พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี)
พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2445 (76 ปี ปี) |
มรณภาพ | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2521 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | ม.ศ. 8 นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 9 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 14 มิถุนายน พ.ศ. 2465 |
พรรษา | 56 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง |
พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) อดีตเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหารและวัดราชผาติการามวรวิหาร และดำรงตำแหน่งสำคัญอีกหลายตำแหน่งในคณะสงฆ์ไทย เช่น สมาชิกสังฆสภา สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง เจ้าคณะภาค 7-8-9 (ธรรมยุต) เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2503 ท่านถูกกล่าวหาว่าขัดพระบัญชาของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปลด กิตฺติโสภโณ) จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์ไป 15 ปี เมื่อพิสูจน์ว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืน
ประวัติ
[แก้]ก่อนอุปสมบท
[แก้]พระศาสนโศภน มีนามเดิมว่าซุยหิ้น วัฒโนดร[1] เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2445 เป็นบุตรคนโตในบรรดาบุตรทั้งหมด 10 คนของนายฮวด กับนางคิ่น วัฒโนดร อาศัยอยู่ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา ศึกษาจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา แล้วมาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ท่านเตรียมตัวจะไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จึงตัดสินใจบวชก่อนสัก 1 พรรษา อุปสมบทแล้วกลับเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงดำรงสมณเพศสืบมาจนกระทั่งถึงแก่มรณภาพ[1]
อุปสมบท
[แก้]นายซุยหิ้น วัฒโนดร ได้เข้าอุปสมบทเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2465 เวลา 9:10 น. ที่วัดธรรมบูชา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระครูศาสนพินิจ (พลับ ฐิติโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมโกศาจารย์ (เซ่ง อุตฺตโม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูโยคาธิการวินิตเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อตฺถการี" อยู่วัดธรรมบูชาได้ 1 พรรษา พระครูสังฆพินัยจึงไปรับมาอยู่วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พระธรรมโกศาจารย์จึงเปลี่ยนชื่อท่านเป็นปลอด
การศึกษาธรรมวินัย
[แก้]- พ.ศ. 2464 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
- พ.ศ. 2467 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
- พ.ศ. 2468 สอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2469 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
- พ.ศ. 2470 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
- พ.ศ. 2471 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
- พ.ศ. 2472 สอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค (ได้รับพระราชทานพัดหน้านางพื้นแพรเหลืองขอบและใจกลางโหมดขาวปักดิ้นเลื่อม[2] ในการพระราชกุศลวิสาขบูชาวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[3])
- พ.ศ. 2473 สอบได้เปรียญธรรม 8 ประโยค
- พ.ศ. 2475 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งสำคัญ
[แก้]- เจ้าอาวาสวัดราชผาติการามวรวิหาร
- กรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
- สมาชิกสังฆสภา
- เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
- พ.ศ. 2493 สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายก[4]
- พ.ศ. 2494 สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ซึ่งมีพระศาสนโศภน (จวน อุฏฺฐายี) เป็นสังฆนายก[5]
- พ.ศ. 2498 สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[6]
- เจ้าคณะภาค 7-8-9
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2478 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระอมรมุนี[7]
- พ.ศ. 2489 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- พ.ศ. 2490 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก ตรีปิฎกธรรมภูสิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระศาสนโศภน วิมลญาณอดุล ตรีปิฎกคุณธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2503 ถูกถอดจากสมณศักดิ์[11]
- พ.ศ. 2518 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์คืน[12]
อธิกรณ์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2503 สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) ได้ขึ้นดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (จวน อุฏฺฐายี) ได้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) และพระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) ถูกกีดกันจนไม่ได้รับตำแหน่งใด ๆ ในคณะสังฆมนตรีต่อ[13] และยังมีข้อกล่าวหาว่าพระพิมลธรรมเสพเมถุนทางเวจมรรคกับพวกของตนจนสำเร็จความใคร่ และมีข่าวว่าพระศาสนโศภนอยู่กับสีกาสองต่อสองในที่ลับหูลับตาหลายครั้ง สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้ทั้งสองรูปพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่ทั้งสองรูปปฏิเสธ โดยตั้งใจจะต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน[14] คณะสังฆมนตรีของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงมีมติว่าทั้งสองรูปฝ่าฝืนพระบัญชา ไม่ควรอยู่ในสมณศักดิ์ต่อไป พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงโปรดให้ถอดทั้งสองรูปออกจากสมณศักดิ์ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503[11]
พระภิกษุหลายรูปพยายามท้วงและยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมให้พระเถระทั้งสองรูป[15] สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) จึงตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนขึ้นในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2518 ผลการพิจารณาออกมาว่าทั้งสองเป็นผู้บริสุทธิ์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงโปรดให้พระเถระทั้งสองรูปคืนสู่สมณศักดิ์เดิมตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[12]
มรณภาพ
[แก้]พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2521 เวลาราว 05:00 น. ณ ตึกแดง คณะเหนือ วัดราชาธิวาส สิริอายุได้ 76 ปี 11 เดือน 24 วัน[1] ตั้งศพบำเพ็ญที่ศาลาโบสถ์แพ จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เวลา 14:30 น. จึงได้เปลื้องเครื่องสุกำศพ เพื่อนำบุพโพไปเผา ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2522 เวลา 17:00 น.[16]
อ้างอิง
[แก้]- พระเทพสิทธิมุนี, ผจญมาร : บันทึกชีวิต 5 ปี ในห้องขังของพระพิมลธรรม (อาสภมหาเถร), บัณฑิตการพิมพ์, 2530
- ↑ 1.0 1.1 1.2 พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี). ทางไม่ตาย บรรพ 1 สำนักวัดราชาธิวาส. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2522. 203 หน้า. หน้า ก-ฌ.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในพุทธศักราช ๒๔๗๒ ซึ่งได้รับพระราชทานพัดยศ ชั้นนิตยภัตต์ แผนกทรงตั้ง, เล่ม 47, ตอน ง, วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2473, หน้า 526
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระรากุศลวิสาขบูชา, เล่ม 47, ตอน ง, วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2473, หน้า 522
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, ตอนที่ 43, เล่ม 67, วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2493, หน้า 3375
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, ตอนที่ 38, เล่ม 68, วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2454, หน้า 2594
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, ตอนที่ 61 ฉบับพิเศษ, เล่ม 72, วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2498, หน้า 19
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, เล่ม 52, วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2478, หน้า 1895
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์, ตอนที่ 15, เล่ม 63, วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2489, หน้า 151
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, ตอนที่ 27, เล่ม 64, วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2490, หน้า 1527
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, ตอนที่ 6, เล่ม 74, วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2500, หน้า 14
- ↑ 11.0 11.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดพระสมณศักดิ์, เล่มที่ 77, ตอนที่ 94, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2503, หน้า 2380
- ↑ 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสมณศักดิ์กลับคืน, เล่มที่ 92, ตอนที่ 106, วันที่ 6 มิถุนายน 2518, หน้า 13
- ↑ ผจญมาร, หน้า 7-8
- ↑ ผจญมาร, หน้า 41-43
- ↑ ผจญมาร, หน้า 221-222
- ↑ พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี). โคลงพุทธภาษิตคาถาธรรมบท. กรุงเทพฯ : โอสถสภา, 2522. 345 หน้า.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2445
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2521
- พระสาสนโสภณ
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
- สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง
- เจ้าอาวาสวัดราชผาติการามวรวิหาร
- เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
- เจ้าคณะภาค 7
- เจ้าคณะภาค 8 (ธรรมยุต)
- เจ้าคณะภาค 9
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากอำเภอเมืองสงขลา
- บุคคลจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ภิกษุจากจังหวัดสงขลา