พสุ โลหารชุน
พสุ โลหารชุน | |
---|---|
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 | |
ก่อนหน้า | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สมชาย หาญหิรัญ |
ถัดไป | กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มีนาคม พ.ศ. 2502 |
คู่สมรส | รัตนาวลี โลหารชุน |
บุตร | พูนพัฒน์ โลหารชุน สุพนิต โลหารชุน |
ศิษย์เก่า | คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พสุ โลหารชุน (เกิด 13 มีนาคม พ.ศ. 2502) ประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ กรรมการในคณะกรรมการสรรหากรรมการกำกับกิจการพลังงาน รองประธานคณะกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) กรรมการอิสระ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตประธานกรรมการ บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน)
กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ[1] กรรมการในคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม[2] กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม[3] กรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ[4]กรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[5] กรรมการในคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 กรรมการในคณะกรรมการ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)[6] ประธานกรรมการในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย[7]คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า [8]ประธานกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ[9]รองประธานกรรมการ บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) กรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์[10] อดีตอธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ประวัติ
[แก้]นายพสุเกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายสรรเสริญ และนางอัมพร โลหารชุน มีพี่น้อง 3 คน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนาง รัตนาวลี โลหารชุน ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารตราผลิตภัณฑ์และสื่อสารการพาณิชย์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีบุตร-ธิดา 2 คนคือ นาย พูนพัฒน์ โลหารชุน และ นางสาว สุพนิต โลหารชุน นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การศึกษา
[แก้]นายพสุจบการศึกษาระดับประถมจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิก รุ่นที่ 8 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และ ปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการวิจัยดำเนินการ จากมหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียเทคโนโลยี
รับราชการ
[แก้]เมื่อจบการศึกษาจากสหรัฐอเมริกาแล้วนายพสุได้เดินทางกลับมายังประเทศไทยและเข้ารับราชการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นจนกระทั่งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก่อนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทั่งนายพสุได้ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ [11]
กระทั่งวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ย้ายจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม [12] ต่อมาในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555 นายพสุได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้กลับไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้งหนึ่ง [13] กระทั่งนายพสุได้ถูกย้ายไปเป็นอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ [14]
กระทั่งวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้นายพสุกลับมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอีกครั้งหนึ่ง [15]
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.coop.ku.ac.th/pr/20160322_1_1458618904.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0215.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0032.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0017.PDF
- ↑ "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 17/2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/045/T_0012.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/298/1.PDF
- ↑ พรบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/232/12.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/029/7.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอน ๑๑๔ ง พิเศษ หน้า ๒ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอน ๔๑ ง พิเศษ หน้า ๖ ๗ เมษายน ๒๕๕๔
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอน ๑๕๙ ง พิเศษ หน้า ๗ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๕
- ↑ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๙๘/๒๕๕๗ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งเพิ่มและการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอน ๑๔๔ ง พิเศษ หน้า ๔ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๑๗๓ ง พิเศษ หน้า ๑๖ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๖๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๑๗, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖