนือ เวียดนามเหนือ: 287,465 (มกราคม 2511)[5]
  • จีน จีน: 170,000 (2508–12)[6][7]
    [8]
  • สหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต 3,000
  • เกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ: 300–600

สงครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498[A 1] กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง[13] เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก

รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ[14] ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา[15] การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามได้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน

การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน[16] การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย[17] ไปถึงกว่า 3 ล้านคน[18][19] ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคน[20][21][22] ชาวลาวเสียชีวิต 20,000-200,000 คน[23][24][25][26][27][28] และทหารชาวอเมริกันเสียชีวิตในข้อพิพาทนี้ 58,220 นาย[A 2]

== เบื้องหลังถึงปี 2492 ==YoYo ฝรั่งเศสเริ่มการพิชิตอินโดจีนในปลายคริสต์ทศวรรษ 1850 และปราบปรามอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2436[34][35][36] สนธิสัญญาเว้ ค.ศ. 1884 เป็นพื้นฐานการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสในเวียดนามเป็นเวลาอีกเจ็ดทศวรรษ แม้จะมีการต้านทานทางทหาร ที่โดดเด่นที่สุด คือ เกิ่นเวืองแห่งฟาน ดิญ ฝุง ในปี 2431 พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบันกลายสภาพเป็นอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส และลาวถูกเพิ่มเข้าสู่อาณานิคมภายหลัง[37] มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่มในช่วงนี้ เช่น พรรคชาตินิยมเวียดนามที่ก่อการกำเริบเอียนบ๊ายที่ล้มเหลวในปี 2473 แต่ท้ายที่สุด ไม่มีกลุ่มใดประสบความสำเร็จมากเท่ากับแนวร่วมเวียดมินห์ ซึ่งก่อตั้งในปี 2484 ซึ่งอยู่ในการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน และได้รับเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาและพรรคชาตินิยมจีนในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น[38][A 3]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสปราชัยต่อเยอรมนีในปี 2483 สำหรับอินโดจีนของฝรั่งเศส หมายความว่า เจ้าหน้าที่อาณานิคมกลายเป็นฝรั่งเศสเขตวีชี พันธมิตรของอักษะเยอรมนี-อิตาลี สรุปคือ ฝรั่งเศสร่วมมือกับกำลังญี่ปุ่นหลังการบุกครองอินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 2483 ฝรั่งเศสยังดำเนินกิจการในอาณานิคมต่อไป ทว่าอำนาจสูงสุดเป็นของญี่ปุ่น[38]

เวียดมินห์ก่อตั้งขึ้นเป็นสันนิบาตเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส แต่ก็ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นในปี 2488 ด้วยสาเหตุเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและพรรคชาตินิยมจีนสนับสนุนเวียดมินห์ในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น[40] ทว่า ทีแรกเวียดมินห์ยังไม่มีกำลังพอต่อสู้ในยุทธการแท้จริง ผู้นำเวียดมินห์ โฮจิมินห์ ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกพรรคชาตินิยมจีนจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี[41]

การยึดครองซ้อนโดยฝรั่งเศสและญี่ปุ่นดำเนินมากระทั่งกำลังเยอรมนีถูกขับออกจากฝรั่งเศสและเจ้าหน้าที่อาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศสเริ่มต้นเจรจาทางลับกับฝรั่งเศสเสรี ด้วยเกรงว่าพวกตนไม่อาจเชื่อใจเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสได้อีกต่อไป กองทัพญี่ปุ่นจึงกักตัวเจ้าหน้าที่และทหารฝรั่งเศสในวันที่ 9 มีนาคม 2488[42] และสถาปนารัฐหุ่นเชิดจักรวรรดิเวียดนาม ภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยแทน

ระหว่างปี 2487–2488 เกิดทุพภิกขภัยรุนแรงทางเหนือของเวียดนามเนื่องจากสภาพอากาศเลวและการแสวงหาประโยชน์ของฝรั่งเศสและญี่ปุ่นประกอบกัน เพราะอินโดจีนฝรั่งเศสต้องจัดส่งธัญพืชแก่ญี่ปุ่น[43] มีผู้เสียชีวิตเพราะการอดอยากระหว่าง 400,000 ถึง 2 ล้านคน[44] จากประชากรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 10 ล้านคน[45] ในเดือนมีนาคม 2488 เวียดมินห์อาศัยช่องว่างทางการปกครอง[46]ซึ่งเกิดจากการกักตัวเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสหนุนให้ประชาชนปล้นคลังข้าวและปฏิเสธไม่จ่ายภาษี[47] มีคลังสินค้าถูกปล้นระหว่าง 75 ถึง 100 แห่ง[48] การกบฏต่อผลกระทบแห่งทุพภิกขภัยและเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบต่อภัยดังกล่าวบางส่วนเสริมความนิยมของเวียดมินห์ และเวียดมินห์สามารถระดมสมาชิกได้เป็นจำนวนมากในช่วงนี้[46]

ระหว่างเดือนสิงหาคม 2488 กองทัพญี่ปุ่นยังไม่มีความเคลื่อนไหว ขณะที่เวียดมินห์และกลุ่มชาตินิยมอื่นยึดสถานที่ราชการและอาวุธ ซึ่งเริ่มการปฏิวัติเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่โอเอสเอสเข้าพบโฮจิมินห์และนายทหารเวียดมินห์อื่นหลายครั้งในช่วงนี้[49] และเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2488 โฮจิมินห์ประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามต่อหน้าฝูงชน 500,000 คนในฮานอย[48] เขาเริ่มสุนทรพจน์โดยถอดความคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาว่า "มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข"[48]

เวียดมินห์ยึดอำนาจในเวียดนามในการปฏิวัติเดือนสิงหาคม[48] ตาม Gabriel Kolko เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง[50] ทว่า Arthur J. Dommen เตือน "มุมมองที่ถูกทำให้เย้ายวน" ของความสำเร็จนี้: "การใช้ความสะพรึงกลัวของเวียดมินห์นั้นเป็นระบบ....พรรคดึงรายชื่อผู้ต้องฆ่าทิ้งอย่างไม่รีรอ"[51] หลังพ่ายในสงคราม กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมอบอาวุธให้ชาวเวียดนาม และยังคุมขังเจ้าหน้าที่และนายทหารวีชีฝรั่งเศสเป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังยอมจำนน เวียดมินห์ระดมทหารญี่ปุ่นกว่า 600 นายและมอบบทบาทให้พวกเขาฝึกหรือบังคับบัญชาทหารเวียดนาม[52][53]

อย่างไรก็ดี ฝ่ายสัมพันธมิตรหลักผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตล้วนตกลงกันว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของฝรั่งเศส[48] เนื่องจากฝรั่งเศสไม่มีหนทางยึดเวียดนามคืนได้ทันที มหาอำนาจจึงบรรลุความตกลงกันว่าทหารอังกฤษจะยึดครองเวียดนามใต้ ขณะที่กำลังจีนชาตินิยมจะเคลื่อนเข้ามาจากทางเหนือ[54] กำลังชาตินิยมจีนเข้าประเทศเวียดนามเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 16 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2488 เมื่ออังกฤษยกพลขึ้นบกทางใต้ ก็ติดอาวุธให้กำลังฝรั่งเศสที่ถูกกักตัว ตลอดจนกำลังญี่ปุ่นที่ยอมจำนนบางส่วนเพื่อช่วยฝรั่งเศสยึดเวียดนามใต้คน เพราะไม่มีพลเพียงพอกระทำการตามลำพัง[48]

ด้วยการกระตุ้นของสหภาพโซเวียต ทีแรกโฮจิมินห์พยายามเจรจากับฝรั่งเศส ซึ่งกำลังสถาปนาการควบคุมทั้งพื้นที่อย่างช้า ๆ[55] ในเดือนมกราคม 2489 เวียดมินห์ชนะการเลือกตั้งทั่วเวียดนามเหนือและกลาง[56] เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2489 โฮลงนามความตกลงอนุญาตให้กำลังฝรั่งเศสแทนกำลังจีนชาตินิยม แลกกับการรับรองสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามของฝรั่งเศสว่าเป็นสาธารณรัฐ "อิสระ" ในสหภาพฝรั่งเศส โดยเกณฑ์การรับรองนี้จะกำหนดโดยการเจรจาในอนาคต[57][58][59] ฝรั่งเศสขึ้นบกในฮานอยเมื่อเดือนมีนาคม 2489 และขับเวียดมินห์ออกจากนครในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น[55] กำลังอังกฤษออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2489 ทิ้งเวียดนามให้อยู่ในการดูแลของฝรั่งเศส[60] ไม่นานให้หลัง เวียดมินห์เริ่มต้นสงครามกองโจรต่อกำลังสหภาพฝรั่งเศส เริ่มต้นสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง

สงครามลุกลามไปยังประเทศลาวและกัมพูชา ที่ซึ่งนักคอมมิวนิสต์จัดระเบียบขบวนการปะเทดลาวและเขมรเสรี ซึ่งทั้งสองถอดแบบมาจากเวียดมินห์[61] ด้านสถานการณ์โลก สงครามเย็นเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งหมายความว่าการกระชับความสัมพันธ์ซึ่งมีระหว่างฝ่ายตะวันตกและสหภาพโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้พังทลายลง การขาดอาวุธเป็นอุปสรรคของเวียดมินห์ แต่สถานการณ์ดังกล่าวเปลี่ยนไปเมื่อปี 2492 คอมมิวนิสต์จีนชนะสงครามกลางเมืองจีนได้ส่วนใหญ่แล้ว และสามารถจัดหาอาวุธให้แก่พันธมิตรเวียดนามได้[61]

ฝรั่งเศสถอย 2493–2497

ในเดือนมกราคม 2493 สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตรับรองว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามของเวียดมินห์ซึ่งมีฐานในฮานอยเป็นรัฐบาลเวียดนามที่ชอบธรรม เดือนต่อมา สหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่รับรองว่ารัฐเวียดนามในไซ่ง่อนที่ฝรั่งเศสหนุนหลัง นำโดยอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เป็นรัฐบาลเวียดนามที่ชอบธรรม การปะทุของสงครามเกาหลีในเดือนมิถุนายนปีนั้น ชวนให้ผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลสหรัฐเชื่อว่าสงครามในอินโดจีนเป็นตัวอย่างลัทธิการขยายอิทธิพล (expansionism) คอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตชี้นำ

ที่ปรึกษาทางทหารจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มให้การสนับสนุนเวียดมินห์ในเดือนกรกฎาคม 2493 อาวุธ ความรู้ความชำนาญและจับกังของจีนเปลี่ยนเวียดมินห์เปลี่ยนเวียดมินห์จากกำลังกองโจรเป็นกองทัพตามแบบ ในเดือนกันยายนปีนั้น สหรัฐอเมริกาตั้งคณะที่ปรึกษาช่วยเหลือทางทหาร (Military Assistance and Advisory Group, ย่อ: MAAG) เพื่อคัดกรองคำขอความช่ยเหลือ คำแนะนำทางยุทธศาสตร์และการฝึกทหารเวียดนามของฝรั่งเศส จนถึงปี 2497 สหรัฐอเมริกาจัดหาอาวุธเบา 300,000 ชิ้นและใช้เงิน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐสนับสนุนความพยายามทางทหารของฝรั่งเศส คิดเป็น 80% ของมูลค่าสงคราม

นอกจากนี้ ยังมีการเจรจาระหว่างฝรั่งเศสและสหรัฐซึ่งพิจารณาความเป็นไปได้ของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีสามลูก ทว่า รายงานความจริงจังของการพิจารณานี้และผู้พิจารณายังคลุมเครือและขัดแย้งกันแม้จนปัจจุบัน แผนฉบับหนึ่งสำหรับปฏิบัติการแร้ง (Operation Vulture) ที่เสนอไว้กล่าวถึงการส่งเครื่องบินบี-29 จากฐานทัพสหรัฐในภูมิภาค 60 ลำ โดยมีเครื่องบินขับไล่ที่อาจมากถึง 150 ลำที่ปล่อยจากเรือบรรทุกเครื่องบินกองเรือสหรัฐที่เจ็ดสนับสนุน ทิ้งระเบิดที่ตั้งของหวอ เงวียน ซ้าป ผู้บัญชาการเวียดมินห์ แผนดังกล่าวรวมทางเลือกการใช้อาวุธนิวเคลียร์มากถึงสามลูกต่อที่ตั้งของเวียดมินห์ พลเรือเอก อาเธอร์ ดับเบิลยู. แรดฟอร์ด (Arthur W. Radford) ประธานคณะเสนาธิการทหารสหรัฐ สนับสนุนทางเลือกนิวเคลียร์นี้ เครื่องบินบี-29 บี-36 และบี-47 สามารถโจมตีด้วยนิวเคลียร์ได้ เช่นเดียวกับอากาศยานประจำเรือจากกองเรือที่เจ็ด

เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐแล่นไปยังอ่าวตังเกี๋ย และมีเที่ยวบินลาดตระเวนเหนือเดียนเบียนหูระหว่างการเจรจา ตามรองประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน แผนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคณะเสนาธิการทหารที่ร่างแผนใช้อาวุธนิวเคลียร์ยุทธวิธีขนาดเล็กเพื่อสนับสนุนฝรั่งเศส นิกสันเสนอว่าสหรัฐอเมริกาอาจต้อง "ส่งทหารอเมริกาเข้าไป" ประธานาธิบดีสหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ตั้งเงื่อนไขการมีส่วนเกี่ยวข้องของสหรัฐกับการสนับสนุนของอังกฤษ แต่คัดค้านการเสี่ยงขนาดนั้น ในท้ายที่สุด ไอเซนฮาวร์ตัดสินใจไม่แทรกแซง เพราะเชื่อว่าความเสี่ยงทางการเมืองมีมากกว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้ ไอเซนฮาวร์เป็นพลเอกห้าดาว เขารอบคอบกับการดึงสหรัฐอเมริกาเข้าไปมีส่วนในสงครามภาคพื้นดินในทวีปเอเชีย

เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนสำคัญจากสหภาพโซเวีตยและจีน การสนับสนุนของจีนในสงครามชายแดน พ.ศ. 2493 ทำให้การส่งกำลังจากจีนเข้ามายังเวียดนามได้ ตลอดความขัดแย้ง การประมาณของข่าวกรองสหรัฐยังข้องใจกับโอกาสสำเร็จของฝรั่งเศส

ยุทธการที่เดียนเบียนฟูเป็นการสิ้นสุดการมีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสในอินโดจีน กำลังเวียดมินห์ของซ้าปมอบความปราชัยทางทหารอันน่าพิศวงแก่ฝรั่งเศส และในวันที่ 7 พฤษภาคม 2497 ทหารที่ตั้งของสหภาพฝรั่งเศสยอมจำนน ในจำนวนเชลยศึกชาวฝรั่งเศส 12,000 คนที่เวียดมินห์จับได้ มีผู้รอดชีวิตเพียง 3,000 คนเท่านั้น ที่การประชุมเจนีวา ฝรั่งเศสเจรจาความตกลงหยุดยิงกับเวียดมินห์ และฝรั่งเศสให้เอกราชแก่กัมพูชา ลาวและเวียดนาม

เชิงอรรถ

  1. เนื่องจากทหารสหรัฐเข้ามาประจำในเวียดนามเร็ว วันเริ่มต้นของสงครามเวียดนามจึงยังไม่เป็นที่ตกลงเอกฉันท์ ใน พ.ศ. 2541 หลังการทบทวนระดับสูงโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐ และผ่านความพยายามของครอบครัวริชาร์ด บี. ฟิทซ์กิบบอน (Richard B. Fitzgibbon) วันที่เริ่มต้นสงครามเวียดนามจึงถูกเปลี่ยนเป็น 1 พฤศจิกายน 2498[9] ปัจจุบัน รายงานรัฐบาลสหรัฐอ้าง 1 พฤศจิกายน 2498 เป็นการเริ่มต้นของ "ข้อพิพาทเวียดนาม" เพราะวันนี้เป็นวันที่คณะที่ปรึกษาความร่วมมือทางทหารสหรัฐ (MAAG) ในอินโดจีน (ซึ่งประธานาธิบดีทรูแมนเป็นผู้สั่งวางกำลังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ถูกจัดระเบียบใหม่เป็นหน่วยที่เจาะจงประเทศ และ MAAG เวียดนามถูกก่อตั้งขึ้น[10] วันที่เริ่มต้นอื่นมีเมื่อฮานอยอนุญาตให้กำลังเวียดกงในเวียดนามใต้เริ่มต้นการก่อการกำเริบระดับต่ำในเดือนธันวาคม 2499[11] ขณะที่บางคนมองว่าเป็นวันที่ 26 กันยายน 2502 เมื่อยุทธการแรกเกิดขึ้นระหว่างกองทัพคอมมิวนิสต์และกองทัพเวียดนามใต้[12]
  2. ตัวเลขผู้เสียชีวิตของสหรัฐ 58,220 นาย และบาดเจ็บ 303,644 นายมาจากกองวิเคราะห์สารสนเทศสถิติกระทรวงกลาโหม (SIAD) ศูนย์ข้อมูลกำลังพลกลาโหม เช่นเดียวกับจากใบแสดงความคิดเห็นจากกระทรวงทหารผ่านศึกลงวันที่เดือนพฤษภาคม 2553[29] รายงาน "กำลังพลสูญเสียในสงครามและปฏิบัติการทางทหารของอเมริกา: รายชื่อและสถิติ" (American War and Military Operations Casualties: Lists and Statistics) ของ CRS (หน่วยรัฐการการวิจัยรัฐสภา) ต่อรัฐสภา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553[30] และหนังสือ เวียดนามทรหด: บันทึกความทรงจำของร้อยโททหารราบ (Crucible Vietnam: Memoir of an Infantry Lieutenant)[31] บางแหล่งให้ตัวเลขเป็นอื่น (เช่น สารคดี หัวใจแห่งความมืด: พงศาวดารสงครามเวียดนาม 1945-1975 (Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945–1975) เมื่อปี 2548/2549 ที่ถูกอ้างในบทความนี้เช่นกัน ระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตของสหรัฐไว้ 58,159 นาย[32] และหนังสือ บุตรเวียดนาม (Vietnam Sons) เมื่อปี 2550 ระบุตัวเลข 58,226 นาย[33]
  3. "พรรคชาตินิยมเวียดนาม" เดิมก่อตั้งขึ้นในนานกิง ประเทศจีน ระหว่างเดือนสิงหาคม 2478 และต้นปี 2479 เมื่อพรรคชาตินิยมเวียดนาม นำโดย เหวียน ไท ฮ็อก และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนบางคน และสมาชิกพรรคชาตินิยมเวียดนามอื่นจำนวนหนึ่งก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านจักรวรรดินิยม ไม่นานองค์การนี้ก็หมดความเคลื่อนไหวไป จนพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนและโฮจิมินห์รื้อฟื้นในปี 2484[39]

อ้างอิง

  1. Le Gro, p. 28.
  2. "Vietnam War : US Troop Strength". Historycentral.com. สืบค้นเมื่อ 17 October 2009.[ลิงก์เสีย]
  3. "Facts about the Vietnam Veterans Memorial Collection". nps.gov. (citing The first American ground combat troops landed in South Vietnam during March 1965, specifically the U.S. Third Marine Regiment, Third Marine Division, deployed to Vietnam from Okinawa to defend the Da Nang, Vietnam, airfield. During the height of U.S. military involvement, 31 December 1968, the breakdown of allied forces were as follows: 536,100 U.S. military personnel, with 30,610 U.S. military having been killed to date; 65,000 Free World Forces personnel; 820,000 South Vietnam Armed Forces (SVNAF) with 88,343 having been killed to date. At the war's end, there were approximately 2,200 U.S. missing in action (MIA) and prisoner of war (POW). Source: Harry G. Summers, Jr. Vietnam War Almanac, Facts on File Publishing, 1985.)
  4. Vietnam Marines 1965–73. Google Books. 8 March 1965. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  5. Vietnam War After Action Reports, BACM Research, 2009, page 430
  6. "China admits 320,000 troops fought in Vietnam". Toledo Blade. Reuters. 16 May 1989. สืบค้นเมื่อ 24 December 2013.
  7. Roy, Denny (1998). China's Foreign Relations. Rowman & Littlefield. p. 27. ISBN 978-0847690138.
  8. China and Vietnam: The Politics of Asymmetry. Cambridge University Press 2006. Brantly Womack. P. 176
  9. DoD 1998
  10. Lawrence 2009, p. 20
  11. James Olson and Randy Roberts, Where the Domino Fell: America and Vietnam, 1945–1990, p. 67 (New York: St. Martin's Press, 1991).
  12. Origins of the Insurgency in South Vietnam, 1954–1960, The Pentagon Papers (Gravel Edition), Volume 1, Chapter 5, (Boston: Beacon Press, 1971), Section 3, pp. 314–346; International Relations Department, Mount Holyoke College.
  13. "Vietnam War". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 March 2008. Meanwhile, the United States, its military demoralized and its civilian electorate deeply divided, began a process of coming to terms with defeat in its longest and most controversial war
  14. Digital History, Steven Mintz. "The Vietnam War". Digitalhistory.uh.edu. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
  15. Vietnam War Statistics and Facts 1, 25th Aviation Battalion website.
  16. Kolko, Gabriel Anatomy of War, pp. 457, 461 ff., ISBN 1-898876-67-3.
  17. Charles Hirschman et al., "Vietnamese Casualties During the American War: A New Estimate," Population and Development Review, December 1995.
  18. Shenon, Philip (23 April 1995). "20 Years After Victory, Vietnamese Communists Ponder How to Celebrate". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011. {{cite news}}: ระบุ |author= และ |last= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  19. Associated Press, 3 April 1995, "Vietnam Says 1.1 Million Died Fighting For North."
  20. Heuveline, Patrick (2001). "The Demographic Analysis of Mortality in Cambodia." In Forced Migration and Mortality, eds. Holly E. Reed and Charles B. Keely. Washington, D.C.: National Academy Press.
  21. Marek Sliwinski, Le Génocide Khmer Rouge: Une Analyse Démographique (L'Harmattan, 1995).
  22. Banister, Judith, and Paige Johnson (1993). "After the Nightmare: The Population of Cambodia." In Genocide and Democracy in Cambodia: The Khmer Rouge, the United Nations and the International Community, ed. Ben Kiernan. New Haven, Conn.: Yale University Southeast Asia Studies.
  23. Warner, Roger, Shooting at the Moon, (1996), pp366, estimates 30,000 Hmong.
  24. Obermeyer, "Fifty years of violent war deaths from Vietnam to Bosnia", British Medical Journal, 2008, estimates 60,000 total.
  25. T. Lomperis, From People's War to People's Rule, (1996), estimates 35,000 total.
  26. Small, Melvin & Joel David Singer, Resort to Arms: International and Civil Wars 1816–1980, (1982), estimates 20,000 total.
  27. Taylor, Charles Lewis, The World Handbook of Political and Social Indicators, estimates 20,000 total.
  28. Stuart-Fox, Martin, A History of Laos, estimates 200,000 by 1973.
  29. America's Wars (PDF) (Report). Department of Veterans Affairs. 26 February 2010. {{cite report}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Year= ถูกละเว้น แนะนำ (|year=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  30. Anne Leland; Mari–Jana "M-J" Oboroceanu (26 February 2010). American War and Military Operations: Casualties: Lists and Statistics (PDF) (Report). Congressional Research Service.
  31. Lawrence 2009, pp. 65, 107, 154, 217
  32. Aaron Ulrich (editor); Edward FeuerHerd (producer and director) (2005 & 2006). Heart of Darkness: The Vietnam War Chronicles 1945–1975 (Box set, Color, Dolby, DVD-Video, Full Screen, NTSC, Dolby, Vision Software) (Documentary). Koch Vision. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 321 minutes. ISBN 1-4172-2920-9. {{cite AV media}}: |format= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  33. Kueter, Dale. Vietnam Sons: For Some, the War Never Ended. AuthorHouse (21 March 2007). ISBN 978-1425969318
  34. Ooi, Keat Gin. Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor. ABC-CLIO; 2004. ISBN 978-1-57607-770-2. p. 520.
  35. Rai, Lajpat. Social Science. FK Publications; ISBN 978-81-89611-12-5. p. 22.
  36. Dommen, Arthur J.. The Indochinese experience of the French and the Americans: nationalism and communism in Cambodia, Laos, and Vietnam. Indiana University Press; 2001. ISBN 978-0-253-33854-9. p. 4–19.
  37. Neale 2001, p. 3.
  38. 38.0 38.1 Neale 2001, p. 17.
  39. Sophie Quinn-Judge (2003). Ho Chi Minh: the missing years, 1919–1941. C. Hurst. pp. 212–213. ISBN 978-1-85065-658-6.
  40. Tucker 1999, p. 42
  41. Brocheux 2007, p. 198
  42. Neale 2001, p. 18.
  43. Koh, David (21 August 2008). "Vietnam needs to remember famine of 1945". The Straits Times. Singapore.
  44. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hirschman
  45. Neale 2001, pp. 18–9.
  46. 46.0 46.1 Kolko 1985, p. 36.
  47. Neale 2001, p. 19.
  48. 48.0 48.1 48.2 48.3 48.4 48.5 Neale 2001, p. 20.
  49. Interview with Archimedes L. A. Patti, 1981, http://openvault.wgbh.org/catalog/vietnam-bf3262-interview-with-archimedes-l-a-patti-1981
  50. Kolko 1985, p. 37.
  51. Dommen, Arthur J. (2001), The Indochinese Experience of the French and the Americans, Indiana University Press, pg. 120. "According to one estimate, 15,000 nationalists were massacred" in the summer of 1946 (pg. 154). In addition, "100,000 to 150,000 [civilians] had been assassinated by the Viet Minh" by the end of the First Indochina war (pg. 252).
  52. "ベトナム独立戦争参加日本人の事跡に基づく日越のあり方に関する研究" (PDF). 井川 一久. Tokyo foundation. October 2005. สืบค้นเมื่อ 10 June 2010.
  53. "日越関係発展の方途を探る研究 ヴェトナム独立戦争参加日本人―その実態と日越両国にとっての歴史的意味―" (PDF). 井川 一久. Tokyo foundation. May 2006. สืบค้นเมื่อ 10 June 2010.
  54. Willbanks 2009, p. 8
  55. 55.0 55.1 Neale 2001, p. 24.
  56. Neale 2001, pp. 23–4.
  57. Willbanks 2009, p. 9
  58. "Franco-Vietnam Agreement of March 6th, 1946". Vietnamgear.com. 6 March 1946. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  59. "Pentagon Papers, Gravel Edition, Chapter !, Section 2". Mtholyoke.edu. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  60. Peter Dennis (1987). Troubled days of peace: Mountbatten and South East Asia command, 1945–46. Manchester University Press ND. p. 179. ISBN 978-0-7190-2205-0.
  61. 61.0 61.1 Neale 2001, p. 25.

แหล่งข้อมูลอื่น