พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต
พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต | |
---|---|
พระมหากษัตริย์อังกฤษ | |
ครองราชย์ | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 – 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าคนุตมหาราช |
ถัดไป | พระเจ้าฮาร์ธาคานูท |
พระราชสมภพ | ราว ค.ศ. 1015 |
สวรรคต | 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 (ประมาณ 25 พรรษา) |
พระราชบิดา | สมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช |
พระราชมารดา | เอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน |
พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต (อังกฤษ: Harold Harefoot หรือ Harold I) (ราว ค.ศ. 1015 – 17 มีนาคม ค.ศ. 1040) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรอังกฤษ ระหว่าง วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040
พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1015 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช และ เอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน แต่ความเชื่อที่ว่าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าคานูทจริงก็ไม่เป็นที่แน่นอน[1] ฮาโรลด์ได้รับพระนามว่า “Harefoot” เพราะทรงมีความว่องไว (ราวกระต่าย (Hare)) และความสามารถในการล่าสัตว์[2]
หลังจากพระเจ้าคานูทมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1035 พระอนุชาต่างพระมารดาฮาร์ธาคานูทผู้มีฐานะเป็นรัชทายาทของทั้งราชบัลลังก์อังกฤษและเดนมาร์กไม่ทรงสามารถเดินทางมาเข้าพิธีราชาภิเณกได้เพราะราชอาณาจักรเดนมาร์กมีเค้าว่าจะถูกรุกรานโดยพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์และพระเจ้าอนุนด์ เจคอปแห่งสวีเดน ขุนนางอังกฤษ[3]เห็นด้วยกับการแต่งตั้งฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นชั่วคราวในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ฮาร์ธาคานูทไม่สามารถทรงราชการได้ แม้จะได้รับการคัดค้านจากกอดวิน เอิร์ลแห่งเวสเซ็กซ์ และพระราชินี แต่ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตก็ได้รับการสวมมงกุฏ
พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตสามารถรักษาราชบัลลังก์ไว้ได้หลังจากที่ เอ็ดเวิร์ด เอเธลลิงและพระอนุชาอัลเฟรด เอเธลลิงพยายามโค่นในปี ค.ศ. 1036 พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตที่ออกซฟอร์ดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 พระบรมศพถูกฝังไว้ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบี ต่อมาร่างของพระองค์ก็ถูกขุดขึ้นมา ตัดพระเศียรและโยนทิ้งในแม่น้ำเทมส์เมื่อพระเจ้าฮาร์ธาคานูทขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 1040[4] แต่ต่อมาผู้สนับสนุนของพระองค์ก็นำพระบรมศพกลับไปฝังที่วัดเซนต์เคลเมนท์เดนส์ (St Clement Danes)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Anglo-Saxon Chronicle, 1035-40, M. Swanton translation (1996).
- ↑ For an explanation of this etymology, see Albert Le Roy Bartlett, The Essentials of Language and Grammar, Silver, Burdett and Co., 1900, p. 28.
- ↑ "Earl Leofric and almost all the thegns north of the Thames, and the men of the fleet in London"
- ↑ This may have been motivated partly in response to the murder of Alfred, Harthacanute's half-brother, and partly for his perceived theft of the crown.
ดูเพิ่ม
[แก้]ก่อนหน้า | พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช | พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ (ราชวงศ์เวสเซ็กซ์) (ค.ศ. 1035 – ค.ศ. 1040) |
สมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท |